ผมเห็นใจชนชั้นกลางนะฮะ กว่าจะเรียนจบหมดไปหลายแสนหลายล้าน ตำแหน่งงานในองค์กรใหญ่ๆ ก็ลดลงเรื่อยๆๆ ที่ทำงานผมก็โดนเหมือนกัน
https://brandinside.asia/scb-transformation-2020-scb-vision/
ทำไม SCB ต้องลดสาขา-พนักงาน? คำตอบอยู่ที่การปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ในช่วง 3 ปีจากนี้
กลายเป็นข่าวแรงประจำวันไปแล้ว สำหรับการประกาศ “ลดสาขา” และ “ลดพนักงาน” ลงอย่างมีนัยสำคัญภายในเวลา 3 ปีของธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB โดยจากนี้ สาขาจะลดลงจาก 1,153 สาขาเหลือ 400 สาขา และลดจำนวนพนักงานจาก 27,000 คน เหลือ 15,000 คน
จากปกติในรอบปีที่ผ่านมาธนาคารหลายแห่งก็ปรับลดคนและสาขาอยู่แล้ว แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ SCB ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ โดย อาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ SCB กล่าวอย่างชัดเจนในงาน 2020 SCB VISION จึงเป็นเรื่องน่าสนใจว่า แผนการทั้งหมดของ SCB ในเวลา 3 ปีจากนี้ จะเป็นอย่างไรต่อไป
ประกาศแผนลงทุน 3 ส่วนรับ SCB Transformation
CEO ของ SCB บอกว่า ผลประกอบการปี 2017 ที่ผ่านมาลดลงจากปี 2016 พอสมควร ส่วนหนึ่งเพราะโครงสร้างรายได้ของธนาคารเริ่มเปลี่ยน จากเดิมมีรายได้จากค่าธรรมเนียมประมาณ 30% และรายได้จากดอกเบี้ย 70% แต่ สัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียมกำลังลดลงเรื่อยๆ จากเทคโนโลยีที่เข้ามาแทนที่
ดังนั้นต้องสร้างสมดุลใหม่ของผลประกอบการในอนาคต ดังนั้นช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่า SCB ลงทุนโดยเน้นใน 3 ส่วนหลัก คือ
เทคโนโลยี ถือเป็นส่วนหลัก โดยมีทั้ง Digital Ventures (DV) ที่ดูเรื่องสตาร์ทอัพ และ SCB Abacus ที่ดูเรื่องดาต้า
พนักงาน SCB จะแข่งขันได้ในอนาคต และมีขีดความสามารถในการให้บริการที่ดีขึ้น ต้องให้ความสำคัญกับบุคลากร การพัฒนาทักษะให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี
ลูกค้า เป็นการลงทุนเพื่อพัฒนาบริการให้ดีขึ้น มีความร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ เพื่อขยายให้ SCB ให้บริการได้มากกว่าธุรกรรมทางการเงิน
และในปีนี้ก็จะยังเน้นการลงทุนใน 3 ส่วนนี้ เพื่อทำลายข้อจำกัดในอดีต ที่ SCB ช้า, ต้นทุนสูง และขาดความคิดสร้างสรรค์ แต่ต่อไปจะต้องพัฒนาขึ้น
กลยุทธ์ Going Upside Down ผลักดันองค์กรด้วย 5 แนวทาง
สำหรับการปรับลดสาขาและพนักงาน ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะเกิดขึ้นใน 3 ปีนี้ เพราะการจะปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความเร็ว ลดต้นทุน และใช้เทคโนโลยี จะเริ่มจาก 5 แนวทางต่อไปนี้
Lean the Bank หรือการลดขนาดขององค์กร จากเดิมมีพนักงาน 27,000 คน และสาขา 1,153 สาขา จะกลับหัวตีลังกา (Going Upside Down) เป็นเรื่องยาก การทำตัวให้เล็กและคล่องจะช่วยได้มาก แต่จะไม่ใช่วิธีการปลดพนักงานจำนวนมาก เพราะปกติมีพนักงาน Turn Over ประมาณ 3,000 คนต่อปี จึงจะใช้การลดรับพนักงานใหม่เป็นหลัก
ส่วนจำนวนสาขา จากปัจจุบัน การทำธุรกรรมที่สาขามีสัดส่วนประมาณ 15% ของธุรกรรมทั้งหมด จึงจะลดสาขาที่มีบทบาทน้อย และเพิ่มบริการอื่นๆ แทน เช่น SCB Express, SCB Investment Center, SCB Business Center, SCB Service และบริการผ่าน Digital SCB Easy
High Margin Lending เน้นการปล่อยสินเชื่อธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง โดยมีทั้งสินเชื่อเพื่อการบริโภค และ สินเชื่อเพื่อธุรกิจ และการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) ซึ่งถือเป็นบริการหลักของ SCB อยู่แล้ว
Digital Acquisition การทำธุรกิจในโลกดิจิทัล ผลักดันการการเข้าสู่ Platform ใหม่ ซึ่งจะรุนแรงมากขึ้นอีกใน 2 ปีจากนี้
Data Capbailities เพิ่มขีดความสามารถการใช้ข้อมูล ซึ่งข้อมูล จะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการทำธุรกิจยุคต่อไป
New Business Model การสร้างสรรค์รูปแบบธุรกิจใหม่ โดยมีหัวหอกสำคัญคือ DV และ SCB Abacus
อาทิตย์ บอกว่า ธนาคารเคยหากินกับค่าธรรมเนียมได้มหาศาลในช่วงที่ผ่านมา แต่จากนี้ต้อง Disrupt ตัวเองเพราะรายได้แบบเดิมมีแต่จะลดลง ดังนั้นหัวใจสำคัญคือ การเปลี่ยนความคิดและความเชื่อแบบเดิม โดยต้องมีความกล้าทดลองทำสิ่งใหม่ เน้นพัฒนาความสามารถในระยะยาว
“ถ้าเราไม่บีบตัวเองให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ก็จะอยู่แบบเดิมต่อไปเรื่อยๆ และธุรกิจมีแต่ละถดถอยลง หลังจากรับตำแหน่ง CEO เมื่อกลางปี 2015 ก็เริ่มกระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์กรทันที ถ้าปีนี้ยังไม่เห็นความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ในฐานะ CEO พร้อมจะไล่ตัวเองออกเช่นกัน”
Bank As a Platform ลูกค้าอยู่ที่ไหน SCB จะอยู่ที่นั่น
อาทิตย์ บอกว่า ปกติธนาคารทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มอยู่แล้ว แต่ด้วยเทคโนโลยีและดาต้า การเป็นแพลตฟอร์มต้องพัฒนาไปจากเดิม ต่อไปจะรอลูกค้ามาหาที่สาขาไม่ได้ แต่ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ไหน ถ้าต้องการบริการ SCB จะไปอยู่ที่นั่น นำเสนอบริการที่ถูกต้อง ถูกคน ถูกเวลา
นี่เป็นอีกเหตุผลที่สนับสนุนการลดจำนวนสาขา จากปัจจุบันมีสาขาที่ธุรกรรมเกิดขึ้นน้อย และโดยเฉลี่ย 1 สาขาจะมีพนักงาน 10-12 คน นอกจากลดจำนวนสาขาได้แล้ว ยังลดจำนวนพนักงานประจำสาขาเหลือ 5-6 คนได้ด้วย และเสริมด้วยบริการ Digital แทน
ภายใต้ภารกิจ “SCB Transformation” เป้าหมายการเป็น “The Most Admired Bank” (ธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด) ก็มีโอกาสเป็นไปได้มากขึ้น
สรุป
การประกาศว่าจะปรับลดสาขาและพนักงานลงจำนวนมาก อาจดูน่ากลัวและมีผลกระทบ แต่ความเป็นจริงนี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในแทบทุกอุตสาหกรรม และเกิดขึ้นทั่วโลก ทางของแรงงานคือ ต้องพัฒนาทักษะและความสามารถของตัวเอง ให้สอดคล้องกับทิศทางของโลก SCB เป็นธนาคารแรกที่ออกมาประกาศทิศทางที่จะเกิดขึ้น พร้อมกับอธิบายแผนการในอนาคต ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนผลจะเป็นอย่างไร ปีนี้จะได้เห็นกัน
อ่านข่าว SCB วันนี้แล้ว ตำแหน่งงานกำลังหด อย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่นี้ต่อไป
https://brandinside.asia/scb-transformation-2020-scb-vision/
ทำไม SCB ต้องลดสาขา-พนักงาน? คำตอบอยู่ที่การปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ในช่วง 3 ปีจากนี้
กลายเป็นข่าวแรงประจำวันไปแล้ว สำหรับการประกาศ “ลดสาขา” และ “ลดพนักงาน” ลงอย่างมีนัยสำคัญภายในเวลา 3 ปีของธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB โดยจากนี้ สาขาจะลดลงจาก 1,153 สาขาเหลือ 400 สาขา และลดจำนวนพนักงานจาก 27,000 คน เหลือ 15,000 คน
จากปกติในรอบปีที่ผ่านมาธนาคารหลายแห่งก็ปรับลดคนและสาขาอยู่แล้ว แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ SCB ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ โดย อาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ SCB กล่าวอย่างชัดเจนในงาน 2020 SCB VISION จึงเป็นเรื่องน่าสนใจว่า แผนการทั้งหมดของ SCB ในเวลา 3 ปีจากนี้ จะเป็นอย่างไรต่อไป
ประกาศแผนลงทุน 3 ส่วนรับ SCB Transformation
CEO ของ SCB บอกว่า ผลประกอบการปี 2017 ที่ผ่านมาลดลงจากปี 2016 พอสมควร ส่วนหนึ่งเพราะโครงสร้างรายได้ของธนาคารเริ่มเปลี่ยน จากเดิมมีรายได้จากค่าธรรมเนียมประมาณ 30% และรายได้จากดอกเบี้ย 70% แต่ สัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียมกำลังลดลงเรื่อยๆ จากเทคโนโลยีที่เข้ามาแทนที่
ดังนั้นต้องสร้างสมดุลใหม่ของผลประกอบการในอนาคต ดังนั้นช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่า SCB ลงทุนโดยเน้นใน 3 ส่วนหลัก คือ
เทคโนโลยี ถือเป็นส่วนหลัก โดยมีทั้ง Digital Ventures (DV) ที่ดูเรื่องสตาร์ทอัพ และ SCB Abacus ที่ดูเรื่องดาต้า
พนักงาน SCB จะแข่งขันได้ในอนาคต และมีขีดความสามารถในการให้บริการที่ดีขึ้น ต้องให้ความสำคัญกับบุคลากร การพัฒนาทักษะให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี
ลูกค้า เป็นการลงทุนเพื่อพัฒนาบริการให้ดีขึ้น มีความร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ เพื่อขยายให้ SCB ให้บริการได้มากกว่าธุรกรรมทางการเงิน
และในปีนี้ก็จะยังเน้นการลงทุนใน 3 ส่วนนี้ เพื่อทำลายข้อจำกัดในอดีต ที่ SCB ช้า, ต้นทุนสูง และขาดความคิดสร้างสรรค์ แต่ต่อไปจะต้องพัฒนาขึ้น
กลยุทธ์ Going Upside Down ผลักดันองค์กรด้วย 5 แนวทาง
สำหรับการปรับลดสาขาและพนักงาน ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะเกิดขึ้นใน 3 ปีนี้ เพราะการจะปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความเร็ว ลดต้นทุน และใช้เทคโนโลยี จะเริ่มจาก 5 แนวทางต่อไปนี้
Lean the Bank หรือการลดขนาดขององค์กร จากเดิมมีพนักงาน 27,000 คน และสาขา 1,153 สาขา จะกลับหัวตีลังกา (Going Upside Down) เป็นเรื่องยาก การทำตัวให้เล็กและคล่องจะช่วยได้มาก แต่จะไม่ใช่วิธีการปลดพนักงานจำนวนมาก เพราะปกติมีพนักงาน Turn Over ประมาณ 3,000 คนต่อปี จึงจะใช้การลดรับพนักงานใหม่เป็นหลัก
ส่วนจำนวนสาขา จากปัจจุบัน การทำธุรกรรมที่สาขามีสัดส่วนประมาณ 15% ของธุรกรรมทั้งหมด จึงจะลดสาขาที่มีบทบาทน้อย และเพิ่มบริการอื่นๆ แทน เช่น SCB Express, SCB Investment Center, SCB Business Center, SCB Service และบริการผ่าน Digital SCB Easy
High Margin Lending เน้นการปล่อยสินเชื่อธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง โดยมีทั้งสินเชื่อเพื่อการบริโภค และ สินเชื่อเพื่อธุรกิจ และการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) ซึ่งถือเป็นบริการหลักของ SCB อยู่แล้ว
Digital Acquisition การทำธุรกิจในโลกดิจิทัล ผลักดันการการเข้าสู่ Platform ใหม่ ซึ่งจะรุนแรงมากขึ้นอีกใน 2 ปีจากนี้
Data Capbailities เพิ่มขีดความสามารถการใช้ข้อมูล ซึ่งข้อมูล จะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการทำธุรกิจยุคต่อไป
New Business Model การสร้างสรรค์รูปแบบธุรกิจใหม่ โดยมีหัวหอกสำคัญคือ DV และ SCB Abacus
อาทิตย์ บอกว่า ธนาคารเคยหากินกับค่าธรรมเนียมได้มหาศาลในช่วงที่ผ่านมา แต่จากนี้ต้อง Disrupt ตัวเองเพราะรายได้แบบเดิมมีแต่จะลดลง ดังนั้นหัวใจสำคัญคือ การเปลี่ยนความคิดและความเชื่อแบบเดิม โดยต้องมีความกล้าทดลองทำสิ่งใหม่ เน้นพัฒนาความสามารถในระยะยาว
“ถ้าเราไม่บีบตัวเองให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ก็จะอยู่แบบเดิมต่อไปเรื่อยๆ และธุรกิจมีแต่ละถดถอยลง หลังจากรับตำแหน่ง CEO เมื่อกลางปี 2015 ก็เริ่มกระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์กรทันที ถ้าปีนี้ยังไม่เห็นความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ในฐานะ CEO พร้อมจะไล่ตัวเองออกเช่นกัน”
Bank As a Platform ลูกค้าอยู่ที่ไหน SCB จะอยู่ที่นั่น
อาทิตย์ บอกว่า ปกติธนาคารทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มอยู่แล้ว แต่ด้วยเทคโนโลยีและดาต้า การเป็นแพลตฟอร์มต้องพัฒนาไปจากเดิม ต่อไปจะรอลูกค้ามาหาที่สาขาไม่ได้ แต่ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ไหน ถ้าต้องการบริการ SCB จะไปอยู่ที่นั่น นำเสนอบริการที่ถูกต้อง ถูกคน ถูกเวลา
นี่เป็นอีกเหตุผลที่สนับสนุนการลดจำนวนสาขา จากปัจจุบันมีสาขาที่ธุรกรรมเกิดขึ้นน้อย และโดยเฉลี่ย 1 สาขาจะมีพนักงาน 10-12 คน นอกจากลดจำนวนสาขาได้แล้ว ยังลดจำนวนพนักงานประจำสาขาเหลือ 5-6 คนได้ด้วย และเสริมด้วยบริการ Digital แทน
ภายใต้ภารกิจ “SCB Transformation” เป้าหมายการเป็น “The Most Admired Bank” (ธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด) ก็มีโอกาสเป็นไปได้มากขึ้น
สรุป
การประกาศว่าจะปรับลดสาขาและพนักงานลงจำนวนมาก อาจดูน่ากลัวและมีผลกระทบ แต่ความเป็นจริงนี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในแทบทุกอุตสาหกรรม และเกิดขึ้นทั่วโลก ทางของแรงงานคือ ต้องพัฒนาทักษะและความสามารถของตัวเอง ให้สอดคล้องกับทิศทางของโลก SCB เป็นธนาคารแรกที่ออกมาประกาศทิศทางที่จะเกิดขึ้น พร้อมกับอธิบายแผนการในอนาคต ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนผลจะเป็นอย่างไร ปีนี้จะได้เห็นกัน