สวัสดีค่ะ ในกระทู้นี้เราอยากจะขอแชร์เทคนิคการเขียน SOP เพื่อให้ได้รับการตอบรับจากมหาวิทยาลัยค่ะ สืบเนื่องจากในอดีตเราเป็นคนที่มีความฝันอยากจะขอทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ เราจึงอยากขอแบ่งปันความรู้และเทคนิคต่างๆที่เราค้นพบสมัยที่ยื่น SOP เพื่อสมัครเรียน ป.โท และ ป.เอก รวมทั้งขอทุน ตปท. เพื่อให้ได้เป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆทั้งหลายที่มีความฝันเดียวกับเราค่ะ
ทำไม SOP จึงสำคัญ
แม้ว่า U ตปท. จะพิจารณาปัจจัยหลายๆอย่างประกอบกันในการที่จะคัดเลือกนักศึกษาที่เป็น Successful Candidate ไม่ว่าจะเป็น ประวัติ ผลการศึกษา หรือ ประสบการณ์ เป็นต้น แต่สิ่งที่มีส่วนสำคัญอย่างมากในการที่จะตัดสินชะตาของเราว่าจะได้รับการตอบรับจากมหาวิทยาลัยหรือไม่ ก็คือ Statement of Purpose (SOP) นั่นเองค่ะ
SOP คืออะไร
SOP คือ การเขียนเรียงความประมาณ 1-2 หน้ากระดาษ เพื่ออธิบายความตั้งใจในการศึกษาต่อในหลักสูตรที่เราประสงค์จะสมัคร รวมทั้งอธิบายเหตุผลประกอบเพื่อแสดงให้เห็นว่าเราคือบุคคลที่เหมาะสมจะศึกษาในหลักสูตรดังกล่าว
ข้อจำกัดของแหล่งข้อมูลที่จะศึกษาแนวทางการเขียน SOP ที่ดี
เราขอเกริ่นก่อนว่าตอนเราเริ่มคิดที่จะสมัครทุน และสมัคร TOP U เราพยายามทำ research เกี่ยวกับแนวทางการเขียน SOP เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นในเว็บไซด์ หรือบทความต่างๆ รวมถึงเคยปรึกษาเกี่ยวกับบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ แล้วเราก็ได้ข้อสรุปเบื้องต้น ดังนี้ค่ะ
1.
ข้อมูลในบทความ หรือเว็บไซด์ จะอธิบายเฉพาะเทคนิค ‘เบื้องต้น’ ขอเน้นว่า เบื้องต้น นะคะ ของ SOP ที่ดี เช่น เขาบอกว่า ในการเขียนเราต้องวางโครงเรื่อง ต้องเขียนให้ตรงประเด็น ต้องเขียนด้วยภาษาที่สละสลวย ที่นี้เมื่อลองมาพิจารณาแล้วเราจะเห็นว่าถ้าไม่ทำตามเทคนิคเหล่านี้ SOP นั้นคือ SOP ที่แย่ แต่ในขณะเดียวกันถ้าทำตามเทคนิคเหล่านั้น คุณจะได้แค่ SOP ที่ทำได้ถูกต้องตามมาตรฐานการสมัครเข้าศึกษาแบบ Academic (ซึ่งคนอื่นที่สมัครเรียนอีกหลายๆคนก็มี SOP ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน) ไม่ได้มีการการันตีหรือเพิ่มโอกาสในการเป็น Successful Candidate ให้แก่เรา ดังนั้น หากผู้สมัครต้องการสมัครใน U ที่ไม่ได้มีการแข่งขันสูง การเขียน SOP แบบนี้ก็เพียงพอแล้ว แต่หากคุณต้องการที่จะขอทุน หรือสมัคร TOP U เราต้องมี SOP ที่โดดเด่นกว่า SOP ของคนทั่วไป
2.
อย่าไปเสียเงินกับสถาบันเอกชนบางแห่งที่อวดอ้างสรรพคุณว่า ถ้ามาสมัครใช้บริการกับเขา เขาจะช่วยให้เราเข้า TOP U ได้ เราไม่ได้จะ discredit หน่วยงานเหล่านั้นนะคะ เพียงแต่เราคิดว่ามันเป็นการสิ้นเปลือง ที่คุณจะต้องเสียเงินเป็นหลักแสนแค่เพื่อให้เขาช่วยอ่าน และ comment SOP กับ RESUME ของเรา (เรารู้สึกว่าเขาคิดค่าใช้จ่ายแพงมาก ถ้าเทียบกับบริการที่เราได้รับจริงๆ) ในเมื่อมันก็ไม่ได้เป็นการการันตีอยู่ดีว่าเราจะผ่านหรือไม่ผ่านการสมัคร เราเคยสนใจบริการของเขา เลยเสียเงินหลักหมื่นเพื่อเข้าไปฟังเขา brief 2 ชั่วโมง ซึ่งที่เราได้มาคือการฟังเขาโฆษณาบริการซะส่วนใหญ่ –“ เอาเป็นว่าเราพอได้แนวคิดจากเขามานิดหน่อย แล้วเราก็ตัดสินใจออกมาทำ research เกี่ยวกับการเขียน SOP เอง โดยไม่ต้องเสียเงิน แม้จะ work hard หน่อยแต่ผลคือเราก็สามารถเข้า TOP U ได้ และได้ทุนเต็มจำนวน คลอบคลุมค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายทั้งหมดอยู่ดี (และนี่ก็เป็นเหตุผลที่เราจะแชร์เทคนิคนี้แก่เพื่อนๆ แบบฟรีๆ เราเชื่อว่าขอแค่มี guideline ทุกคนก็สามารถทำเองได้ ไม่ใช่เฉพาะแค่คนรวยที่มีเงินจ่ายหน่วยงานเอกชนเหล่านี้ถึงจะมีโอกาสดีกว่า คนไทยด้วยกันก็ต้องสนับสนุนกันมากกว่าจริงไหมคะ)
เทคนิคการเขียน SOP ให้มีชัย
หลังจากอารัมภบทมานาน มาขอเข้าสู่เทคนิคต่างๆในการเขียน SOP กันเลยค่ะ
1.
ลืมโครงสร้างการเขียน SOP แบบเดิมๆไปซะ
ในบทความต่างๆ มักจะบอกโครงสร้างมาให้กับเรา เช่น paragraph แรก คือ แรงจูงใจในการเรียนหลักสูตรนี้ paragraph ที่ 2 คือหลักสูตรที่เราอยากศึกษา บลาๆๆๆ
เราขอบอกว่าให้ลืมโครงสร้างพวกนี้ไปเลยนะคะ ไม่ได้มีหน่วยงานไหนที่ออกกฎเกณฑ์เหล่านี้ออกมาให้ต้องใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งโลกหรอกค่ะ โครงสร้างพวกนี้คือของที่บรรดากูรูต่างๆพยายามออกแบบเพื่อให้ง่ายกับการที่จะนำไปใช้ แต่เราขอบอกว่า SOP ไม่ได้มีโครงสร้าง ดังนั้น เราจะเขียนยังไงเขียนอะไรก็ได้ ไม่ต้องยึดติด เหตุผลที่เราบอกไม่ให้ยึดติด เพราะถ้าคุณเขียน SOP ตามโครงสร้างเขา แบบเดิมๆ SOP คุณก็จะเป็น SOP 1 ใน 1000 ใบที่มีหน้าตาเหมือนๆกัน ที่ยื่นส่งไปที่ทุน หรือ TOP U แล้วคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นคะเมื่อคณะกรรมการพิจารณาใบสมัครที่เขาต้องอ่านในสมัครเหล่านี้วันละเป็นร้อยๆฉบับ คำตอบก็คือ เขาไม่รู้สึกสนใจ ไม่ได้รู้สึกว่าคุณโดดเด่น (อันนี้เป็นเรื่องทางจิตวิทยา) ผลคือใน U ที่มีการแข่งขันสูง ใบสมัครของคุณพิจารณาแบบเดียวกับคนส่วนใหญ่ นั่นคือ Decline นั่นเอง!!!
2.
หากิมมิกของเราให้เจอ
ออกแบบโครงสร้าง SOP โดยพิจารณาจากประวัติของเรา ถ้านึกภาพไม่ออกขอแนะนำแนวทาง โดยยกตัวอย่างดังนี้ค่ะ เช่น ถามตัวเองว่า
เราอยากเรียนอะไร - คณะรัฐศาสตร์
ทำไมจึงอยากเรียน - เพราะเราเกิดมาในต่างจังหวัด ซึ่งความช่วยเหลือของภาครัฐเข้าไม่ถึง จึงอยากเรียนรัฐศาสตร์ที่จะเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ที่จะผลักดันช่วยเหลือจังหวัดของเรา
อันนี้ เราขอแอบกระซิบเบาๆว่า แม้เหตุผลจริงๆของคุณมันจะแย่แค่ไหน เช่น คุณอยากเรียนเพราะพ่อบังคับ หรืออะไรก็แล้วแต่คุณก็ต้องพยายามเขียนให้ดีให้ได้ ไม่ใช่การโกหกนะคะ แต่เป็นการพยายมหาเหตุผลอื่นๆที่อยู่ภายในจิตใจของคุณเท่านั้น
ทำไมต้องเป็น U นี้ - เพราะ U นี้มีวิชา Public Financial Management ซึ่งน่าสนใจมาก ปกติเด็กรัฐศาสตร์จะไม่ค่อยรู้เรื่องการเงิน ซึ่งคุณมองว่าเป็นจุดอ่อน คุณจึงคิดว่าการเรียนที่ U นี้หลักสูตรนี้ จะมีประโยชน์ในการปิด gap นั้น นอกจากนี้ยังเอามาช่วยในการพัฒนาชุมชนของบ้านเกิดของคุณ ซึ่งมีปัญหาในการจัดสรรรายได้ของหน่วยงานท้องถิ่น
เรามีประสบการณ์อะไรที่เกี่ยวข้องไหม - เรามีประสบการณ์ทำงานในหน่วยงานภาครัฐในไทย ที่อาจนำมา share ใน class ได้ นอกจากนี้ เราเคยทำกิจกรรม CSR เกี่ยวกับการช่วยเหลือชาวชนบทที่จังหวัด ABC บ้านเกิดของคุณ และทำวิจัยเกี่ยวกับโครงการพัฒนาชุมชน โดยผลการวิจัยพบว่ามีปัญหาในการจัดสรรรายได้ของหน่วยงานท้องถิ่นสำคัญ เนื่องจาก จนท ปกครองท้องถิ่นขาดความรู้
ประเด็นที่ list เหล่านี้บางอย่างอาจดูไม่สำคัญ แต่มันคือ Passion ของคุณค่ะ คุณสามารถกำหนด story line ของคุณได้จากเค้าโรงเหล่านี้
ถ้าจะตีความจากโจทย์นี้นะคะจะเห็นว่า กิมมิคของผู้สมัครคนนี้คือการที่เขามีประสบการณ์ในวัยเด็กที่เคยต้องประสบกับปัญหาในด้านการช่วยเหลือของภาครัฐ เป็นแรงจูงใจให้อยากเรียนด้านรัฐศาสตร์ ตลอดเวลาคุณแน่วแน่กับเป้าหมายและพยายามพัฒนาทักษะของคุณผ่านโครงการ CSR ต่างๆ คุณเห็นว่าจุดอ่อนชุมชนคุณคือมีปัญหาในการจัดสรรรายได้ของหน่วยงานท้องถิ่น จึงเป็นเหตุจูงใจให้คุณต้องมาเรียนต่อที่นี่ หลักสูตรนี้เท่านั้น
3.
ให้เขาเห็นว่าเราจำเป็นที่จะต้องเรียน U นี้ หลักสูตรนี้เท่านั้น
Resume ปกติจะให้เราอธิบายว่าเราอยากเรียนอะไร เพราะอะไร ซึ่งคำตอบก็จะเป็นแบบทั่วๆไป เช่น เราอยากเรียนด้านรัฐศาสตร์เพื่อจะนำความรู้มาใช้กับงานในอนาคต etc. นี่คือคำตอบของคนที่มักจะเป็น Unsuccessful Candidate ถามว่าทำไม ต้องตอบว่า เพราะคณะกรรมการเห็นว่า ให้ผู้สมัครคนนั้นก็ไปเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ ของ U อื่นไปก็ได้ เพื่อเก็บที่ไว้ให้กับคนที่อยากเรียนที่นี่จริงๆ เพราะผู้สมัครคนนั้นไม่ได้ convince เขาว่าทำไมถึงต้องเป็นหลักสูตรนี้ U นี้เท่านั้น เป็นหลักสูตรอื่นไม่ได้ คือเราต้องให้เขาเห็นว่าเราจำเป็นจริงๆที่จะต้องเรียนที่นี่ ไม่ใช่ที่ไหนก็ได้ ตัวอย่างจากด้านบน การที่บอกว่าเราอยากเรียน U นี้เพราะเป็น U เดียวที่ตรงกับสาขา Public Financial Management ที่มีความจำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายอนาคตของตน
4.
เราจะ Contribute อะไรให้เขาบ้าง
ตรงนี้เป็นจุดที่คนทั่วไปมักจะมองข้าม ในการเขียน SOP คนอื่นๆ มักจะบอกเพียงแต่เราอยากได้อะไรจากเขาบ้าง ลืมบอกไปว่าเราจะให้อะไรเขาบ้าง อันนี้อาจใส่แค่สั้นๆก็ได้นะคะ เช่น คุณมีประสบการณ์ในการร่วมงานกับหน่วยงานในภาครัฐของประเทศไทย ซึ่งสามารถแชร์มุมมองของการพัฒนาภาครัฐใน developing countries ให้แก่นักเรียนใน class ได้
ลองคิดว่าหลักสูตรนั้นรับคน 100 คน แต่ profile ของคุณธรรมดา เกรดไม่ได้สูงมาก แต่ในบรรดาคนที่รับมาคุณมีจุดเด่นที่ประสบการณ์ด้าน การพัฒนาภาครัฐใน developing countries อย่างที่ว่ามา และนักเรียนส่วนใหญ่ในคลาสที่เขารับเข้าศึกษาเป็นคนที่มาจาก Developed Countries แม้ profile คุณจะอ่อนกว่า Candidate คนอื่น แต่คิดว่าผู้พิจารณาใบสมัครจะยอมเสียที่ 1 ที่จาก 100 ที่ เพื่อรับคน 1 ที่อาจจะ share มุมมองที่แปลกใหม่ให้นักเรียนคนอื่นได้เชียวหรอคะ
5.
ไม่ต้องเขียนอะไรที่คิดว่าคณะกรรมการจะรู้อยู่แล้ว (เช่น รู้จาก Resume ที่แนบไปด้วย)
SOP มีความยาวแค่ 1-2 หน้า ที่คุณจะใช้บอกถึงตัวตนของคุณให้แก่คนที่ไม่รู้จัก ดังนั้น การเขียนแต่ละประโยคต้องให้คุ้มค่าที่สุด หากข้อมูลอะไรที่กรรมการรู้แล้วก็ไม่ต้องบอกซ้ำ เช่น Resume ที่ส่งไปบอกว่าจบตรีจาก U ไหน ดังนั้น ใน SOP คุณอาจไม่ต้องกล่าวถึงก็ได้
6.
พยายามทำให้เขาจดจำ
จินตนาการว่าเรากำลังโฆษณาขายตัวเราเองให้กับมหาวิทยาลัย อันนี้เป็นเทคนิคการเขียนให้น่าสนใจ ให้นึกถึงการเขียนเรียงความให้ชนะรางวัลค่ะ จะ Intro ยังไง Conclude ยังไงเขาอ่านแล้วจำเราได้จากในใบสมัคร 1000 ใบที่เขาต้องพิจารณา
7.
เล่าเรื่องให้ดูน่าสนใจ
อันนี้คือเทคนิคการเขียนของเราที่เราจะเอาโครงสร้างเหล่านั้นมาเขียนเล่าเรื่องอย่างไรให้กรรมการอ่านแล้ว รู้สึกน่าติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ Intro ต้องทำให้เขาอยากอ่าน และ Conclude ต้องทำให้เขาจดจำ
เขียน SOP อย่างไรให้สมัคร TOP U ได้ / ลบความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ SOP แบบเดิมๆ
ทำไม SOP จึงสำคัญ
แม้ว่า U ตปท. จะพิจารณาปัจจัยหลายๆอย่างประกอบกันในการที่จะคัดเลือกนักศึกษาที่เป็น Successful Candidate ไม่ว่าจะเป็น ประวัติ ผลการศึกษา หรือ ประสบการณ์ เป็นต้น แต่สิ่งที่มีส่วนสำคัญอย่างมากในการที่จะตัดสินชะตาของเราว่าจะได้รับการตอบรับจากมหาวิทยาลัยหรือไม่ ก็คือ Statement of Purpose (SOP) นั่นเองค่ะ
SOP คืออะไร
SOP คือ การเขียนเรียงความประมาณ 1-2 หน้ากระดาษ เพื่ออธิบายความตั้งใจในการศึกษาต่อในหลักสูตรที่เราประสงค์จะสมัคร รวมทั้งอธิบายเหตุผลประกอบเพื่อแสดงให้เห็นว่าเราคือบุคคลที่เหมาะสมจะศึกษาในหลักสูตรดังกล่าว
ข้อจำกัดของแหล่งข้อมูลที่จะศึกษาแนวทางการเขียน SOP ที่ดี
เราขอเกริ่นก่อนว่าตอนเราเริ่มคิดที่จะสมัครทุน และสมัคร TOP U เราพยายามทำ research เกี่ยวกับแนวทางการเขียน SOP เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นในเว็บไซด์ หรือบทความต่างๆ รวมถึงเคยปรึกษาเกี่ยวกับบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ แล้วเราก็ได้ข้อสรุปเบื้องต้น ดังนี้ค่ะ
1. ข้อมูลในบทความ หรือเว็บไซด์ จะอธิบายเฉพาะเทคนิค ‘เบื้องต้น’ ขอเน้นว่า เบื้องต้น นะคะ ของ SOP ที่ดี เช่น เขาบอกว่า ในการเขียนเราต้องวางโครงเรื่อง ต้องเขียนให้ตรงประเด็น ต้องเขียนด้วยภาษาที่สละสลวย ที่นี้เมื่อลองมาพิจารณาแล้วเราจะเห็นว่าถ้าไม่ทำตามเทคนิคเหล่านี้ SOP นั้นคือ SOP ที่แย่ แต่ในขณะเดียวกันถ้าทำตามเทคนิคเหล่านั้น คุณจะได้แค่ SOP ที่ทำได้ถูกต้องตามมาตรฐานการสมัครเข้าศึกษาแบบ Academic (ซึ่งคนอื่นที่สมัครเรียนอีกหลายๆคนก็มี SOP ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน) ไม่ได้มีการการันตีหรือเพิ่มโอกาสในการเป็น Successful Candidate ให้แก่เรา ดังนั้น หากผู้สมัครต้องการสมัครใน U ที่ไม่ได้มีการแข่งขันสูง การเขียน SOP แบบนี้ก็เพียงพอแล้ว แต่หากคุณต้องการที่จะขอทุน หรือสมัคร TOP U เราต้องมี SOP ที่โดดเด่นกว่า SOP ของคนทั่วไป
2. อย่าไปเสียเงินกับสถาบันเอกชนบางแห่งที่อวดอ้างสรรพคุณว่า ถ้ามาสมัครใช้บริการกับเขา เขาจะช่วยให้เราเข้า TOP U ได้ เราไม่ได้จะ discredit หน่วยงานเหล่านั้นนะคะ เพียงแต่เราคิดว่ามันเป็นการสิ้นเปลือง ที่คุณจะต้องเสียเงินเป็นหลักแสนแค่เพื่อให้เขาช่วยอ่าน และ comment SOP กับ RESUME ของเรา (เรารู้สึกว่าเขาคิดค่าใช้จ่ายแพงมาก ถ้าเทียบกับบริการที่เราได้รับจริงๆ) ในเมื่อมันก็ไม่ได้เป็นการการันตีอยู่ดีว่าเราจะผ่านหรือไม่ผ่านการสมัคร เราเคยสนใจบริการของเขา เลยเสียเงินหลักหมื่นเพื่อเข้าไปฟังเขา brief 2 ชั่วโมง ซึ่งที่เราได้มาคือการฟังเขาโฆษณาบริการซะส่วนใหญ่ –“ เอาเป็นว่าเราพอได้แนวคิดจากเขามานิดหน่อย แล้วเราก็ตัดสินใจออกมาทำ research เกี่ยวกับการเขียน SOP เอง โดยไม่ต้องเสียเงิน แม้จะ work hard หน่อยแต่ผลคือเราก็สามารถเข้า TOP U ได้ และได้ทุนเต็มจำนวน คลอบคลุมค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายทั้งหมดอยู่ดี (และนี่ก็เป็นเหตุผลที่เราจะแชร์เทคนิคนี้แก่เพื่อนๆ แบบฟรีๆ เราเชื่อว่าขอแค่มี guideline ทุกคนก็สามารถทำเองได้ ไม่ใช่เฉพาะแค่คนรวยที่มีเงินจ่ายหน่วยงานเอกชนเหล่านี้ถึงจะมีโอกาสดีกว่า คนไทยด้วยกันก็ต้องสนับสนุนกันมากกว่าจริงไหมคะ)
เทคนิคการเขียน SOP ให้มีชัย
หลังจากอารัมภบทมานาน มาขอเข้าสู่เทคนิคต่างๆในการเขียน SOP กันเลยค่ะ
1. ลืมโครงสร้างการเขียน SOP แบบเดิมๆไปซะ
ในบทความต่างๆ มักจะบอกโครงสร้างมาให้กับเรา เช่น paragraph แรก คือ แรงจูงใจในการเรียนหลักสูตรนี้ paragraph ที่ 2 คือหลักสูตรที่เราอยากศึกษา บลาๆๆๆ
เราขอบอกว่าให้ลืมโครงสร้างพวกนี้ไปเลยนะคะ ไม่ได้มีหน่วยงานไหนที่ออกกฎเกณฑ์เหล่านี้ออกมาให้ต้องใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งโลกหรอกค่ะ โครงสร้างพวกนี้คือของที่บรรดากูรูต่างๆพยายามออกแบบเพื่อให้ง่ายกับการที่จะนำไปใช้ แต่เราขอบอกว่า SOP ไม่ได้มีโครงสร้าง ดังนั้น เราจะเขียนยังไงเขียนอะไรก็ได้ ไม่ต้องยึดติด เหตุผลที่เราบอกไม่ให้ยึดติด เพราะถ้าคุณเขียน SOP ตามโครงสร้างเขา แบบเดิมๆ SOP คุณก็จะเป็น SOP 1 ใน 1000 ใบที่มีหน้าตาเหมือนๆกัน ที่ยื่นส่งไปที่ทุน หรือ TOP U แล้วคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นคะเมื่อคณะกรรมการพิจารณาใบสมัครที่เขาต้องอ่านในสมัครเหล่านี้วันละเป็นร้อยๆฉบับ คำตอบก็คือ เขาไม่รู้สึกสนใจ ไม่ได้รู้สึกว่าคุณโดดเด่น (อันนี้เป็นเรื่องทางจิตวิทยา) ผลคือใน U ที่มีการแข่งขันสูง ใบสมัครของคุณพิจารณาแบบเดียวกับคนส่วนใหญ่ นั่นคือ Decline นั่นเอง!!!
2. หากิมมิกของเราให้เจอ
ออกแบบโครงสร้าง SOP โดยพิจารณาจากประวัติของเรา ถ้านึกภาพไม่ออกขอแนะนำแนวทาง โดยยกตัวอย่างดังนี้ค่ะ เช่น ถามตัวเองว่า
เราอยากเรียนอะไร - คณะรัฐศาสตร์
ทำไมจึงอยากเรียน - เพราะเราเกิดมาในต่างจังหวัด ซึ่งความช่วยเหลือของภาครัฐเข้าไม่ถึง จึงอยากเรียนรัฐศาสตร์ที่จะเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ที่จะผลักดันช่วยเหลือจังหวัดของเรา
อันนี้ เราขอแอบกระซิบเบาๆว่า แม้เหตุผลจริงๆของคุณมันจะแย่แค่ไหน เช่น คุณอยากเรียนเพราะพ่อบังคับ หรืออะไรก็แล้วแต่คุณก็ต้องพยายามเขียนให้ดีให้ได้ ไม่ใช่การโกหกนะคะ แต่เป็นการพยายมหาเหตุผลอื่นๆที่อยู่ภายในจิตใจของคุณเท่านั้น
ทำไมต้องเป็น U นี้ - เพราะ U นี้มีวิชา Public Financial Management ซึ่งน่าสนใจมาก ปกติเด็กรัฐศาสตร์จะไม่ค่อยรู้เรื่องการเงิน ซึ่งคุณมองว่าเป็นจุดอ่อน คุณจึงคิดว่าการเรียนที่ U นี้หลักสูตรนี้ จะมีประโยชน์ในการปิด gap นั้น นอกจากนี้ยังเอามาช่วยในการพัฒนาชุมชนของบ้านเกิดของคุณ ซึ่งมีปัญหาในการจัดสรรรายได้ของหน่วยงานท้องถิ่น
เรามีประสบการณ์อะไรที่เกี่ยวข้องไหม - เรามีประสบการณ์ทำงานในหน่วยงานภาครัฐในไทย ที่อาจนำมา share ใน class ได้ นอกจากนี้ เราเคยทำกิจกรรม CSR เกี่ยวกับการช่วยเหลือชาวชนบทที่จังหวัด ABC บ้านเกิดของคุณ และทำวิจัยเกี่ยวกับโครงการพัฒนาชุมชน โดยผลการวิจัยพบว่ามีปัญหาในการจัดสรรรายได้ของหน่วยงานท้องถิ่นสำคัญ เนื่องจาก จนท ปกครองท้องถิ่นขาดความรู้
ประเด็นที่ list เหล่านี้บางอย่างอาจดูไม่สำคัญ แต่มันคือ Passion ของคุณค่ะ คุณสามารถกำหนด story line ของคุณได้จากเค้าโรงเหล่านี้
ถ้าจะตีความจากโจทย์นี้นะคะจะเห็นว่า กิมมิคของผู้สมัครคนนี้คือการที่เขามีประสบการณ์ในวัยเด็กที่เคยต้องประสบกับปัญหาในด้านการช่วยเหลือของภาครัฐ เป็นแรงจูงใจให้อยากเรียนด้านรัฐศาสตร์ ตลอดเวลาคุณแน่วแน่กับเป้าหมายและพยายามพัฒนาทักษะของคุณผ่านโครงการ CSR ต่างๆ คุณเห็นว่าจุดอ่อนชุมชนคุณคือมีปัญหาในการจัดสรรรายได้ของหน่วยงานท้องถิ่น จึงเป็นเหตุจูงใจให้คุณต้องมาเรียนต่อที่นี่ หลักสูตรนี้เท่านั้น
3. ให้เขาเห็นว่าเราจำเป็นที่จะต้องเรียน U นี้ หลักสูตรนี้เท่านั้น
Resume ปกติจะให้เราอธิบายว่าเราอยากเรียนอะไร เพราะอะไร ซึ่งคำตอบก็จะเป็นแบบทั่วๆไป เช่น เราอยากเรียนด้านรัฐศาสตร์เพื่อจะนำความรู้มาใช้กับงานในอนาคต etc. นี่คือคำตอบของคนที่มักจะเป็น Unsuccessful Candidate ถามว่าทำไม ต้องตอบว่า เพราะคณะกรรมการเห็นว่า ให้ผู้สมัครคนนั้นก็ไปเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ ของ U อื่นไปก็ได้ เพื่อเก็บที่ไว้ให้กับคนที่อยากเรียนที่นี่จริงๆ เพราะผู้สมัครคนนั้นไม่ได้ convince เขาว่าทำไมถึงต้องเป็นหลักสูตรนี้ U นี้เท่านั้น เป็นหลักสูตรอื่นไม่ได้ คือเราต้องให้เขาเห็นว่าเราจำเป็นจริงๆที่จะต้องเรียนที่นี่ ไม่ใช่ที่ไหนก็ได้ ตัวอย่างจากด้านบน การที่บอกว่าเราอยากเรียน U นี้เพราะเป็น U เดียวที่ตรงกับสาขา Public Financial Management ที่มีความจำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายอนาคตของตน
4. เราจะ Contribute อะไรให้เขาบ้าง
ตรงนี้เป็นจุดที่คนทั่วไปมักจะมองข้าม ในการเขียน SOP คนอื่นๆ มักจะบอกเพียงแต่เราอยากได้อะไรจากเขาบ้าง ลืมบอกไปว่าเราจะให้อะไรเขาบ้าง อันนี้อาจใส่แค่สั้นๆก็ได้นะคะ เช่น คุณมีประสบการณ์ในการร่วมงานกับหน่วยงานในภาครัฐของประเทศไทย ซึ่งสามารถแชร์มุมมองของการพัฒนาภาครัฐใน developing countries ให้แก่นักเรียนใน class ได้
ลองคิดว่าหลักสูตรนั้นรับคน 100 คน แต่ profile ของคุณธรรมดา เกรดไม่ได้สูงมาก แต่ในบรรดาคนที่รับมาคุณมีจุดเด่นที่ประสบการณ์ด้าน การพัฒนาภาครัฐใน developing countries อย่างที่ว่ามา และนักเรียนส่วนใหญ่ในคลาสที่เขารับเข้าศึกษาเป็นคนที่มาจาก Developed Countries แม้ profile คุณจะอ่อนกว่า Candidate คนอื่น แต่คิดว่าผู้พิจารณาใบสมัครจะยอมเสียที่ 1 ที่จาก 100 ที่ เพื่อรับคน 1 ที่อาจจะ share มุมมองที่แปลกใหม่ให้นักเรียนคนอื่นได้เชียวหรอคะ
5. ไม่ต้องเขียนอะไรที่คิดว่าคณะกรรมการจะรู้อยู่แล้ว (เช่น รู้จาก Resume ที่แนบไปด้วย)
SOP มีความยาวแค่ 1-2 หน้า ที่คุณจะใช้บอกถึงตัวตนของคุณให้แก่คนที่ไม่รู้จัก ดังนั้น การเขียนแต่ละประโยคต้องให้คุ้มค่าที่สุด หากข้อมูลอะไรที่กรรมการรู้แล้วก็ไม่ต้องบอกซ้ำ เช่น Resume ที่ส่งไปบอกว่าจบตรีจาก U ไหน ดังนั้น ใน SOP คุณอาจไม่ต้องกล่าวถึงก็ได้
6. พยายามทำให้เขาจดจำ
จินตนาการว่าเรากำลังโฆษณาขายตัวเราเองให้กับมหาวิทยาลัย อันนี้เป็นเทคนิคการเขียนให้น่าสนใจ ให้นึกถึงการเขียนเรียงความให้ชนะรางวัลค่ะ จะ Intro ยังไง Conclude ยังไงเขาอ่านแล้วจำเราได้จากในใบสมัคร 1000 ใบที่เขาต้องพิจารณา
7. เล่าเรื่องให้ดูน่าสนใจ
อันนี้คือเทคนิคการเขียนของเราที่เราจะเอาโครงสร้างเหล่านั้นมาเขียนเล่าเรื่องอย่างไรให้กรรมการอ่านแล้ว รู้สึกน่าติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ Intro ต้องทำให้เขาอยากอ่าน และ Conclude ต้องทำให้เขาจดจำ