วันนี้จขกท.มีเรื่องน่าสนใจมากฝากค่ะ เป็นเรื่องการสอบเอนทรานซ์ของนักเรียนจีนทั่วประเทศ ซึ่งจัดขึ้นทุกเดือนมิถุนายนของทุกปี เป็นสนามโหดหินซึ่งขึ้นชื่อลือชาว่าปราบเซียนเหลือหลาย อาจารย์เคยเล่าให้ฟังว่าแต่ก่อนการแข่งขันรุนแรงกว่านี้มาก เปรียบเทียบง่ายๆ ว่าคนสอบทุก 10 คนจะมีแค่ 4 คนที่มีที่เรียนในมหาลัย อีก 2 คนจะไปเรียนโรงเรียนฝึกวิชาชีพ ที่เหลือคือไม่มีที่เรียน !!ต่อให้มีเงินก็ตาม (ตัวเลขไม่เป๊ะ)
นอกจากนี้ครอบครัวคนจีนมีความเชื่อกันว่าการสอบเอนทรานซ์สามารถเปลี่ยนชีวิตนักเรียนได้ การได้เรียนมหาลัยดีๆ หมายถึงอนาคตที่ดีขึ้น เป็นจุดมุ่งหมายของเด็กนักเรียนทุกคน ถ้าเอนท์ไม่ติดไม่มีที่เรียนก็ต้องออกมาทำงานรับจ้าง เคยถามอาจารย์ว่าเอนท์ไม่ติดก็เอนท์ใหม่ปีหน้าสิ อาจารย์บอกว่าตัวเลขนักเรียนม.6 สอบเอนท์ปีๆ หนึ่งเกือบ 10 ล้านคน (ปี 2014 มี 9.8 ล้านคน) ปีนี้เอนท์ไม่ติด ปีหน้าสอบใหม่ก็ได้ แต่ก็ต้องสู้กับอัตราส่วนคนสอบใหม่ในปีหน้าอันมหาศาลเหมือนเดิม T_T
และเพราะความเครียดความกดดันสูงนี้เอง จึงที่มาของแรงกดดันมหาศาลไม่เพียงแต่ไปยังเด็กนักเรียนเท่านั้น ยังรวมไปถึงครอบครัวของเด็กด้วย ครอบครัวจากชนบทยอมกู้หนี้ยืมสินส่งลูกเรียนขอให้เอนท์ติด หลายครอบครัวเชื่อว่าเอนท์ไม่ติดชีวิตจะพังทลาย มีตัวเลขการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นทุกปีเพราะเอนท์ไม่ติดด้วย
ในภาพชุดเหล่านี้เป็นการถ่ายภาพของนักเรียนม.ปลายในมณฑลเหอหนาน แสดงถึงชีวิต ความเครียด ความกดดัน ความคาดหวังของทั้งนักเรียนและครอบครัวเพื่อเตรียมการสอบเอนทรานซ์ในปี 2014 ที่เพิ่งผ่านไปค่ะ
มาติดตามชีวิตของเด็กนักเรียนม.ปลายชาวจีน เพื่อเตรียมตัวสอบเอนทรานซ์กันค่ะ
*****
จากพาดหัวข่าว高考战争
1. 高考(gāo kǎo) (เกา เข่า) = การสอบเอนทรานซ์ (เป็นชื่อเล่น เอามาจากตัวย่อ 2 ตัว มีชื่อจริงยาวเป็นวาว่า普通
高等学校招生全国统一
考试)
2. 战争 (zhàn zhēng) (จ้าน เจิง) = สงคราม
มณฑลเหอหนานซึ่งถือว่าเป็นจังหวัดที่ประชากรมากที่สุดของจีน ในปี 2014 มีเด็กนักเรียนจีนเฉพาะในเหอหนานเตรียมสอบเอนทรานซ์ถึง 724,000 คน ทั้งนักเรียนรวมครูอาจารย์และพ่อแม่ ต่างก็แบกรับความกดดันไว้มากมาย รวมไปถึงความพยายามอย่างยาวนาน ทั้งหมดก็เพื่อวันที่ 7 เดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นวันสอบเอนทรานซ์ ทุกคนต่างมุ่งหน้าสู่ “สงครามเอนทรานซ์” พร้อมกับความเชื่อว่าจะเป็นวันที่สามารถเปลี่ยนชะตาชีวิตได้
改变(gǎi biàn) (ก่าย เปี้ยน) = เปลี่ยนแปลง
命运 (mìng yùn) (มิ่ง ยุ่น) = โชคชะตา
Credit:
http://slide.news.sina.com.cn/z/slide_1_33131_61266.html#p=1
สำหรับผู้อ่านที่สนใจเรื่องจีนๆ ข่าวจีนหรือเรียนภาษาจีน ติดตามเรื่องอื่นๆ ได้ที่ fan page จขกท.ได้ค่ะ ที่
https://www.facebook.com/simplychinese
ขอบคุณมากค่ะ
สงครามเอนทรานซ์ (高考战争)
นอกจากนี้ครอบครัวคนจีนมีความเชื่อกันว่าการสอบเอนทรานซ์สามารถเปลี่ยนชีวิตนักเรียนได้ การได้เรียนมหาลัยดีๆ หมายถึงอนาคตที่ดีขึ้น เป็นจุดมุ่งหมายของเด็กนักเรียนทุกคน ถ้าเอนท์ไม่ติดไม่มีที่เรียนก็ต้องออกมาทำงานรับจ้าง เคยถามอาจารย์ว่าเอนท์ไม่ติดก็เอนท์ใหม่ปีหน้าสิ อาจารย์บอกว่าตัวเลขนักเรียนม.6 สอบเอนท์ปีๆ หนึ่งเกือบ 10 ล้านคน (ปี 2014 มี 9.8 ล้านคน) ปีนี้เอนท์ไม่ติด ปีหน้าสอบใหม่ก็ได้ แต่ก็ต้องสู้กับอัตราส่วนคนสอบใหม่ในปีหน้าอันมหาศาลเหมือนเดิม T_T
และเพราะความเครียดความกดดันสูงนี้เอง จึงที่มาของแรงกดดันมหาศาลไม่เพียงแต่ไปยังเด็กนักเรียนเท่านั้น ยังรวมไปถึงครอบครัวของเด็กด้วย ครอบครัวจากชนบทยอมกู้หนี้ยืมสินส่งลูกเรียนขอให้เอนท์ติด หลายครอบครัวเชื่อว่าเอนท์ไม่ติดชีวิตจะพังทลาย มีตัวเลขการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นทุกปีเพราะเอนท์ไม่ติดด้วย
ในภาพชุดเหล่านี้เป็นการถ่ายภาพของนักเรียนม.ปลายในมณฑลเหอหนาน แสดงถึงชีวิต ความเครียด ความกดดัน ความคาดหวังของทั้งนักเรียนและครอบครัวเพื่อเตรียมการสอบเอนทรานซ์ในปี 2014 ที่เพิ่งผ่านไปค่ะ
มาติดตามชีวิตของเด็กนักเรียนม.ปลายชาวจีน เพื่อเตรียมตัวสอบเอนทรานซ์กันค่ะ
*****
จากพาดหัวข่าว高考战争
1. 高考(gāo kǎo) (เกา เข่า) = การสอบเอนทรานซ์ (เป็นชื่อเล่น เอามาจากตัวย่อ 2 ตัว มีชื่อจริงยาวเป็นวาว่า普通高等学校招生全国统一考试)
2. 战争 (zhàn zhēng) (จ้าน เจิง) = สงคราม
มณฑลเหอหนานซึ่งถือว่าเป็นจังหวัดที่ประชากรมากที่สุดของจีน ในปี 2014 มีเด็กนักเรียนจีนเฉพาะในเหอหนานเตรียมสอบเอนทรานซ์ถึง 724,000 คน ทั้งนักเรียนรวมครูอาจารย์และพ่อแม่ ต่างก็แบกรับความกดดันไว้มากมาย รวมไปถึงความพยายามอย่างยาวนาน ทั้งหมดก็เพื่อวันที่ 7 เดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นวันสอบเอนทรานซ์ ทุกคนต่างมุ่งหน้าสู่ “สงครามเอนทรานซ์” พร้อมกับความเชื่อว่าจะเป็นวันที่สามารถเปลี่ยนชะตาชีวิตได้
改变(gǎi biàn) (ก่าย เปี้ยน) = เปลี่ยนแปลง
命运 (mìng yùn) (มิ่ง ยุ่น) = โชคชะตา
Credit: http://slide.news.sina.com.cn/z/slide_1_33131_61266.html#p=1
สำหรับผู้อ่านที่สนใจเรื่องจีนๆ ข่าวจีนหรือเรียนภาษาจีน ติดตามเรื่องอื่นๆ ได้ที่ fan page จขกท.ได้ค่ะ ที่ https://www.facebook.com/simplychinese
ขอบคุณมากค่ะ