"วิทยาศาสตร์ กลไกทางจิต พฤติกรรมมนุษย์"
ลิสต์นี้เป็นการนำเสนอหนังที่มีฐานโครงเรื่องความเป็นไซไฟ และพยายามอธิบายกระบวนการความคิด จิตใจ พฤติกรรม และด้านอารมณ์ของตัวละคร...
นอกเหนือจากสิบเรื่องที่ได้แนะนำไป หนังที่อยากเชียร์เพิ่มเติมก็เช่น Primer (2004), Vanilla Sky (2001), Limitless (2011), Coherence (2013), Never Let Me Go (2010), Under the Skin (2013)
สมาชิกท่านไหนมีเรื่องอะไรอยากเเนะนำเพิ่มเติม มาคอมเม้นท์เเลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้นะครับ...
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
10. The Man from Earth (2007)
การโน้มน้าวใจคนนับว่าเป็นศาสตร์ทางจิตวิทยาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่สามารถเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อของผู้ฟังให้คล้อยตามไปกับข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าไป โดยหนังเรื่องนี้เล่าถึงงานเลี้ยงอำลาชายคนหนึ่ง ที่จะอพยพย้ายไปยังต่างเมือง แต่ทว่าระหว่างงานเขาได้เล่าถึงอดีตของตัวเองและอ้างว่าตนมีอายุกว่า 14,000 ปี ซึ่งเทคนิคหลักของหนังคือการพยายามเล่าให้เห็นภาพและหาเหตุผลมารองรับโดยเรื่องราวส่วนใหญ่ที่ถูกเล่าจะอิงรายละเอียดจากหนังสือหรือตำราทางประวัติศาสตร์ ศาสนา และปรัชญา พร้อมกับมีการเติมแต่งในประเด็นที่คนอยากรู้ออกมาได้อย่างน่าสนใจ
9. The Fountain (2006)
อีกแง่มุมหนึ่งการสำรวจตัวละครจากผู้กำกับ Darren Aronofsky โดยใช้วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานของเรื่องราว ซึ่งว่าด้วยชายที่พบว่าคนรักกำลังจะตายด้วยโรคมะเร็ง จึงพยายามคิดค้นและทำทุกวิถีทางเพื่อให้คนรักรอดพ้นจากความตาย โดยหนังถูกนำออกมาในเชิงนามธรรม เพื่อให้คนดูได้นำไปคิด วิเคราะห์ ตีความตามแบบฉบับความเชื่อของตัวเอง ทั้งในแง่มุมจิตวิทยาที่สะท้อนผ่านเหตุการณ์สามช่วงเวลาซึ่งถูกขับจากจิตใต้สำนึกของตัวเอก หรือในแง่มุมของศาสนา ปรัชญา ที่อาจเปรียบได้กับการเวียนว่ายตายเกิดในภูมิภพต่างๆด้วยอำนาจของกิเลส กรรม วิบาก
8. The Butterfly Effect (2004)
ทฤษฎีที่ดูลึกลับและซับซ้อนอย่าง Butterfly Effect กับหัวใจสำคัญที่พูดถึงการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยสามารถสร้างผลกระทบต่อระบบวงกว้างได้ แน่นอนว่าทฤษฎีที่น่าสนใจเช่นนี้ถูกนำไปอ้างอิงในหนังมากมายอย่าง Sliding Doors, Blind Chance, Frequency หรือจะเป็น The Butterfly Effect หนังทริลเลอร์-ไซไฟที่คนไทยต่างรู้จักเป็นอย่างดี กับเรื่องราวของชายที่พยายามย้อนเวลาไปยังอดีตเพื่อแก้ไขอนาคต โดยมีสมุดไดอารี่เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างช่วงเวลาที่ต่างกัน ซึ่งจุดที่น่าสนใจนอกเหนือจากการสะท้อนให้เห็นถึงกลไก และความยุ่งเหยิงของทฤษฎีดังกล่าว ก็คือส่วนของการตัดสินใจของตัวเอก ว่าจะเลือกเส้นทางหรือผลลัพธ์ในรูปแบบไหน เพราะทุกการแก้ไขกลับมีผลกระทบที่เลวร้ายต่อผู้คนที่รักและตัวเขาเองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
7. Moon (2009)
หากพูดถึงหนังฮาร์ดไซไฟยุคหลังที่ใช้ทุนสร้างไม่สูงนัก แต่กลับอัดแน่นด้วยคุณภาพของบท แน่นอนว่า Moon จะเป็นเรื่องแรกๆที่อยู่ในหัวของใครหลายคน โดยพล็อตเล่าถึงมนุษย์อวกาศที่ทำงานให้กับบริษัทหนึ่งบนดวงจันทร์ แต่เมื่อกำลังจะครบสัญญาการทำงาน และเขาจะได้กลับโลกไปพบกับครอบครัวอันเป็นที่รัก กลับต้องมาพบความจริงอันน่าตกตะลึง โดยครึ่งแรกของหนังโฟกัสไปยังงานและกิจวัตรของตัวเอกที่ต้องทำซ้ำไปซ้ำมาในแต่ละวัน ก่อนจะเปิดเผยจุดหักเหที่ส่งผลกระทบอย่างรุ่นแรงต่อสภาพจิตใจ กระทั่งนำไปสู่การตัดสินใจครั้งสำคัญในท้ายเรื่อง
6. Melancholia (2011)
หนังของผู้กำกับ Lars von Trier มักจะมีแง่มุมที่สะท้อนถึงความปั่นป่วนหรือความผิดปกติทางจิตใจอย่าง Antichrist, Dogville หรือจะเป็น Melancholia ที่นำไอเดียหายนะวันสิ้นโลกมาผสมเข้ากับประเด็นทางจิตเวชได้อย่างยอดเยี่ยม กับเรื่องราวของหญิงสาวที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและกำลังเข้าพิธีแต่งงานกับคนรัก แต่ขณะเดียวกันบนโลกก็เกิดปรากฏการณ์สำคัญเมื่อดาวเคราะห์ดวงหนึ่งกำลังพุ่งเข้ามาชนโลก โดยหนังพาคนดูไปสำรวจเบื้องหลังของตัวละครที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง จนไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป แต่ทว่าอีกแง่มุมหนังก็สะท้อนให้เห็นถึงภูมิต้านทาน วิธีการรับมือต่อเรื่องร้ายแรงที่คนทั่วไปไม่อาจมีเหมือนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
5. Donnie Darko (2001)
กลายเป็นอีกเรื่องที่ถูกจดจำในฐานะของหนังแห่งความซับซ้อน ที่เข้าถึงหัวใจสำคัญของหนังได้ยาก โดยเป็นผลพวงจากองค์ประกอบสำคัญสองประการ คือรูปแบบการเล่าเรื่องที่ไม่ลำดับเวลา แม้จะไม่ได้แบ่งพาร์ทเหตุการณ์ยิบย่อยแล้วตัดสลับไปมาเหมือนอย่างพวก Memento, Following แต่ก็ทำให้ดูยากไม่น้อยเมื่อผนวกกับตัวบทที่มีเค้าโครงเป็นหนังไซไฟ แต่แก่นของหนังคือการสะท้อนแง่มุมทางจิตวิทยาที่ซับซ้อนและล้ำลึกของตัวละครที่ป่วยทางจิตซึ่งนำแสดงโดย Jake Gyllenhaal ที่จู่ๆก็ฝันเห็นบุคคลลึกลับสวมชุดกระต่ายและมาบอกกับตนว่าโลกกำลังจะแตกในอีก 28 วัน
4. Inception (2010)
อย่างที่รู้กันดีว่า Christopher Nolan เป็นผู้กำกับที่มีความทะเยอทะยาน และเต็มเปี่ยมความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำในสิ่งใหม่ๆ หรือแม้แต่นำไอเดียเก่ามาปรุงแต่งสร้างรสสัมผัสที่แปลกใหม่เหมือนอย่าง Inception ที่ไอเดียฝันซ้อนฝันถูกอธิบายความซับซ้อนให้เห็นภาพที่เป็นรูปธรรม ด้วยการตั้งกฎเกณฑ์ อ้างอิงทฤษฎีตามหลักวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งเจาะลึกประเด็นจิตวิเคราะห์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของตัวละครในเรื่อง ทั้งปมแห่งการสูญเสีย ความขัดแย้งระหว่างจิตสำนึกและจิตไร้สำนึก กับพล็อตที่ว่าด้วยทีมโจรกรรมความฝันที่ต้องสืบเสาะค้นหาแรงจูงใจที่น่าเชื่อถือ และฝังความคิดเพื่อให้ทายาทนักธุกิจพลังงานล้มเลิกความคิดในการสานต่อกิจการจากผู้เป็นพ่อ
3. Ex Machina (2015)
ชื่อของ Alex Garland เป็นที่รู้จักในฐานะมือเขียนบทหนังไซไฟคุณภาพอย่าง Never Let Me Go และ 28 Days Later แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่อยู่ๆนักเขียนบทจะผันตัวมากำกับหนังแล้วประสบความสำเร็จตั้งแต่เรื่องแรก แต่นั่นคือสิ่งที่เขาสามารถทำมันได้สำเร็จใน Ex Machina ผลงานไซไฟกับการเชือดเฉือนคมเชิงจิตวิทยา ที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับเส้นแบ่งความเป็นมนุษย์และหุ่นยนต์ ว่าแท้จริงความมนุษย์อาจไม่ได้ขึ้นกับสิ่งที่รับรู้ได้ทางกายภาพหรืออัตลักษณ์ทางเพศ แต่เป็นที่ความคิดโดยเบื้องลึกและการตัดสินใจด้วยหลักของเหตุและผล โดยหนังบอกเล่าเรื่องราวของโปรแกรมเมอร์หนุ่มและผู้บริหารบริษัทซอฟแวร์ระดับสูง ที่ทำการวิจัยหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์อยู่ในห้องแลปลับ
2. Blade Runner 2049 (2017)
หัวใจสำคัญที่ทำให้ Blade Runner กลายเป็นหนังไซไฟขึ้นหิ้งตลอดกาลไม่ใช่เพียงแค่งานภาพ งานวิชวลเอฟเฟคที่ดูก้าวล้ำในยุคสมัยนั้น แต่เป็นตัวบทที่ลึกซึ้งและคมคาย กับการตั้งคำถามความเป็นมนุษย์ทั้งในแง่มุมทางกายภาพและจิตวิญญาณ แน่นอนว่า Denis Villeneuve คงเกิดแรงกดดันไม่น้อยที่ต้องรับไม้ต่อจาก Ridley Scott แต่ทว่าเขาก็ไม่ได้ทำให้ทุกคนผิดหวังแต่ประการใด กับวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้เล่าที่มาด้วยจังหวะนิ่งๆ สร้างบรรยากาศบีบคั้นด้วยความไม่รู้ อีกทั้งยังหยิบประเด็นความรักมาต่อยอดเพื่ออธิบายสถานภาพความเป็นมนุษย์ได้กว้างไกลขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยในภาค 2049 เป็นการบอกเล่าเรื่องราวการไขปริศนาซึ่งอาจเป็นกุญแจที่นำไปสู่ความหายนะของเผ่าพันธุ์มนุษย์
1. Arrival (2016)
กลุ่มหนังไซไฟที่พูดถึงการคุกคามจากสิ่งมีชีวิตนอกโลก โดยปกติมักนำเสนอออกมาในแง่มุมที่มีการต่อสู้เพื่อการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์ ซึ่งไม่บ่อยนักที่จะมีหนังอย่าง Close Encounters of the Third Kind หรือ Contact ที่เล่าในแง่มุมของการสื่อสาร หรือพยายามทำความเข้าใจเหตุผลที่แท้จริงของเหล่าผู้มาเยือน แน่นอนว่า Arrival นับเป็นอีกเรื่องของหนังกลุ่มนี้ กับพล็อตที่ว่าด้วยสาวนักภาษาศาสตร์ที่ร่วมมือกับกองทัพในการแปลความหมายและติดต่อกับเหล่าสิ่งมีชีวิตนอกโลก เรียกว่าเป็นความฉลาดตั้งแต่ไอเดียริเริ่มของ Ted Chiang ที่นำพล็อตนิยายไซไฟลักษณะนี้เชื่อมโยงกับภาษาศาสตร์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือทางกระบวนการ ขณะเดียวกันก็ยังสอดแทรกแง่มุมทางจิตวิทยา ปมบางอย่างที่กำลังรบกวนจิตใจของตัวละคร ภายใต้บรรยากาศของความใคร่รู้และความกดดันที่เรียบนิ่งตามแบบฉบับ Denis Villeneuve
.
.
.
.
.
.
.
.
.
ทวิตเตอร์เพจ @Review_Me_ พูดคุยหนังเเละซีรีส์
ขออนุญาตฝากเพจนะครับ
https://www.facebook.com/Criticalme
เเละขออนุญาตฝากไอจีเพจด้วยนะครับ @puneak_b
เป็นพื้นที่สำหรับรีวิวหนังสือนิยายต่างๆโดยเฉพาะแนวสืบสวน
10 หนังไซไฟเชิงจิตวิทยาแห่งศตวรรษที่ 21
"วิทยาศาสตร์ กลไกทางจิต พฤติกรรมมนุษย์"
ลิสต์นี้เป็นการนำเสนอหนังที่มีฐานโครงเรื่องความเป็นไซไฟ และพยายามอธิบายกระบวนการความคิด จิตใจ พฤติกรรม และด้านอารมณ์ของตัวละคร...
นอกเหนือจากสิบเรื่องที่ได้แนะนำไป หนังที่อยากเชียร์เพิ่มเติมก็เช่น Primer (2004), Vanilla Sky (2001), Limitless (2011), Coherence (2013), Never Let Me Go (2010), Under the Skin (2013)
สมาชิกท่านไหนมีเรื่องอะไรอยากเเนะนำเพิ่มเติม มาคอมเม้นท์เเลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้นะครับ...
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
10. The Man from Earth (2007)
การโน้มน้าวใจคนนับว่าเป็นศาสตร์ทางจิตวิทยาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่สามารถเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อของผู้ฟังให้คล้อยตามไปกับข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าไป โดยหนังเรื่องนี้เล่าถึงงานเลี้ยงอำลาชายคนหนึ่ง ที่จะอพยพย้ายไปยังต่างเมือง แต่ทว่าระหว่างงานเขาได้เล่าถึงอดีตของตัวเองและอ้างว่าตนมีอายุกว่า 14,000 ปี ซึ่งเทคนิคหลักของหนังคือการพยายามเล่าให้เห็นภาพและหาเหตุผลมารองรับโดยเรื่องราวส่วนใหญ่ที่ถูกเล่าจะอิงรายละเอียดจากหนังสือหรือตำราทางประวัติศาสตร์ ศาสนา และปรัชญา พร้อมกับมีการเติมแต่งในประเด็นที่คนอยากรู้ออกมาได้อย่างน่าสนใจ
9. The Fountain (2006)
อีกแง่มุมหนึ่งการสำรวจตัวละครจากผู้กำกับ Darren Aronofsky โดยใช้วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานของเรื่องราว ซึ่งว่าด้วยชายที่พบว่าคนรักกำลังจะตายด้วยโรคมะเร็ง จึงพยายามคิดค้นและทำทุกวิถีทางเพื่อให้คนรักรอดพ้นจากความตาย โดยหนังถูกนำออกมาในเชิงนามธรรม เพื่อให้คนดูได้นำไปคิด วิเคราะห์ ตีความตามแบบฉบับความเชื่อของตัวเอง ทั้งในแง่มุมจิตวิทยาที่สะท้อนผ่านเหตุการณ์สามช่วงเวลาซึ่งถูกขับจากจิตใต้สำนึกของตัวเอก หรือในแง่มุมของศาสนา ปรัชญา ที่อาจเปรียบได้กับการเวียนว่ายตายเกิดในภูมิภพต่างๆด้วยอำนาจของกิเลส กรรม วิบาก
8. The Butterfly Effect (2004)
ทฤษฎีที่ดูลึกลับและซับซ้อนอย่าง Butterfly Effect กับหัวใจสำคัญที่พูดถึงการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยสามารถสร้างผลกระทบต่อระบบวงกว้างได้ แน่นอนว่าทฤษฎีที่น่าสนใจเช่นนี้ถูกนำไปอ้างอิงในหนังมากมายอย่าง Sliding Doors, Blind Chance, Frequency หรือจะเป็น The Butterfly Effect หนังทริลเลอร์-ไซไฟที่คนไทยต่างรู้จักเป็นอย่างดี กับเรื่องราวของชายที่พยายามย้อนเวลาไปยังอดีตเพื่อแก้ไขอนาคต โดยมีสมุดไดอารี่เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างช่วงเวลาที่ต่างกัน ซึ่งจุดที่น่าสนใจนอกเหนือจากการสะท้อนให้เห็นถึงกลไก และความยุ่งเหยิงของทฤษฎีดังกล่าว ก็คือส่วนของการตัดสินใจของตัวเอก ว่าจะเลือกเส้นทางหรือผลลัพธ์ในรูปแบบไหน เพราะทุกการแก้ไขกลับมีผลกระทบที่เลวร้ายต่อผู้คนที่รักและตัวเขาเองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
7. Moon (2009)
หากพูดถึงหนังฮาร์ดไซไฟยุคหลังที่ใช้ทุนสร้างไม่สูงนัก แต่กลับอัดแน่นด้วยคุณภาพของบท แน่นอนว่า Moon จะเป็นเรื่องแรกๆที่อยู่ในหัวของใครหลายคน โดยพล็อตเล่าถึงมนุษย์อวกาศที่ทำงานให้กับบริษัทหนึ่งบนดวงจันทร์ แต่เมื่อกำลังจะครบสัญญาการทำงาน และเขาจะได้กลับโลกไปพบกับครอบครัวอันเป็นที่รัก กลับต้องมาพบความจริงอันน่าตกตะลึง โดยครึ่งแรกของหนังโฟกัสไปยังงานและกิจวัตรของตัวเอกที่ต้องทำซ้ำไปซ้ำมาในแต่ละวัน ก่อนจะเปิดเผยจุดหักเหที่ส่งผลกระทบอย่างรุ่นแรงต่อสภาพจิตใจ กระทั่งนำไปสู่การตัดสินใจครั้งสำคัญในท้ายเรื่อง
6. Melancholia (2011)
หนังของผู้กำกับ Lars von Trier มักจะมีแง่มุมที่สะท้อนถึงความปั่นป่วนหรือความผิดปกติทางจิตใจอย่าง Antichrist, Dogville หรือจะเป็น Melancholia ที่นำไอเดียหายนะวันสิ้นโลกมาผสมเข้ากับประเด็นทางจิตเวชได้อย่างยอดเยี่ยม กับเรื่องราวของหญิงสาวที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและกำลังเข้าพิธีแต่งงานกับคนรัก แต่ขณะเดียวกันบนโลกก็เกิดปรากฏการณ์สำคัญเมื่อดาวเคราะห์ดวงหนึ่งกำลังพุ่งเข้ามาชนโลก โดยหนังพาคนดูไปสำรวจเบื้องหลังของตัวละครที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง จนไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป แต่ทว่าอีกแง่มุมหนังก็สะท้อนให้เห็นถึงภูมิต้านทาน วิธีการรับมือต่อเรื่องร้ายแรงที่คนทั่วไปไม่อาจมีเหมือนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
5. Donnie Darko (2001)
กลายเป็นอีกเรื่องที่ถูกจดจำในฐานะของหนังแห่งความซับซ้อน ที่เข้าถึงหัวใจสำคัญของหนังได้ยาก โดยเป็นผลพวงจากองค์ประกอบสำคัญสองประการ คือรูปแบบการเล่าเรื่องที่ไม่ลำดับเวลา แม้จะไม่ได้แบ่งพาร์ทเหตุการณ์ยิบย่อยแล้วตัดสลับไปมาเหมือนอย่างพวก Memento, Following แต่ก็ทำให้ดูยากไม่น้อยเมื่อผนวกกับตัวบทที่มีเค้าโครงเป็นหนังไซไฟ แต่แก่นของหนังคือการสะท้อนแง่มุมทางจิตวิทยาที่ซับซ้อนและล้ำลึกของตัวละครที่ป่วยทางจิตซึ่งนำแสดงโดย Jake Gyllenhaal ที่จู่ๆก็ฝันเห็นบุคคลลึกลับสวมชุดกระต่ายและมาบอกกับตนว่าโลกกำลังจะแตกในอีก 28 วัน
4. Inception (2010)
อย่างที่รู้กันดีว่า Christopher Nolan เป็นผู้กำกับที่มีความทะเยอทะยาน และเต็มเปี่ยมความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำในสิ่งใหม่ๆ หรือแม้แต่นำไอเดียเก่ามาปรุงแต่งสร้างรสสัมผัสที่แปลกใหม่เหมือนอย่าง Inception ที่ไอเดียฝันซ้อนฝันถูกอธิบายความซับซ้อนให้เห็นภาพที่เป็นรูปธรรม ด้วยการตั้งกฎเกณฑ์ อ้างอิงทฤษฎีตามหลักวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งเจาะลึกประเด็นจิตวิเคราะห์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของตัวละครในเรื่อง ทั้งปมแห่งการสูญเสีย ความขัดแย้งระหว่างจิตสำนึกและจิตไร้สำนึก กับพล็อตที่ว่าด้วยทีมโจรกรรมความฝันที่ต้องสืบเสาะค้นหาแรงจูงใจที่น่าเชื่อถือ และฝังความคิดเพื่อให้ทายาทนักธุกิจพลังงานล้มเลิกความคิดในการสานต่อกิจการจากผู้เป็นพ่อ
3. Ex Machina (2015)
ชื่อของ Alex Garland เป็นที่รู้จักในฐานะมือเขียนบทหนังไซไฟคุณภาพอย่าง Never Let Me Go และ 28 Days Later แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่อยู่ๆนักเขียนบทจะผันตัวมากำกับหนังแล้วประสบความสำเร็จตั้งแต่เรื่องแรก แต่นั่นคือสิ่งที่เขาสามารถทำมันได้สำเร็จใน Ex Machina ผลงานไซไฟกับการเชือดเฉือนคมเชิงจิตวิทยา ที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับเส้นแบ่งความเป็นมนุษย์และหุ่นยนต์ ว่าแท้จริงความมนุษย์อาจไม่ได้ขึ้นกับสิ่งที่รับรู้ได้ทางกายภาพหรืออัตลักษณ์ทางเพศ แต่เป็นที่ความคิดโดยเบื้องลึกและการตัดสินใจด้วยหลักของเหตุและผล โดยหนังบอกเล่าเรื่องราวของโปรแกรมเมอร์หนุ่มและผู้บริหารบริษัทซอฟแวร์ระดับสูง ที่ทำการวิจัยหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์อยู่ในห้องแลปลับ
2. Blade Runner 2049 (2017)
หัวใจสำคัญที่ทำให้ Blade Runner กลายเป็นหนังไซไฟขึ้นหิ้งตลอดกาลไม่ใช่เพียงแค่งานภาพ งานวิชวลเอฟเฟคที่ดูก้าวล้ำในยุคสมัยนั้น แต่เป็นตัวบทที่ลึกซึ้งและคมคาย กับการตั้งคำถามความเป็นมนุษย์ทั้งในแง่มุมทางกายภาพและจิตวิญญาณ แน่นอนว่า Denis Villeneuve คงเกิดแรงกดดันไม่น้อยที่ต้องรับไม้ต่อจาก Ridley Scott แต่ทว่าเขาก็ไม่ได้ทำให้ทุกคนผิดหวังแต่ประการใด กับวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้เล่าที่มาด้วยจังหวะนิ่งๆ สร้างบรรยากาศบีบคั้นด้วยความไม่รู้ อีกทั้งยังหยิบประเด็นความรักมาต่อยอดเพื่ออธิบายสถานภาพความเป็นมนุษย์ได้กว้างไกลขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยในภาค 2049 เป็นการบอกเล่าเรื่องราวการไขปริศนาซึ่งอาจเป็นกุญแจที่นำไปสู่ความหายนะของเผ่าพันธุ์มนุษย์
1. Arrival (2016)
กลุ่มหนังไซไฟที่พูดถึงการคุกคามจากสิ่งมีชีวิตนอกโลก โดยปกติมักนำเสนอออกมาในแง่มุมที่มีการต่อสู้เพื่อการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์ ซึ่งไม่บ่อยนักที่จะมีหนังอย่าง Close Encounters of the Third Kind หรือ Contact ที่เล่าในแง่มุมของการสื่อสาร หรือพยายามทำความเข้าใจเหตุผลที่แท้จริงของเหล่าผู้มาเยือน แน่นอนว่า Arrival นับเป็นอีกเรื่องของหนังกลุ่มนี้ กับพล็อตที่ว่าด้วยสาวนักภาษาศาสตร์ที่ร่วมมือกับกองทัพในการแปลความหมายและติดต่อกับเหล่าสิ่งมีชีวิตนอกโลก เรียกว่าเป็นความฉลาดตั้งแต่ไอเดียริเริ่มของ Ted Chiang ที่นำพล็อตนิยายไซไฟลักษณะนี้เชื่อมโยงกับภาษาศาสตร์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือทางกระบวนการ ขณะเดียวกันก็ยังสอดแทรกแง่มุมทางจิตวิทยา ปมบางอย่างที่กำลังรบกวนจิตใจของตัวละคร ภายใต้บรรยากาศของความใคร่รู้และความกดดันที่เรียบนิ่งตามแบบฉบับ Denis Villeneuve
.
.
.
.
.
.
.
.
.
ทวิตเตอร์เพจ @Review_Me_ พูดคุยหนังเเละซีรีส์
ขออนุญาตฝากเพจนะครับ
https://www.facebook.com/Criticalme
เเละขออนุญาตฝากไอจีเพจด้วยนะครับ @puneak_b
เป็นพื้นที่สำหรับรีวิวหนังสือนิยายต่างๆโดยเฉพาะแนวสืบสวน