ปฏิเสธไม่ได้กับการเมืองที่นำเอาระบบทุนนิยมมาเป็นตัวตั้ง และที่สำคัญเอาการตลาดที่เป็นกลไกสำคัญของระบบทุนนิยมมากำหนดทิศทางให้กับประชาชนได้เลือกพรรคของตน
ดังนั้น จึงไม่แปลกที่เราจะกลัวระบบทุนนิยม และกลไกทางการตลาด ของนักการตลาดชั้นยอด ที่จะปั่นมูลค่าให้กับนักการเมือง หรือพรรคการเมือง ซึ่งก็สะท้อนให้เห็นถึง คุณภาพของประชาชน ที่น้อยนิด แต่ก็มีคนบอกว่าประชาชนไม่ได้ด้อยคุณภาพ แต่ผลปรากฏชัดเจนก็คือ ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงติดกับดักการตลาดของนักการเมืองซึ่งมีระบบทุนนิยมกำกับบังคับบัญชาอยู่เบื้องหลัง
----------------------------------------------------------------------------------
การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ทุนนิยม ให้กับประชาชนนั้น แท้จริงทำได้ยากมาก เพราะ ทุนนิยม กับนักการเมือง และนายทุน เป็นส่วนประสมของความสำเร็จที่เรียกว่าเศรษฐกิจ โดยมีความต้องการของ นักการเมือง นายทุน พ่อค้าแม่ขายต่างๆ เป็นตัวสนับสนุน ซึ่งหากย้อนกลับไปในช่วงที่เราเรียกระบบเศรษฐกิจว่า ศักดินา เราก็จะพบว่า นักการเมือง กับทหาร มีความใกล้ชิดกัน เรียกว่า มองทหารเป็นนักการเมือง มองนักการเมืองก็เป็นทหาร น้อยนักที่พ่อค้าคหบดีจะเป็นนักการเมือง เพราะเราถือรากฐานดังกล่าวจากระบอบราชาธิปไตย และจัดการระบบเศษรฐกิจในรูปแบบ ศักดินา คือเอาการพัฒนาที่ดินเป็นตัวตั้ง มอบที่ดินให้กับผู้ที่มีความดีความชอบ มอบข้าทาสไพร่บริวาร เป็นเหมือนเครื่องจักรช่วยทุ่นแรงในการพัฒนาที่ดิน และนำผลผลิตที่ได้นำส่งกลับมาเป็นภาษีอากรอีกที่หนึ่ง
-----------------------------------------------------------------------------------
ดังนั้น หากเราจะเปลี่ยนความคิดของคนในยุคปัจจุบันในการรับมืองกับ ทุนนิยม และ นักการเมืองที่ฉ้อฉล ก็คงต้องสร้างหลักคิดให้เข้าใจในการพัฒนาที่ดิน และเห็นค่าของที่ดิน มากกว่าการใช้แรงงานในการเป็นข้าทาสไพร่บริวารให้กับนายทุน ส่งเสริมการร่วมกลุ่มกันมากว่าการส่งเสริมการแตกแยกกันเหมือนที่ผ่านมา และที่สำคัญ จำเป็นต้องส่งเสริมหลักสูตรในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเคมีภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อการขนส่งทั้งในระยะสั้นๆ และระยะไกลๆ ที่สำคัญ ต้องสร้างอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ ให้มีตัวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แทนการทำตามกระแสนิยม แต่เน้นการเพิ่มมูลค่าทางภูมิปัญญาชาวบ้าน และส่งเสริมคุณค่าให้กับภูมิสังคม ให้มีมูลค่าทางการค้า การตลาด ได้อย่างสมบูรณ์ คือ สามารถต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง
-----------------------------------------------------------------------------------
เมื่อ เศรษฐกิจ ถูกเปลี่ยนจากทุนนิยม เป็น เศรษฐกิจพอเพียง การเมืองก็ไม่สามารถครอบงำประชาชนได้ และเมื่อนั้น นักการเมืองก็จะมาจากประชาชน จากตัวแทนองค์กรภาคประชาชน เข้ามาหมุนเวียนกันทำหน้าที่ในการประสานประโยชน์ของประชาชน ในฐานะประธานในการรับฟัง และนำไปปรึกษาหารือกับข้าราชการ เพื่อนำมาปฏิบัติให้สอดรับกับความต้องการ หรือการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชน ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในสิ่งที่ทำไม่ได้ ก็จะต้องมีบัญชีสถานการเงินการคลังมาชี้แจ้งประกอบการพิจารณาในวิธีการที่เลือกใช้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
และเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการแผ่นดินสืบไป มิใช่ประธานในการใช้อำนาจแทนประชาชนเหมือนอย่างที่ผ่านมา
เศรษฐกิจ ทุนนิยม กับการเมืองที่ฉ้อฉล
ดังนั้น จึงไม่แปลกที่เราจะกลัวระบบทุนนิยม และกลไกทางการตลาด ของนักการตลาดชั้นยอด ที่จะปั่นมูลค่าให้กับนักการเมือง หรือพรรคการเมือง ซึ่งก็สะท้อนให้เห็นถึง คุณภาพของประชาชน ที่น้อยนิด แต่ก็มีคนบอกว่าประชาชนไม่ได้ด้อยคุณภาพ แต่ผลปรากฏชัดเจนก็คือ ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงติดกับดักการตลาดของนักการเมืองซึ่งมีระบบทุนนิยมกำกับบังคับบัญชาอยู่เบื้องหลัง
----------------------------------------------------------------------------------
การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ทุนนิยม ให้กับประชาชนนั้น แท้จริงทำได้ยากมาก เพราะ ทุนนิยม กับนักการเมือง และนายทุน เป็นส่วนประสมของความสำเร็จที่เรียกว่าเศรษฐกิจ โดยมีความต้องการของ นักการเมือง นายทุน พ่อค้าแม่ขายต่างๆ เป็นตัวสนับสนุน ซึ่งหากย้อนกลับไปในช่วงที่เราเรียกระบบเศรษฐกิจว่า ศักดินา เราก็จะพบว่า นักการเมือง กับทหาร มีความใกล้ชิดกัน เรียกว่า มองทหารเป็นนักการเมือง มองนักการเมืองก็เป็นทหาร น้อยนักที่พ่อค้าคหบดีจะเป็นนักการเมือง เพราะเราถือรากฐานดังกล่าวจากระบอบราชาธิปไตย และจัดการระบบเศษรฐกิจในรูปแบบ ศักดินา คือเอาการพัฒนาที่ดินเป็นตัวตั้ง มอบที่ดินให้กับผู้ที่มีความดีความชอบ มอบข้าทาสไพร่บริวาร เป็นเหมือนเครื่องจักรช่วยทุ่นแรงในการพัฒนาที่ดิน และนำผลผลิตที่ได้นำส่งกลับมาเป็นภาษีอากรอีกที่หนึ่ง
-----------------------------------------------------------------------------------
ดังนั้น หากเราจะเปลี่ยนความคิดของคนในยุคปัจจุบันในการรับมืองกับ ทุนนิยม และ นักการเมืองที่ฉ้อฉล ก็คงต้องสร้างหลักคิดให้เข้าใจในการพัฒนาที่ดิน และเห็นค่าของที่ดิน มากกว่าการใช้แรงงานในการเป็นข้าทาสไพร่บริวารให้กับนายทุน ส่งเสริมการร่วมกลุ่มกันมากว่าการส่งเสริมการแตกแยกกันเหมือนที่ผ่านมา และที่สำคัญ จำเป็นต้องส่งเสริมหลักสูตรในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเคมีภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อการขนส่งทั้งในระยะสั้นๆ และระยะไกลๆ ที่สำคัญ ต้องสร้างอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ ให้มีตัวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แทนการทำตามกระแสนิยม แต่เน้นการเพิ่มมูลค่าทางภูมิปัญญาชาวบ้าน และส่งเสริมคุณค่าให้กับภูมิสังคม ให้มีมูลค่าทางการค้า การตลาด ได้อย่างสมบูรณ์ คือ สามารถต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง
-----------------------------------------------------------------------------------
เมื่อ เศรษฐกิจ ถูกเปลี่ยนจากทุนนิยม เป็น เศรษฐกิจพอเพียง การเมืองก็ไม่สามารถครอบงำประชาชนได้ และเมื่อนั้น นักการเมืองก็จะมาจากประชาชน จากตัวแทนองค์กรภาคประชาชน เข้ามาหมุนเวียนกันทำหน้าที่ในการประสานประโยชน์ของประชาชน ในฐานะประธานในการรับฟัง และนำไปปรึกษาหารือกับข้าราชการ เพื่อนำมาปฏิบัติให้สอดรับกับความต้องการ หรือการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชน ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในสิ่งที่ทำไม่ได้ ก็จะต้องมีบัญชีสถานการเงินการคลังมาชี้แจ้งประกอบการพิจารณาในวิธีการที่เลือกใช้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
และเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการแผ่นดินสืบไป มิใช่ประธานในการใช้อำนาจแทนประชาชนเหมือนอย่างที่ผ่านมา