[CR] เหตุผลที่เด็กจีนสอบเข้ามหาวิทยาลัยยากเป็นเพราะ...

เดือนแห่งการสอบเกาเข่าหรือสอบเอนทรานซ์จีนประจำปี 2017

การสอบ เกาเข่า (高考 gāokǎo) หรือการสอบ Entrance เข้ามหาวิทยาลัยจีน


เดือน 6 (มิถุนายน) ของทุกปี ประเทศจีน เปิดการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ทั่วทั้งประเทศ มีแค่ 2 วันเท่านั้น คือ วันที่ 7 กับ 8
(คนจีนจะจำว่า 678 เพื่อจำง่ายว่านี่คือวันสอบเข้ามหาวิทยาลัย)



การสอบเข้ามหาวิทยาลัยของจีนต่างจากไทยอย่างไร ?
ที่จีน ข้อสอบไม่เหมือนกันทั่วทั้งประเทศ เหมือนเมืองไทย ที่กระทรวงศึกษาธิการออกให้เหมือนกันทั่วทั้งประเทศ  
จีนจะขึ้นอยู่ว่ามณฑลไหนเจริญแล้วจะออกข้อสอบเอง อย่างเซี่ยงไฮ้เป็นเขตพื้นที่ที่เจริญแล้ว
ผู้ปกครองเขตที่ดูแลเรื่องการศึกษาจะออกข้อสอบเอง ส่วนมณฑลที่ไม่เจริญจะเป็นรัฐบาลออกข้อสอบ


การออกข้อสอบของรัฐบาลเป็นอย่างไร ?
รัฐบาลจะออกข้อสอบ 4 ชุด ให้ผู้ปกครองเขตที่ดูแลเรื่องการศึกษาแต่ละเขตออกมาจับฉลาก
ว่าเขตไหนได้ข้อสอบอะไร แต่ละชุดข้อสอบไม่เหมือนกัน

ตัวอย่างเช่น มณฑลกว่างซีจ้วง จับฉลากได้ชุด A เด็กทั้งมณฑลนั้นก็ต้องสอบชุด A ทั้งมณฑล
(ผู้ปกครองคนไหนจับชุดโหด เด็กมณฑลนั้นก็สอบชุดโหดไป น่าสงสารอ่ะ)

ก่อนเดือนสอบ (มิถุนายน)  
ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ทางรัฐแต่ละพื้นที่จะจดรายชื่อเด็กที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยไปให้รัฐบาลในเขตนั้น
ว่ามีทั้งหมดกี่คน จะได้เตรียมเอกสารและข้อสอบให้เรียบร้อย

ข้อสอบที่ออกของรัฐบาล (สำหรับพื้นที่ไม่เจริญ) แต่ละมณฑลจะเชิญอาจารย์ที่เก่งๆแต่ละวิชามาอยู่ที่หน่วยของรัฐบาลในแต่ละมณฑล
จะมีหน้าที่ออกข้อสอบในพื้นที่ของตน

การออกข้อสอบ  ผู้ที่ออกข้อสอบต้องใช้ชีวิตอยู่ในหน่วยการศึกษาของรัฐบาลเป็นเวลา 1 ปี ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ
ห้ามติดต่อบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะส่งข้อความคอมพิวเตอร์หรืออะไรก็ตาม จะมีทหารถือปืนยาวมาคุมเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง
ในการใช้ชีวิตอยู่ในหน่วยที่ออกข้อสอบ จนถึงเวลาครบกำหนดคือหลังที่นักเรียนทั้งประเทศสอบเสร็จในเย็นวันที่ 8 ของเดือนมิถุนายน
ถึงได้ออกจากหน่วยงานนั้นได้  เหตุผลที่ทำเช่นนี้เพราะกลัวข้อสอบไหลออกไปเกิดการทุจริต

(ขออนุญาตยืมภาพมาประกอบเรื่องเล่าค่ะ)



นักเรียนจีนไม่เหมือนนักเรียนไทยที่ว่า ชื่ออยู่บ้านเลขที่ไหน เขตไหน เรียนโรงเรียนเขตนั้น ถ้าเป็นเด็กนักเรียนไทยภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด
มาเรียนอีกที่ก็ได้ อยู่ประจำก็ได้ แต่ที่จีนไม่เป็นเช่นนั้น

เพราะอะไร ?
1. อยากให้เด็กในพื้นตนเองได้เรียนและนำที่เรียนนั้นมาพัฒนาพื้นที่ ที่ของตนเองอยู่  (ประมาณว่าให้สำนึกรักบ้านเกิด)
2. ข้อสอบแต่ละมณฑลออกไม่เหมือนกัน จากการจับฉลากของของผู้ปกครองเขต และดูจากพื้นที่มณฑลนั้นมีอะไรเด่น
เพราะเด็กนั้นพื้นที่จะรู้ประวัติ รู้เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่ตัวเองอาศัยอยู่
3. ร้อยละ 90% ที่สอบเข้าได้แต่ละมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่ให้โควต้ากับเด็กในพื้นที่ภูมิลำเนาก่อน
ถ้าสอบแล้วคะแนนไม่ถึงก็ดูจากคะแนนของเด็กต่างพื้นที่ร้อยละ 10% ซึ่งน้อยมาก


ขั้นตอนสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัย
นักเรียนทุกคนจะต้องลงทะเบียนเองทางระบบคอมพิวเตอร์ กรอกประวัติส่วนตัว การศึกษา ชื่อโรงเรียนที่เรียนจบ
เกรดเฉลี่ยรวมของมัธยมปลายทั้งหมด และเลือกมหาวิทยาลัยที่อยากเข้าได้ 3 มหาวิทยาลัย ที่คะแนนการสอบนั้นถึงเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยรับ



เกณฑ์การรับเข้ามหาวิทยาลัย ดูจากอะไรบ้าง?
แต่ละมหาวิทยาลัยจะมีการรับนักศึกษาแตกต่างกัน คือ ดูจากคะแนนการสอบโดยรวมทั้งหมดของนักศึกษา
ว่าถึงเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยนั้นรับไหม โดยทางมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะมีเกณฑ์คะแนนบอกอยู่ว่ารับเด็กในพื้นที่ตนเท่าไหร่ รับนอกพื้นที่เท่าไหร่
สมมติว่า มหาวิทยาลัยกวางสี ตั้งอยู่ในมณฑลการปกครองของกว่างซีจ้วง ตั้งอยู่ในเมืองหนานหนิง มหาวิทยาลัยกจะรับเด็กในพื้นที่หนานหนิงก่อน
โดยมหาวิทยาลัยจะระบุคะแนนแต่ละคณะ เด็กสอบเข้า ถ้าคนไหนคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ก็ถือว่าเข้าไม่ได้ และเกณฑ์การวัดคะแนนนอกพื้นที่ที่ต่างกัน
จะระบุเลยว่ารับเด็กในมณฑลกวางตุ้ง...คน , มณฑลเสฉวน...คน , มณฑลกุ้ยโจว...คน อย่างนี้เป็นต้น


ถ้าอยากเข้ามหาวิทยาลัยดังๆ แล้วเราอยู่ต่างมณฑล ควรต้องทำอย่างไร ?
สมมติอยู่เหอหนาน อยากเรียนมหาวิทยาลัยที่ปักกิ่ง ทำไงดี ? กลัวว่าสอบจากต่างพื้นที่คงไม่ได้
เพราะมหาวิทยาลัยแต่ละพื้นที่ย่อมรับเด็กในโควต้าพื้นที่ตัวเองก่อน แน่นอนการแข่งขันสูงมาก
นอกเสียจากย้ายที่อยู่แล้วย้ายที่เรียนไปมัธยมปลายไปปักกิ่ง คือวางแผนตั้งแต่ขึ้น ม.4   คือ ย้ายบ้าน ย้ายที่อยู่เลยทีเดียว
อ๊ากกกกกกกก  สอบได้ไม่ได้อีกเรื่องหนึ่ง


เด็กที่เรียนเก่งๆ มหาวิทยาลัยบางแห่ง ขอจองตัวไว้ก็มี  ไม่ต้องไปสอบเหมือนเด็กทั่วไป หรืออยากลองความสามารถก็ไปสอบแบบปกติก็ได้
ส่วนเรื่องให้ทุนหรือไม่ให้ทุนก็แล้วแต่มหาวิทยาลัย

แล้วคนที่สอบไม่ผ่านหล่ะ ทำอย่างไร
เด็กที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ซึ่งเยอะมาก (เกือบครึ่งประเทศได้) ก็ต้องรอสอบอีกปีถัดไป นอกเสียจากทางบ้านมีฐานะ
ส่งลูกเข้ามหาวิทยาลัยเอกชนก็ได้ แต่ค่าใช้จ่ายสูงมาก

สถานที่ในการสอบ
เมื่อก่อนสอบที่โรงเรียนตัวเอง แต่มีการทุจริต คือ ข้อสอบรั่ว เนื่องจากเวลาเด็กทำข้อสอบ
เอกสารการสอบมักจะมีสำรองเผื่อชุดไหนขาดหรือถ่ายเอกสารไม่ครบ อาจารย์คุมสอบด้านหน้าก็จะเอามาทำ
เขียนคำตอบไว้ แล้วแอบให้เด็กนักเรียนโรงเรียนตนเองลอก

แต่ตอนนี้เปลี่ยนใหม้หมด คือ ย้ายอาจารย์ที่อยู่โรงเรียน A ไปคุมสอบที่โรงเรียน  C คือ ให้ไปคุมคนละเขตเลย กันอาจารย์ช่วยเด็กตนเอง
และห้องสอบถูกเปลี่ยนไม่สอบที่โรงเรียนตัวเอง เด็กๆจะได้รับเอกสารว่า ไปสอบที่โรงเรียนไหนในพื้นที่ไหนในเขตมณฑลที่อยู่
หลายคนที่รายชื่อสอบในโรงเรียนที่ไกลจากบ้านมาก พ่อแม่ผู้กครองก็จะหาสถานที่ เช่าโรงแรมที่พักใกล้ๆโรงเรียนที่ลูกสอบ
เพราะต้องสอบ 2 วันติดกัน  หลายคนไปรอลูกหน้าโรงเรียน ทำข้าวหรือซื้อข้าวให้ลูก พอพักเที่ยงลูกก็ออกมาทานข้าว บ่ายเข้าไปสอบต่อ


เข้ามหาวิทยาลัยนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายของเด็กนักเรียนจีนเลย ความแข่งขันสูงจากจำนวนประชากรที่เยอะมาก และเกณฑ์การรับที่จำกัดจำนวนคน
กว่าจะเรียนจบ พ่อแม่บางคนที่อยู่ชนบท บ้านนอกต้องอดทน ขยันทำงานเพื่อให้ลูกได้เรียน เด็กบางคนบ้านอยู่ชนบท
ได้เรียนในเมือง ไกลบ้านก็ต้องเช่าหอพัก ค่าใช้จ่ายการเรียน ค่าเช่า ค่ากิน เยอะมาก Smiley ประเทศจีนมันกว้างมาก
การเดินทางในแต่ละเมืองนั่งรถกันให้อ้วกเลยที่เดียว ส่วนใหญ่จึงอยู่ประจำ
ปล.หอในมหาวิทยาลัย ถ้าเป็นหอคนจีนสภาพห้องต่างจากตึกนักศึกษาต่างชาติเยอะเลย


ซึ่งในปี 2017 จะมีผู้เข้าร่วมสอบทั้งหมด 9.4 ล้านคน ซึ่งจะมีเพียงประมาณ 3.72 ล้านคน
ที่จะได้เข้าเรียนระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยจีนจากการสอบคัดเลือกครั้งนี้

สำหรับการสอบ
วันแรก >> 9.00-11.30 ภาษาจีน 15.00 - 17.00 คณิตศาสตร์

วันที่สอง >> 9.00-11.30 จะเป็นวิชาเลือก ถ้าเป็นคนที่เลือกสอบสายวิทย์ จะต้องสอบ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ
ส่วนคนที่เลือกสายศิลป์ (มนุษยศาสตร์) จะต้องสอบ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การเมือง
>> 15.00 -17.00 ภาษาอังกฤษ

รายละเอียดเนื้อหาวิชาสอบ อาจแตกต่างกันไปในแต่ละมณฑล อย่างที่เล่ามาข้างต้น

ชื่อสินค้า:   การสอบ เกาเข่า (高考 gāokǎo) หรือการสอบ Entrance เข้ามหาวิทยาลัยจีน
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่