ท่านคิดยังไงกับการกล่าวอ้างเช่นนั้ครับ
ที่มา
https://www.facebook.com/drwinaidahlan/photos/a.1484683865172919.1073741829.1482913448683294/1742520992722537/?type=3
เมื่ออัลกุรอานกล่าวถึงนิวเคลียร์ว่าด้วยการสร้างมวลและพลังงาน
ถ้อยความในอัลกุรอานเป็นคล้ายบทกวี บางช่วงเป็นร้อยแก้ว บางช่วงคล้ายร้อยกรอง เนื้อหาลึกซึ้ง หลายถ้อยคำตึความได้หลากหลายขึ้นกับบริบทของสังคมในแต่ละยุคที่เปลี่ยนไป ครั้นถึงยุคที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวหน้า นักอรรถาธิบายอัลกุรอานหรือนักตัฟซีรยุคหลังเริ่มนำเอาวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปประยุกต์ ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานซึ่งเป็นถ้อยคำจากอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา จึงเฉิดฉายออกมามากขึ้น ส่วนจะต้องตรงกับความหมายที่ต้องการสื่อสารอย่างแท้จริงหรือไม่ มีเพียงหนึ่งเดียวที่จะให้คำตอบคืออัลลอฮฺ และนี่คือหนึ่งตัวอย่างที่มีการกล่าวถึงกันไม่น้อยในระยะหลัง
إِنَّ ٱللَّهَ فَالِقُ ٱلۡحَبِّ وَٱلنَّوَىٰۖ يُخۡرِجُ ٱلۡحَىَّ مِنَ ٱلۡمَيِّتِ وَمُخۡرِجُ ٱلۡمَيِّتِ مِنَ ٱلۡحَىِّۚ ذَٲلِكُمُ ٱللَّهُۖ فَأَنَّىٰ تُؤۡفَكُونَ
“แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงให้เมล็ดพืชและเมล็ดอินทผลัมปริออก ทรงให้สิ่งมีชีวิตออกจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต และทรงให้สิ่งที่ไม่มีชีวิตออกจากสิ่งที่มีชีวิต นั่นแหละคืออัลลอฮฺ แล้วอย่างไรเล่าที่พวกเจ้าถูกหันเหไปได้” อัลอันอาม 6:95 (ถอดความโดยสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ)
ในอายะฮฺนี้ ٱلۡحَبِّ มีความหมายว่าเปลือกเมล็ดด้านนอก ขณะที่ ٱلنَّوَى หมายถึงเนื้อในเมล็ด ส่วนคำว่า فَالِقُ หมายถึงการแยกออกหรือปริออกจากกัน นักอรรถาธิบายยุคใหม่ให้ความเห็นว่า فَالِقُ อาจหมายถึงการแยกจากกันระหว่างนิวเคลียสของอะตอมและอิเล็คตรอนที่หมุนวนอยู่รอบนอก โดย ٱلۡحَبِّ หมายถึงอิเล็คตรอน ขณะที่ ٱلنَّوَى คือนิวเคลียสของอะตอม ความหมายในทางนิวเคลียร์ เมื่อเกิดการปริออกหรือผ่าออกของอะตอม สิ่งที่เกิดขึ้นคือการแปรสภาพของมวลคือโปรตอนในนิวเคลียสกลายเป็นพลังงานปริมาณมหาศาล ตามทฤษฎีของนักฟิสิกส์ชื่อดังคืออัลเบิร์ต ไอน์สไตน มวลสลายเป็นพลังงาน เกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่าฟิสชัน (Fission) ขึ้น
ขณะเดียวกัน อีกด้านหนึ่งยังอาจหมายถึงการหลอมรวมกันของโปรตอนในกระบวนการที่เรียกว่าฟิวชัน (Fusion) เกิดการปล่อยพลังงานออกมาอย่างมหาศาลได้เช่นเดียวกัน ความหมายจะเป็นไปตามนั้นหรือไม่ นักอรรถาธิบายอัลกุรอานรุ่นใหม่แนะนำให้พิจารณาจากถ้อยความที่ตามมา
ในอายะฮฺนี้ อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงกล่าวว่าทรงให้สิ่งมีชีวิตออกจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต หากถ้อยความข้างต้นหมายถึงการแยกออกของมวลหรือนิวเคลียส ผลที่ตามมาคือการปล่อยพลังงานที่มีการเคลื่อนไหวเป็นคล้ายชีวิตที่สร้างออกมาจากมวลในนิวเคลียสที่นิ่งคล้ายสิ่งไม่มีชีวิต ขณะเดียวกัน หากพิจารณาจากถ้อยความว่าทรงให้สิ่งที่ไม่มีชีวิตออกจากสิ่งที่มีชีวิตจะหมายถึงการหลอมรวมกันของพลังงานซึ่งมีชีวิตขับดันให้เกิดการหลอมรวมกันของนิวเคลียสของไฮโดรเจนสองอะตอมเกิดเป็นนิวเคลียสของธาตุใหม่ที่ชื่อฮีเลียมซึ่งเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเรียกว่าฟิวชัน (fusion) ในทางนิวเคลียร์การสร้างพลังงานจากมวลหรือชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิตจึงหมายถึงฟิชชัน ขณะที่การสร้างมวลจากพลังงานหรือสิ่งไม่มีชีวิตจากชีวิตคือฟิวชัน จะเป็นปฏิกิริยาการสร้างฮีเลียมจากไฮโดรเจนหรือการสร้างอนุภาคฮิกกส์ (Higgs particle) ที่เรียกกันว่าอนุภาคพระเจ้า (God's particles) ก็ได้ ความหมายจริงจะเป็นไปตามนี้หรือไม่ อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาเท่านั้นที่ทรงรู้
เชิญนักวิทย์วิพากษ์ครับเห็นด้วยยังไงกับการกล่าวอ้างว่าเมื่ออัลกุรอานกล่าวถึงนิวเคลียร์ว่าด้วยการสร้างมวลและพลังงาน
ที่มา
https://www.facebook.com/drwinaidahlan/photos/a.1484683865172919.1073741829.1482913448683294/1742520992722537/?type=3
เมื่ออัลกุรอานกล่าวถึงนิวเคลียร์ว่าด้วยการสร้างมวลและพลังงาน
ถ้อยความในอัลกุรอานเป็นคล้ายบทกวี บางช่วงเป็นร้อยแก้ว บางช่วงคล้ายร้อยกรอง เนื้อหาลึกซึ้ง หลายถ้อยคำตึความได้หลากหลายขึ้นกับบริบทของสังคมในแต่ละยุคที่เปลี่ยนไป ครั้นถึงยุคที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวหน้า นักอรรถาธิบายอัลกุรอานหรือนักตัฟซีรยุคหลังเริ่มนำเอาวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปประยุกต์ ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานซึ่งเป็นถ้อยคำจากอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา จึงเฉิดฉายออกมามากขึ้น ส่วนจะต้องตรงกับความหมายที่ต้องการสื่อสารอย่างแท้จริงหรือไม่ มีเพียงหนึ่งเดียวที่จะให้คำตอบคืออัลลอฮฺ และนี่คือหนึ่งตัวอย่างที่มีการกล่าวถึงกันไม่น้อยในระยะหลัง
إِنَّ ٱللَّهَ فَالِقُ ٱلۡحَبِّ وَٱلنَّوَىٰۖ يُخۡرِجُ ٱلۡحَىَّ مِنَ ٱلۡمَيِّتِ وَمُخۡرِجُ ٱلۡمَيِّتِ مِنَ ٱلۡحَىِّۚ ذَٲلِكُمُ ٱللَّهُۖ فَأَنَّىٰ تُؤۡفَكُونَ
“แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงให้เมล็ดพืชและเมล็ดอินทผลัมปริออก ทรงให้สิ่งมีชีวิตออกจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต และทรงให้สิ่งที่ไม่มีชีวิตออกจากสิ่งที่มีชีวิต นั่นแหละคืออัลลอฮฺ แล้วอย่างไรเล่าที่พวกเจ้าถูกหันเหไปได้” อัลอันอาม 6:95 (ถอดความโดยสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ)
ในอายะฮฺนี้ ٱلۡحَبِّ มีความหมายว่าเปลือกเมล็ดด้านนอก ขณะที่ ٱلنَّوَى หมายถึงเนื้อในเมล็ด ส่วนคำว่า فَالِقُ หมายถึงการแยกออกหรือปริออกจากกัน นักอรรถาธิบายยุคใหม่ให้ความเห็นว่า فَالِقُ อาจหมายถึงการแยกจากกันระหว่างนิวเคลียสของอะตอมและอิเล็คตรอนที่หมุนวนอยู่รอบนอก โดย ٱلۡحَبِّ หมายถึงอิเล็คตรอน ขณะที่ ٱلنَّوَى คือนิวเคลียสของอะตอม ความหมายในทางนิวเคลียร์ เมื่อเกิดการปริออกหรือผ่าออกของอะตอม สิ่งที่เกิดขึ้นคือการแปรสภาพของมวลคือโปรตอนในนิวเคลียสกลายเป็นพลังงานปริมาณมหาศาล ตามทฤษฎีของนักฟิสิกส์ชื่อดังคืออัลเบิร์ต ไอน์สไตน มวลสลายเป็นพลังงาน เกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่าฟิสชัน (Fission) ขึ้น
ขณะเดียวกัน อีกด้านหนึ่งยังอาจหมายถึงการหลอมรวมกันของโปรตอนในกระบวนการที่เรียกว่าฟิวชัน (Fusion) เกิดการปล่อยพลังงานออกมาอย่างมหาศาลได้เช่นเดียวกัน ความหมายจะเป็นไปตามนั้นหรือไม่ นักอรรถาธิบายอัลกุรอานรุ่นใหม่แนะนำให้พิจารณาจากถ้อยความที่ตามมา
ในอายะฮฺนี้ อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงกล่าวว่าทรงให้สิ่งมีชีวิตออกจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต หากถ้อยความข้างต้นหมายถึงการแยกออกของมวลหรือนิวเคลียส ผลที่ตามมาคือการปล่อยพลังงานที่มีการเคลื่อนไหวเป็นคล้ายชีวิตที่สร้างออกมาจากมวลในนิวเคลียสที่นิ่งคล้ายสิ่งไม่มีชีวิต ขณะเดียวกัน หากพิจารณาจากถ้อยความว่าทรงให้สิ่งที่ไม่มีชีวิตออกจากสิ่งที่มีชีวิตจะหมายถึงการหลอมรวมกันของพลังงานซึ่งมีชีวิตขับดันให้เกิดการหลอมรวมกันของนิวเคลียสของไฮโดรเจนสองอะตอมเกิดเป็นนิวเคลียสของธาตุใหม่ที่ชื่อฮีเลียมซึ่งเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเรียกว่าฟิวชัน (fusion) ในทางนิวเคลียร์การสร้างพลังงานจากมวลหรือชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิตจึงหมายถึงฟิชชัน ขณะที่การสร้างมวลจากพลังงานหรือสิ่งไม่มีชีวิตจากชีวิตคือฟิวชัน จะเป็นปฏิกิริยาการสร้างฮีเลียมจากไฮโดรเจนหรือการสร้างอนุภาคฮิกกส์ (Higgs particle) ที่เรียกกันว่าอนุภาคพระเจ้า (God's particles) ก็ได้ ความหมายจริงจะเป็นไปตามนี้หรือไม่ อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาเท่านั้นที่ทรงรู้