มีแต่พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ในหัว

กระทู้สนทนา
- เมื่อก่อนที่จะเรียนพระอภิธัมมัตถสังคหะมีบ้างไม่มีบ้าง
- เมื่อได้เรียน พระอภิธัมมัตถสังคหะทางยูตู๊บ โดยอาจารย์สอนในยูตู๊บ ก็ทำให้ ระลึกนึกถึงแต่ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ
- รักษาศีล 5 และระมัดระวัง กาย วาจา ใจ
- เวลาตั้งใจไปทำบุญ ถวายผ้าไตร บาตร ผ้าห่ม มุ้ง ก็จัดเต็ม
------------------
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วย
คิดว่า “ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล” เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
             ภิกษุทั้งหลาย 
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต ฯลฯ 
เป็นพหูสูตแต่ไม่เป็นธรรมกถึก๑- 
เป็นธรรมกถึกแต่ไม่เข้าไปสู่บริษัท 
เข้าไปสู่บริษัทแต่ไม่แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท 
แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัทแต่ไม่ทรงวินัย 
ทรงวินัยแต่ไม่อยู่ป่าเป็นวัตร และไม่อยู่ในเสนาสนะอันสงัด 
อยู่ป่าเป็นวัตร และอยู่ในเสนาสนะอันสงัดแต่ไม่ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง๑- ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยยาก ได้โดยลำบาก
 
ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก แต่ไม่ได้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๒- ปัญญาวิมุตติ๓- อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วย

ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น

เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า
“ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา
มีศีลเป็นพหูสูต 
เป็นธรรมกถึก 
เข้าไปสู่บริษัท 
แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท 
ทรงวินัย
อยู่ป่าเป็นวัตร และอยู่ในเสนาสนะอันสงัด 
ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก 
และทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
             เมื่อใด ภิกษุเป็น
ผู้มีศรัทธา ๑ 
มีศีล ๑ 
เป็นพหูสูต ๑ 
เป็นธรรมกถึก ๑ 
เข้าไปสู่บริษัท ๑ 
แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ๑ 
ทรงวินัย ๑ 
อยู่ป่าเป็นวัตร และอยู่ในเสนาสนะอันสงัด ๑ 
ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๑ 
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-วิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ๑
             เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้
             ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จึงชื่อว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความเลื่อมใสได้รอบด้าน๔- และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
------------------
ที่มา https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=8
-----------------




-------------
- การเรียนพระธรรมเป็นสิ่งสำคัญมากครับสำหรับชาวพุทธครับ(ในความคิดของผมหลังจากเรียน ผมมีความเห็นว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นพื้นฐานเชียวหละ สำหรับชาวพุทธที่แท้จริง) เป็นความสุขอย่างหนึ่งของชีวิตคนธรรมดาคนหนึ่งครับ
- การไม่เรียนนี่น่าขำ เช่น พอไม่เรียนปฏิบัติก็ยังไม่รู้ว่าปฏิบัติสมถะกัมมัฐฐาน หรือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน , อะไร เป็น นาม , อะไร เป็น รูป , พอ มโน ก็ไม่รู้ว่า มโน , และ การ มโน ในพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องที่มีโอกาสผิด ร้อยละ 100
- พระพุทธเจ้าท่านยกย่อง พหูสูตร ครับ จึงได้ยกพระสูตรดังกล่าวขึ้นมา ศีลที่บริสุทธิ์นั้นเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญครับ
- ด้วยความที่เรียนพระอภิธัมมัตถสังคหะนี้แหละจึงทำให้ในหัวมีแต่ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ตั้งแต่วันที่เรียนเข้าใจ ตลอดมาจนถึงปัจจุบันครับ
- ยินดีกับท่านสมาชิกหลายท่านนะครับ ที่เกิดศรัทธาแล้วเมื่อได้ศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ว่าสนุก เป็นเหตุเป็นผล อย่างไร เหมือนกับ ท่านกัลยาณมิตร และผมที่พบกับตัวเอง ในความเปลี่ยนแปลง
- รักในการฟังเทศน์ของพระ พร้อมสวดแปล , พระสูตร ฟัง และ อ่าน และ พิจารณา มากขึ้นๆ 
- คนอื่นบอกบ้าตำราไม่ดี แต่ผม ตัวผมเอง แนะนำครับ ฟังคลิปสอนพระอภิธัมมัตถสังคหะสักรอบนึง และจะรู้สึกรักการอ่านพระไตรปิฎก อ่านบางบทก็น้ำตาไหลเช่น ตอนที่พระภิกษุณีมากราบลาพระพุทธเจ้า และเล่าถึงอดีตชาติตั้งแต่เป็นภรรยาของสุเมธดาบส
- ผมอ่าน และศึกษาทางที่พระพุทธเจ้าท่านทรงบอกไว้ เท่านั้นนะครับ (ส่วนทางผีบอกนั้นเลิกแล้วครับ)
--------------
การแสดงความคิดเห็นได้นะครับ แต่ไม่ควรถามกลับครับ เพราะว่ากระผมความรู้มีแต่จำได้บ้างจำไม่ได้บ้างตอบไปโอกาสผิดพลาดสูงยิ่ง พลอยตกนรกง่ายๆขึ้นอีก ปกติก็ยังง่อนแง่นจะตกไม่ตกแต่น่าจะตกนรก
ด่าได้ครับ ผมจะได้พิจารณาตามรู้โทสะที่เกิดครับ
หากจิตของท่านกัลยาณมิตรทั้งหลายเกิดเป็นมหากุศลดวงที่ 1 ขึ้น กระผมก็ขออนุโมทนาสาธุมาในที่นี้ด้วยครับ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  พระไตรปิฎก
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่