เส้นทางคมนาคมสายหลัก จากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่ภาคเหนือ คงจะคุ้นเคยกันดีกับ “ถนนสายเอเชีย” หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 จาก อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา มุ่งหน้าสู่จังหวัดนครสวรรค์
ทางหลวงสายนี้นอกจากจะย่นระยะทางจากถนนพหลโยธิน เส้นทางคมนาคมสายหลักมุ่งหน้าสู่ภาคเหนือแต่ดั้งเดิมได้เกือบ 100 กิโลเมตรแล้ว ยังเป็นเส้นทางยอดนิยมที่การจราจรหนาแน่นในช่วงเทศกาล
ที่เรียกกันว่า “ถนนสายเอเชีย” เพราะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางหลวงเอเชีย (The Asian Highway) โดยสหประชาชาติ เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบขนส่งทางถนนระหว่างประเทศในภูมิภาค
แม้ถนนสายเอเชียสมัยก่อนจะพัฒนาอย่างช้า ๆ แต่สำหรับประเทศไทย มีเส้นทางหลักที่ตัดเข้ามาถึง 6 เส้นทาง ได้แก่ สาย A1 จากแม่สอด จ.ตาก ผ่าน จ.นครสวรรค์ บางปะอิน บ้านหินกอง ถึง อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
สาย A2 จากแม่สาย จ.เชียงราย ผ่าน จ.นครสวรรค์ เข้าสู่กรุงเทพฯ ไปทางถนนเพชรเกษม ถึง จ.ชุมพร ตรงไปทางสุราษฎร์ธานี บรรจบกับถนนเพชรเกษมที่ จ.พัทลุง ถึง อ.สะเดา จ.สงขลา
สาย A3 ถนนเชียงราย-เชียงของ, สาย A12 จากแยกหินกอง ถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพ ถึง จ.หนองคาย, สาย A15 จาก จ.อุดรธานี ถนนนิตโย ถึง จ.นครพนม และ สาย A18 จากหาดใหญ่ จ.สงขลา ถึงสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส
ปัจจุบัน มีทางหลวงสายเอเชียเพิ่มเติมแล้ว 12 เส้นทาง ได้แก่ สายประธาน 3 เส้นทาง และสายรอง 9 เส้นทาง พร้อมเปลี่ยนเครื่องหมายจาก A เป็น AH
ถนนสายเอเชีย ช่วง บางปะอิน-นครสวรรค์ ปัจจุบันเป็นเส้นทางหลักมุ่งหน้าสู่ภาคเหนือที่สำคัญ ปริมาณรถเฉลี่ย 5.57 หมื่น ถึง 1.12 แสนคันต่อวัน
ในหนังสือ “เที่ยวทั่วไทย” ของ ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ นักเขียนสารคดีท่องเที่ยว และผู้ช่วยบรรณาธิการ อนุสาร อสท. ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2519 เคยบอกเล่าถึงตำนานถนนสายเอเชียไว้อย่างน่าสนใจ
และผลจากการที่ถนนสายเอเชียเปิดใช้ ย่อมส่งผลถึงความเปลี่ยนแปลงอะไรหลายอย่างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจึงขออนุญาตนำบางช่วงบางตอนจากที่ท่านเขียนมาเรียบเรียงใหม่อีกครั้ง
สมัยก่อน ประมาณปี พ.ศ. 2501 การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามถนนพหลโยธินนั้น นักเดินทางต้องค้างคืนที่ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ 1 คืน และที่ จ.ตากอีก 1 คืน ก่อนที่จะไปถึงเชียงใหม่ ระยะทาง 819 กิโลเมตร
แต่ถนนลาดยางจริง ๆ คือช่วงตั้งแต่กรุงเทพฯ ไปถึง อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี เท่านั้น และอีกช่วงหนึ่งคือ จาก อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ผ่าน อ.เมืองฯ จ.ชัยนาท ไปถึงแค่ อ.มโนรมย์ และจาก จ.ลำพูน ไปถึง จ.เชียงใหม่
นอกจากนั้นเป็นถนนลูกรัง
จากคำบอกเล่าของคุณปราโมทย์ ระบุว่า จาก อ.สลกบาตร จ.กำแพงเพชร ไปสู่ จ.ตาก สภาพทางทารุณที่สุด อีกช่วงหนึ่งก็คือ เถิน-ลี้-บ้านโฮ่ง-ป่าซาง สภาพยิ่งกว่าทางเกวียน พอถึงเชียงใหม่ก็ต้องเข้าอู่ซ่อม
หลังจากนั้น สภาพถนนดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่ราดยางตลอดสาย กระทั่งมาถึงปี พ.ศ. 2515 ถนนพหลโยธินได้เป็นทางลาดยางตลอดเส้นทางแล้ว ยังมีทางหลวงสายใหม่ ตัดแนวถนนใหม่ให้เป็นเส้นตรง ย่นระยะทางไปมากต่อมาก
เราเรียกทางหลวงสายนี้ว่า ทางหลวงสายเอเชีย
ทางหลวงหมายเลข 32 หรือถนนสายเอเชีย มีความยาวทั้งหมด 188 กิโลเมตร จอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติในสมัยนั้น ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2515
ราคาค่าก่อสร้างทางหลวงสายนี้เป็นเงินไทย 585 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าสำรวจและออกแบบเสีย 34 ล้านบาท รวมทั้งค่าคุมงาน ส่วนค่าก่อสร้างจริง ๆ เป็นเงิน 551 ล้านบาท
เงินจำนวนนี้ เป็นเงินกู้จากธนาคารโลก 281 ล้านบาท เป็นเงินงบประมาณเสีย 304 ล้านบาท ได้ทางหลวงสายมาตรฐาน ผิวจราจรกว้าง 7 เมตร ราดยางแบบแอสฟัลท์คอนกรีต มีไหล่ทางข้างละ 2.50 เมตร
หลักกิโลเมตรที่ 51 ของถนนพหลโยธิน มีทางเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงสายใหม่ บางปะอิน-นครสวรรค์ สัก 2-3 กิโลเมตร ก็จะมีด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านถนน สมัยนั้น รถยนต์เก๋งส่วนบุคคลหรือแท็กซี่ก็ตาม เสียคันละ 3 บาท
ผ่านด่านเก็บค่าธรรมเนียมบางปะอินมาแล้ว ถนนราบเรียบข้ามท้องทุ่งกว้างของชนบทอยุธยา ผู้คนชาวบ้านริมทางใหม่เหล่านี้ ยังไม่คุ้นกับถนนดีนัก มีป้ายระวังวัวควายปักอยู่เป็นระยะ
ข้ามแม่น้ำสำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำลพบุรี และ แม่น้ำป่าสัก ผ่านเข้าสู่ทุ่งบางปะหัน เสียค่าผ่านทาง ที่หลักกิโลเมตร 96 ถึงทางแยกซ้ายมือเข้าสู่จังหวัดอ่างทอง
ผ่านพื้นที่นาฟากฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา บางตอนถนนชิดแม่น้ำจนกระทั่งเห็นอีกฝั่งหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อถึงอำเภอไชโย จะมองเห็นวิหารหลวงพ่อโตวัดไชโย ตระหง่านอยู่ฝั่งตรงข้าม ครู่ใหญ่ๆ ถึงทางแยกเข้าเมืองสิงห์บุรี
มาถึงหลักกิโลเมตรที่ 183-184 ของทางหลวงสายเอเชีย ที่นับหลักกิโลเมตรสืบต่อมาจากหลักกิโลเมตรที่ 51 ของถนนพหลโยธิน ณ ที่นี้แผ่นป้ายขนาดใหญ่ ซึ่งสร้างคร่อมกึ่งกลางถนนบอกให้นักขับรถทุกคนรู้ว่า
ตรงไปคือนครสวรรค์ ในระยะทางอีก 52 กิโลเมตรข้างหน้า เลี้ยวขวา 16 กิโลเมตรคือตาคลี หากเลี้ยวซ้ายอีกเพียง 10 กิโลเมตร ก็จะเข้าถึงใจกลางเมืองชัยนาท ณ ริมฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยา
เมื่อไปทางนครสวรรค์ ส่วนใหญ่อาศัยแนวทางหลวงพหลโยธินเดิม ระยะทางห่างกัน 60 กิโลเมตร มีทางแยกตรง อ.มโนรมย์เข้าสู่ จ.อุทัยธานี แล้วก็จะถึงนครสวรรค์ ด้วยการเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมงจากกรุงเทพฯ
“บรรยากาศเก่า ๆ ของนครสวรรค์กำลังจืดจาง และเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่อย่างรวดเร็ว เมืองที่ได้ชื่อว่า เป็นชุมทางของสิงห์ป่าซุง แมงดา และโสเภณีราคาถูกอย่างสำนักอาบจันทร์ กำลังหมดไป
ตัวเมืองนครสวรรค์ทุกวันนี้ เจริญไม่ผิดกับย่านใดย่านหนึ่งในกรุงเทพฯ รถราจอแจจนติด และสารพัดร้านขายของ ที่เห็นมากที่สุดก็คือ ร้านขายอะไหล่รถยนต์ญี่ปุ่น”
“ยามราตรีถึงแม้บรรยากาศแบบสิงห์ป่าซุงจะหมดไปแล้วก็ตาม แต่สิงห์รถบรรทุก หรือสิงห์สิบล้อ เหมือนชื่อนิยายก็ยังมีอยู่ที่นี่ เป็นที่จอดพักรถ พักคน ที่มาจากภาคเหนือ ส่วนใหญ่ก็เป็นรถบรรทุกน้ำมัน รถสิบล้อ และรถบรรทุกซุง”
สมัยก่อนหากจะขับรถไปทางเหนือ เราก็ต้องอาศัยถนนพหลโยธิน ซึ่งจะต้องผ่าน สระบุรี ลพบุรี โคกสำโรง ตาคลี ชัยนาท แล้วจึงพุ่งตรงผ่านมโนรมย์ขึ้นไปสู่ปากน้ำโพ ด้วยระยะทางเบ็ดเสร็จจากกรุงเทพฯ 351 กิโลเมตร
เมื่อก่อนนครสวรรค์อยู่หลักกิโลเมตรที่ 341 ของถนนพหลโยธิน แต่ทางหลวงสายนี้ ทำให้ระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงปากน้ำโพลดลงมาเหลือเพียง 237 กิโลเมตร คือทำให้นครสวรรค์ใกล้กรุงเทพฯ กว่าเดิมถึง 104 กิโลเมตรเลยทีเดียว
แล้วทางหลวงสายนี้ ซึ่งสร้างในระบบทางด่วน หรืออาจจะเทียบได้กับ “ออโต้บาห์น” ในเยอรมัน และ “ฟรีเวย์” ในสหรัฐอเมริกานั้น เป็นทางหลวงที่สร้างขึ้นใหม่ โดยไม่ผ่านเข้าไปในตัวเมือง เหมือนทางหลวงพหลโยธินสายเดิม
ฉะนั้น ทางหลวงหมายเลข 32 จึงผ่านนอกตัวเมืองอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท ผู้ที่ขับรถเดินทางขึ้นเหนือ จึงไม่จำเป็นต้องแวะเข้าไปในตัวเมืองดังกล่าว นอกจากจะตั้งใจแวะ โดยเลี้ยวเข้าไปจากทางหลวงสายใหญ่เท่านั้น
ทำให้เมืองชัยนาท ซึ่งแต่เดิมรถยนต์ที่ไปภาคเหนือทุกคันต้องผ่าน กลายเป็นเมืองอับไปในที่สุด
“ตัวเมืองชัยนาท ที่เคยคึกคักด้วยรถรา ทั้งรถประจำทางคันโต ๆ และรถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งเมื่อเดินทางมาถึงชัยนาท เป็นต้องจอดแวะหาข้าวปลาอาหารกิน ก่อนจะเดินทางขึ้นเหนือกันต่อไปนั้น เป็นภาพที่ได้ตายไปจากสายตาของชาวชัยนาทในทุกวันนี้อย่างแท้จริงแล้ว
แม้แต่เขื่อนชัยนาท หรือ เขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งเคยเป็นที่ตื่นเต้นกันนักของนักท่องเที่ยวเมื่อสิบปีก่อน บัดนี้ก็ไม่มีใครสนใจตั้งใจไปแวะเที่ยวแวะชมกันต่อไปแล้ว เพราะใน พ.ศ. นี้ ประเทศของเรามีเขื่อนใหญ่ ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมายทุกภาค
ชัยนาทกำลังจะเฉาตาย ทั้ง ๆ ที่เป็นจังหวัดซึ่งมีอะไรต่ออะไร น่าสนใจสำหรับผู้ที่เรียกตัวเองว่า นักท่องเที่ยว อยู่ไม่น้อยทีเดียว”
อีกอำเภอหนึ่งที่เงียบเหงาไม่แพ้กัน คือ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
“อำเภออื้อฉาวคาวโลกีย์ด้วยทหารอเมริกันเมื่อหลาย พ.ศ. ก่อน ซึ่งอำเภอตาคลีนั้น ดูตามสภาพภูมิศาสตร์และการปกครองแล้ว ก็น่าจะเป็นอำเภอในสังกัดจังหวัดชัยนาทยิ่งนัก แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะตาคลีถึงจะใกล้ชิดกับตัวเมืองชัยนาทแค่ 26 กิโลเมตรเท่านั้นก็ตาม แต่ไพล่ไปขึ้นกับจังหวัดนครสวรรค์
ในสมัยที่ทหารอเมริกันยังอยู่เต็มเมืองตาคลีนั้น ทางราชการกระทรวงมหาดไทยเคยดำริ ที่จะโอนการปกครองมาขึ้นกับชัยนาท อาจจะเป็นเพราะสงสารเมืองชัยนาท ที่ไม่มีแหล่งเงินแหล่งทองก็เป็นได้ แต่ทันทีที่ข่าวนี้แพร่หลายออกมา ชาวตาคลีบอกไม่ยอม จะขอขึ้นอยู่กับเมืองนครสวรรค์ต่อไป เรื่องมันก็แปลกดี แล้วก็เงียบไปจนกระทั่งบัดนี้
ถึงวันนี้ถ้าจะยกอำเภอตาคลีให้แก่ชัยนาท ชัยนาทก็คงไม่เอา เพราะมีแต่ตึกร้าง โรงแรมไร้แขก และภัตตาคาร บาร์ที่ปิดตาย”
https://mgronline.com/columnist/detail/9600000109334
เปิดตำนานสายเอเชีย บางปะอิน นครสวรรค์ ยุคที่เก็บค่าผ่านทางด่านละ 3 บาท
เส้นทางคมนาคมสายหลัก จากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่ภาคเหนือ คงจะคุ้นเคยกันดีกับ “ถนนสายเอเชีย” หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 จาก อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา มุ่งหน้าสู่จังหวัดนครสวรรค์
ทางหลวงสายนี้นอกจากจะย่นระยะทางจากถนนพหลโยธิน เส้นทางคมนาคมสายหลักมุ่งหน้าสู่ภาคเหนือแต่ดั้งเดิมได้เกือบ 100 กิโลเมตรแล้ว ยังเป็นเส้นทางยอดนิยมที่การจราจรหนาแน่นในช่วงเทศกาล
ที่เรียกกันว่า “ถนนสายเอเชีย” เพราะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางหลวงเอเชีย (The Asian Highway) โดยสหประชาชาติ เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบขนส่งทางถนนระหว่างประเทศในภูมิภาค
แม้ถนนสายเอเชียสมัยก่อนจะพัฒนาอย่างช้า ๆ แต่สำหรับประเทศไทย มีเส้นทางหลักที่ตัดเข้ามาถึง 6 เส้นทาง ได้แก่ สาย A1 จากแม่สอด จ.ตาก ผ่าน จ.นครสวรรค์ บางปะอิน บ้านหินกอง ถึง อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
สาย A2 จากแม่สาย จ.เชียงราย ผ่าน จ.นครสวรรค์ เข้าสู่กรุงเทพฯ ไปทางถนนเพชรเกษม ถึง จ.ชุมพร ตรงไปทางสุราษฎร์ธานี บรรจบกับถนนเพชรเกษมที่ จ.พัทลุง ถึง อ.สะเดา จ.สงขลา
สาย A3 ถนนเชียงราย-เชียงของ, สาย A12 จากแยกหินกอง ถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพ ถึง จ.หนองคาย, สาย A15 จาก จ.อุดรธานี ถนนนิตโย ถึง จ.นครพนม และ สาย A18 จากหาดใหญ่ จ.สงขลา ถึงสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส
ปัจจุบัน มีทางหลวงสายเอเชียเพิ่มเติมแล้ว 12 เส้นทาง ได้แก่ สายประธาน 3 เส้นทาง และสายรอง 9 เส้นทาง พร้อมเปลี่ยนเครื่องหมายจาก A เป็น AH
ถนนสายเอเชีย ช่วง บางปะอิน-นครสวรรค์ ปัจจุบันเป็นเส้นทางหลักมุ่งหน้าสู่ภาคเหนือที่สำคัญ ปริมาณรถเฉลี่ย 5.57 หมื่น ถึง 1.12 แสนคันต่อวัน
ในหนังสือ “เที่ยวทั่วไทย” ของ ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ นักเขียนสารคดีท่องเที่ยว และผู้ช่วยบรรณาธิการ อนุสาร อสท. ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2519 เคยบอกเล่าถึงตำนานถนนสายเอเชียไว้อย่างน่าสนใจ
และผลจากการที่ถนนสายเอเชียเปิดใช้ ย่อมส่งผลถึงความเปลี่ยนแปลงอะไรหลายอย่างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจึงขออนุญาตนำบางช่วงบางตอนจากที่ท่านเขียนมาเรียบเรียงใหม่อีกครั้ง
สมัยก่อน ประมาณปี พ.ศ. 2501 การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามถนนพหลโยธินนั้น นักเดินทางต้องค้างคืนที่ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ 1 คืน และที่ จ.ตากอีก 1 คืน ก่อนที่จะไปถึงเชียงใหม่ ระยะทาง 819 กิโลเมตร
แต่ถนนลาดยางจริง ๆ คือช่วงตั้งแต่กรุงเทพฯ ไปถึง อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี เท่านั้น และอีกช่วงหนึ่งคือ จาก อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ผ่าน อ.เมืองฯ จ.ชัยนาท ไปถึงแค่ อ.มโนรมย์ และจาก จ.ลำพูน ไปถึง จ.เชียงใหม่
นอกจากนั้นเป็นถนนลูกรัง
จากคำบอกเล่าของคุณปราโมทย์ ระบุว่า จาก อ.สลกบาตร จ.กำแพงเพชร ไปสู่ จ.ตาก สภาพทางทารุณที่สุด อีกช่วงหนึ่งก็คือ เถิน-ลี้-บ้านโฮ่ง-ป่าซาง สภาพยิ่งกว่าทางเกวียน พอถึงเชียงใหม่ก็ต้องเข้าอู่ซ่อม
หลังจากนั้น สภาพถนนดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่ราดยางตลอดสาย กระทั่งมาถึงปี พ.ศ. 2515 ถนนพหลโยธินได้เป็นทางลาดยางตลอดเส้นทางแล้ว ยังมีทางหลวงสายใหม่ ตัดแนวถนนใหม่ให้เป็นเส้นตรง ย่นระยะทางไปมากต่อมาก
เราเรียกทางหลวงสายนี้ว่า ทางหลวงสายเอเชีย
ทางหลวงหมายเลข 32 หรือถนนสายเอเชีย มีความยาวทั้งหมด 188 กิโลเมตร จอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติในสมัยนั้น ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2515
ราคาค่าก่อสร้างทางหลวงสายนี้เป็นเงินไทย 585 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าสำรวจและออกแบบเสีย 34 ล้านบาท รวมทั้งค่าคุมงาน ส่วนค่าก่อสร้างจริง ๆ เป็นเงิน 551 ล้านบาท
เงินจำนวนนี้ เป็นเงินกู้จากธนาคารโลก 281 ล้านบาท เป็นเงินงบประมาณเสีย 304 ล้านบาท ได้ทางหลวงสายมาตรฐาน ผิวจราจรกว้าง 7 เมตร ราดยางแบบแอสฟัลท์คอนกรีต มีไหล่ทางข้างละ 2.50 เมตร
หลักกิโลเมตรที่ 51 ของถนนพหลโยธิน มีทางเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงสายใหม่ บางปะอิน-นครสวรรค์ สัก 2-3 กิโลเมตร ก็จะมีด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านถนน สมัยนั้น รถยนต์เก๋งส่วนบุคคลหรือแท็กซี่ก็ตาม เสียคันละ 3 บาท
ผ่านด่านเก็บค่าธรรมเนียมบางปะอินมาแล้ว ถนนราบเรียบข้ามท้องทุ่งกว้างของชนบทอยุธยา ผู้คนชาวบ้านริมทางใหม่เหล่านี้ ยังไม่คุ้นกับถนนดีนัก มีป้ายระวังวัวควายปักอยู่เป็นระยะ
ข้ามแม่น้ำสำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำลพบุรี และ แม่น้ำป่าสัก ผ่านเข้าสู่ทุ่งบางปะหัน เสียค่าผ่านทาง ที่หลักกิโลเมตร 96 ถึงทางแยกซ้ายมือเข้าสู่จังหวัดอ่างทอง
ผ่านพื้นที่นาฟากฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา บางตอนถนนชิดแม่น้ำจนกระทั่งเห็นอีกฝั่งหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อถึงอำเภอไชโย จะมองเห็นวิหารหลวงพ่อโตวัดไชโย ตระหง่านอยู่ฝั่งตรงข้าม ครู่ใหญ่ๆ ถึงทางแยกเข้าเมืองสิงห์บุรี
มาถึงหลักกิโลเมตรที่ 183-184 ของทางหลวงสายเอเชีย ที่นับหลักกิโลเมตรสืบต่อมาจากหลักกิโลเมตรที่ 51 ของถนนพหลโยธิน ณ ที่นี้แผ่นป้ายขนาดใหญ่ ซึ่งสร้างคร่อมกึ่งกลางถนนบอกให้นักขับรถทุกคนรู้ว่า
ตรงไปคือนครสวรรค์ ในระยะทางอีก 52 กิโลเมตรข้างหน้า เลี้ยวขวา 16 กิโลเมตรคือตาคลี หากเลี้ยวซ้ายอีกเพียง 10 กิโลเมตร ก็จะเข้าถึงใจกลางเมืองชัยนาท ณ ริมฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยา
เมื่อไปทางนครสวรรค์ ส่วนใหญ่อาศัยแนวทางหลวงพหลโยธินเดิม ระยะทางห่างกัน 60 กิโลเมตร มีทางแยกตรง อ.มโนรมย์เข้าสู่ จ.อุทัยธานี แล้วก็จะถึงนครสวรรค์ ด้วยการเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมงจากกรุงเทพฯ
“บรรยากาศเก่า ๆ ของนครสวรรค์กำลังจืดจาง และเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่อย่างรวดเร็ว เมืองที่ได้ชื่อว่า เป็นชุมทางของสิงห์ป่าซุง แมงดา และโสเภณีราคาถูกอย่างสำนักอาบจันทร์ กำลังหมดไป
ตัวเมืองนครสวรรค์ทุกวันนี้ เจริญไม่ผิดกับย่านใดย่านหนึ่งในกรุงเทพฯ รถราจอแจจนติด และสารพัดร้านขายของ ที่เห็นมากที่สุดก็คือ ร้านขายอะไหล่รถยนต์ญี่ปุ่น”
“ยามราตรีถึงแม้บรรยากาศแบบสิงห์ป่าซุงจะหมดไปแล้วก็ตาม แต่สิงห์รถบรรทุก หรือสิงห์สิบล้อ เหมือนชื่อนิยายก็ยังมีอยู่ที่นี่ เป็นที่จอดพักรถ พักคน ที่มาจากภาคเหนือ ส่วนใหญ่ก็เป็นรถบรรทุกน้ำมัน รถสิบล้อ และรถบรรทุกซุง”
สมัยก่อนหากจะขับรถไปทางเหนือ เราก็ต้องอาศัยถนนพหลโยธิน ซึ่งจะต้องผ่าน สระบุรี ลพบุรี โคกสำโรง ตาคลี ชัยนาท แล้วจึงพุ่งตรงผ่านมโนรมย์ขึ้นไปสู่ปากน้ำโพ ด้วยระยะทางเบ็ดเสร็จจากกรุงเทพฯ 351 กิโลเมตร
เมื่อก่อนนครสวรรค์อยู่หลักกิโลเมตรที่ 341 ของถนนพหลโยธิน แต่ทางหลวงสายนี้ ทำให้ระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงปากน้ำโพลดลงมาเหลือเพียง 237 กิโลเมตร คือทำให้นครสวรรค์ใกล้กรุงเทพฯ กว่าเดิมถึง 104 กิโลเมตรเลยทีเดียว
แล้วทางหลวงสายนี้ ซึ่งสร้างในระบบทางด่วน หรืออาจจะเทียบได้กับ “ออโต้บาห์น” ในเยอรมัน และ “ฟรีเวย์” ในสหรัฐอเมริกานั้น เป็นทางหลวงที่สร้างขึ้นใหม่ โดยไม่ผ่านเข้าไปในตัวเมือง เหมือนทางหลวงพหลโยธินสายเดิม
ฉะนั้น ทางหลวงหมายเลข 32 จึงผ่านนอกตัวเมืองอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท ผู้ที่ขับรถเดินทางขึ้นเหนือ จึงไม่จำเป็นต้องแวะเข้าไปในตัวเมืองดังกล่าว นอกจากจะตั้งใจแวะ โดยเลี้ยวเข้าไปจากทางหลวงสายใหญ่เท่านั้น
ทำให้เมืองชัยนาท ซึ่งแต่เดิมรถยนต์ที่ไปภาคเหนือทุกคันต้องผ่าน กลายเป็นเมืองอับไปในที่สุด
“ตัวเมืองชัยนาท ที่เคยคึกคักด้วยรถรา ทั้งรถประจำทางคันโต ๆ และรถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งเมื่อเดินทางมาถึงชัยนาท เป็นต้องจอดแวะหาข้าวปลาอาหารกิน ก่อนจะเดินทางขึ้นเหนือกันต่อไปนั้น เป็นภาพที่ได้ตายไปจากสายตาของชาวชัยนาทในทุกวันนี้อย่างแท้จริงแล้ว
แม้แต่เขื่อนชัยนาท หรือ เขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งเคยเป็นที่ตื่นเต้นกันนักของนักท่องเที่ยวเมื่อสิบปีก่อน บัดนี้ก็ไม่มีใครสนใจตั้งใจไปแวะเที่ยวแวะชมกันต่อไปแล้ว เพราะใน พ.ศ. นี้ ประเทศของเรามีเขื่อนใหญ่ ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมายทุกภาค
ชัยนาทกำลังจะเฉาตาย ทั้ง ๆ ที่เป็นจังหวัดซึ่งมีอะไรต่ออะไร น่าสนใจสำหรับผู้ที่เรียกตัวเองว่า นักท่องเที่ยว อยู่ไม่น้อยทีเดียว”
อีกอำเภอหนึ่งที่เงียบเหงาไม่แพ้กัน คือ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
“อำเภออื้อฉาวคาวโลกีย์ด้วยทหารอเมริกันเมื่อหลาย พ.ศ. ก่อน ซึ่งอำเภอตาคลีนั้น ดูตามสภาพภูมิศาสตร์และการปกครองแล้ว ก็น่าจะเป็นอำเภอในสังกัดจังหวัดชัยนาทยิ่งนัก แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะตาคลีถึงจะใกล้ชิดกับตัวเมืองชัยนาทแค่ 26 กิโลเมตรเท่านั้นก็ตาม แต่ไพล่ไปขึ้นกับจังหวัดนครสวรรค์
ในสมัยที่ทหารอเมริกันยังอยู่เต็มเมืองตาคลีนั้น ทางราชการกระทรวงมหาดไทยเคยดำริ ที่จะโอนการปกครองมาขึ้นกับชัยนาท อาจจะเป็นเพราะสงสารเมืองชัยนาท ที่ไม่มีแหล่งเงินแหล่งทองก็เป็นได้ แต่ทันทีที่ข่าวนี้แพร่หลายออกมา ชาวตาคลีบอกไม่ยอม จะขอขึ้นอยู่กับเมืองนครสวรรค์ต่อไป เรื่องมันก็แปลกดี แล้วก็เงียบไปจนกระทั่งบัดนี้
ถึงวันนี้ถ้าจะยกอำเภอตาคลีให้แก่ชัยนาท ชัยนาทก็คงไม่เอา เพราะมีแต่ตึกร้าง โรงแรมไร้แขก และภัตตาคาร บาร์ที่ปิดตาย”
https://mgronline.com/columnist/detail/9600000109334