Human Flow (Ai Weiwei, 2017)
By Form Corleone
"มนุษย์ทุกคนในโลกก็เท่าๆกันเมื่อเรามองเทียบกับขนาดของโลกใบนี้" ภาพยนตร์สารคดีของ 'อ้าย เว่ยเว่ย' ผู้กำกับชาวจีน บอกเล่าเรื่องราวประชากรโลกที่ต้องอพยพย้ายถิ่นฐานจากภัยสงคราม ปัญหาการเมือง รวมไปถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงของโลก จนไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักเป็นแหล่ง ประชากรกว่า 65 ล้านคนทั่วโลก ต้องประสบกับการย้ายที่อยู่อาศัยตลอดเวลา 'Human Flow' จึงเป็นการพาเราไปสำรวจและมองดูเพื่อนมนุษย์ที่ต้องประสบปัญหาในการอาศัยใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งบนโลกร่วมกับเรา ตัวสารคดีจึงเป็นการสะท้อนสภาพความเป็นอยู่และลงลึกถึงจิตใจของผู้อพยพจากทั่วทุกมุมโลก งานนี้จึงเป็นการเปิดเผย+ตีแผ่+เปิดโลกของเราไปในตัว ว่าขณะที่เรากำลังนั่งดูภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้อยู่ มีผู้คนมากมายที่กำลังไม่มีที่อยู่ ไม่มีอาหาร หรือไม่มีแม้กระทั่งน้ำดื่มที่เพียงพอ ประเด็นผู้ลี้ภัยในเรื่องจึงให้มุมมองต่อความเป็นมนุษย์ ที่ต้องการเพียงความปลอดภัยและความเท่ากัน เราเชื่อว่าไม่มีใครคนใดในโลกที่อยากเกิดมาในภาวะสงครามหรืออยากเกิดมาในสถานที่อันตรายหรอก แต่เมื่อไม่มีใครเลือกเกิดได้จึงทำให้มีคนกลุ่มหนึ่งเกิดและเติบโตมาในสภาพแวดล้อมเหล่านั้น และพวกเราจะช่วยเหลือคนเหล่านี้ได้ยังไง เพื่อนมนุษย์จะช่วยเหลือกันยังไงต่อความเป็นมนุษย์เหมือนกันโดยไม่ยึดติดความเป็นเชื้อชาติ
'Human Flow' สามารถทำให้เราติดตามชีวิตของกลุ่มผู้ลี้ภัยได้อย่างใกล้ชิด ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้เราคล้อยตามและยืนเคียงข้างเหล่าผู้ลี้ภัยได้ไปพร้อมกัน การที่ 'อ้าย เว่ยเว่ย' พาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์และแสดงออกอย่างชัดเจนว่าเขายืนเคียงข้างฝั่งผู้ประสบภัย ทั้งฉากล้อเล่นด้วยการแลกพาสปอร์ตกันระหว่าง 'ผู้อพยพ' กับ 'อ้าย เว่ยเว่ย' ที่แสดงนัยยะของการอยู่เคียงข้างเหล่าผู้ประสบภัยอย่างชัดเจน จนไม่ต้องมองประเด็นปัญหาหรือข้อเสียของการเกิดวิกฤตการเคลื่อนตัวของประชากรจากประเทศหนึ่งสู่ประเทศหนึ่งนั้นจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง สิ่งนี้จึงทำให้เราไม่ได้สัมผัสถึงด้านเสียของผู้อพยพต่อประเทศที่รับคนเหล่านี้เข้ามา ตัวสารคดีสำหรับเราจึงเป็นเพียงการถ่ายทอดปัญหาที่ปลายเหตุ แต่แน่นอนว่ามันก็ลึกซึ้งและทำให้เรามองเห็นภาพรวมต่อการอพยพทั่วทุกมุมโลกได้อย่างมีมิติ ทั้งหมดจึงทำให้ประเด็นของสารคดีเรื่องนี้ไปได้ไม่สุดและไม่ได้ให้คำตอบต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หรือปัจจัยมูลเหตุของประเทศที่สร้างกำแพงกั้นผู้อพยพมากเท่าที่ควร หนังจึงให้แค่เหรียญด้านเดียวคือมองแค่ด้านของผู้อพยพเท่านั้น ตลอดเวลาทั้งหมด 140 นาที สำหรับเราจึงรู้สึกเสียดายเล็กๆที่หนังไม่เลือกเล่าประเด็นฝั่งตรงข้ามแบบจริงจังผสมกันไป ฝั่งตรงข้ามในที่นี้คือ ประเทศที่รับและไม่รับผู้ลี้ภัยเข้ามาช่วยเหลือดูแล ว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างไรบ้าง ผลกระทบต่อจำนวนที่พักอาศัย ตำแหน่งงาน หรือปัจจัยจำเป็นในการจัดสรรแบ่งส่วนมาให้คนเหล่านี้ ว่าประเทศหรือองค์กรต้องแลกมากับอะไรบ้าง ประเด็นพวกนี้มีให้เห็นแต่น้อยมาก
อย่างไรก็ตาม 'Human Flow' ก็ยังคงถ่ายทอดและให้งานภาพที่สวยงามในมุมกว้างและมุมลึก โดยเฉพาะการพาเราไปมองภาพในมุมสูงที่หนังใช้บ่อยมาก มุมสูงของหนังทำให้เรามองเห็นคนเหล่านี้ไม่ต่างจากคนทั่วไป เพราะเมื่อมองจากมุมสูงเราก็ตัวเล็กลง เราก็เท่าๆกันในความหมายของการมีหนึ่งชีวิต งานภาพในเรื่องจึงงดงามและสะเทือนต่ออารมณ์ความคิดต่อปัญหาผู้ลี้ภัย ปัญหาการเคลื่อนตัวของสังคม งานนี้จึงเป็นเหมือนเสียงสะท้อนจากฝั่งผู้อพยพทั้งหลายทั่วโลก ต่อประชาชนที่ไม่ได้เป็นเดือดเป็นร้อนในการมีที่พักอาศัยหลับนอนอย่างสุขสบาย ดังนั้น หนังจึงทำให้เราเปิดโลกและเปิดตามองอะไรที่กว้างขึ้น และให้อารมณ์เห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์มากขึ้น พร้อมทั้งงานภาพที่เป็นสไตล์ศิลปะที่สวยงาม และบทกวีที่เกี่ยวกับผู้อพยพที่ถูกคัดสรรมาประกอบภาพยังแสดงตัวตนและวิธีการทำงานของ 'อ้าย เว่ยเว่ย' ที่ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ประเด็นสาระเพียงอย่างเดียว แต่ใส่องค์ประกอบเชิงศิลป์ในงานภาพและงานเขียน(บทกวี)ผนวกลงไป ท้ายสุด 'Human Flow' สำหรับเราถือเป็นสารคดีที่แสดงภาวะของผู้ลีภัยต่างๆจากทั่วมุมโลกที่พอเหมาะกับสถานการณ์ที่โลกกำลังเผชิญด้วยอัตราของผู้ลีภัยที่สูงมากขึ้นอย่างรวดเร็วในปีหลังๆจากภาวะสงครามหรือปัญหาสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป 'อ้าย เว่ยเว่ย' ได้ทำสารคดีที่ใส่ใจในมุมมองของฝ่ายผู้ลีภัยและให้ความสวยงามของภาพเคลื่อนไหวตลอดทั้งเรื่อง....เปิดมุมมองต่อโลกนี้ได้อย่างงดงามในความหม่นเศร้า...สิ่งที่เราพอจะทำได้คงเป็นแค่ความสงสารในสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นกำลังประสบพบเจออยู่ ณ ขณะนี้...ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เราทำได้...ทำได้เพียงแค่นั้น...
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์
ตัวอย่างหนัง
ติดตามรีวิวภาพยนตร์ได้ที่
Page:
https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog:
http://moviesdelightclub.blogspot.com/
Review: Human Flow (Ai Weiwei, 2017) เขียนโดย Form Corleone
By Form Corleone
"มนุษย์ทุกคนในโลกก็เท่าๆกันเมื่อเรามองเทียบกับขนาดของโลกใบนี้" ภาพยนตร์สารคดีของ 'อ้าย เว่ยเว่ย' ผู้กำกับชาวจีน บอกเล่าเรื่องราวประชากรโลกที่ต้องอพยพย้ายถิ่นฐานจากภัยสงคราม ปัญหาการเมือง รวมไปถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงของโลก จนไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักเป็นแหล่ง ประชากรกว่า 65 ล้านคนทั่วโลก ต้องประสบกับการย้ายที่อยู่อาศัยตลอดเวลา 'Human Flow' จึงเป็นการพาเราไปสำรวจและมองดูเพื่อนมนุษย์ที่ต้องประสบปัญหาในการอาศัยใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งบนโลกร่วมกับเรา ตัวสารคดีจึงเป็นการสะท้อนสภาพความเป็นอยู่และลงลึกถึงจิตใจของผู้อพยพจากทั่วทุกมุมโลก งานนี้จึงเป็นการเปิดเผย+ตีแผ่+เปิดโลกของเราไปในตัว ว่าขณะที่เรากำลังนั่งดูภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้อยู่ มีผู้คนมากมายที่กำลังไม่มีที่อยู่ ไม่มีอาหาร หรือไม่มีแม้กระทั่งน้ำดื่มที่เพียงพอ ประเด็นผู้ลี้ภัยในเรื่องจึงให้มุมมองต่อความเป็นมนุษย์ ที่ต้องการเพียงความปลอดภัยและความเท่ากัน เราเชื่อว่าไม่มีใครคนใดในโลกที่อยากเกิดมาในภาวะสงครามหรืออยากเกิดมาในสถานที่อันตรายหรอก แต่เมื่อไม่มีใครเลือกเกิดได้จึงทำให้มีคนกลุ่มหนึ่งเกิดและเติบโตมาในสภาพแวดล้อมเหล่านั้น และพวกเราจะช่วยเหลือคนเหล่านี้ได้ยังไง เพื่อนมนุษย์จะช่วยเหลือกันยังไงต่อความเป็นมนุษย์เหมือนกันโดยไม่ยึดติดความเป็นเชื้อชาติ
'Human Flow' สามารถทำให้เราติดตามชีวิตของกลุ่มผู้ลี้ภัยได้อย่างใกล้ชิด ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้เราคล้อยตามและยืนเคียงข้างเหล่าผู้ลี้ภัยได้ไปพร้อมกัน การที่ 'อ้าย เว่ยเว่ย' พาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์และแสดงออกอย่างชัดเจนว่าเขายืนเคียงข้างฝั่งผู้ประสบภัย ทั้งฉากล้อเล่นด้วยการแลกพาสปอร์ตกันระหว่าง 'ผู้อพยพ' กับ 'อ้าย เว่ยเว่ย' ที่แสดงนัยยะของการอยู่เคียงข้างเหล่าผู้ประสบภัยอย่างชัดเจน จนไม่ต้องมองประเด็นปัญหาหรือข้อเสียของการเกิดวิกฤตการเคลื่อนตัวของประชากรจากประเทศหนึ่งสู่ประเทศหนึ่งนั้นจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง สิ่งนี้จึงทำให้เราไม่ได้สัมผัสถึงด้านเสียของผู้อพยพต่อประเทศที่รับคนเหล่านี้เข้ามา ตัวสารคดีสำหรับเราจึงเป็นเพียงการถ่ายทอดปัญหาที่ปลายเหตุ แต่แน่นอนว่ามันก็ลึกซึ้งและทำให้เรามองเห็นภาพรวมต่อการอพยพทั่วทุกมุมโลกได้อย่างมีมิติ ทั้งหมดจึงทำให้ประเด็นของสารคดีเรื่องนี้ไปได้ไม่สุดและไม่ได้ให้คำตอบต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หรือปัจจัยมูลเหตุของประเทศที่สร้างกำแพงกั้นผู้อพยพมากเท่าที่ควร หนังจึงให้แค่เหรียญด้านเดียวคือมองแค่ด้านของผู้อพยพเท่านั้น ตลอดเวลาทั้งหมด 140 นาที สำหรับเราจึงรู้สึกเสียดายเล็กๆที่หนังไม่เลือกเล่าประเด็นฝั่งตรงข้ามแบบจริงจังผสมกันไป ฝั่งตรงข้ามในที่นี้คือ ประเทศที่รับและไม่รับผู้ลี้ภัยเข้ามาช่วยเหลือดูแล ว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างไรบ้าง ผลกระทบต่อจำนวนที่พักอาศัย ตำแหน่งงาน หรือปัจจัยจำเป็นในการจัดสรรแบ่งส่วนมาให้คนเหล่านี้ ว่าประเทศหรือองค์กรต้องแลกมากับอะไรบ้าง ประเด็นพวกนี้มีให้เห็นแต่น้อยมาก
อย่างไรก็ตาม 'Human Flow' ก็ยังคงถ่ายทอดและให้งานภาพที่สวยงามในมุมกว้างและมุมลึก โดยเฉพาะการพาเราไปมองภาพในมุมสูงที่หนังใช้บ่อยมาก มุมสูงของหนังทำให้เรามองเห็นคนเหล่านี้ไม่ต่างจากคนทั่วไป เพราะเมื่อมองจากมุมสูงเราก็ตัวเล็กลง เราก็เท่าๆกันในความหมายของการมีหนึ่งชีวิต งานภาพในเรื่องจึงงดงามและสะเทือนต่ออารมณ์ความคิดต่อปัญหาผู้ลี้ภัย ปัญหาการเคลื่อนตัวของสังคม งานนี้จึงเป็นเหมือนเสียงสะท้อนจากฝั่งผู้อพยพทั้งหลายทั่วโลก ต่อประชาชนที่ไม่ได้เป็นเดือดเป็นร้อนในการมีที่พักอาศัยหลับนอนอย่างสุขสบาย ดังนั้น หนังจึงทำให้เราเปิดโลกและเปิดตามองอะไรที่กว้างขึ้น และให้อารมณ์เห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์มากขึ้น พร้อมทั้งงานภาพที่เป็นสไตล์ศิลปะที่สวยงาม และบทกวีที่เกี่ยวกับผู้อพยพที่ถูกคัดสรรมาประกอบภาพยังแสดงตัวตนและวิธีการทำงานของ 'อ้าย เว่ยเว่ย' ที่ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ประเด็นสาระเพียงอย่างเดียว แต่ใส่องค์ประกอบเชิงศิลป์ในงานภาพและงานเขียน(บทกวี)ผนวกลงไป ท้ายสุด 'Human Flow' สำหรับเราถือเป็นสารคดีที่แสดงภาวะของผู้ลีภัยต่างๆจากทั่วมุมโลกที่พอเหมาะกับสถานการณ์ที่โลกกำลังเผชิญด้วยอัตราของผู้ลีภัยที่สูงมากขึ้นอย่างรวดเร็วในปีหลังๆจากภาวะสงครามหรือปัญหาสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป 'อ้าย เว่ยเว่ย' ได้ทำสารคดีที่ใส่ใจในมุมมองของฝ่ายผู้ลีภัยและให้ความสวยงามของภาพเคลื่อนไหวตลอดทั้งเรื่อง....เปิดมุมมองต่อโลกนี้ได้อย่างงดงามในความหม่นเศร้า...สิ่งที่เราพอจะทำได้คงเป็นแค่ความสงสารในสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นกำลังประสบพบเจออยู่ ณ ขณะนี้...ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เราทำได้...ทำได้เพียงแค่นั้น...
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์
ตัวอย่างหนัง
ติดตามรีวิวภาพยนตร์ได้ที่
Page: https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog: http://moviesdelightclub.blogspot.com/