ใน the last samurai > ญี่ปุ่นเริ่ม ฝึกทหารแบบใหม่ และสร้างรางรถไฟ ช่วงปี 1876 -- ในบท 1000 ไมล์ใน 2 ปี

นประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ไซโก ทากาโมริ (Saigo Takamori, 西郷 隆盛)

เป็นหนึ่งในชื่อที่ยังได้รับความเคารพยกย่องอย่างสูงมาก เพราะเป็นดั่งสัญลักษณ์แห่งวิถีซามูไรที่ตราตรึงคนญี่ปุ่นมายาวนาน


ดิมทีแล้ว ไซโก ทากาโมริ เป็นซามูไรชั้นล่างในแคว้นซัตสึมะ แต่เขาเป็นผู้มีความสามารถโดดเด่น เป็นผู้นำของคนหนุ่มรุ่นในซัตสึมะ

มีบุคลิกเข้มแข็ง ตรงไปตรงมา กล้าหาญ ซื่อสัตย์ เชื่อถือได้ ผู้คนจึงให้ความนิยมยกย่อง แม้แต่ชนชั้นผู้นำของซัตสึมะเองก็ไว้วางใจเขามาก

ไซโกได้รับบาดเจ็บสาหัสในสนามรบ จึงตัดสินใจทำฮาราคีรี ชื่อของไซโกจึงจบสิ้นลงตรงนั้น และการตายของไซโกก็ถือเป็นจุดสิ้นสุดของซามูไร นักรบจากญี่ปุ่นยุคเก่าอย่างแท้จริง

แต่ถึงกระนั้น จิตวิญญาณซามูไรและวิถีบูชิโดก็ได้มีการนำกลับมาปลูกฝังให้เป็นวิถีชีวิตของประชาชนทั่วไป ทำให้เกิดความเป็นชาตินิยมที่รุนแรงในการสถาปนาจักรวรรดิญี่ปุ่น และยังได้สืบทอดต่อมาจนถึงยุคใหม่นี้ โดยแทรกซึมอยู่ในระดับชั้นของสังคม การทำงาน และการบริหารองค์กรของญี่ปุ่น


______________


รถไฟสายแรกของญี่ปุ่นนั้นถูกสร้างขึ้นในปี    คศ. 1872         เป็นเส้นทางระหว่างเมืองโตเกียวกับโยโกฮาม่า
ดำเนินการสร้างและบริการโดย Japan Government railways หรือ JGR โดยมีประเทศอังกฤษให้คำปรึกษา
รางที่ใช้เป็นรางกว้าง 1.067 เมตร

การขยายทางรถไฟดำเนินไปเรื่อยๆ มีทั้งที่สร้างโดยรัฐและเอกชน
โดยในปี คศ. 1889 ทางรถไฟสาย Tokaido ที่เชื่อมระหว่างโตเกียวและโอซาก้าก็สร้างเสร็จ
ซึ่ง Tokaido main line     นี่เองนับเป็นทางรถไฟที่สำคัญที่สุดของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน







------------------------------------  


ในขณะที่ไทยสร้างรถไฟสายแรกจากกรุงเทพฯไปนครราชสีมาสร้างเสร็จ(บางส่วน) และเปิดใช้งานในปีพศ. 2439       หรือปี  คศ.1896


ไทยเรา เริ่มกิจการรถไฟ ในสมัยรัชกาลที่ 5  

แต่รถไฟสายแรกของไทย  เป็นการดำเนินการโดยเอกชน ..  คือ วิ่งจากหัวลำโพง - ไปถึง ปากน้ำ

ผมคิดว่า ส่วนหนึ่ง คือ เอาไว้ขนทหาร  ไปที่ปากน้ำ หากเกิดถูก รุกรานทางทะเล บุกเข้ามาทางปากน้ำ  

_____    

      วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112

วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112    (เอกสารภาษาอังกฤษเรียกว่า Franco-Siamese War หรือ   สงครามฝรั่งเศส - สยาม  )

เป็นเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรสยามกับฝรั่งเศสในสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2436 จากการอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง (พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศลาวในปัจจุบัน)

วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 รัฐบาลฝรั่งเศสได้แจ้งแก่ฝ่ายไทยว่า ผู้การโบรี (Bory)  
จะนำเรือปืนแองกงสตอง (Inconstant) และเรือโกแมต (Comete) เข้ามายังกรุงเทพฯ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ทรงคัดค้านว่าละเมิดสนธิสัญญาฉบับ พ.ศ. 2399 ในวันที่ 11 กรกฎาคม เรือทั้งสองลำจึงมุ่งหน้ามากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทย จึงได้เกิดการต่อสู้บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้าและป้อมผีเสื้อสมุทร ต่างฝ่ายได้รับความเสียหาย โดยฝรั่งเศสสามารถฝ่ากระสุนเข้ามาจอดที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสได้และยื่นคำขาดต่อไทยดังนี้





___   พ.ศ. ๒๔๒๙ ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น รัฐบาลไทยได้อนุมัติสัมปทานแก่บริษัทชาวเดนมาร์ก เพื่อสร้างทางรถไฟสายแรกขึ้นในประเทศไทย ระหว่าง กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ แต่บริษัทยังขาดทุนทรัพย์ จึงมิได้ดำเนินการก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยืมทุนทรัพย์ไปสมทบด้วยส่วนหนึ่ง และได้เสด็จพระราชดำเนินแซะดินเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ กับได้เปิดทางรถไฟ ณ สถานีสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖ โดยใช้รถจักรไอน้ำลากจูง แต่ต่อมาภายหลังเปลี่ยนใช้รถไฟฟ้า ทางรถไฟสายนี้ได้ยุบเลิกกิจการไป เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๓



แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่