บางคนอาจจะเคยได้ยินว่าทำบุญมากก็ได้บุญมาก ทำบุญน้อยก็ได้บุญน้อย
จริงหรือ.....?
การทำบุญมากแต่ได้ผลน้อยมีอยู่ การทำน้อยแต่ได้ผลบุญมากก็มีอยู่ลองมาศึกษา
ตัวอย่างที่มีในพระไตรปิฏกกันครับ
อังกุรเทพบุตรเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ได้ทำทานแก่มหาชนจำนวนมากเป็นเวลานาน
แต่ได้บุญไม่เท่า อินทกเทพบุตรที่ ทำบุญด้วยการตักข้าวทัพพีเดียวกับพระอนุรุธะ
เพราะเหตุแห่งผู้รับทานบริสุทธิ์ไม่เท่ากัน
อังกุรเทพบุตรเมื่อยังมีชีวิอยู่ได้ตั้งโรงทานเลี้ยงมหาชน ถึง80แห่ง เป็นเวลานานแต่เมื่อตายแล้ว
ได้บังเกิดในสวรรค์ แต่เมื่อคราวไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ากลับต้องไปนั่งห่างตั้งหลายโยชน์
ผิดกับอินทกเทพบุตรที่ทำบุญตักบาตรทัพพีเดียวกับพระอนุรุธเถระที่ออกจากนิโรธสมาบัติ
เมื่อตายแล้วผลบุญให้ได้เกิดในสวรรค์ แต่มีกำลังบุญมากกว่าได้นั่งฟังธรรมไกล้พระพุทธเจ้ามากกว่า
ไม่ต้องถอยออกไปเมื่อเทวดาที่มีศักใหญ่เข้ามา เหตุเพราะว่าผู้รับมีความบริสุทธิ์ต่างกันนั่นเอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้๑๒. เรื่องอังกุรเทพบุตร [๒๕๑]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่บนแท่นบัณฑุกัมพลศิลา ทรงปรารภอังกุรเทพบุตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ติณโทสานิ เขตฺตานิ" เป็นต้น.
ทานที่เลือกให้พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญ
ข้าพเจ้าทำเรื่องให้พิสดารแล้วแล ในพระคาถาว่า "เย ฌานปฺปสุตา ธีรา" เป็นต้น.
สมจริงดังคำที่ข้าพเจ้าปรารภอินทกเทพบุตรกล่าวไว้ในเรื่องนั้นดังนี้ว่า :-
"ได้ยินว่า อินทกเทพบุตรนั้นยังภิกษาทัพพีหนึ่งที่เขานำมาเพื่อตน ให้ถึงแล้วแก่พระอนุรุทธเถระผู้เข้าไปสู่ภายในหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต. บุญนั้นของอินทกเทพบุตรนั้น มีผลมากกว่าทานที่อังกุรเทพบุตร ทำระเบียบแห่งเตาประมาณ ๑๒ โยชน์ ถวายแล้วสิ้นหมื่นปี"
เพราะเหตุนั้น อินทกเทพบุตรจึงกล่าวอย่างนั้น.
เมื่ออินทกเทพบุตรกล่าวอย่างนั้นแล้ว
พระศาสดาจึงตรัสว่า "อังกุระ ชื่อว่าการเลือกให้ทานย่อมควร ทาน (ของอินทกะ) นั้น เป็นของมีผลมาก ดังพืชที่หว่านดีแล้วในนาดีอย่างนี้ แต่ท่านไม่ได้ทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ทานของท่านจึงไม่มีผลมาก"
เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ จึงตรัสว่า :-
"บุคคลควรเลือกให้ทาน ในเขตที่ตนให้แล้วจะมี
ผลมาก เพราะการเลือกให้ พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว
ทานที่ให้ในท่านผู้เป็นทักขิไณยบุคคลในชีวโลกนี้
เป็นของมีผลมากเหมือนพืชที่หว่านในนาดีฉะนั้น."
เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้นไป จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
๑๒. ติณโทสานิ เขตฺตานิ ราคโทสา อยํ ปชา
ตสฺมา หิ วีตราเคสุ ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ
ติณโทสานิ เขตฺตานิ โทสโทสา อยํ ปชา
ตสฺมา หิ วีตโทเสสุ ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ.
ติณโทสานิ เขตฺตานิ โมหโทสา อยํ ปชา
ตสฺมา หิ วีตโมเหสุ ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ.
ติณโทสานิ เขตฺตานิ อิจฺฉาโทสา อยํ ปชา
ตสฺมา หิ วีคติจฺเฉสุ ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ.
นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีราคะเป็นโทษ
ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากราคะ จึงมีผลมาก.
นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีโทสะเป็นโทษ
ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโทสะ จึงมีผลมาก.
นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีโมหะเป็นโทษ
ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโมหะ จึงมีผลมาก.
นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีความอยากเป็นโทษ
ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากความอยาก จึงมีผลมาก.
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าศึกษาครับผมได้อ่านเจอะเห็นว่าดี และจะได้เป็นหลักในการ
ทำบุญของชาวพุทธจึงได้นำมาแชร์แบ่งปันกันครับ
อ่านต่อ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=34&p=12
ทำบุญมากแต่ได้บุญน้อย....ทำบุญน้อยแต่ได้บุญมากกว่า...จริงหรือ...?
จริงหรือ.....?
การทำบุญมากแต่ได้ผลน้อยมีอยู่ การทำน้อยแต่ได้ผลบุญมากก็มีอยู่ลองมาศึกษา
ตัวอย่างที่มีในพระไตรปิฏกกันครับ
อังกุรเทพบุตรเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ได้ทำทานแก่มหาชนจำนวนมากเป็นเวลานาน
แต่ได้บุญไม่เท่า อินทกเทพบุตรที่ ทำบุญด้วยการตักข้าวทัพพีเดียวกับพระอนุรุธะ
เพราะเหตุแห่งผู้รับทานบริสุทธิ์ไม่เท่ากัน
อังกุรเทพบุตรเมื่อยังมีชีวิอยู่ได้ตั้งโรงทานเลี้ยงมหาชน ถึง80แห่ง เป็นเวลานานแต่เมื่อตายแล้ว
ได้บังเกิดในสวรรค์ แต่เมื่อคราวไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ากลับต้องไปนั่งห่างตั้งหลายโยชน์
ผิดกับอินทกเทพบุตรที่ทำบุญตักบาตรทัพพีเดียวกับพระอนุรุธเถระที่ออกจากนิโรธสมาบัติ
เมื่อตายแล้วผลบุญให้ได้เกิดในสวรรค์ แต่มีกำลังบุญมากกว่าได้นั่งฟังธรรมไกล้พระพุทธเจ้ามากกว่า
ไม่ต้องถอยออกไปเมื่อเทวดาที่มีศักใหญ่เข้ามา เหตุเพราะว่าผู้รับมีความบริสุทธิ์ต่างกันนั่นเอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าศึกษาครับผมได้อ่านเจอะเห็นว่าดี และจะได้เป็นหลักในการ
ทำบุญของชาวพุทธจึงได้นำมาแชร์แบ่งปันกันครับ
อ่านต่อ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=34&p=12