แชร์บทความ : มนุษย์จะสร้างทักษะ-การเรียนรู้ใหม่ เพื่อรับมือ ‘ความเปลี่ยนแปลง’ ในอนาคตอย่างไร?

ที่มา: https://thestandard.co/learning-for-change/

มนุษย์จะสร้างทักษะ-การเรียนรู้ใหม่ เพื่อรับมือ ‘ความเปลี่ยนแปลง’ ในอนาคตอย่างไร?




โลกเรากำลังถูก Disrupt ​ด้วย 3​ ก​ระแสหลัก คือ กระแสโลกาภิวัตน์ กระแสการพัฒนาเทคโนโลยี​ ​กระแสความเป็นใหญ่ของเงินทุน
​โ​ล​กจะเข้า​สู่ยุค VUCA คือ เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว (Volatility), ​ไ​ม่แน่ไม่นอน​ (Uncertainty), ซับซ้อน ​(Complexity) และไม่ชัดเจน (Ambiguity)
​​ทั​ก​​ษะ​​ 4 อย่างที่จำเป็น​ต้อง​​​พัฒนาในโลกสมัยใหม่​ คือ ทักษะชีวิต, ​ทักษะการเรียน​, ​ทั​ก​​ษะการสร้าง และทักษะการทำงาน
โจทย์ของการสร้างบุคลากรไม่เหมือนแต่ก่อน​ที่มุ่ง​เน้นความเป็นเลิศในทุกด้านอย่างเดียว (Being best) เราจำเป็น​ต้อง​ดูว่าเราอยากจะสร้าง​ความแตกต่าง​กับคนอื่น​ (Being different) หรือ​สร้าง​เน้นการเป็นผู้นำทาง​ด้านไหน ​(Being first)



ถ้าถามว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น และเราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร ก็คงเหมือนกับการให้เราย้อนไปถามตัวเราเองเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ว่าเราจะจินตนาการเพื่อเตรียมตัว​กับโลกที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างไร


มันยากมากที่จะมั่นใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอีก 10-20 ปีข้างหน้า แต่เราก็สามารถคาดการณ์อนาคตได้คร่าวๆ จากเหตุปัจจัยในปัจจุบันว่า โลกปัจจุบันของเราจะถูกขับเคลื่อนด้วย 3 กระแสใหญ่



1. กระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization)

ทำให้เส้นแบ่งระหว่างประเทศบาง​ลงอย่าง​ที่ไม่เคยเป็น​มาก่อน ​คนสามารถเดินทาง​จากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศ​ได้อย่าง​ง่ายดายมากขึ้น​ ทำให้เกิดปรากฏการณ์เส้นแบ่ง​ของ​ประเทศกับบริษัทเริ่มบางขึ้นและจางหายไป บางบริษัททำธุรกิจมีคนเป็นจำนวนมากจากทั่วโลกและมีเงินมากกว่างบประมาณของบางประเทศ บางบริษัทเสียภาษีใน​ต่าง​ประเทศมากกว่าในประเทศตัวเอง​​ ซึ่งอาวุธของบริษัทสมัยใหม่คือ ‘เทคโนโลยี’ อันทัน​สมัย และ ‘เงินทุน’ อันมหาศาล


2. กระแสการพัฒนาเทคโนโลยี (Big Bang of Technology)

กระแสการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วก้าวกระโดด​ หรือ Big Bang of Technology ตามกฎของมัวร์ (Moore’s law ) บอกว่า ความเร็ว ความจุ ความสามารถในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์จะดีขึ้น 2 เท่าทุก 2 ปี โดยมีการคาดเดาว่าการเกิดขึ้น​ของ​ปัญญาประดิษฐ์​ และความก้าวหน้าของ​เทคโนโลยีจะทำให้อารยธรรมของมนุษย์เปลี่ยนไปโดยสิ้น​เชิง​ อีกทั้งยังคาดว่าปี 2040 จะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า​ ‘Singularity’ อันเป็นจุดพลิก​ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติเพราะปัญญาประดิษฐ์จะเก่งกว่ามนุษย์​



3. กระแส​ค​วามเป็นใหญ่ของ​เงิน​ทุ​น (Financialization)​

ยุคปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นแกนกลางการขับเคลื่อนของเศรษฐกิจและสังคม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานของคนสมัยใหม่ไปเรียบร้อยแล้ว เรากำลังจะเข้าไปสู่ยุคของ IoT: Internet of Things ที่ทุกอยากจะถูกเชื่อมต่อเข้ากับระบบกลางที่เรียกว่า ​Cloud


คนส่วนใหญ่จะไม่รู้เลยว่าเทคโนโลยีในโลกสมัยใหม่ทำงานยังไง เทคโนโลยีจะ​กลายเป็นเหมือนพระเจ้าองค์ใหม่ที่คนบูชาและ​ต้อง​พึ่ง​พิง​ ยุคนี้ที่จะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีหลัก 3 ตัว ได้แก่



ปัญญาประดิษฐ์ (AI)
เทคโนโลยีวัสดุนาโน (Nanotechnology)
เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)


โดยคนจะมีอายุมากขึ้น เก่งขึ้น ด้วยการใช้เทคโนโลยีมาช่วย ระบบคอมพิวเตอร์จะถูกฝัง​อยู่ในวัสดุอุปกรณ์เกือบทุกอย่าง​ในชีวิตประจำวันของ​พวกเรา ​โดย Financialization หรือ ‘เงิน’ จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในโลกสมัยใหม่



การคิดค้นเงินเคยเป็นตัวเปลี่ยน​อารยธรรมของมนุษย์​ โลกาภิวัตน์​และเทคโนโลยีทางการเงิน​ ทำให้เงินกลับมาเป็น​ตัวขับเคลื่อนโลกในด้านต่างๆ อย่าง​มากมาย​ เมื่อก่อน​เราต้อง​ทำงาน​เพื่อแลกเงิน​ แต่ตอนนี้​เงินสามารถสร้าง​เงิน​ได้โดยไม่ต้อง​สร้าง​มูลค่าจริง​ทางเศรษฐกิจเลย​ แถมยัง​เคลื่อนย้ายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเงินจะค่อยๆ พัฒนารูปแบบเป็นดิจิทัลมากขึ้น และคนรวยคนจนจะยิ่ง​มีช่องว่างมากขึ้น​


3 กระแสหลักของโลกที่ได้กล่าวมาข้างต้นได้สร้างปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในโลกสมัยใหม่​ที่เรียกว่า ‘VUCA’ (วูค่า)​

V: volatility = ความผันผวน รวดเร็วรุนแรง
U: uncertainty = ความไม่แน่นอน คาดเดาไม่ได้
C: complexity = ความซับซ้อน เข้าใจยาก
A: ambiguity = ความกำกวม ไม่ชัดเจน




อาจจะ​เรียกรวมๆ ว่าการเกิดขึ้น​ของ ‘Disruption’

สิ่งที่เราเคยเข้าใจ เคยเป็น เคยชิน จะเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ซับซ้อน คาดเดาไม่ได้ มีการตายการเกิดใหม่เป็นจำนวนมากของธุรกิจ การว่างงาน การจัดระเบียบใหม่​ทางสังค​ม

ท่ามกลางโลกอันผันผวน คำถามสำคัญคือ มนุษย์จะอยู่อย่างไร?

‘การศึกษาต้องมาก่อน’ นี่อาจเป็นคำตอบที่ดีที่สุด เพราะโลกในวันนี้และวันข้างหน้าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

ความรู้และการศึกษาคือสิ่งที่จำเป็นในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง

แต่เมื่อมองกลับมาที่โลกแห่งความเป็นจริง การศึกษามักจะเป็นเรื่อง​ล้าหลังเมื่อเทียบกับการพัฒนาของเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองเสมอ

เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า การศึกษาในปัจจุบันคือสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว ตอนเริ่มปฏิวัติอุตสาหกรรมโรงงาน กองทัพต้องการคนจำนวนมากที่มีทักษะการทำงาน​ที่​เหมือนๆ กันเข้าทำงาน ผลิตสินค้าเหมือนๆ กัน​จำนวนมากๆ​ การศึกษาจึงเน้นสร้างคนให้เหมือนๆ กัน เหมือนกับการผลิตสินค้าในโรงงาน เน้นการผลิตที่มี​ประสิทธิภาพ ยึด​นโยบายแกนกลางรวมศูนย์ เพื่อสร้างมาตรฐานและ​ปลูกฝังค่านิยมทางสังคมที่ไม่เน้น​คำถาม ​และไม่​รับ​การเปลี่ยนแปลง​ท้าทาย เน้นการสร้างคน​ให้​รู้เยอะ ​คิด​น้อย​ เน้นหาคำตอบมากกว่าสร้าง​คำถาม​

พูดได้ว่าการศึกษาสมัยนี้คล้ายๆ ‘การต่อจิ๊กซอว์’ เรามองว่าการศึกษาที่ดีคือการที่เด็กมีตัวต่อทุกตัว ถ้าขาดไปแค่ชิ้นเดียวก็จะถือว่าการต่อจิ๊กซอว์นั้นล้มเหลว เช่น คนที่ได้​ 4.00 เก่ง​กว่าคน​ที่ได้​ 3.00 เป็นต้น​

การศึกษาแบบเน้นหาคำตอบที่ถูกต้องเท่านั้น​ (Right answer) การเรียนเน้นเรียนแบบยัดเยียด​เข้าสมอง (Input-based learning) การเรียนข้อมูล​ความจริง​ (Fact-based) ซึ่งเน้นการท่อง​จำ การคำนวณให้ถูกต้อง


หรือแม้กระทั่งการศึกษาที่เน้น ​3Rs อันประกอบด้วย Reading , Writing , Arithmetic ( อ่านออก เขียนได้​ คำนวณเป็น)



ดูจะกลายเป็น ‘สิ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์’ มากกว่าจะเป็นวิธีคิดและแบบแผนอันร่วมสมัยที่สามารถนำมาปรับใช้ได้จริงในปัจจุบัน


ด้วยเหตุนี้ ทักษะในศตวรรษที่ 21 จึงพูดถึงทักษะ ​4 ด้าน ได้แก่



Life Skill: ทักษะ​การใช้ชีวิต​ หรือศิลปะการใช้ชีวิต​ (art of living)
Learning Skill: ทักษะการเรียนรู้ปรับตัว​
Innovation and Creation Skill: ทักษาการสร้าง​
Job Skill: ทักษะการทำงาน​​เลี้ยงตัวเองได้​

ทำไมทักษะ 4 ด้านนี้ถึงสำคัญ พูดอย่างรวบรัดคือ…


โลกยิ่ง​ เปลี่ยนเร็ว เท่าไร = เรายิ่งต้องสร้างทักษะ​การเรียนรู้ให้เร็ว​ขึ้น​โดยการใช้เทคโนโลยีมาช่วย​


โลกยิ่ง​มี ความไม่แน่นอน ​สูง​ = เรายิ่ง​ต้องสร้างทักษะการปรับตัวเพื่อรับความผันแปรและความเสี่ยง​


โลกยิ่ง​มี ความซับซ้อน ​สูง​ = เรายิ่ง​ต้อง​มีที่ยืน​ สร้าง​จุดแข็งให้กับ​ตัวเอง


โลกยิ่ง​มี ความไม่ชัดเจน​ สูง​ = เรายิ่ง​ต้อง​สร้าง​ภาวะผู้นำ


การศึกษา​สมัยใหม่​จึง​เปรียบเสมือน​ตัวต่อเลโก้ เราเรียนรู้ว่าชิ้นส่วนแต่ละชิ้น​ทำงานยัง​ไง​ แล้วเอามาต่อเป็น​อะไรก็ได้​ที่เราอยากจะให้มัน​เป็น​


เราไม่จำเป็น​ต้อง​เก่ง​รู้ทุกอย่าง​ เราไม่จำเป็น​ต้อง​คำนวณเร็วกว่าคอมพิวเตอร์ เราไม่จำเป็นต้อง​จำรายละเอียดความจริง​ได้ทั้ง​หมด​ แค่รู้ว่าสิ่ง​ต่าง​​ๆ​ ทำงาน​ด้วยกัน​อย่าง​ไรและ​มุ่ง​ที่จะสร้างคำตอบใหม่​​ๆ (New solution) และ​เป็น​คำตอบที่น่าพอใจ (Accepted, satisfied answer) ได้อย่าง​ไร​


โจทย์ของการสร้างบุคลากรคงไม่เหมือนแต่ก่อน​ที่มุ่ง​เน้นความเป็นเลิศในทุกด้านอย่างเดียว (Being best) เราจำเป็น​ต้อง​ดูว่าเราอยากจะสร้าง​ความแตกต่าง​กับคนอื่น​ (Being different ) หรือ​สร้าง​เน้นการเป็นผู้นำทาง​ด้านไหน ​(Being first)


โลกสมัยใหม่ที่ถูก Disruption ​ในทุกด้าน (ไม่ใช่ fear แต่เป็น ​fact) ก็ได้สร้าง​โอกาสใหม่มากมาย คำถามคือเราจะเป็นฝ่ายเตรียมตัวและเด็กๆ ของ​เราให้พร้อม​ที่จะสร้าง​โซลูชัน​ที่ดีพอที่จะ​ Disrupt โลกสมัยใหม่


หรือจะทำเหมือนเดิมเพื่อ​เฝ้ารอวันที่จะถูก Disrupt เสียเอง

ประวัติผู้เขียน :

ธานินทร์ เอื้ออภิธร
ผู้บริหารสถาบันการศึกษาภาษาอังกฤษ Enconcept E-Academy เคยเป็นที่ปรึกษาองค์กรชั้นนำระดับโลกในสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เช่น L.L.BEAN (สหรัฐอเมริกา) baskin robbins (ญี่ปุ่น)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่