ขอกราบไหว้พระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง
------------------
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๓. อาสังสสูตร
ว่าด้วยความหวังทางโลกและทางธรรม
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลที่หมดความหวัง
๒. บุคคลที่ยังมีความหวัง
๓. บุคคลที่ปราศจากความหวัง
บุคคลที่หมดความหวัง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาล ตระกูลช่างสาน
ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนขนขยะ เป็นตระกูลยากจน มีข้าว
น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของกินและเครื่อง
นุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก
ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
ดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องที่ทำให้เกิดแสงสว่าง
เขาฟังข่าวว่า “กษัตริย์ทรงพระนามอย่างนี้ได้รับแต่งตั้งโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์”
เขาไม่มีความคิดว่า “พวกกษัตริย์จักแต่งตั้งตัวเราโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สัก
คราวหนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคลที่หมดความหวัง
บุคคลที่ยังมีความหวัง เป็นอย่างไร
คือ พระราชโอรสพระองค์พี่ของพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว
ในโลกนี้ ผู้ยังไม่ได้รับการแต่งตั้งโดยการอภิเษก ถึงความไม่หวั่นไหว พระองค์สดับ
ว่า “กษัตริย์ผู้มีพระนามอย่างนี้ได้รับแต่งตั้งโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์” พระองค์
ทรงดำริอย่างนี้ว่า “พวกกษัตริย์จักแต่งตั้งเราโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สักคราว
หนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคลที่ยังมีความหวัง
บุคคลที่ปราศจากความหวัง เป็นอย่างไร
คือ พระราชาในโลกนี้เป็นกษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว พระองค์สดับว่า
“กษัตริย์ผู้มีพระนามอย่างนี้ได้รับแต่งตั้งโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์” พระองค์ย่อม
ไม่ทรงดำริว่า “พวกกษัตริย์จักแต่งตั้งแม้เราโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สักคราว
หนึ่งเป็นแน่แท้” ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความหวังในการอภิเษกของพระองค์
เมื่อครั้งยังไม่ได้รับการอภิเษกระงับไปแล้ว นี้เรียกว่า บุคคลที่ปราศจากความหวัง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด
บุคคล ๓ จำพวกก็มีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลที่หมดความหวัง
๒. บุคคลที่ยังมีความหวัง
๓. บุคคลที่ปราศจากความหวัง
บุคคลที่หมดความหวัง เป็นอย่างไร
คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนทุศีล๑- มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด
๒-
มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ
ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี
๓- เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือน
หยากเยื่อ
๔- เธอสดับว่า “ภิกษุชื่อนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
เธอไม่มีความคิดอย่างนี้
ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันสักคราวหนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคล
ที่หมดความหวัง
บุคคลที่ยังมีความหวัง เป็นอย่างไร
คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล มีกัลยาณธรรม เธอสดับว่า “ภิกษุชื่อนี้ทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันสัก
คราวหนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคลที่ยังมีความหวัง
บุคคลที่ปราศจากความหวัง เป็นอย่างไร
คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะ เธอสดับว่า “ภิกษุชื่อนี้
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
เธอไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโต
วิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง
อยู่ในปัจจุบันสักคราวหนึ่งเป็นแน่แท้”
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความหวังในความ
หลุดพ้น ของเธอเมื่อครั้งยังไม่หลุดพ้นระงับไปแล้ว นี้เรียกว่า บุคคลที่ปราศจาก
ความหวัง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ
อาสังสสูตรที่ ๓ จบ
เชิงอรรถ :
๑ ทุศีล หมายถึงไม่มีศีล (องฺ.ติกฺ.อ. ๒/๑๓/๘๖)
๒ ไม่สะอาด ในที่นี้หมายถึงกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมไม่สะอาด (อง.ติก.อ. ๒/๑๓/๘๖)
๓ ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี หมายถึงตนเองไม่มีศีล หมดสภาพความเป็นภิกษุ
แต่ยังเรียกตนว่า “เป็นภิกษุ” แล้วร่วมอยู่ ร่วมฉันกับภิกษุอื่นผู้มีศีล ใช้สิทธิ์ถือเอาลาภที่เกิดขึ้นในสงฆ์
(อง.ติก.อ. ๒/๑๓/๘๖)
๔ หยากเยื่อ ในที่นี้หมายถึงหยากเยื่อคือกิเลสมีราคะเป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๓/๘๖)
เราไม่ยินดีความตาย ไม่เพลิดเพลินความเป็นอยู่
เรารอเวลาตาย เหมือนลูกจ้างรอให้หมดเวลาทำงาน ฉะนั้น
เราไม่ยินดีความตาย ไม่เพลิดเพลินความเป็นอยู่
แต่เรามีสติสัมปชัญญะรอเวลาตาย
พระศาสดาเราได้คุ้นเคยแล้ว
เราทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว
ปลงภาระอันหนักลงแล้ว
ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นแล้ว
ได้บรรลุถึงประโยชน์ที่กุลบุตรทั้ง
หลายออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการแล้ว
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=7278&Z=7326
๛ บุคคลที่ปราศจากความหวัง ๛
------------------
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๓. อาสังสสูตร
ว่าด้วยความหวังทางโลกและทางธรรม
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลที่หมดความหวัง
๒. บุคคลที่ยังมีความหวัง
๓. บุคคลที่ปราศจากความหวัง
บุคคลที่หมดความหวัง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาล ตระกูลช่างสาน
ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนขนขยะ เป็นตระกูลยากจน มีข้าว
น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของกินและเครื่อง
นุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก
ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
ดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องที่ทำให้เกิดแสงสว่าง
เขาฟังข่าวว่า “กษัตริย์ทรงพระนามอย่างนี้ได้รับแต่งตั้งโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์”
เขาไม่มีความคิดว่า “พวกกษัตริย์จักแต่งตั้งตัวเราโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สัก
คราวหนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคลที่หมดความหวัง
บุคคลที่ยังมีความหวัง เป็นอย่างไร
คือ พระราชโอรสพระองค์พี่ของพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว
ในโลกนี้ ผู้ยังไม่ได้รับการแต่งตั้งโดยการอภิเษก ถึงความไม่หวั่นไหว พระองค์สดับ
ว่า “กษัตริย์ผู้มีพระนามอย่างนี้ได้รับแต่งตั้งโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์” พระองค์
ทรงดำริอย่างนี้ว่า “พวกกษัตริย์จักแต่งตั้งเราโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สักคราว
หนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคลที่ยังมีความหวัง
บุคคลที่ปราศจากความหวัง เป็นอย่างไร
คือ พระราชาในโลกนี้เป็นกษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว พระองค์สดับว่า
“กษัตริย์ผู้มีพระนามอย่างนี้ได้รับแต่งตั้งโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์” พระองค์ย่อม
ไม่ทรงดำริว่า “พวกกษัตริย์จักแต่งตั้งแม้เราโดยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สักคราว
หนึ่งเป็นแน่แท้” ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความหวังในการอภิเษกของพระองค์
เมื่อครั้งยังไม่ได้รับการอภิเษกระงับไปแล้ว นี้เรียกว่า บุคคลที่ปราศจากความหวัง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด
บุคคล ๓ จำพวกก็มีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลที่หมดความหวัง
๒. บุคคลที่ยังมีความหวัง
๓. บุคคลที่ปราศจากความหวัง
บุคคลที่หมดความหวัง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนทุศีล๑- มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด๒-
มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ
ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี๓- เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือน
หยากเยื่อ๔- เธอสดับว่า “ภิกษุชื่อนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เธอไม่มีความคิดอย่างนี้
ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันสักคราวหนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคล
ที่หมดความหวัง
บุคคลที่ยังมีความหวัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล มีกัลยาณธรรม เธอสดับว่า “ภิกษุชื่อนี้ทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันสัก
คราวหนึ่งเป็นแน่แท้” นี้เรียกว่า บุคคลที่ยังมีความหวัง
บุคคลที่ปราศจากความหวัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะ เธอสดับว่า “ภิกษุชื่อนี้
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เธอไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโต
วิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง
อยู่ในปัจจุบันสักคราวหนึ่งเป็นแน่แท้” ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความหวังในความ
หลุดพ้น ของเธอเมื่อครั้งยังไม่หลุดพ้นระงับไปแล้ว นี้เรียกว่า บุคคลที่ปราศจาก
ความหวัง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในหมู่ภิกษุ
๑ ทุศีล หมายถึงไม่มีศีล (องฺ.ติกฺ.อ. ๒/๑๓/๘๖)
๒ ไม่สะอาด ในที่นี้หมายถึงกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมไม่สะอาด (อง.ติก.อ. ๒/๑๓/๘๖)
๓ ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี หมายถึงตนเองไม่มีศีล หมดสภาพความเป็นภิกษุ
แต่ยังเรียกตนว่า “เป็นภิกษุ” แล้วร่วมอยู่ ร่วมฉันกับภิกษุอื่นผู้มีศีล ใช้สิทธิ์ถือเอาลาภที่เกิดขึ้นในสงฆ์
(อง.ติก.อ. ๒/๑๓/๘๖)
๔ หยากเยื่อ ในที่นี้หมายถึงหยากเยื่อคือกิเลสมีราคะเป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๓/๘๖)
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=57
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :-
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=2820&Z=2875
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=452
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=452&items=1
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :-
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=452&items=1
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20
อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :-
http://metta.lk/tipitaka/2Sutta-Pitaka/4Anguttara-Nikaya/Anguttara1/3-tikanipata/002-rathakaravaggo-e.html
https://suttacentral.net/en/an3.13
เราไม่ยินดีความตาย ไม่เพลิดเพลินความเป็นอยู่
เรารอเวลาตาย เหมือนลูกจ้างรอให้หมดเวลาทำงาน ฉะนั้น
เราไม่ยินดีความตาย ไม่เพลิดเพลินความเป็นอยู่
แต่เรามีสติสัมปชัญญะรอเวลาตาย
พระศาสดาเราได้คุ้นเคยแล้ว
เราทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว
ปลงภาระอันหนักลงแล้ว
ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นแล้ว
ได้บรรลุถึงประโยชน์ที่กุลบุตรทั้ง
หลายออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการแล้ว
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=7278&Z=7326