ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ห้องเพลงและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เมื่อวานเป็นครบรอบวันจากไปของ "นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่" ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้กับหลายคนทั่วโลก ... มหาตมะ คานธี
ท่านมีผลงานที่น่าทึ่งเป็นแบบอย่างสำหรับผู้เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ
ท่านเคยกล่าวให้กำลังใจตนเอง และผู้ที่เลือกจะเดินบนวิถีอหิงสาธรรมเช่นท่านว่า...
"เจ้าจะต้องยืนหยัดสู้กับโลกทั้งโลก แม้ว่าเจ้าจะต้องยืนหยัดอยู่โดยเดียวดายก็ตาม
เจ้าจะต้องจับตาดูใบหน้าของโลก แม้ว่าโลกจะมองเจ้าด้วยสายตาอันแดงก่ำไปด้วยเลือดก็ตาม
เจ้าจะต้องไม่กลัว จงเชื่อมั่นและจงยืนหยัดอยู่กับสิ่งที่เจ้าได้ต่อสู้มา และที่เจ้าได้ยอมอุทิศชีวิตให้แล้ว"
มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi) บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของโลก
มีชื่อเต็มว่า โมหันทาส กรรมจันท คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1869
และถูกลอบสังหารเสียชีวิตในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1948 ในวัย 78 ปี
มหาตมะ คานธี เกิดในครอบครัวชาวฮินดู รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย บิดาเป็นนักการเมืองท้องถิ่น
ส่วนมารดาเป็นผู้ที่เคร่งครัดศาสนามาก เมื่ออายุได้ 13 ปีก็แต่งงานกับ
กัสตูรบา
เพราะเกิดในวรรณะแพศย์ ซึ่งถือว่าไม่ใช่ชนชั้นผู้นำในสังคมอินเดีย จึงมักถูกเหยียดหยามจากผู้อื่นตั้งแต่เด็ก
นั่นทำให้เขาเกลียดการแบ่งชั้นวรรณะเป็นอย่างมาก
ต่อมาท่านได้ไปเข้าเรียนด้านกฎหมายที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
คนเราควรเท่าเทียม
เหตุการณ์ที่เป็นการจุดประกายครั้งหนึ่งคือ ค.ศ.1893 คานธีได้ไปเป็นทนายความให้ลูกความในประเทศแอฟริกาใต้
เมื่อเดินทางไปถึง คานธี ได้ซื้อตั๋วรถไฟชั้น First Class (ชั้นที่หรูหราสะดวกสบายที่สุด ค่าตั๋วแพงที่สุด) ไปหาลูกความ
แต่ถูกเหยียดหยามจากผู้โดยสารผิวขาว ให้พนักงานไล่เขาไปนั่งที่นั่งชั้นสาม
โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่า รถไฟชั้นหนึ่งนี้สร้างสำหรับผู้โดยสารผิวขาวเท่านั้น แต่คานธีไม่ยอม
พอถึงสถานี เขาก็โดนโยนลงจากรถไฟอย่างไร้ความปราณี และจุดนี้เองที่เขาเองก็ถือว่า
“เป็นประสบการณ์ที่สร้างสรรค์มากที่สุดในชีวิต” ทำให้เขานั่งคิดทั้งคืนว่า การที่ถูกปฏิบัติอย่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
หลังจากนั้นอีกเพียงหนึ่งสัปดาห์ เขาจึงได้นำความคิดของเขามาแสดงออกใน การประชุมผู้อพยพชาวอินเดียพื้นเมือง
ขณะนั้นเขามีอายุเพียง 24 เท่านั้น
เหตุการณ์นี้ทำให้ คานธี เข้าต่อสู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนของชาวผิวคล้ำในแอฟริกาใต้
ตำนาน “อหิงสา” และ "เกลือ"
เป็นการต่อสู้สิทธิของชาวอินเดียในเรื่อง “เกลือ” (ในอดีตเกลือเป็นของที่มีค่า)
เพราะชาวอังกฤษกดขี่ชาวอินเดีย ไม่ให้ทำเกลือเองและ ถือว่าการขายเกลือของชาวอินเดียเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
แต่กลับสงวนไว้เพื่อชาวอังกฤษเท่านั้น
คานธีจึงวางแผนต่อต้านด้วยการ
เดินเท้าเปล่าระยะทางกว่าสองร้อยไมล์ ไปยังทะเลอาหรับ
พร้อมด้วยสาวกกว่าแปดสิบคน เพื่อไปทำเกลือที่นั่น
วันที่ 12 มีนาคม 1930 ประวัติศาสตร์เริ่มจารึกเมื่อการเดินทางเริ่มต้นขึ้น
นักข่าวต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามาทำข่าวมากมาย ถือเป็นครั้งแรกของการเข้ามาทำข่าวในดินแดนแห่งนี้
ทำให้โลกได้รู้ถึงการกระทำของเขาและสาวก จนทำให้มีคนเข้าร่วมเดินกับเขาเป็นจำนวนมาก
เป็นการเปิด “ความจริง”ให้โลกทั้งโลกได้รับรู้ และแม้จะไม่สามารถมาร่วมขบวนได้แต่ต่างก็ได้เอาใจช่วยเขา
คานธีใช้เวลาเดินทาง 24 วัน จนในที่สุดเมื่อวันที่ 6 เมษายน เขาและชาวอินเดียหลายแสนคนที่ร่วมเดินทาง
ก็เดินไปถึงเป้าหมาย เขาก้มลงหยิบเกลือขึ้นมาและพูดว่า
“
ด้วยเกลือหยิบมือนี้ ข้าพเจ้าขอต่อต้านการบังคับของจักรวรรดิอังกฤษ ขอเราจงร่วมกันต่อสู้เพื่อสิทธิของเราเถิด”
ถือเป็นการสร้างประกายไฟแห่งการตอบสนองของคนอินเดีย ให้มีการค้าขายเกลือกันอย่างเปิดเผย
ทำให้คานธี และคนอินเดียหลายพันคนถูกจับและทำร้ายร่างกาย
แต่ด้วยแรงกดดันจากนานาประเทศ ทำให้ลอร์ดเออวินน์ ผู้สำเร็จราชการอังกฤษปล่อยตัวคานธี
และเปิดการเจรจาเพื่อต่อรอง คานธีมาตามคำเชิญพร้อมกับขอน้ำอุ่นมาหนึ่งแก้ว
พร้อมกับหยิบของขึ้นมาสิ่งหนึ่ง แล้วบอกว่า
“ท่านที่เคารพ อย่าบอกใครนะว่านี่คือเกลือที่ข้าทำอย่างผิดกฎหมาย” พร้อมกับเทเกลือลงน้ำและยกขึ้นดื่ม
และจากเหตุการณ์นี้ ทำให้กษัตริย์อังกฤษเรียกตัวเขาเข้าพบ
คานธีจึงมีโอกาสแสดงทรรศนะของเขาว่า
"ข้าพเจ้ากำลังขอร้องต่อบิดาแห่งชาติของเรา ให้ท่านมีเมตตา มีความรัก เห็นความจริงและงดใช้ความรุนแรง
ขอจงประทานพรแก่พวกเรา เสรีภาพอันสมบูรณ์เท่านั้นคือสิ่งที่เราต้องการ"
นักต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ด้วยสติปัญญาและสองมือเปล่า
คานธีมีผลงานเกี่ยวกับการต่อสู้อย่างสันติ อหิงสามากมายค่ะ ขอนำมาแค่บางส่วน
ค.ศ. 1901 คานธี เดินทางกลับอินเดีย แต่มีเสียงเรียกร้องจากชาวอินเดียในแอฟริกาใต้ให้กลับมาช่วยเหลือ
คานธี จึงเดินทางกลับไปยังแอฟริกาใต้เพื่อต่อสู้กับปัญหานี้อีกครั้ง โดยใช้วิธี "
สัตยาเคราะห์"
ซึ่งคือ "
การไม่ร่วมมือในกฎที่ไม่ยุติธรรม โดยไม่มีการใช้กำลัง" และวิธีนี้ได้ผลดีมาก
ทำให้ คานธี รู้ว่าการประท้วงโดยไม่ใช้กำลังนั้นให้ผลดีกว่าที่คิด และได้ผลดีในการเรียกร้องความยุติธรรม
ในปี 1906 มีกฎหมายใหม่ในแอฟริกาใต้กำหนดให้ชาวอินเดียทุกคนจะต้องเข้ารับการจดทะเบียนและพิมพ์ลายนิ้วมือ
รวมถึงการให้หญิงชาวอินเดียต้องเปลื้องผ้าต่อหน้าตำรวจผิวขาว เพื่อกรอกตำหนิรูปพรรณลงในทะเบียนด้วย
ด้วยความโกรธแค้น ชาวอินเดียประมาณ 3,000 คนมารวมตัวกันที่เมืองโยฮันเนสเบิร์ต
เพื่อวางแผนการตอบโต้ คานธีลุกขึ้นแล้วก็พูดว่า
"เราจะสวดขอต่อพระเป็นเจ้าว่า เราจะเข้าคุก และเราจะอยู่ในนั้นจนกว่ากฎหมายนี้จะถูกเพิกถอน และเราจะยอม"
คำพูดของเขาจุดประกายให้เกิดการต่อต้านครั้งยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ของมวลชน
ผู้ประท้วงกระทำตามอย่างคานธี พวกเขาอดทนต่อการทุบตีของตำรวจ ยอมรับความเจ็บปวดอย่างกล้าหาญโดยไม่ตอบโต้
ค.ศ. 1915 คานธี เดินทางกลับมาถึงอินเดียที่เมืองบอมเบย์ โดยตัดสินใจละทิ้งการแต่งกายแบบตะวันตก
และหันมาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบดั้งเดิมของแคว้นคุชราต มีชาวอินเดียจำนวนมากไปชุมนุมต้อนรับ
จากนั้น คานธี ได้เดินทางไปหา รพินทรนาถ ฐากุร มหากวีแห่งอินเดีย และ รพิทรนาถนี้เอง ได้ขนานนามคานธีว่า
"
มหาตมา" (มหา + อาตมา = ผู้มีจิตใจสูง) อันแปลว่า "
ผู้มีจิตใจสูงส่ง" ให้แก่ คานธี เป็นคนแรก
ช่วงนั้นอินเดียถูกปกครองโดยลัทธิจักวรรดินิยมมากว่า 20 ปี และถูกกอบโกยเอาทรัพยากรต่างๆ ไปเป็นจำนวนมาก
คานธีเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องที่คนอินเดียกว่าสามร้อยล้านคน จะก้มหัวให้กับคนอังกฤษเพียงแสนคน
ทำให้เขาปลุกระดมให้คนอินเดียรวมตัวกันประท้วง มีการเคลื่อนไหวหลายต่อหลายครั้ง
มหาตมะ คานธี เป็นผู้นำในการต่อสู้เรียกร้องเอกราชของประเทศอินเดียจากเครือสหราชอาณาจักร
จนประเทศอินเดียได้รับเอกราชในปี พ.ศ.2490 โดยเขามีความเชื่อที่มั่นคงเกี่ยวกับการประท้วงโดยไม่ใช้ความรุนแรง
และความอดทนตามหลักศาสนา ที่เรียกว่าวิธี "อหิงสา" โดยเขาจะอดอาหารประท้วงจนความรุนแรงยุติลง
ในขณะที่มือข้างหนึ่งเปิดฉากการประท้วง แต่อีกข้างหนึ่งก็ต้องปกป้องพวกพ้องไม่ให้พ่ายต่อความต้องการก่อเหตุนองเลือด
หลายครั้งที่คานธียกเลิกการชุมนุม เมื่อเหตุการณ์ทำท่าจะบานปลายเป็นความรุนแรงของประชาชนในประเทศ
ในฐานะผู้นำทางการเมือง คานธีได้แสดงให้เห็นว่า "อหิงสา" สามารถใช้ให้เกิดผลทางการเมืองได้
บุคคลที่ไม่มีวันตาย
อัจฉริยะของโลก อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เคยกล่าวถึงคานธีไว้ว่า
“คนรุ่นอนาคตจะไม่มีทางเชื่อเลยว่า มีคนแบบนี้จริงอยู่บนโลกมนุษย์นี้”
มาร์ติน ลูเธอร์คิง ยกย่องเขาว่า “พระเยซูเจ้ามอบคำสอนแก่ข้าพเจ้า คานธีเป็นผู้มอบพิธีการ”
สมบัติติดตัวของคานธี มีเพียง กงล้อปั่นด้าย 6 เครื่อง จานรับประทานอาหาร 1 ใบ กระป๋องใส่นมแพะ 1 ใบ
ผ้านุ่งและผ้าเช็ดตัวทอด้วยมือ 6 ชิ้น นอกนั้นก็มีแต่ชื่อเสียงซึ่งท่านไม่เคยนำไปแปรเป็น "ทรัพย์" เลย
แต่ท่านถือเป็นบุคคลที่ไม่มีวันตาย นั่นเพราะท่านได้ทิ้ง
แนวคิดของการต่อสู้ พลังใจอันยิ่งใหญ่ ไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง
นักการเมืองหรือผู้ปกครองที่ไม่ตระหนักถึงศักดิ์ศรีของชีวิตมนุษย์ ย่อมไม่มีทางที่จะเข้าใจหลักการขั้นพื้นฐานของอหิงสา
ที่กล่าวว่า "
ผู้ที่บูชาสัจจะจะยอมตาย แต่ไม่ยอมเสียสัจจะ"
เพราะฉะนั้น ผู้ที่บูชาอหิงสาธรรมจะคุกเข่าอ้อนวอนศัตรูให้ฆ่าเขาเสีย
แต่ขออย่าให้หลู่เกียรติหรือบังคับให้เขาต้องกระทำสิ่งใดที่ไม่คู่ควรกับการมีชีวิตอย่างมนุษย์
ตัวอย่างคำสอน
คานธีทิ้งรองเท้า
ขณะที่ท่านคานธีกำลังขึ้นรถไฟไปต่างเมืองอยู่นั้น รองเท้าข้างหนึ่งของท่านตกลงจากรถไฟ
ท่านไม่สามารถลงมาเก็บรองเท้าท่านได้ทัน จึงถอดรองเท้าของท่านอีกข้างหนึ่ง
แล้วโยนออกไปใกล้ๆ กับรองเท้าข้างที่ตกลงไป ผู้ติดตามถามท่านว่า "ทำไมท่านจึงทำเช่นนั้น"
คานธีตอบว่า... "เพื่อว่าถ้ามีคนเก็บรองเท้าได้ เขาจะได้มีรองเท้าใส่ครบทั้งสองข้าง"
(ด้วยจิตใจที่กว้างขวาง ทำให้ท่านคานธีปล่อยสละ สิ่งที่ท่านมีอยู่กับคนซึ่งท่านไม่รู้จัก และอาจไม่มีวันรู้จักเขา)
ความอิจฉาริษยา
ความอิจฉาย่อมกลืนกินผู้ที่มีความอิจฉานั้นเอง
แต่ที่เป็นเป้าหมายของความอิจฉา ไม่ได้รับความกระทบกระเทือนอะไรเลย
และเขามักจะไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำว่าถูกอิจฉา
สภาพที่ตรงข้ามกับความอิจฉาคือ ความเป็นผู้มีใจกว้างและไม่ยอมให้เราอิจฉาใคร
หากใครมีคุณธรรมความดี เราก็จะชื่นชอบในคุณธรรมความดีนั้น
และจะได้ประโยชน์จากคุณธรรมความดีนั้นด้วย
ขอบคุณที่มาข้อมูลและภาพประกอบ
https://sites.google.com/site/hoopbew/mhatma-khan-thi-mahatma-gandhi
https://ppantip.com/topic/30790240
https://board.postjung.com/565406.html
http://topicstock.ppantip.com/religious/topicstock/2012/01/Y11534138/Y11534138.html
https://guru.sanook.com/4372/
....................................................................
ชีวีนี้ให้ แด่ชาวโลกา
ปล่อยวางอาวุธ ยุทโธคือใจ
ดับความเลวร้าย สู้คมศาสตรา
สองมือว่างเปล่า แห่งอหิงสา
หัวใจหาญกล้า มหาตมะคานธี
คานธี - คาราบาว (Official Audio)
https://www.youtube.com/watch?v=bvnGy2GGWc8
ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม...มีแต่เสียง 31/1/2018 (สันติ อหิงสา...มหาตมะ คานธี)
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ห้องเพลงและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
เมื่อวานเป็นครบรอบวันจากไปของ "นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่" ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้กับหลายคนทั่วโลก ... มหาตมะ คานธี
ท่านมีผลงานที่น่าทึ่งเป็นแบบอย่างสำหรับผู้เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ
ท่านเคยกล่าวให้กำลังใจตนเอง และผู้ที่เลือกจะเดินบนวิถีอหิงสาธรรมเช่นท่านว่า...
"เจ้าจะต้องยืนหยัดสู้กับโลกทั้งโลก แม้ว่าเจ้าจะต้องยืนหยัดอยู่โดยเดียวดายก็ตาม
เจ้าจะต้องจับตาดูใบหน้าของโลก แม้ว่าโลกจะมองเจ้าด้วยสายตาอันแดงก่ำไปด้วยเลือดก็ตาม
เจ้าจะต้องไม่กลัว จงเชื่อมั่นและจงยืนหยัดอยู่กับสิ่งที่เจ้าได้ต่อสู้มา และที่เจ้าได้ยอมอุทิศชีวิตให้แล้ว"
มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi) บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของโลก
มีชื่อเต็มว่า โมหันทาส กรรมจันท คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1869
และถูกลอบสังหารเสียชีวิตในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1948 ในวัย 78 ปี
มหาตมะ คานธี เกิดในครอบครัวชาวฮินดู รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย บิดาเป็นนักการเมืองท้องถิ่น
ส่วนมารดาเป็นผู้ที่เคร่งครัดศาสนามาก เมื่ออายุได้ 13 ปีก็แต่งงานกับ กัสตูรบา
เพราะเกิดในวรรณะแพศย์ ซึ่งถือว่าไม่ใช่ชนชั้นผู้นำในสังคมอินเดีย จึงมักถูกเหยียดหยามจากผู้อื่นตั้งแต่เด็ก
นั่นทำให้เขาเกลียดการแบ่งชั้นวรรณะเป็นอย่างมาก
ต่อมาท่านได้ไปเข้าเรียนด้านกฎหมายที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
คนเราควรเท่าเทียม
เหตุการณ์ที่เป็นการจุดประกายครั้งหนึ่งคือ ค.ศ.1893 คานธีได้ไปเป็นทนายความให้ลูกความในประเทศแอฟริกาใต้
เมื่อเดินทางไปถึง คานธี ได้ซื้อตั๋วรถไฟชั้น First Class (ชั้นที่หรูหราสะดวกสบายที่สุด ค่าตั๋วแพงที่สุด) ไปหาลูกความ
แต่ถูกเหยียดหยามจากผู้โดยสารผิวขาว ให้พนักงานไล่เขาไปนั่งที่นั่งชั้นสาม
โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่า รถไฟชั้นหนึ่งนี้สร้างสำหรับผู้โดยสารผิวขาวเท่านั้น แต่คานธีไม่ยอม
พอถึงสถานี เขาก็โดนโยนลงจากรถไฟอย่างไร้ความปราณี และจุดนี้เองที่เขาเองก็ถือว่า
“เป็นประสบการณ์ที่สร้างสรรค์มากที่สุดในชีวิต” ทำให้เขานั่งคิดทั้งคืนว่า การที่ถูกปฏิบัติอย่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
หลังจากนั้นอีกเพียงหนึ่งสัปดาห์ เขาจึงได้นำความคิดของเขามาแสดงออกใน การประชุมผู้อพยพชาวอินเดียพื้นเมือง
ขณะนั้นเขามีอายุเพียง 24 เท่านั้น
เหตุการณ์นี้ทำให้ คานธี เข้าต่อสู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนของชาวผิวคล้ำในแอฟริกาใต้
ตำนาน “อหิงสา” และ "เกลือ"
เป็นการต่อสู้สิทธิของชาวอินเดียในเรื่อง “เกลือ” (ในอดีตเกลือเป็นของที่มีค่า)
เพราะชาวอังกฤษกดขี่ชาวอินเดีย ไม่ให้ทำเกลือเองและ ถือว่าการขายเกลือของชาวอินเดียเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
แต่กลับสงวนไว้เพื่อชาวอังกฤษเท่านั้น
คานธีจึงวางแผนต่อต้านด้วยการเดินเท้าเปล่าระยะทางกว่าสองร้อยไมล์ ไปยังทะเลอาหรับ
พร้อมด้วยสาวกกว่าแปดสิบคน เพื่อไปทำเกลือที่นั่น
วันที่ 12 มีนาคม 1930 ประวัติศาสตร์เริ่มจารึกเมื่อการเดินทางเริ่มต้นขึ้น
นักข่าวต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามาทำข่าวมากมาย ถือเป็นครั้งแรกของการเข้ามาทำข่าวในดินแดนแห่งนี้
ทำให้โลกได้รู้ถึงการกระทำของเขาและสาวก จนทำให้มีคนเข้าร่วมเดินกับเขาเป็นจำนวนมาก
เป็นการเปิด “ความจริง”ให้โลกทั้งโลกได้รับรู้ และแม้จะไม่สามารถมาร่วมขบวนได้แต่ต่างก็ได้เอาใจช่วยเขา
คานธีใช้เวลาเดินทาง 24 วัน จนในที่สุดเมื่อวันที่ 6 เมษายน เขาและชาวอินเดียหลายแสนคนที่ร่วมเดินทาง
ก็เดินไปถึงเป้าหมาย เขาก้มลงหยิบเกลือขึ้นมาและพูดว่า
“ด้วยเกลือหยิบมือนี้ ข้าพเจ้าขอต่อต้านการบังคับของจักรวรรดิอังกฤษ ขอเราจงร่วมกันต่อสู้เพื่อสิทธิของเราเถิด”
ถือเป็นการสร้างประกายไฟแห่งการตอบสนองของคนอินเดีย ให้มีการค้าขายเกลือกันอย่างเปิดเผย
ทำให้คานธี และคนอินเดียหลายพันคนถูกจับและทำร้ายร่างกาย
แต่ด้วยแรงกดดันจากนานาประเทศ ทำให้ลอร์ดเออวินน์ ผู้สำเร็จราชการอังกฤษปล่อยตัวคานธี
และเปิดการเจรจาเพื่อต่อรอง คานธีมาตามคำเชิญพร้อมกับขอน้ำอุ่นมาหนึ่งแก้ว
พร้อมกับหยิบของขึ้นมาสิ่งหนึ่ง แล้วบอกว่า
“ท่านที่เคารพ อย่าบอกใครนะว่านี่คือเกลือที่ข้าทำอย่างผิดกฎหมาย” พร้อมกับเทเกลือลงน้ำและยกขึ้นดื่ม
และจากเหตุการณ์นี้ ทำให้กษัตริย์อังกฤษเรียกตัวเขาเข้าพบ
คานธีจึงมีโอกาสแสดงทรรศนะของเขาว่า
"ข้าพเจ้ากำลังขอร้องต่อบิดาแห่งชาติของเรา ให้ท่านมีเมตตา มีความรัก เห็นความจริงและงดใช้ความรุนแรง
ขอจงประทานพรแก่พวกเรา เสรีภาพอันสมบูรณ์เท่านั้นคือสิ่งที่เราต้องการ"
นักต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ด้วยสติปัญญาและสองมือเปล่า
คานธีมีผลงานเกี่ยวกับการต่อสู้อย่างสันติ อหิงสามากมายค่ะ ขอนำมาแค่บางส่วน
ค.ศ. 1901 คานธี เดินทางกลับอินเดีย แต่มีเสียงเรียกร้องจากชาวอินเดียในแอฟริกาใต้ให้กลับมาช่วยเหลือ
คานธี จึงเดินทางกลับไปยังแอฟริกาใต้เพื่อต่อสู้กับปัญหานี้อีกครั้ง โดยใช้วิธี "สัตยาเคราะห์"
ซึ่งคือ "การไม่ร่วมมือในกฎที่ไม่ยุติธรรม โดยไม่มีการใช้กำลัง" และวิธีนี้ได้ผลดีมาก
ทำให้ คานธี รู้ว่าการประท้วงโดยไม่ใช้กำลังนั้นให้ผลดีกว่าที่คิด และได้ผลดีในการเรียกร้องความยุติธรรม
ในปี 1906 มีกฎหมายใหม่ในแอฟริกาใต้กำหนดให้ชาวอินเดียทุกคนจะต้องเข้ารับการจดทะเบียนและพิมพ์ลายนิ้วมือ
รวมถึงการให้หญิงชาวอินเดียต้องเปลื้องผ้าต่อหน้าตำรวจผิวขาว เพื่อกรอกตำหนิรูปพรรณลงในทะเบียนด้วย
ด้วยความโกรธแค้น ชาวอินเดียประมาณ 3,000 คนมารวมตัวกันที่เมืองโยฮันเนสเบิร์ต
เพื่อวางแผนการตอบโต้ คานธีลุกขึ้นแล้วก็พูดว่า
"เราจะสวดขอต่อพระเป็นเจ้าว่า เราจะเข้าคุก และเราจะอยู่ในนั้นจนกว่ากฎหมายนี้จะถูกเพิกถอน และเราจะยอม"
คำพูดของเขาจุดประกายให้เกิดการต่อต้านครั้งยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ของมวลชน
ผู้ประท้วงกระทำตามอย่างคานธี พวกเขาอดทนต่อการทุบตีของตำรวจ ยอมรับความเจ็บปวดอย่างกล้าหาญโดยไม่ตอบโต้
ค.ศ. 1915 คานธี เดินทางกลับมาถึงอินเดียที่เมืองบอมเบย์ โดยตัดสินใจละทิ้งการแต่งกายแบบตะวันตก
และหันมาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบดั้งเดิมของแคว้นคุชราต มีชาวอินเดียจำนวนมากไปชุมนุมต้อนรับ
จากนั้น คานธี ได้เดินทางไปหา รพินทรนาถ ฐากุร มหากวีแห่งอินเดีย และ รพิทรนาถนี้เอง ได้ขนานนามคานธีว่า
"มหาตมา" (มหา + อาตมา = ผู้มีจิตใจสูง) อันแปลว่า "ผู้มีจิตใจสูงส่ง" ให้แก่ คานธี เป็นคนแรก
ช่วงนั้นอินเดียถูกปกครองโดยลัทธิจักวรรดินิยมมากว่า 20 ปี และถูกกอบโกยเอาทรัพยากรต่างๆ ไปเป็นจำนวนมาก
คานธีเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องที่คนอินเดียกว่าสามร้อยล้านคน จะก้มหัวให้กับคนอังกฤษเพียงแสนคน
ทำให้เขาปลุกระดมให้คนอินเดียรวมตัวกันประท้วง มีการเคลื่อนไหวหลายต่อหลายครั้ง
มหาตมะ คานธี เป็นผู้นำในการต่อสู้เรียกร้องเอกราชของประเทศอินเดียจากเครือสหราชอาณาจักร
จนประเทศอินเดียได้รับเอกราชในปี พ.ศ.2490 โดยเขามีความเชื่อที่มั่นคงเกี่ยวกับการประท้วงโดยไม่ใช้ความรุนแรง
และความอดทนตามหลักศาสนา ที่เรียกว่าวิธี "อหิงสา" โดยเขาจะอดอาหารประท้วงจนความรุนแรงยุติลง
ในขณะที่มือข้างหนึ่งเปิดฉากการประท้วง แต่อีกข้างหนึ่งก็ต้องปกป้องพวกพ้องไม่ให้พ่ายต่อความต้องการก่อเหตุนองเลือด
หลายครั้งที่คานธียกเลิกการชุมนุม เมื่อเหตุการณ์ทำท่าจะบานปลายเป็นความรุนแรงของประชาชนในประเทศ
ในฐานะผู้นำทางการเมือง คานธีได้แสดงให้เห็นว่า "อหิงสา" สามารถใช้ให้เกิดผลทางการเมืองได้
บุคคลที่ไม่มีวันตาย
อัจฉริยะของโลก อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เคยกล่าวถึงคานธีไว้ว่า
“คนรุ่นอนาคตจะไม่มีทางเชื่อเลยว่า มีคนแบบนี้จริงอยู่บนโลกมนุษย์นี้”
มาร์ติน ลูเธอร์คิง ยกย่องเขาว่า “พระเยซูเจ้ามอบคำสอนแก่ข้าพเจ้า คานธีเป็นผู้มอบพิธีการ”
สมบัติติดตัวของคานธี มีเพียง กงล้อปั่นด้าย 6 เครื่อง จานรับประทานอาหาร 1 ใบ กระป๋องใส่นมแพะ 1 ใบ
ผ้านุ่งและผ้าเช็ดตัวทอด้วยมือ 6 ชิ้น นอกนั้นก็มีแต่ชื่อเสียงซึ่งท่านไม่เคยนำไปแปรเป็น "ทรัพย์" เลย
แต่ท่านถือเป็นบุคคลที่ไม่มีวันตาย นั่นเพราะท่านได้ทิ้งแนวคิดของการต่อสู้ พลังใจอันยิ่งใหญ่ ไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง
นักการเมืองหรือผู้ปกครองที่ไม่ตระหนักถึงศักดิ์ศรีของชีวิตมนุษย์ ย่อมไม่มีทางที่จะเข้าใจหลักการขั้นพื้นฐานของอหิงสา
ที่กล่าวว่า "ผู้ที่บูชาสัจจะจะยอมตาย แต่ไม่ยอมเสียสัจจะ"
เพราะฉะนั้น ผู้ที่บูชาอหิงสาธรรมจะคุกเข่าอ้อนวอนศัตรูให้ฆ่าเขาเสีย
แต่ขออย่าให้หลู่เกียรติหรือบังคับให้เขาต้องกระทำสิ่งใดที่ไม่คู่ควรกับการมีชีวิตอย่างมนุษย์
ตัวอย่างคำสอน
คานธีทิ้งรองเท้า
ขณะที่ท่านคานธีกำลังขึ้นรถไฟไปต่างเมืองอยู่นั้น รองเท้าข้างหนึ่งของท่านตกลงจากรถไฟ
ท่านไม่สามารถลงมาเก็บรองเท้าท่านได้ทัน จึงถอดรองเท้าของท่านอีกข้างหนึ่ง
แล้วโยนออกไปใกล้ๆ กับรองเท้าข้างที่ตกลงไป ผู้ติดตามถามท่านว่า "ทำไมท่านจึงทำเช่นนั้น"
คานธีตอบว่า... "เพื่อว่าถ้ามีคนเก็บรองเท้าได้ เขาจะได้มีรองเท้าใส่ครบทั้งสองข้าง"
(ด้วยจิตใจที่กว้างขวาง ทำให้ท่านคานธีปล่อยสละ สิ่งที่ท่านมีอยู่กับคนซึ่งท่านไม่รู้จัก และอาจไม่มีวันรู้จักเขา)
ความอิจฉาริษยา
ความอิจฉาย่อมกลืนกินผู้ที่มีความอิจฉานั้นเอง
แต่ที่เป็นเป้าหมายของความอิจฉา ไม่ได้รับความกระทบกระเทือนอะไรเลย
และเขามักจะไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำว่าถูกอิจฉา
สภาพที่ตรงข้ามกับความอิจฉาคือ ความเป็นผู้มีใจกว้างและไม่ยอมให้เราอิจฉาใคร
หากใครมีคุณธรรมความดี เราก็จะชื่นชอบในคุณธรรมความดีนั้น
และจะได้ประโยชน์จากคุณธรรมความดีนั้นด้วย
ขอบคุณที่มาข้อมูลและภาพประกอบ
https://sites.google.com/site/hoopbew/mhatma-khan-thi-mahatma-gandhi
https://ppantip.com/topic/30790240
https://board.postjung.com/565406.html
http://topicstock.ppantip.com/religious/topicstock/2012/01/Y11534138/Y11534138.html
https://guru.sanook.com/4372/
....................................................................
ชีวีนี้ให้ แด่ชาวโลกา
ปล่อยวางอาวุธ ยุทโธคือใจ
ดับความเลวร้าย สู้คมศาสตรา
สองมือว่างเปล่า แห่งอหิงสา
หัวใจหาญกล้า มหาตมะคานธี
คานธี - คาราบาว (Official Audio)
https://www.youtube.com/watch?v=bvnGy2GGWc8