‘การเป็นแชมป์ว่ายากแล้ว แต่การรักษาแชมป์ยากกว่า’ ประโยคคลาสสิกที่เรามักได้ยินจากแวดวงกีฬากันอยู่บ่อยๆ ถ้าวันนี้จะเอามาปรับใช้กับวงการธุรกิจด้วยก็คงจะไม่เกินจริงไปนัก และเชื่อว่าคงมีหลายคนพร้อมใจกันพยักหน้าว่าเห็นด้วย โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการ SMEs ไม่ว่าจะมือใหม่หรือมือเก๋า เพราะการเริ่มต้นทำธุรกิจที่ว่ายากแล้ว อาจจะไม่ยากเท่ากับการนำพาธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน
แน่นอนว่าเมื่อคิดที่จะ ‘ทำธุรกิจ’ หนทางแห่งความสำเร็จย่อมไม่ง่าย ระหว่างทางต้องมีปัญหาและแบบทดสอบให้ต้องตัดสินใจอยู่เสมอ ซึ่งถ้าจับทางได้ถูกมันก็ย่อมจะทำให้ธุรกิจเติบโต ตรงนี้หลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องยากที่จะจัดการได้ถูกทางทุกครั้งที่มีปัญหา แต่ถ้าผู้ประกอบการมีการเตรียมความพร้อมไว้เป็นอย่างดี อย่างน้อยมันจะทำให้อนาคตธุรกิจของเราเติบโตอย่างยั่งยืนได้ไม่ยาก มาลองดูเทคนิคเหล่านี้กันครับ
1. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ให้คำปรึกษาที่น่าเชื่อถือ
ถึงแม้ธุรกิจ SMEs จะเกิดขึ้นจากความถนัดหรือความเชี่ยวชาญของตัวผู้ประกอบการเป็นหลัก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมี Expert หรือผู้ให้คำปรึกษาที่น่าเชื่อถือมาช่วยเสริมทัพ ให้คำแนะนำ เห็นแย้ง หรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ จะช่วยทำให้ผู้ประกอบการลงสนามแข่งขันต่อไปได้อย่างมั่นใจมากขึ้น ถึงท้ายที่สุดผลจะออกมาเป็นเช่นไร แต่อย่างน้อยคำปรึกษาจาก Expert หรือผู้ให้คำปรึกษาก็อาจจะเป็นการเปิดโลกอีกมุมของผู้ประกอบการที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
สำหรับผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ให้คำปรึกษาในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงแต่ตัวบุคคลอย่างเดียวแต่ยังหมายถึงเหล่าสถาบันการเงินที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาด้วย
2. เข้าถึงแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจเพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจ
แน่นอนว่าการตัดสินใจไม่ว่าจะเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ย่อมส่งผลต่อธุรกิจเสมอ การที่จะตัดสินใจขับเคลื่อนธุรกิจไปในทิศทางใด เรื่องหนึ่งเลยที่ต้องทำก็คือการหาข้อมูลมาประกอบและวิเคราะห์ เพราะยิ่งเรามีข้อมูลมากเท่าไหร่มันก็จะยิ่งทำให้เรามองได้รอบด้านและได้เปรียบกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ
ทั้งนี้ แหล่งข้อมูลที่กล่าวถึงอาจจะมาในรูปแบบของบทความประสบการณ์การบริหารธุรกิจของผู้ประกอบการรายอื่น หรือข่าวสารต่างๆ ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นเฉพาะในตำราเอกสารเท่านั้น เพราะโอกาสที่ข้อมูลในประโยคเล็กๆ จากบทความจะช่วยพลิกอนาคตให้กับธุรกิจยิ่งใหญ่ได้ก็มีเหมือนกัน
3. หาแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจ
ถึงจะถูกเรียกว่าเป็นธุรกิจ SMEs (ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) แต่ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจนั้นจะถูกจำกัดที่ตัวเลขรายได้หลักล้านหรือสิบล้านเท่านั้น ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งอาจมองว่าให้มีกำไรระดับหนึ่งก่อนแล้วค่อยคิดเรื่องที่จะขยายกิจการก็ได้ ไม่ปฏิเสธว่าวิธีการนี้เป็นเรื่องที่ถูกและใช่ แต่กระนั้นต้องอย่าลืมว่า ในโลกของการค้าขาย การขยับตัวช้าเพียงก้าวเดียวอาจหมายถึงการก้าวพลาด เพราะในขณะที่เรากำลังรอจังหวะ คู่แข่งอาจจะหนีไปไกลและกำลังแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดไปเรื่อยๆ แล้ว
อีกจุดหนึ่งที่ทำไมถึงต้องเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจ ส่วนหนึ่งเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะทำให้ธุรกิจสั่นคลอน เพราะถ้าหากธุรกิจไม่มีการต่อยอดหรือขยายเพิ่ม ยึดอยู่กับสิ่งที่เดิมๆ และเมื่อสิ่งนั้นไม่สามารถทำกำไรได้แล้วก็อาจจะทำให้ธุรกิจของเราอยู่รอดได้ยาก
ดังนั้นการขอสินเชื่อเพื่อให้ธุรกิจเติบโตจึงเป็นทางหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม และถ้าเราต้องการสินเชื่อเพื่อขยายกิจการเพิ่ม ผู้ประกอบการสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://sme.ktb.co.th นอกจากมีข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อต่างๆ แล้วยังสามารถทดลองคำนวณความสามารถในการขอสินเชื่อเบื้องต้น (Pretest) ได้ด้วย ซึ่งข้อดีก็คือ จะทำให้ผู้ประกอบการ SMEs พิจารณาได้ว่ามีคุณสมบัติพอที่จะขอสินเชื่อได้หรือไม่ และจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
โดยกรอกข้อมูลเบื้องต้นดังนี้ก็จะสามารถคำนวณสินเชื่อได้แล้ว
1. ยอดขายต่อปี
2. มูลค่าหลักประกัน
3. สัดส่วนต้นทุนขายต่อรายได้
4. ขายเชื่อให้เครดิตลูกค้า
5. มีสินค้าคงคลังทุกขณะ
6. ได้เครดิตซื้อวัตถุดิบจากเจ้าหนี้
สำหรับเทคนิคทั้ง 3 ข้อที่เราเอามาฝาก ผู้ประกอบการ SMEs ไม่ว่าจะมือใหม่หรือมือเก๋าสามารถลองนำไปปรับใช้กันดูได้นะครับ เพราะการทำธุรกิจไม่ได้มุ่งหวังเพียงแต่เรื่องกำไรเท่านั้น แต่หากต้องการที่จะให้เติบโตและยั่งยืนอย่างมั่นคงด้วย
สำหรับเว็บไซต์
https://sme.ktb.co.th นอกจากจะสามารถคำนวณความสามารถในการขอสินเชื่อเบื้องต้นได้แล้ว ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับเคล็ดลับการทำธุรกิจ SMEs ที่น่าสนใจและเชื่อถือ รวมถึงข้อมูล บทความข่าวสารเกี่ยวกับการทำธุรกิจ และถ้าสนใจผลิตภัณฑ์สินเชื่อสำหรับ SMEs วิธีการขอสินเชื่อ
Click
[Advertorial]
3 เทคนิค ปั้นธุรกิจให้ยั่งยืน
แน่นอนว่าเมื่อคิดที่จะ ‘ทำธุรกิจ’ หนทางแห่งความสำเร็จย่อมไม่ง่าย ระหว่างทางต้องมีปัญหาและแบบทดสอบให้ต้องตัดสินใจอยู่เสมอ ซึ่งถ้าจับทางได้ถูกมันก็ย่อมจะทำให้ธุรกิจเติบโต ตรงนี้หลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องยากที่จะจัดการได้ถูกทางทุกครั้งที่มีปัญหา แต่ถ้าผู้ประกอบการมีการเตรียมความพร้อมไว้เป็นอย่างดี อย่างน้อยมันจะทำให้อนาคตธุรกิจของเราเติบโตอย่างยั่งยืนได้ไม่ยาก มาลองดูเทคนิคเหล่านี้กันครับ
1. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ให้คำปรึกษาที่น่าเชื่อถือ
ถึงแม้ธุรกิจ SMEs จะเกิดขึ้นจากความถนัดหรือความเชี่ยวชาญของตัวผู้ประกอบการเป็นหลัก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมี Expert หรือผู้ให้คำปรึกษาที่น่าเชื่อถือมาช่วยเสริมทัพ ให้คำแนะนำ เห็นแย้ง หรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ จะช่วยทำให้ผู้ประกอบการลงสนามแข่งขันต่อไปได้อย่างมั่นใจมากขึ้น ถึงท้ายที่สุดผลจะออกมาเป็นเช่นไร แต่อย่างน้อยคำปรึกษาจาก Expert หรือผู้ให้คำปรึกษาก็อาจจะเป็นการเปิดโลกอีกมุมของผู้ประกอบการที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
สำหรับผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ให้คำปรึกษาในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงแต่ตัวบุคคลอย่างเดียวแต่ยังหมายถึงเหล่าสถาบันการเงินที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาด้วย
2. เข้าถึงแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจเพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจ
แน่นอนว่าการตัดสินใจไม่ว่าจะเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ย่อมส่งผลต่อธุรกิจเสมอ การที่จะตัดสินใจขับเคลื่อนธุรกิจไปในทิศทางใด เรื่องหนึ่งเลยที่ต้องทำก็คือการหาข้อมูลมาประกอบและวิเคราะห์ เพราะยิ่งเรามีข้อมูลมากเท่าไหร่มันก็จะยิ่งทำให้เรามองได้รอบด้านและได้เปรียบกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ
ทั้งนี้ แหล่งข้อมูลที่กล่าวถึงอาจจะมาในรูปแบบของบทความประสบการณ์การบริหารธุรกิจของผู้ประกอบการรายอื่น หรือข่าวสารต่างๆ ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นเฉพาะในตำราเอกสารเท่านั้น เพราะโอกาสที่ข้อมูลในประโยคเล็กๆ จากบทความจะช่วยพลิกอนาคตให้กับธุรกิจยิ่งใหญ่ได้ก็มีเหมือนกัน
3. หาแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจ
ถึงจะถูกเรียกว่าเป็นธุรกิจ SMEs (ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) แต่ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจนั้นจะถูกจำกัดที่ตัวเลขรายได้หลักล้านหรือสิบล้านเท่านั้น ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งอาจมองว่าให้มีกำไรระดับหนึ่งก่อนแล้วค่อยคิดเรื่องที่จะขยายกิจการก็ได้ ไม่ปฏิเสธว่าวิธีการนี้เป็นเรื่องที่ถูกและใช่ แต่กระนั้นต้องอย่าลืมว่า ในโลกของการค้าขาย การขยับตัวช้าเพียงก้าวเดียวอาจหมายถึงการก้าวพลาด เพราะในขณะที่เรากำลังรอจังหวะ คู่แข่งอาจจะหนีไปไกลและกำลังแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดไปเรื่อยๆ แล้ว
อีกจุดหนึ่งที่ทำไมถึงต้องเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจ ส่วนหนึ่งเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะทำให้ธุรกิจสั่นคลอน เพราะถ้าหากธุรกิจไม่มีการต่อยอดหรือขยายเพิ่ม ยึดอยู่กับสิ่งที่เดิมๆ และเมื่อสิ่งนั้นไม่สามารถทำกำไรได้แล้วก็อาจจะทำให้ธุรกิจของเราอยู่รอดได้ยาก
ดังนั้นการขอสินเชื่อเพื่อให้ธุรกิจเติบโตจึงเป็นทางหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม และถ้าเราต้องการสินเชื่อเพื่อขยายกิจการเพิ่ม ผู้ประกอบการสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://sme.ktb.co.th นอกจากมีข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อต่างๆ แล้วยังสามารถทดลองคำนวณความสามารถในการขอสินเชื่อเบื้องต้น (Pretest) ได้ด้วย ซึ่งข้อดีก็คือ จะทำให้ผู้ประกอบการ SMEs พิจารณาได้ว่ามีคุณสมบัติพอที่จะขอสินเชื่อได้หรือไม่ และจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
โดยกรอกข้อมูลเบื้องต้นดังนี้ก็จะสามารถคำนวณสินเชื่อได้แล้ว
1. ยอดขายต่อปี
2. มูลค่าหลักประกัน
3. สัดส่วนต้นทุนขายต่อรายได้
4. ขายเชื่อให้เครดิตลูกค้า
5. มีสินค้าคงคลังทุกขณะ
6. ได้เครดิตซื้อวัตถุดิบจากเจ้าหนี้
สำหรับเทคนิคทั้ง 3 ข้อที่เราเอามาฝาก ผู้ประกอบการ SMEs ไม่ว่าจะมือใหม่หรือมือเก๋าสามารถลองนำไปปรับใช้กันดูได้นะครับ เพราะการทำธุรกิจไม่ได้มุ่งหวังเพียงแต่เรื่องกำไรเท่านั้น แต่หากต้องการที่จะให้เติบโตและยั่งยืนอย่างมั่นคงด้วย
สำหรับเว็บไซต์ https://sme.ktb.co.th นอกจากจะสามารถคำนวณความสามารถในการขอสินเชื่อเบื้องต้นได้แล้ว ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับเคล็ดลับการทำธุรกิจ SMEs ที่น่าสนใจและเชื่อถือ รวมถึงข้อมูล บทความข่าวสารเกี่ยวกับการทำธุรกิจ และถ้าสนใจผลิตภัณฑ์สินเชื่อสำหรับ SMEs วิธีการขอสินเชื่อ Click
[Advertorial]