สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
เราเข้าใจมุมมอง จขกท ค่ะ ญาติผู้ใหญ่ป่วย ย่อมร้อนใจเป็นธรรมดา
ในอุดมคติ สิ่งที่ จขกท คาดหวัง ก็คงเหมือนที่เห็นในทีวี คือคนป่วยเข้าห้องฉุกเฉิน มีหมอ พยาบาล มารุมดูแลทันทีทันใด
ซึ่งจะเป็นอย่างนั้นได้ ก็เป็นแบบที่ จขกท คิดนั่นแหละค่ะ คือ หมอ-พยาบาล ควรพร้อมทำงานอยู่ในห้องฉุกเฉินตลอดเวลา
ถ้าหมอต้องไปพักทานข้าว ทำธุระส่วนตัว ก็ควรมีหมออื่นมาดูห้องนั้นแทน เป็นความคิดที่ถูกต้องที่สุดค่ะ เราก็อยากให้เป็นแบบนั้น
แต่ในความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน หาก จขกท ติดตามข่าวบ้าง คงพอเห็นข่าวความขาดแคลนของ รพ นะคะ
ที่ในช่วงเวลาหนึ่ง มีหมอแค่ 1 คน ทั้งรพ ก็มี ซึ่งหมอคนนั้น อาจต้องทำงานติดกัน 24 ชม ไม่ได้นอนเลย
ซึ่งถ้ามีหมอแค่ 1 คน ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ที่หมอจะพร้อมตลอดเวลา หมอต้องหิวข้าว ต้องพัก เช่นเดียวกับคนทั่วไป
แล้วตอนหมอไปทานข้าว ไปพัก จะหาใครมาแทน ในเมื่อมันไม่มี
หากจะคาดหวังว่าหมอไม่ควรไปทานข้าว (ซึ่งหมอก็คนค่ะ คงเป็นไปไม่ได้) หรือคาดหวังว่า รพ ควรมีหมอประจำห้องฉุกเฉินตลอดเวลา
แนะนำ ไปเอกชนโลดค่ะ สบายใจ จบทุกปัญหา เรียกรถพยาบาลมารับคุณย่าถึงบ้านเลยก็ได้ไม่ต้องลำบากคุณลุงอุ้มไปส่งเลยค่ะ
ลองดูนะคะ รับรอง จขกท สบายใจ ไม่หงุดหงิดอีกแน่นอนค่ะ ^^
ในอุดมคติ สิ่งที่ จขกท คาดหวัง ก็คงเหมือนที่เห็นในทีวี คือคนป่วยเข้าห้องฉุกเฉิน มีหมอ พยาบาล มารุมดูแลทันทีทันใด
ซึ่งจะเป็นอย่างนั้นได้ ก็เป็นแบบที่ จขกท คิดนั่นแหละค่ะ คือ หมอ-พยาบาล ควรพร้อมทำงานอยู่ในห้องฉุกเฉินตลอดเวลา
ถ้าหมอต้องไปพักทานข้าว ทำธุระส่วนตัว ก็ควรมีหมออื่นมาดูห้องนั้นแทน เป็นความคิดที่ถูกต้องที่สุดค่ะ เราก็อยากให้เป็นแบบนั้น
แต่ในความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน หาก จขกท ติดตามข่าวบ้าง คงพอเห็นข่าวความขาดแคลนของ รพ นะคะ
ที่ในช่วงเวลาหนึ่ง มีหมอแค่ 1 คน ทั้งรพ ก็มี ซึ่งหมอคนนั้น อาจต้องทำงานติดกัน 24 ชม ไม่ได้นอนเลย
ซึ่งถ้ามีหมอแค่ 1 คน ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ที่หมอจะพร้อมตลอดเวลา หมอต้องหิวข้าว ต้องพัก เช่นเดียวกับคนทั่วไป
แล้วตอนหมอไปทานข้าว ไปพัก จะหาใครมาแทน ในเมื่อมันไม่มี
หากจะคาดหวังว่าหมอไม่ควรไปทานข้าว (ซึ่งหมอก็คนค่ะ คงเป็นไปไม่ได้) หรือคาดหวังว่า รพ ควรมีหมอประจำห้องฉุกเฉินตลอดเวลา
แนะนำ ไปเอกชนโลดค่ะ สบายใจ จบทุกปัญหา เรียกรถพยาบาลมารับคุณย่าถึงบ้านเลยก็ได้ไม่ต้องลำบากคุณลุงอุ้มไปส่งเลยค่ะ
ลองดูนะคะ รับรอง จขกท สบายใจ ไม่หงุดหงิดอีกแน่นอนค่ะ ^^
ความคิดเห็นที่ 21
เดี๋ยวนี้ไม่เอาแล้ว ทุกเทไปก็เท่านั้น ตายไปก็มีแต่คนที่เรารักเสียใจ
ถึงเวลากิน กิน ถึงเวลานอน นอน ถึงเวลาเลิกงาน ก็กลับบ้าน
ทำงานตามหน้าที่ สิ้นเดือนรับเงินเดือน (ถึงหลายครั้งจะตกเบิกหลายเดือน)
ออกกำลังกาย อยู่กับครอบครัว หาประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ
หมอไม่มองคนไข้เป็นคน หรือคนไข้ไม่มอกว่าหมอก็เป็นคน?
ส่วนหนึ่งที่ระบบมันห่วยแตกแบบทุกวันนี้เพราะหมอดีเกินไป ทุ่มเทเกินไป ทำงานเกินตัวเกินไป เพื่อคนไข้ แต่ทำให้ระบบแย่ๆแบบนี้มันอยู่มาได้ ถ้าหมอ/พยาบาล ทำเฉพาะหน้าที่ที่เค้ากำหนดมาจริงๆ ภาพความคาดแคลนมันถึงจะออกมาให้เห็น ไม่ใช่หมอทำงาน 3วันติดกันไม่ได้หลับไม่ได้นอน ข้าวไม่ได้กิน แล้วบอกว่า "มีหมอเพียงพอ"
ถึงเวลากิน กิน ถึงเวลานอน นอน ถึงเวลาเลิกงาน ก็กลับบ้าน
ทำงานตามหน้าที่ สิ้นเดือนรับเงินเดือน (ถึงหลายครั้งจะตกเบิกหลายเดือน)
ออกกำลังกาย อยู่กับครอบครัว หาประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ
หมอไม่มองคนไข้เป็นคน หรือคนไข้ไม่มอกว่าหมอก็เป็นคน?
ส่วนหนึ่งที่ระบบมันห่วยแตกแบบทุกวันนี้เพราะหมอดีเกินไป ทุ่มเทเกินไป ทำงานเกินตัวเกินไป เพื่อคนไข้ แต่ทำให้ระบบแย่ๆแบบนี้มันอยู่มาได้ ถ้าหมอ/พยาบาล ทำเฉพาะหน้าที่ที่เค้ากำหนดมาจริงๆ ภาพความคาดแคลนมันถึงจะออกมาให้เห็น ไม่ใช่หมอทำงาน 3วันติดกันไม่ได้หลับไม่ได้นอน ข้าวไม่ได้กิน แล้วบอกว่า "มีหมอเพียงพอ"
ความคิดเห็นที่ 7
กินข้าวกินขนมได้สิ ก็กินในห้องนั่นแหละ
ถ้ามีหมอหลายคนก็สลับกันสแตนบาย
ที่ว่าเคสฉุกเฉิน เนี่ย พยาบาล เค้าคงตามแหละ ก็คงรีบออกมาทันควัน
หรือไม่ก็พยาบาลหรือ เวชกิจฉุกเฉิน ก็ดูเบื้องต้นไปก่อนได้
แล้วอันที่ว่า ป้าข้างๆบอกหมอออกไปกินข้าวเนี่ย
ป้านางนั่นรุ้ได้ไง
....
เคยเจอ เหมือนกัน กำลังตรวจเคสฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตใน Resus
เคสอื่นๆเช่นอุบัติเหตุ ล้ม แค่เป็นแผล หรือเจ็บเล็กๆน้อย หรือ หมากัดมา อันนี้ก็ต้องรอไปจนกว่าจะหมดเคสที่ฉุกเฉินกว่า
สุดท้ายไม่รู้ใครปล่อยข่าว ว่าเราออกไปกินข้าว
คือเซ็งมาก บอกตรงๆ อาหารสักนิดยังไม่ตกถึงท้องเลยวันนั้น
...
จึงได้ถามว่า รู้ได้ไงว่าเค้าไปกินข้าวจริงๆ
TT
ถ้ามีหมอหลายคนก็สลับกันสแตนบาย
ที่ว่าเคสฉุกเฉิน เนี่ย พยาบาล เค้าคงตามแหละ ก็คงรีบออกมาทันควัน
หรือไม่ก็พยาบาลหรือ เวชกิจฉุกเฉิน ก็ดูเบื้องต้นไปก่อนได้
แล้วอันที่ว่า ป้าข้างๆบอกหมอออกไปกินข้าวเนี่ย
ป้านางนั่นรุ้ได้ไง
....
เคยเจอ เหมือนกัน กำลังตรวจเคสฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตใน Resus
เคสอื่นๆเช่นอุบัติเหตุ ล้ม แค่เป็นแผล หรือเจ็บเล็กๆน้อย หรือ หมากัดมา อันนี้ก็ต้องรอไปจนกว่าจะหมดเคสที่ฉุกเฉินกว่า
สุดท้ายไม่รู้ใครปล่อยข่าว ว่าเราออกไปกินข้าว
คือเซ็งมาก บอกตรงๆ อาหารสักนิดยังไม่ตกถึงท้องเลยวันนั้น
...
จึงได้ถามว่า รู้ได้ไงว่าเค้าไปกินข้าวจริงๆ
TT
ความคิดเห็นที่ 13
เข้าใจความรู้สึกของ จขกท. ... ในฐานะ แพทย์ที่เคยทำงานใน รพ.รัฐ ขอแจมนิดหน่อย ^_^
๑. เท่าที่อ่าน คิดว่า "ไม่ฉุกเฉิน" รอได้ ครับ ...
๒. ใน รพ.รัฐ หลายแห่ง โดยเฉพาะ รพ.ประจำอำเภอ มักมีแพทย์ไม่พอ ... ถ้าไม่ฉุกเฉิน รอหน่อย ให้หมอให้พยาบาลเจ้าหน้าที่ได้พักบ้าง
๓. หลาย รพ.ที่มีขนาดใหญ่ จะมีระบบแบ่งกันไปพัก แต่ก็จะทำให้เจ้าหน้าที่มีจำนวนน้อยลงอยู่ดี ...
สรุปว่า ถ้าเป็นช่วงนอกเวลาราชการ จำนวนแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ก็จะลดลง บางส่วนอาจหยุดให้บริการ ที่ไม่ฉุกเฉิน บางส่วนอาจให้บริการแต่ช้าหน่อย .. มาถามแบบนี้ ก็ยังดีนะครับ มีโอกาสได้ชี้แจง (เรียกร้องความเห็นใจ ^_^ )
เจ็บป่วยไปห้องฉุกเฉิน ... ตามมาตรฐาน ก็ยังต้อง " รอ " ^_^ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-01-2018&group=27&gblog=31
infographic 9 ข้อควรรู้เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-06-2017&group=7&gblog=216
เจ็บป่วยฉุกเฉิน เมื่อนโยบายยังไม่ชัด ต้องคิดก่อนเข้า : นพ.ธีระ วรธนารัตน์ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=21-02-2017&group=7&gblog=212
เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดี แต่การปฏิบัติล้มเหลว ? ... https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-10-2014&group=7&gblog=185
รพ.เอกชน โวย "ขาดทุน" จากนโยบายรัฐ "รักษาฉุกเฉิน" : นันท์ชนก วงษ์สมุทร์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-06-2017&group=15&gblog=79
สพฉ. จับมือ สธ. พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์” https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-04-2015&group=7&gblog=186
เข้าใจความรู้สึกของ จขกท. ... ในฐานะ แพทย์ที่เคยทำงานใน รพ.รัฐ ขอแจมนิดหน่อย ^_^
๑. เท่าที่อ่าน คิดว่า "ไม่ฉุกเฉิน" รอได้ ครับ ...
๒. ใน รพ.รัฐ หลายแห่ง โดยเฉพาะ รพ.ประจำอำเภอ มักมีแพทย์ไม่พอ ... ถ้าไม่ฉุกเฉิน รอหน่อย ให้หมอให้พยาบาลเจ้าหน้าที่ได้พักบ้าง
๓. หลาย รพ.ที่มีขนาดใหญ่ จะมีระบบแบ่งกันไปพัก แต่ก็จะทำให้เจ้าหน้าที่มีจำนวนน้อยลงอยู่ดี ...
สรุปว่า ถ้าเป็นช่วงนอกเวลาราชการ จำนวนแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ก็จะลดลง บางส่วนอาจหยุดให้บริการ ที่ไม่ฉุกเฉิน บางส่วนอาจให้บริการแต่ช้าหน่อย .. มาถามแบบนี้ ก็ยังดีนะครับ มีโอกาสได้ชี้แจง (เรียกร้องความเห็นใจ ^_^ )
เจ็บป่วยไปห้องฉุกเฉิน ... ตามมาตรฐาน ก็ยังต้อง " รอ " ^_^ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-01-2018&group=27&gblog=31
infographic 9 ข้อควรรู้เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-06-2017&group=7&gblog=216
เจ็บป่วยฉุกเฉิน เมื่อนโยบายยังไม่ชัด ต้องคิดก่อนเข้า : นพ.ธีระ วรธนารัตน์ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=21-02-2017&group=7&gblog=212
เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดี แต่การปฏิบัติล้มเหลว ? ... https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-10-2014&group=7&gblog=185
รพ.เอกชน โวย "ขาดทุน" จากนโยบายรัฐ "รักษาฉุกเฉิน" : นันท์ชนก วงษ์สมุทร์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-06-2017&group=15&gblog=79
สพฉ. จับมือ สธ. พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์” https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-04-2015&group=7&gblog=186
แสดงความคิดเห็น
หมอที่อยู่ห้องฉุกเฉินออกไปทำธุระ/กินข้าวตอนอยู่เวรได้ด้วยหรอ?