นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักรัฐมนตรี และ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก แถลงข่าวสร้างความเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการ ในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ.2560 ( PPP EEC Track) ลดขั้นตอนต่างๆ ให้เร็วขึ้น ทำให้เอกชนหลายรายร่วมสนใจลงทุน
โดยมีโครงการสำคัญในพื้นที่ EEC 5 โครงการ ที่รัฐบาลจะเร่งผลักดันในรูปแบบการร่วมลงทุนกับเอกชน ประกอบด้วย
1. สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก
2. ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา
3. รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
4. ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3
5. ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3
ซึ่งจะมีเม็ดเงินลงทุนรวมกันไม่น้อยกว่า 6 แสนล้านบาท มีการกำหนดขอบเขตงาน หรือ TOR ที่จะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 2 ของปี 2561 และภายหลังจากกระบวนการทำ TOR จะมีการพิจารณาให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนให้ครบถ้วนภายใน ปี 2561
รัฐมนตรีประจำสำนักรัฐมนตรี เร่งสร้างความเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการ ในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ. 2560 (PPP EEC Track) ซึ่งจะช่วยผลักดันให้โครงการลงทุนใน EEC เดินหน้าอย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาในการเตรียม และเสนอโครงการ รวมไปถึงคัดเลือกเอกชน และลงนามในสัญญาเพียงแค่ 10 เดือน ส่งผลให้กระบวนการทำงานทำได้อย่างรวดเร็วกว่าขั้นตอนของกฎหมาย การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ปี 2556 ที่ใช้เวลาถึง 40 เดือน และขั้นตอนการทำ Fast Tract ที่ใช้เวลานานถึง 20 เดือน อีกทั้งจะให้มีการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนทั้งหมด 3 ครั้ง ในเรื่องความเหมาะสมของโครงการ รูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน โดยเปิดกว้างให้มีทั้งชาวไทยและต่างชาติร่วมประมูลอย่างยุติธรรม
ด้านเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า การขับเคลื่อนโครงการ EEC ให้สำเร็จได้ จำเป็นต้องพัฒนา และยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจการค้าโดยพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงข่ายคมนาคมขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ทั้งทางอากาศ ทางราง ทางถนน และทางน้ำ ให้เชื่อมสู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และผลักดันให้ภาคตะวันออกของไทยเป็นประตูสู่ตลาด CMLV และจีนตอนใต้ โดย 5 โครงการสำคัญในพื้นที่พัฒนา EEC ที่รัฐบาลเร่งผลักดันให้สำเร็จเป็นรูปธรรม
ที่มา :
สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
EEC - PPP EEC Track ผลักดันเอกชนลงทุนเผย ปี 61 เดินหน้าเมกโปรเจค 5 โครงการ
โดยมีโครงการสำคัญในพื้นที่ EEC 5 โครงการ ที่รัฐบาลจะเร่งผลักดันในรูปแบบการร่วมลงทุนกับเอกชน ประกอบด้วย
1. สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก
2. ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา
3. รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
4. ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3
5. ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3
ซึ่งจะมีเม็ดเงินลงทุนรวมกันไม่น้อยกว่า 6 แสนล้านบาท มีการกำหนดขอบเขตงาน หรือ TOR ที่จะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 2 ของปี 2561 และภายหลังจากกระบวนการทำ TOR จะมีการพิจารณาให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนให้ครบถ้วนภายใน ปี 2561
รัฐมนตรีประจำสำนักรัฐมนตรี เร่งสร้างความเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการ ในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ. 2560 (PPP EEC Track) ซึ่งจะช่วยผลักดันให้โครงการลงทุนใน EEC เดินหน้าอย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาในการเตรียม และเสนอโครงการ รวมไปถึงคัดเลือกเอกชน และลงนามในสัญญาเพียงแค่ 10 เดือน ส่งผลให้กระบวนการทำงานทำได้อย่างรวดเร็วกว่าขั้นตอนของกฎหมาย การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ปี 2556 ที่ใช้เวลาถึง 40 เดือน และขั้นตอนการทำ Fast Tract ที่ใช้เวลานานถึง 20 เดือน อีกทั้งจะให้มีการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนทั้งหมด 3 ครั้ง ในเรื่องความเหมาะสมของโครงการ รูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน โดยเปิดกว้างให้มีทั้งชาวไทยและต่างชาติร่วมประมูลอย่างยุติธรรม
ด้านเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า การขับเคลื่อนโครงการ EEC ให้สำเร็จได้ จำเป็นต้องพัฒนา และยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจการค้าโดยพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงข่ายคมนาคมขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ทั้งทางอากาศ ทางราง ทางถนน และทางน้ำ ให้เชื่อมสู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และผลักดันให้ภาคตะวันออกของไทยเป็นประตูสู่ตลาด CMLV และจีนตอนใต้ โดย 5 โครงการสำคัญในพื้นที่พัฒนา EEC ที่รัฐบาลเร่งผลักดันให้สำเร็จเป็นรูปธรรม
ที่มา : สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก