เที่ยวนาหมื่น-นาน้อย จังหวัดน่านฤดูหนาวฟินขนาดไหนลองไปดู

กระทู้คำถาม
สำหรับเทศกาลปีใหม่ และฤดูหนาว นี้หากไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวไหนดีจังหวัดน่านก็เป็นจังหวัดที่แนะนำมากๆเป็นเมืองสงบ ผู้คนใจดี วิถีสโลไลฟ์อย่างแท้ทรูไม่ว่าจะในอำเภอเมือง อำเภอปัว ฯลฯ ก็มีคนทำรีวิวเยอะละ วันนี้ขอพามาเที่ยวที่ไม่ค่อยมาเที่ยวเท่าไหร่ก็คืออำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น
    หากพูดถึงอำเภอนาน้อยที่ต้องไปเลยคือดอยเสมอดาวเราจะไปนอนบนดอยชมดาว ย่างหมูเผาเผือกสัก 1 คืนจะเดินทางโดยรถเมย์เขียวมาก็ได้ โดยนั่งรถทัวร์โดยสารมาลงที่สถานีขนส่งสา แล้วต่อรถเมย์เขียวมาลงที่อำเภอนาน้อย(หน้าโรงเรียนบ้านนาราบ)แล้วเหมารถขึ้นดอยต่ออีกแค่ 16กมเอง หรือจะขับรถส่วนตัวยาวๆจากอำเภอสามาแค่46 km. ตามเส้นทางหมายเลข 101 เลย ทางจะคดโค้งเล็กน้อยหากไม่ชินก็คลื่นไส้เล็กน้อย
    ขึ้นมาถึงดอยเสมอดาวแล้วก็เช้าเต้นนอนกันอาหารการกินไม่ต้องกลัวค่ะ บนดอยจะมีบริการเต็มเลย หมูกระทะชุดละ 200 บาท เช่าเตาอีก 100 หากเช่าเต้นของอุทยาน093-242-2914 หากบนดอยเสมอดาวเต็มก็มีลานของเอกชนอีกเพียบคืนละประมาณ 300-400บาท สำหรับฤดูหนาวนี้ หาเบื่อดอยเสมอดาวก็เดินไปเที่ยวม่อนเคียงดาวข้างๆดอยเสมอดาวอีก 500 เมตร จะสำผัสกับท้องทุ่งดอกปอเทืองและทะเลหมอกที่ไม่ค่อยมีคนมาแย่ง หากจะขับรถไปอยากให้ใช้รถขับเคลื่น 4 ล้อทางลูกรัง รถอาจจะติดขับขึ้นไม่ได้ บนดอยแห่งนี้จะเห็นดาวชัดมากๆใครสายตาสั้นพกแว่นมาซะไม่งั้นไม่เห็น ดาวจะอยู่บนหัวเลย ตื่นเช้ามาสัมผัสทะเลหมอก
ดูพระอาทิตย์ขึ้นแล้วเราก็จะไปเที่ยวต่อที่อำเภอนาหมื่นกัน
ระหว่างทางก็อย่าลืมแวะเติมคาแฟอีนในเลือด หรืออาหารรองท้องที่ร้านกาแฟมีเอกลักาษณ์ตกแต่งดีๆ ว่างๆก็สามารถเล่นกีต้า ซึง ที่ร้านได้แม่ค้าใจดีมาก ร้านสาวน้อยบ้านนากาแฟ
พิกัด หน้า โรงเรียนบ้านนา ข้างๆร้านปลูกสตอเบอรี่ด้วย เด็ดกินได้แม่ค้าใจดี 555
ไปอำเภอนาหมื่น>>>> เริ่มจากวัดบ่อแก้ว
    เดินทางตามเส้นทาง 1026  มาแวะที่วัดบ่อแก้วขาวสง่าโดดเด่น ด้วยลวดลายปูนปั้นอันแสนวิจิตร ส่วนประวัติของวัดขอเล่าคร่าวๆนะคะ
               ภายในบริเวณวัดมีบ่อน้ำอยู่ หลังจากสร้างวัดแล้วได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้น โดยทุกวันพระจะปรากฏดวงแก้วส่องแสงสว่างสุกใสลอยออกมาจากบ่อน้ำภายในวัด สร้างความเลื่อมใสศรัทธาให้ชาวบ้านเป็นอย่างมาก จึงช่วยกันสร้างพระเจดีย์ครอบบ่อน้ำเอาไว้ แล้วเปลี่ยนชื่อจากวัดศรีมารามเป็น "วัดบ่อแก้ว" รวมทั้งชื่อหมู่บ้านด้วย เพื่อระลึกถึงปรากฏการณ์มหัศจรรย์อันเป็นมหามงคลบนฐานชุกชีที่ประดิษฐานพระประธาน เบื้องบนสุดประดิษฐานพระเจ้าแก้ว ประดับรัศมีไฟกะพริบ ปูชนียวัตถุสำคัญที่สุดของวัดบ่อแก้วคือ พระเจ้าแก้ว พระพุทธรูปเนื้อแก้วใส ปางประทับยืนอุ้มบาตร สูงประมาณ 1 คืบ มีตำนานเล่าถึงที่มาว่า เมื่อร้อยกว่าปีก่อนมีตากับยายทำไร่อยู่ที่ม่อนเขาแก้ว (บริเวณใกล้กับวัดชัยมงคลในปัจจุบัน) วันหนึ่งขณะกำลังช่วยกันดายหญ้า แวก (จอบขนาดเล็ก) ที่ใช้อยู่ได้ไปกระทบกับบางสิ่งที่โผล่พ้นดินขึ้นมา ด้วยความสงสัยสองตายายจึงพากันขุดลึกลงไปอีก จนพบว่าสิ่งที่แวกไปกระทบเข้านั้นเป็นยอดพระเกศของพระพุทธรูปที่จมดินอยู่ จึงขุดขึ้นมาล้างดินโคลนที่ห่อหุ้มออก ปรากฏเป็นองค์พระพุทธรูปแก้วใสสวยงาม จึงนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดบ่อแก้ว จากนั้นได้เกิดปาฏิหาริย์ พระเจ้าแก้วได้เสด็จออกไปในสถานที่ต่าง ๆ โดยแต่ละครั้งมีชาวบ้านไปพบเห็นมาเล่าลือกัน เช่น ริมลำน้ำหินบ้าง ใต้โคนต้นเดื่อใหญ่
ในหมู่บ้านบ้าง ในโบสถ์ที่วัดปง (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพงษ์) บ้าง บนแท่นพระเจ้าหลวงวัดนาหวายบ้าง บางครั้งเสด็จไปไกลถึงวัดบ้านล้อง หรือวัดร้อง ในตำบลสถาน ผู้เฒ่าแสนใจยาวาของหมู่บ้านจึงสร้างบุษบกไว้ถวายให้เป็นแท่นที่ประทับ นับแต่นั้นมาพระเจ้าแก้วก็ไม่เสด็จไปที่ไหนอีก เจ้าผู้ครองนครน่านองค์หนึ่งได้ทราบถึงเรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าแก้วได้จัดส่งขบวนช้างม้าพร้อมทหารมาอัญเชิญพระเจ้าแก้วขึ้นหลังช้างเพื่อนำไปประดิษฐานไว้ที่วัดหลวงในเมืองน่าน แต่เมื่อขบวนเดินทางไปถึงบริเวณที่เรียกว่า "แพะไก่เถื่อน" เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก เป็นวิปริตอาเพศ จนขบวนไม่
สามารถเดินทางไปต่อได้ ต้องอัญเชิญกลับมาไว้ที่วัดบ่อแก้วตามเดิม พระเจ้าแก้วจึงถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวอำเภอนาหมื่น ในวันวิสาขบูชาและวันสำคัญทางพุทธศาสนาจะอัญเชิญออกมาให้ประชาชนสรงน้ำเป็นประจำทุกปี อุโบสถสุดอลังการนี้นับเป็นอุโบสถหลังที่3ของวัด หลลังดั้งเดิมแรกสุดเป็นสถาปัตยกรรมไม้ เสาต้นซุงขนาดใหญ่ หลังคามุงแป้นเกล็ดแบบล้านนา ถูกรื้อออกไปเมื่อหลายปีก่อน แล้วสร้างอุโบสถหลังใหม่ก่ออิฐถือปูนบนพื้นที่เดิมเป็นหลังที่สอง ด้วยรูปแบบเรียบง่าย ยังไม่มีการประดับประดาอย่างวิจิตร เพียงมีลักษณะเด่นประการหนึ่ง คือ ข้างหลังโบสถ์ด้านนอกทางทิศตะวันตกทำเป็นวิหารน้อยขนาดเล็ก ตั้งบนเสาสูง 4 ต้น เหมือนกับหิ้งพระติดอยู่กับผนัง สำหรับประดิษฐานพระเจ้าแก้ว บนฐานชุกชีที่ประดิษฐานพระประธาน เบื้องบนสุดประดิษฐานพระเจ้าแก้ว ประดับรัศมีไฟกะพริบ ปูชนียวัตถุสำคัญที่สุดของวัดบ่อแก้วคือ พระเจ้าแก้ว พระพุทธรูปเนื้อแก้วใส ปางประทับยืนอุ้มบาตร สูงประมาณ 1 คืบ มีตำนานเล่าถึงที่มาว่า เมื่อร้อยกว่าปีก่อนมีตากับยายทำไร่อยู่ที่ม่อนเขาแก้ว (บริเวณใกล้กับวัดชัยมงคลในปัจจุบัน) วันหนึ่งขณะกำลังช่วยกันดายหญ้า แวก (จอบขนาดเล็ก) ที่ใช้อยู่ได้ไปกระทบกับบางสิ่งที่โผล่พ้นดินขึ้นมา ด้วยความสงสัยสองตายายจึงพากันขุดลึกลงไปอีก จนพบว่าสิ่งที่แวกไปกระทบเข้านั้นเป็นยอดพระเกศของพระพุทธรูปที่จมดินอยู่ จึงขุดขึ้นมาล้างดินโคลนที่ห่อหุ้มออก ปรากฏเป็นองค์พระพุทธรูปแก้วใสสวยงาม จึงนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดบ่อแก้ว จากนั้นได้เกิดปาฏิหาริย์ พระเจ้าแก้วได้เสด็จออกไปในสถานที่ต่าง ๆ โดยแต่ละครั้งมีชาวบ้านไปพบเห็นมาเล่าลือกัน เช่น ริมลำน้ำหินบ้าง ใต้โคนต้นเดื่อใหญ่ในหมู่บ้านบ้าง ในโบสถ์ที่วัดปง (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพงษ์) บ้าง บนแท่นพระเจ้าหลวงวัดนาหวายบ้าง บางครั้งเสด็จไปไกลถึงวัดบ้านล้อง หรือวัดร้อง ในตำบลสถาน ผู้เฒ่าแสนใจยาวาของหมู่บ้านจึงสร้างบุษบกไว้ถวายให้เป็นแท่นที่ประทับ นับแต่นั้นมาพระเจ้าแก้วก็ไม่เสด็จไปที่ไหนอีก เจ้าผู้ครองนครน่านองค์หนึ่งได้ทราบถึงเรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าแก้วได้จัดส่งขบวนช้าง
ม้าพร้อมทหารมาอัญเชิญพระเจ้าแก้วขึ้นหลังช้างเพื่อนำไปประดิษฐานไว้ที่วัดหลวงในเมืองน่าน แต่เมื่อขบวนเดินทางไปถึงบริเวณที่เรียกว่า "แพะไก่เถื่อน" เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก เป็นวิปริตอาเพศ จนขบวนไม่สามารถเดินทางไปต่อได้ ต้องอัญเชิญกลับมาไว้ที่วัดบ่อแก้วตามเดิม พระเจ้าแก้วจึงถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวอำเภอนาหมื่น ในวันวิสาขบูชาและวันสำคัญทางพุทธศาสนาจะอัญเชิญออกมาให้ประชาชนสรงน้ำเป็นประจำทุกปี อุโบสถสุดอลังการนี้นับเป็นอุโบสถหลังที่3ของวัด หลลังดั้งเดิมแรกสุดเป็นสถาปัตยกรรมไม้ เสาต้นซุงขนาดใหญ่ หลังคามุงแป้นเกล็ดแบบล้านนา ถูกรื้อออกไปเมื่อหลายปีก่อน แล้วสร้างอุโบสถหลังใหม่ก่ออิฐถือปูนบนพื้นที่เดิมเป็นหลังที่สอง ด้วยรูปแบบเรียบง่าย ยังไม่มีการประดับประดาอย่างวิจิตร เพียงมีลักษณะเด่นประการหนึ่ง คือ ข้างหลังโบสถ์ด้านนอกทางทิศตะวันตกทำเป็นวิหารน้อยขนาดเล็ก ตั้งบนเสาสูง 4 ต้น เหมือนกับหิ้งพระติดอยู่กับผนัง สำหรับประดิษฐานพระเจ้าแก้ว มาเที่ยวอย่าลืมแวะมากราบพระในอุโบสถนะคะ

น้ำตกนางกวัก

ออกมาจากวัดก็จะมีทางแยกให้ไปเที่ยวปากนาย กับ น้ำตกนางกวัก เราเลือกที่จะไปน้ำตกนางกวักก่อน ออกจากวัดแค่ 30กิโลเมตร เดินทางใช้เวลาประมาณ 48นาที มีช่วงทำทางใหม่จะเป็นลูกรังประมาณ3 กิโลเมตร หลังจากนั้นเป็นทางลาดยางลงเขา ขึ้นเขาและโค้งพอประมาณใช้เกียร์ออโต้ไหวไม่ทำร้ายรถ ตามเส้นทาง 4010 จะพบกับหมู่เป็นพักๆจะมีร้านกาแฟก่อนถึงน้ำตกแวะทานกันได้นะ (ลืมชื่อร้าน) ไปอีกนิดก็ถึงน้ำตกแล้วจุดจอดรถตรงสะพาน และเดินเข้าไปถึงน้ำตกเลย ความสูงของน้ำตกประมาณ 5 เมตร สูงใสไหลเย็นเห็นตัวปลาเลยทีเดียว
  สถานที่ตั้ง : ตั้งอยู่บ้านนาหมอ หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองลี อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน
เล่นน้ำตกเสร็จแล้วเราไปกินปลากันต่อที่ หมู่บ้านประมงปากนาย ขับออกมาจากน้ำตกตามป้ายเลี้ยวไปต่อหมู่บ้านประมาง ประมาณ 20 กิโลเองชมวิถีชีวิตชาวประมงและนั่งกินปลา มีปลาสดๆเลี้ยงในกระชังหรือจะข้ามแพไปอุตรดิตได้ตามในรูปเลย จบแล้วสำหรับการเที่ยววันนี้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่