ผมตั้งใจไว้ว่าถ้าสอบ IELTS ผ่านแล้วจะมาเขียน review การสอบเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อื่นไม่มากก็น้อย โดยจะแบ่งเป็น (1) ที่มาที่ไปส่วนตัว (2) ข้อความเบื้องต้นเกี่ยวกับการสอบ IELTS (3) การเตรียมตัว (4) การสมัครสอบและการเข้าสอบ IELTS
*************************************************************
(1) ที่มาที่ไปส่วนตัว
ก่อนอื่นผมต้องบอกก่อนว่าพื้นเพของผมไม่ได้เป็นคนเก่งภาษาอังกฤษอะไร เรียนโรงเรียนไทยธรรมดาๆ ไม่ได้อินเตอร์ และเพิ่งมาเริ่มใช้ภาษาอังกฤษอย่างจริงจังในการทำงานใน law firm หลังจากเรียนจบ ซึ่งถือว่าโชคดีที่ได้ทำงานในที่ที่ใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อนร่วมงานก็พูดและใช้ภาษาอังกฤษกันเก่งเว่อร์
ผมมีความฝันที่อยากจะเรียนต่อปริญญาโททางด้านกฎหมายในประเทศอังกฤษ โดยที่หลักสูตรที่ผมสนใจ require ให้ applicants ยื่นผลคะแนน IELTS ที่มีคะแนน overall 7.5 และ อย่างน้อย 7.0 ในทุกๆ skills ภายในการสอบครั้งเดียว (คือไม่สามารถรวมผลคะแนนกับการสอบครั้งอื่นๆ ได้) โดยที่ในปี 2017 ที่ผ่านมาผมเข้าสอบ IELTS ทั้งหมด 18 ครั้ง และเพิ่งสอบผ่านในครั้งที่ 17 แม้ว่าส่วนใหญ่ผมจะได้คะแนน overall 7.5 แต่มักจะติดที่ writing ไม่ก็ speaking ที่มักจะได้ 6.5 สลับๆ กัน
ถึงผมจะได้คะแนนตามที่ตั้งใจแล้ว แต่ก็ยังลุ้นผลการสมัครเรียนอยู่ และผมก็รู้ตัวดีว่าผมยังไม่ได้เก่งอะไรมากถ้าเทียบกับบรรดาเพื่อนและเพื่อนร่วมงานผม และยังมีอะไรที่ต้องพัฒนาอีกเยอะมากๆๆๆๆ นอกจากนี้ การสอบหลายๆ ครั้งทำให้รู้ว่าการสอบบ่อยๆ ไม่ได้จะทำให้คะแนนสูงขึ้น แต่สิ่งที่จะทำให้คะแนนสูงขึ้นคือต้องหาว่าจุดอ่อน ของเราคืออะไรให้เจอ (อาจจะต้องหาครูหรือผู้รู้มาช่วย) แล้วต้องฝึกฝน ฝึกซ้อม แก้ไขจุดอ่อน
(2) ข้อความเบื้องต้นเกี่ยวกับการสอบ IELTS
IELTS ย่อมาจาก The International English Language Testing System ซึ่งเป็นการทดสอบความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ โดยผลคะแนนจะใช้เป็นเอกสารประกอบในการสมัครเรียนในระดับมหาวิทยาลัย (และ/หรือ การทำงาน) ในอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน และอีกหลายๆ ประเทศ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยบางแห่งในสหรัฐอเมริกาก็รับผลคะแนน IELTS เช่นกัน
การสอบ IELTS มีสองแบบ กล่าวคือ General Training และ Academic โดยที่ (ตามความเข้าใจของผม)
- General Training: เป็นการสอบการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน ผลคะแนนที่ได้มักจะใช้เพื่อการสมัครงานทั่วไป หรือเรียนภาษา
- Academic: เป็นการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษทางวิชาการ ผลคะแนนที่ได้มักจะใช้เพื่อสมัครเรียนระดับวิทยาลัย หรือทำงานในวิชาชีพ
แต่ล่าสุด มีการสอบแบบใหม่ที่เรียกว่า IELTS UKVI ซึ่งผมเข้าใจว่าข้อสอบก็เหมือนๆ กับการสอบ IELTS ที่กล่าวมาข้างต้น เพียงแต่ในการจัดการสอบจะเข้มงวดกว่า เช่นมีการอัดวีดีโอในห้องสอบ ส่วนมากผลสอบ UKVI จะใช้เพื่อยื่นการขอวีซ่า มักจะใช้เพื่อการมาเรียนภาษา หรือ pre-sessional course
ดังนั้น ก่อนสมัครสอบ ควรที่จะเช็คกับทาง มหาวิทยาลัย หรือผู้รับผลสอบ ว่าต้องการให้เราทำข้อสอบประเภทไหน ไม่งั้นอาจจะแป๊กและเสียเงินฟรีเอาได้ง่ายๆ
สำหรับการสมัครสอบ ในประเทศไทยมีผู้จัดสอบอยู่ 2 ราย ได้แก่ British Council และ IDP
https://www.britishcouncil.or.th/en/exam/ielts
https://www.ielts.idp.co.th/
ราคาค่าสมัครสอบของทั้งสองเจ้าพอๆ กัน แต่ละครั้งจะอยู่ที่ประมาณ 6,900 บาท สำหรับ Academic และ 10,000 บาท สำหรับ UKVI โดยจะเปิดสอบเกือบทุกวันเสาร์ และมีวันพฤหัส ปนมาบ้าง ผู้สอบสามารถสมัครสอบกี่ครั้งก็ได้ สอบติดๆ กันก็ได้ แต่อาจจะต้องเอาไตออกขายสักข้างนึงถ้าสอบบ่อยๆ (ซึ่งผมตัดม้ามออกไปเรียบร้อยแล้ว) โดยผมจะกล่าวถึงประสบการณ์การสอบทั้ง 2 ศูนย์ในหัวข้อที่ 4 ด้านล่างนี้นะครับ ส่วนเอกสารที่ใช้สมัครสอบหลักๆ ก็คือ ID Card หรือ Passport ซึ่งผมมักจะเลือกใช้ Passport เพราะว่าจะได้มีหมายเลข passport ปรากฎในใบผลสอบและใช้อ้างอิงกับทางมหาวิทยาลัยได้ง่ายขึ้น
(3) การเตรียมตัว
ก่อนอื่นผู้สอบควรทำความเข้าใจก่อนกว่าการสอบ IELTS คือการทดสอบความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษของผู้สอบ ส่วนตัวผมมองว่าปัจจัยที่จะทำให้สอบได้คะแนนดีคือ ความสามารถทางด้านภาษา (70%) เทคนิคการทำข้อสอบ (20%) และดวงกับปัจจัยอื่นๆ (10%) ดังนั้น ถ้าภาษาอังกฤษของคุณกาก แม้ว่าคุณจะรู้เทคนิคการทำข้อสอบที่แพรวพราว คุณก็แทบจะไม่มีทางได้คะแนนสูงๆ ทั้งนี้ เพราะผมเคยเป็นมาก่อน แต่ก่อนภาษาผมกากมาก เคยไปเข้าคอสเรียน IELTS ที่สถาบันชื่อดังเพื่อไปสอบ ผลที่ได้คือ 5.5 จ้า
ผมสังเกตว่าหลายๆ คนอาจจะมองข้ามตรงจุดนี้ (your level of English) แล้วไป focus ที่การทำข้อสอบ การลงเรียน IELTS course ตามสถาบันต่างๆ ซึ่งนั่นอาจทำให้คุณได้คะแนนเพิ่มขึ้น ราวๆ 0.5 – 1.0 band เท่านั้น
ผมเคยเห็นข้อความประมาณว่า ‘English is not a subject to study but it is a skill to acquire’ อันนี้ทำให้ผมฉุกคิดว่า ไปเรียนก็ไม่ได้ทำให้เก่งขึ้นเท่าไหร่ จริงๆ แล้วเราต้องใช้มันบ่อยๆ พยายามทำให้มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต จนกว่าคุณจะ acquire มันมา กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียวฉันใด การเก่งภาษาอังกฤษก็ไม่สามารถทำได้ภายในข้ามคืนฉันนั้น การพัฒนาความสามารถทางด้านภาษานั้นต้องใช้เวลาและความมุ่งมั่น บางครั้งคุณจะไม่รู้ตัวหรอกว่าคุณกำลังเก่งขึ้นในทุกๆ วันที่คุณพยายามและฝึกฝน แต่พอเวลาผ่านไปสัก 1-2 ปี มันจะส่งผลให้เห็นชัดเจนเอง
ดังนั้น ผมอยากจะขอเน้นย้ำให้ผู้ที่อยากได้คะแนนสูงๆ ไปฝึกฝน หรือเพิ่มความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียนครับ
อันดับแรก จากประสบการณ์ส่วนตัวผมเชื่อว่า Grammar และ vocab เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถึงมากที่สุดเพราะผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ผมได้คะแนนจาก 5.5 เมื่อหลายปีก่อน ขยับมาเป็น 7.0 ได้ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ ถ้าไม่แม่นหรือไม่เข้าใจ grammar ที่สำคัญๆ คุณอาจไม่สามารถอ่าน passage ที่มีความซับซ้อนได้ คืออาจจะรู้ความหมายของศัพท์ทุกคำในย่อหน้า แต่ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าประโยคหรือย่อหน้านั้นหมายความว่าอย่างไร รวมไปถึงการฟังที่ถ้าฟังแบบไม่รู้ grammar อาจจะเข้าใจความหมายผิดเพี้ยนไปได้ นอกจากนี้คุณอาจไม่สามารถสร้างประโยค หรือย่อหน้าที่มีการใช้ grammar หลากหลายรูปแบบ เช่น if clause, subjunctive mood, indirect speech, participial construction รวมถึงการสร้างประโยค compound / complex sentences (e.g. relative clauses) ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้ได้คะแนนสูง ทั้งในส่วนของ writing และ speaking
เท่าที่ผมเรียนภาษามาทั้งในไทยและในอังกฤษ ผมเชื่อว่า Fast English เป็นหนึ่งในสถาบันที่สอน grammar ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะอาจารย์บุญชัย ได้รวมรวมหลัก grammar ที่สำคัญไว้เป็นจำนวน 25 กฎถ้วน ทำให้การเรียน grammar ดูมีขอบเขต ไม่ล่องลอย การสอนสนุกดี (สำหรับผม - แต่บางคนก็ไม่ค่อยชอบ อันนี้แล้วแต่จริตส่วนบุคคล) ผมไม่มีส่วนได้เสียกับสถาบันแต่อย่างใด แต่ผมมักจะแนะนำให้เพื่อนและน้องคนสนิทไปเรียนเพื่อปรับพื้นฐานและเพิ่มความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ ก่อนที่จะไปเรียนรู้เทคนิคการทำข้อสอบ
(3.1) การฝึกการฟัง (Listening)
การฝึกการฟังสมัยนี้ทำได้ง่ายมากๆ แค่เข้า youtube หรือ download podcast ไว้ หลักการคือฟังภาษาอังกฤษเยอะ ส่วนมากฟังไม่ออกก็ฝืนๆ ฟังไป เริ่มจากอะไรง่ายๆ ก่อนก็ได้ แล้วค่อยๆ ยากขึ้นเมื่อเราฟังคล่องขึ้น ประเด็นคือต้องสม่ำเสมอ คนส่วนมากจะเสียเวลาเดินทางในแต่ละวันค่อนข้างเยอะ คุณสามารถใช้เวลาตอนขับรถ นั่งรถตู้ รถเมล์ หรือรถไฟฟ้า ฟังได้สบายๆ
เริ่มจากของไทยๆ รายการ Lookgolf English Room <
https://www.facebook.com/lgenglishroom></https:> ของครูลูกกอล์ฟ ดูเพลินๆ ฟังไม่ยาก ได้สาระและบันเทิง และมีอีกเพจที่ผมชอบติดตามคือ English afterNoonz <
https://www.facebook.com/englishafternoonz></https:> เพราะอาจารย์น่ารัก และสำเนียงไพเพราะ ทำให้ได้รูปประโยคและเกร็ดความรู้ใหม่ๆ เพียบ
ถัดมาเรื่องง่ายๆ ก็พวกการ์ตูน ผมชอบดู Peppa Pig เพราะฟังง่าย สำเนียงอังกฤษจ๋า น้องชายผมภาษาอังกฤษไม่ได้แข็งแรงนักก็ยังฟังออกสบายๆ หรือดูเก่งขึ้นมาหน่อยก็พวก bbc learning English เช่น 6 minutes English
พอเริ่มคล่องแล้วก็ฟังพวกข่าว bbc news สารคดี TED Talk ฟังอะไรที่มีสาระ เรื่องยากๆ ซับซ้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งมี application นึงที่ผมชอบใช้ฟังในรถชื่อ “blinkist” เป็น app หนังสือเสียง คือสามารถฟังก็ได้ หรือจะนั่งอ่านก็ได้ ฝึกได้ทั้งฟังและอ่านเลย ซึ่งหนังสือที่มีส่วนมากจากเป็นแนว how-to ประวัติศาสตร์ และสาระอื่นๆ แต่ app นี้เสียตังค์ค่อนข้างแพง เทคนิคของผมคือเค้าจะให้หนังสือฟรีมาวันละเล่ม ผมก็ฟังที่ฟรีนั่นแหละครับ มีคนเลือกมาให้ก็ดี บางเรื่องก็น่าสนใจบางเรื่องก็น่าเบื่อ
ทั้งนี้ การดูหนังดูซีรีส์ภาษาอังกฤษก็ช่วยได้มากเหมือนกัน มีเพื่อนแนะนำให้ผมดูเรื่องเพื่อนหลายคน (Friends) ดูเพลินดีครับ พอดูไปนานๆ ถึง season หลังๆ ก็ฟังได้คล่องขึ้นมากอย่างไม่น่าเชื่อ
(3.2) การฝึกการอ่าน (Reading)
ต้องบอกตามตรงว่าผมเป็นคนที่ไม่ได้ฝึกการอ่านอะไรเป็นเรื่องเป็นราว จึงอาจจะแนะนำอะไรไม่ได้เท่าไหร่ แต่โชคดีที่ผมต้องอ่านเอกสารภาษาอังกฤษในที่ทำงานทุกวันเลยทำให้ค่อนข้างชินครับ
แต่ถ้าอยากจะฝึกจริงๆ ขอแนะนำให้เริ่มอ่านจากอะไรที่ชอบ เช่น ชอบถ่ายรูปก็อ่านนิตยสารกล้องถ่ายภาพ หรือชอบท่องเที่ยวก็อ่านพวกหนังสือนำเที่ยว blog ท่องเที่ยวต่างๆ แต่จริงๆ แล้วถ้าอยากอ่าน passage ที่ใช้ภาษาใกล้เคียงกับข้อสอบก็ต้องข่าว พวก Wall Street Journal, Financial Time, The Economist, Time etc. ถ้าพวก the Nation / Bangkok Post อาจจะใช้ภาษาง่ายไปหน่อย แต่ก็พอใช้ได้ มีศัพท์ใหม่ๆ ให้เรียนรู้ได้เรื่อยๆ แถมถืออ่านบนรถไฟฟ้าดูเท่ดี 55555 อีกทางหนึ่งคือฝึกทำข้อสอบเลยครับ หาข้อสอบเก่ามาทำเยอะๆ หลายๆเรื่องมีสาระอ่านแล้วได้ความรู้ดีครับ
(3.3) การฝึกการเขียน (Writing) [อ่านเยอะๆ ก็ช่วยได้]
อันนี้ ยากสุด สั้นๆ ครับ “ต้องเรียน”
(1) หา coach/ครู เก่งๆ (2) เขียนเยอะๆ เยอะมาก เยอะเกินกว่าจินตนาการ 5555 (3) grammar ต้องค่อนข้างแม่น และ vocab ต้องหลากใช้ ใช้ศัพท์ที่คนทั่วๆ ไปไม่ค่อยใช้บ้าง (4) อ่านเยอะๆ เพราะการอ่านจะทำให้เราได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ๆ และการใช้ภาษาดีๆ
นอกจากนี้ การสอบ writing ใน IELTS จะมี pattern ที่ผู้สอบควรจะต้องศึกษาทำความเข้าใจก่อนทำข้อสอบ อาจจะอ่านหนังสือ หรือเรียน IELTS course ครับ ผมอ่านหนังสืออยู่หลายเล่มเหมือนกัน แต่ถ้าจะให้แนะนำ ผมขอแนะนำ Writing for IELTS ของ Barron’s เล่มนี้สอนการเขียนทั้ง Task 1 และ Task 2 ได้เข้าใจง่าย สอนการวาง structure ที่ดีมากๆ ครับ
ส่วนคำศัพท์ต้องเล่มนี้เลยครับ Check you vocabulary for IELTS ของ Macmillan (ราคาไม่แพงด้วย) มีครูฝรั่งของผมแนะนำมา และพบว่าบางสถาบัน (รวมทั้งสถาบันที่ผมเคยเรียนที่ต่างประเทศ) ก็ทำสำเนาบางส่วนของเล่มมาแจก/มาสอนในห้องครับ เล่มนี้มีศัพท์ทั่วๆ ไป และศัพท์ที่เป็น theme เช่น ศัพท์เกี่ยวกับการศึกษา สิ่งแวดล้อม media work ซึ่งมีประโยชน์มากในการอ่านและเขียน
สำหรับใครที่กำลังมองหาครู หรือ coach เก่งๆ หรือสงสัยว่าลงเรียน course ไหนดี (ผมเรียนมาหลายที่มากๆ บอกเลย) สามารถติดต่อมาหลังไมค์ได้ครับ ยินดีแนะนำครับ
(มีต่อ)
[CR] Comprehensive review การสอบ IELTS ฉบับรู้ลึกรู้จริง
*************************************************************
(1) ที่มาที่ไปส่วนตัว
ก่อนอื่นผมต้องบอกก่อนว่าพื้นเพของผมไม่ได้เป็นคนเก่งภาษาอังกฤษอะไร เรียนโรงเรียนไทยธรรมดาๆ ไม่ได้อินเตอร์ และเพิ่งมาเริ่มใช้ภาษาอังกฤษอย่างจริงจังในการทำงานใน law firm หลังจากเรียนจบ ซึ่งถือว่าโชคดีที่ได้ทำงานในที่ที่ใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อนร่วมงานก็พูดและใช้ภาษาอังกฤษกันเก่งเว่อร์
ผมมีความฝันที่อยากจะเรียนต่อปริญญาโททางด้านกฎหมายในประเทศอังกฤษ โดยที่หลักสูตรที่ผมสนใจ require ให้ applicants ยื่นผลคะแนน IELTS ที่มีคะแนน overall 7.5 และ อย่างน้อย 7.0 ในทุกๆ skills ภายในการสอบครั้งเดียว (คือไม่สามารถรวมผลคะแนนกับการสอบครั้งอื่นๆ ได้) โดยที่ในปี 2017 ที่ผ่านมาผมเข้าสอบ IELTS ทั้งหมด 18 ครั้ง และเพิ่งสอบผ่านในครั้งที่ 17 แม้ว่าส่วนใหญ่ผมจะได้คะแนน overall 7.5 แต่มักจะติดที่ writing ไม่ก็ speaking ที่มักจะได้ 6.5 สลับๆ กัน
ถึงผมจะได้คะแนนตามที่ตั้งใจแล้ว แต่ก็ยังลุ้นผลการสมัครเรียนอยู่ และผมก็รู้ตัวดีว่าผมยังไม่ได้เก่งอะไรมากถ้าเทียบกับบรรดาเพื่อนและเพื่อนร่วมงานผม และยังมีอะไรที่ต้องพัฒนาอีกเยอะมากๆๆๆๆ นอกจากนี้ การสอบหลายๆ ครั้งทำให้รู้ว่าการสอบบ่อยๆ ไม่ได้จะทำให้คะแนนสูงขึ้น แต่สิ่งที่จะทำให้คะแนนสูงขึ้นคือต้องหาว่าจุดอ่อน ของเราคืออะไรให้เจอ (อาจจะต้องหาครูหรือผู้รู้มาช่วย) แล้วต้องฝึกฝน ฝึกซ้อม แก้ไขจุดอ่อน
(2) ข้อความเบื้องต้นเกี่ยวกับการสอบ IELTS
IELTS ย่อมาจาก The International English Language Testing System ซึ่งเป็นการทดสอบความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ โดยผลคะแนนจะใช้เป็นเอกสารประกอบในการสมัครเรียนในระดับมหาวิทยาลัย (และ/หรือ การทำงาน) ในอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน และอีกหลายๆ ประเทศ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยบางแห่งในสหรัฐอเมริกาก็รับผลคะแนน IELTS เช่นกัน
การสอบ IELTS มีสองแบบ กล่าวคือ General Training และ Academic โดยที่ (ตามความเข้าใจของผม)
- General Training: เป็นการสอบการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน ผลคะแนนที่ได้มักจะใช้เพื่อการสมัครงานทั่วไป หรือเรียนภาษา
- Academic: เป็นการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษทางวิชาการ ผลคะแนนที่ได้มักจะใช้เพื่อสมัครเรียนระดับวิทยาลัย หรือทำงานในวิชาชีพ
แต่ล่าสุด มีการสอบแบบใหม่ที่เรียกว่า IELTS UKVI ซึ่งผมเข้าใจว่าข้อสอบก็เหมือนๆ กับการสอบ IELTS ที่กล่าวมาข้างต้น เพียงแต่ในการจัดการสอบจะเข้มงวดกว่า เช่นมีการอัดวีดีโอในห้องสอบ ส่วนมากผลสอบ UKVI จะใช้เพื่อยื่นการขอวีซ่า มักจะใช้เพื่อการมาเรียนภาษา หรือ pre-sessional course
ดังนั้น ก่อนสมัครสอบ ควรที่จะเช็คกับทาง มหาวิทยาลัย หรือผู้รับผลสอบ ว่าต้องการให้เราทำข้อสอบประเภทไหน ไม่งั้นอาจจะแป๊กและเสียเงินฟรีเอาได้ง่ายๆ
สำหรับการสมัครสอบ ในประเทศไทยมีผู้จัดสอบอยู่ 2 ราย ได้แก่ British Council และ IDP
https://www.britishcouncil.or.th/en/exam/ielts
https://www.ielts.idp.co.th/
ราคาค่าสมัครสอบของทั้งสองเจ้าพอๆ กัน แต่ละครั้งจะอยู่ที่ประมาณ 6,900 บาท สำหรับ Academic และ 10,000 บาท สำหรับ UKVI โดยจะเปิดสอบเกือบทุกวันเสาร์ และมีวันพฤหัส ปนมาบ้าง ผู้สอบสามารถสมัครสอบกี่ครั้งก็ได้ สอบติดๆ กันก็ได้ แต่อาจจะต้องเอาไตออกขายสักข้างนึงถ้าสอบบ่อยๆ (ซึ่งผมตัดม้ามออกไปเรียบร้อยแล้ว) โดยผมจะกล่าวถึงประสบการณ์การสอบทั้ง 2 ศูนย์ในหัวข้อที่ 4 ด้านล่างนี้นะครับ ส่วนเอกสารที่ใช้สมัครสอบหลักๆ ก็คือ ID Card หรือ Passport ซึ่งผมมักจะเลือกใช้ Passport เพราะว่าจะได้มีหมายเลข passport ปรากฎในใบผลสอบและใช้อ้างอิงกับทางมหาวิทยาลัยได้ง่ายขึ้น
(3) การเตรียมตัว
ก่อนอื่นผู้สอบควรทำความเข้าใจก่อนกว่าการสอบ IELTS คือการทดสอบความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษของผู้สอบ ส่วนตัวผมมองว่าปัจจัยที่จะทำให้สอบได้คะแนนดีคือ ความสามารถทางด้านภาษา (70%) เทคนิคการทำข้อสอบ (20%) และดวงกับปัจจัยอื่นๆ (10%) ดังนั้น ถ้าภาษาอังกฤษของคุณกาก แม้ว่าคุณจะรู้เทคนิคการทำข้อสอบที่แพรวพราว คุณก็แทบจะไม่มีทางได้คะแนนสูงๆ ทั้งนี้ เพราะผมเคยเป็นมาก่อน แต่ก่อนภาษาผมกากมาก เคยไปเข้าคอสเรียน IELTS ที่สถาบันชื่อดังเพื่อไปสอบ ผลที่ได้คือ 5.5 จ้า
ผมสังเกตว่าหลายๆ คนอาจจะมองข้ามตรงจุดนี้ (your level of English) แล้วไป focus ที่การทำข้อสอบ การลงเรียน IELTS course ตามสถาบันต่างๆ ซึ่งนั่นอาจทำให้คุณได้คะแนนเพิ่มขึ้น ราวๆ 0.5 – 1.0 band เท่านั้น
ผมเคยเห็นข้อความประมาณว่า ‘English is not a subject to study but it is a skill to acquire’ อันนี้ทำให้ผมฉุกคิดว่า ไปเรียนก็ไม่ได้ทำให้เก่งขึ้นเท่าไหร่ จริงๆ แล้วเราต้องใช้มันบ่อยๆ พยายามทำให้มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต จนกว่าคุณจะ acquire มันมา กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียวฉันใด การเก่งภาษาอังกฤษก็ไม่สามารถทำได้ภายในข้ามคืนฉันนั้น การพัฒนาความสามารถทางด้านภาษานั้นต้องใช้เวลาและความมุ่งมั่น บางครั้งคุณจะไม่รู้ตัวหรอกว่าคุณกำลังเก่งขึ้นในทุกๆ วันที่คุณพยายามและฝึกฝน แต่พอเวลาผ่านไปสัก 1-2 ปี มันจะส่งผลให้เห็นชัดเจนเอง
ดังนั้น ผมอยากจะขอเน้นย้ำให้ผู้ที่อยากได้คะแนนสูงๆ ไปฝึกฝน หรือเพิ่มความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียนครับ
อันดับแรก จากประสบการณ์ส่วนตัวผมเชื่อว่า Grammar และ vocab เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถึงมากที่สุดเพราะผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ผมได้คะแนนจาก 5.5 เมื่อหลายปีก่อน ขยับมาเป็น 7.0 ได้ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ ถ้าไม่แม่นหรือไม่เข้าใจ grammar ที่สำคัญๆ คุณอาจไม่สามารถอ่าน passage ที่มีความซับซ้อนได้ คืออาจจะรู้ความหมายของศัพท์ทุกคำในย่อหน้า แต่ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าประโยคหรือย่อหน้านั้นหมายความว่าอย่างไร รวมไปถึงการฟังที่ถ้าฟังแบบไม่รู้ grammar อาจจะเข้าใจความหมายผิดเพี้ยนไปได้ นอกจากนี้คุณอาจไม่สามารถสร้างประโยค หรือย่อหน้าที่มีการใช้ grammar หลากหลายรูปแบบ เช่น if clause, subjunctive mood, indirect speech, participial construction รวมถึงการสร้างประโยค compound / complex sentences (e.g. relative clauses) ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้ได้คะแนนสูง ทั้งในส่วนของ writing และ speaking
เท่าที่ผมเรียนภาษามาทั้งในไทยและในอังกฤษ ผมเชื่อว่า Fast English เป็นหนึ่งในสถาบันที่สอน grammar ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะอาจารย์บุญชัย ได้รวมรวมหลัก grammar ที่สำคัญไว้เป็นจำนวน 25 กฎถ้วน ทำให้การเรียน grammar ดูมีขอบเขต ไม่ล่องลอย การสอนสนุกดี (สำหรับผม - แต่บางคนก็ไม่ค่อยชอบ อันนี้แล้วแต่จริตส่วนบุคคล) ผมไม่มีส่วนได้เสียกับสถาบันแต่อย่างใด แต่ผมมักจะแนะนำให้เพื่อนและน้องคนสนิทไปเรียนเพื่อปรับพื้นฐานและเพิ่มความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ ก่อนที่จะไปเรียนรู้เทคนิคการทำข้อสอบ
(3.1) การฝึกการฟัง (Listening)
การฝึกการฟังสมัยนี้ทำได้ง่ายมากๆ แค่เข้า youtube หรือ download podcast ไว้ หลักการคือฟังภาษาอังกฤษเยอะ ส่วนมากฟังไม่ออกก็ฝืนๆ ฟังไป เริ่มจากอะไรง่ายๆ ก่อนก็ได้ แล้วค่อยๆ ยากขึ้นเมื่อเราฟังคล่องขึ้น ประเด็นคือต้องสม่ำเสมอ คนส่วนมากจะเสียเวลาเดินทางในแต่ละวันค่อนข้างเยอะ คุณสามารถใช้เวลาตอนขับรถ นั่งรถตู้ รถเมล์ หรือรถไฟฟ้า ฟังได้สบายๆ
เริ่มจากของไทยๆ รายการ Lookgolf English Room <https://www.facebook.com/lgenglishroom></https:> ของครูลูกกอล์ฟ ดูเพลินๆ ฟังไม่ยาก ได้สาระและบันเทิง และมีอีกเพจที่ผมชอบติดตามคือ English afterNoonz <https://www.facebook.com/englishafternoonz></https:> เพราะอาจารย์น่ารัก และสำเนียงไพเพราะ ทำให้ได้รูปประโยคและเกร็ดความรู้ใหม่ๆ เพียบ
ถัดมาเรื่องง่ายๆ ก็พวกการ์ตูน ผมชอบดู Peppa Pig เพราะฟังง่าย สำเนียงอังกฤษจ๋า น้องชายผมภาษาอังกฤษไม่ได้แข็งแรงนักก็ยังฟังออกสบายๆ หรือดูเก่งขึ้นมาหน่อยก็พวก bbc learning English เช่น 6 minutes English
พอเริ่มคล่องแล้วก็ฟังพวกข่าว bbc news สารคดี TED Talk ฟังอะไรที่มีสาระ เรื่องยากๆ ซับซ้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งมี application นึงที่ผมชอบใช้ฟังในรถชื่อ “blinkist” เป็น app หนังสือเสียง คือสามารถฟังก็ได้ หรือจะนั่งอ่านก็ได้ ฝึกได้ทั้งฟังและอ่านเลย ซึ่งหนังสือที่มีส่วนมากจากเป็นแนว how-to ประวัติศาสตร์ และสาระอื่นๆ แต่ app นี้เสียตังค์ค่อนข้างแพง เทคนิคของผมคือเค้าจะให้หนังสือฟรีมาวันละเล่ม ผมก็ฟังที่ฟรีนั่นแหละครับ มีคนเลือกมาให้ก็ดี บางเรื่องก็น่าสนใจบางเรื่องก็น่าเบื่อ
ทั้งนี้ การดูหนังดูซีรีส์ภาษาอังกฤษก็ช่วยได้มากเหมือนกัน มีเพื่อนแนะนำให้ผมดูเรื่องเพื่อนหลายคน (Friends) ดูเพลินดีครับ พอดูไปนานๆ ถึง season หลังๆ ก็ฟังได้คล่องขึ้นมากอย่างไม่น่าเชื่อ
(3.2) การฝึกการอ่าน (Reading)
ต้องบอกตามตรงว่าผมเป็นคนที่ไม่ได้ฝึกการอ่านอะไรเป็นเรื่องเป็นราว จึงอาจจะแนะนำอะไรไม่ได้เท่าไหร่ แต่โชคดีที่ผมต้องอ่านเอกสารภาษาอังกฤษในที่ทำงานทุกวันเลยทำให้ค่อนข้างชินครับ
แต่ถ้าอยากจะฝึกจริงๆ ขอแนะนำให้เริ่มอ่านจากอะไรที่ชอบ เช่น ชอบถ่ายรูปก็อ่านนิตยสารกล้องถ่ายภาพ หรือชอบท่องเที่ยวก็อ่านพวกหนังสือนำเที่ยว blog ท่องเที่ยวต่างๆ แต่จริงๆ แล้วถ้าอยากอ่าน passage ที่ใช้ภาษาใกล้เคียงกับข้อสอบก็ต้องข่าว พวก Wall Street Journal, Financial Time, The Economist, Time etc. ถ้าพวก the Nation / Bangkok Post อาจจะใช้ภาษาง่ายไปหน่อย แต่ก็พอใช้ได้ มีศัพท์ใหม่ๆ ให้เรียนรู้ได้เรื่อยๆ แถมถืออ่านบนรถไฟฟ้าดูเท่ดี 55555 อีกทางหนึ่งคือฝึกทำข้อสอบเลยครับ หาข้อสอบเก่ามาทำเยอะๆ หลายๆเรื่องมีสาระอ่านแล้วได้ความรู้ดีครับ
(3.3) การฝึกการเขียน (Writing) [อ่านเยอะๆ ก็ช่วยได้]
อันนี้ ยากสุด สั้นๆ ครับ “ต้องเรียน”
(1) หา coach/ครู เก่งๆ (2) เขียนเยอะๆ เยอะมาก เยอะเกินกว่าจินตนาการ 5555 (3) grammar ต้องค่อนข้างแม่น และ vocab ต้องหลากใช้ ใช้ศัพท์ที่คนทั่วๆ ไปไม่ค่อยใช้บ้าง (4) อ่านเยอะๆ เพราะการอ่านจะทำให้เราได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ๆ และการใช้ภาษาดีๆ
นอกจากนี้ การสอบ writing ใน IELTS จะมี pattern ที่ผู้สอบควรจะต้องศึกษาทำความเข้าใจก่อนทำข้อสอบ อาจจะอ่านหนังสือ หรือเรียน IELTS course ครับ ผมอ่านหนังสืออยู่หลายเล่มเหมือนกัน แต่ถ้าจะให้แนะนำ ผมขอแนะนำ Writing for IELTS ของ Barron’s เล่มนี้สอนการเขียนทั้ง Task 1 และ Task 2 ได้เข้าใจง่าย สอนการวาง structure ที่ดีมากๆ ครับ
ส่วนคำศัพท์ต้องเล่มนี้เลยครับ Check you vocabulary for IELTS ของ Macmillan (ราคาไม่แพงด้วย) มีครูฝรั่งของผมแนะนำมา และพบว่าบางสถาบัน (รวมทั้งสถาบันที่ผมเคยเรียนที่ต่างประเทศ) ก็ทำสำเนาบางส่วนของเล่มมาแจก/มาสอนในห้องครับ เล่มนี้มีศัพท์ทั่วๆ ไป และศัพท์ที่เป็น theme เช่น ศัพท์เกี่ยวกับการศึกษา สิ่งแวดล้อม media work ซึ่งมีประโยชน์มากในการอ่านและเขียน
สำหรับใครที่กำลังมองหาครู หรือ coach เก่งๆ หรือสงสัยว่าลงเรียน course ไหนดี (ผมเรียนมาหลายที่มากๆ บอกเลย) สามารถติดต่อมาหลังไมค์ได้ครับ ยินดีแนะนำครับ
(มีต่อ)