ความสัมพันธฺระหว่าง"ผ้าสไบ-ผ้าเบี่ยง"กับกลุ่มชาติพันธ์ไท-ไต

การห่มผ้าสไบ(หรือผ้าเบี่ยงในภาษาอีสาน-ลาว) หรือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในชุดเครื่องแต่งกายของกลุ่มชาติพันธ์ผู้ใช้ภาษาตระกูลไท-กะได(ไทสยาม-ไทใหญ่-ไทน้อย) ในที่นี้ขอใช้คำว่า "เผ่าไท"แทนนะครับ ซึ่งการห่มสไบนี้มองอย่างผิวเผินดูเหมือนจะไม่มีอะไรที่ซับซ้อน แต่หากวิเคราะห์ดูถึงที่ไปที่มาของการห่มผ้าสไบแล้วกลับมีคำถามที่น่าค้นหาคำตอบมากมาย

๑.การห่มผ้าสไบถือเป็นเอกลักณ์เฉพาะของเผ่าไทหรือไม่?

๒.ทำไมชาวไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเขิน รวมถึงชาวไทยปักษ์ใต้ จึงไมมีการห่มผ้าสไบเช่นเดียวกับชาวไทสยาม(ไทยภาคกลาง) ไทยวน(ล้านนา) และไทน้อย(อีสาน-ล้านช้าง) ทั้งๆที่ล้วนเป็นเผ่าไทยเหมือนกัน กินข้าวสวย-ข้าวเหนียวเหมือนกัน?

๓.จริงหรือไม่ที่ว่า"การห่มสไบของเผ่าไทได้รับอิทธิพลมาจากการนุ่งส่าหรีของอินเดีย"?และหากเป็นเช่นนั้นจริง ทำไมพม่า อินโด ขอมโบราณ จึงไม่มีการห่มสไบเช่นเดียวกับเผ่าไท(บางส่วน)

๔.มีชาติพันธุ์อื่นอีกหรือไม่ที่มีการนำผ้าผืนยาวมาห่มร่างกายช่วงบนโดยการพาดปลายอีกด้านไว้บนไหล่หนึ่งข้าง เช่นเดียวกับสไบของเผ่าไท และส่าหรีของอินเดีย

การห่มสไบของชาวไทสยาม

สมเด็จพระพันปีหลวง

สมเด็จพระนางเจ้าในรัชกาลที่๔

การห่มผ้าสไบของไทยวน(ล้านนา)


สาวล้านนาฟ้อนเล็บ

การห่มผ้าเบี่ยงของชาวไทน้อย(อีสาน-ล้านช้าง)

เจ้านายฝั่งอีสาน

สตรีล้านช้างหลวงพระบาง

การห่มส่าหรีอินเดีย

เจ้านายเมืองเชียงตุง--ไม่ปรากฏว่ามีการห่มสไบ

กลุ่มสาวชาวไตในเขตสิบสองปันนาของจีน--ไม่ปรากฏว่ามีการห่มสไบ

นางอัสราบนปราสาทนครวัด--ไม่ปรากฏว่ามีการห่มสไบ

วอนผู้รู้ช่วยชี้แจงแถลงไขด้วยครับ ข้อมูลในเน็ตเกี่ยวกับเรื่องสไบมีน้อยมากกกกก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่