ใกล้ได้ข้อสรุปเต็มที สำหรับโครงการสำรวจออกแบบและก่อสร้างเส้นทางจักรยานในพื้นที่ภาคกลาง ของ "ทช.-กรมทางหลวงชนบท" ที่เริ่มออกสตาร์ตมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว มีกำหนดจะแล้วเสร็จในปีนี้ เพื่อเตรียมของบประมาณปี 2560 มาก่อสร้าง
โดยแนวเส้นทางจะพาดผ่าน 5 จังหวัด มี "ปทุมธานี-อยุธยา-อ่างทอง-สิงห์บุรี-ชัยนาท" ระยะทางรวม 184 กม. ว่ากันว่าหากสร้างเสร็จจะเป็นเส้นทางจักรยานยางพาราที่ยาวที่สุดในเอเชีย
โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการตั้งแต่ศูนย์บริการการกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หรือสนามกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ไล่ไปจนถึงเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
ผ่านสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญต่าง ๆ เช่น พระราชวังบางปะอิน วัดพนัญเชิง เมืองเก่า วัดพระศรีสรรเพชร หรือเมืองแห่งมรดกโลก จ.พระนครศรีอยุธยา วัดไชโยวรวิหาร วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง วัดอัมพวัน (หลวงพ่อจรัญ) และวัดพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี เป็นต้น
พร้อมมีจุดพักรถขนาดเล็ก และจะก่อสร้างที่พัก (Rest Area) ทุก ๆ 5-10 กม. และจุดพักรถขนาดใหญ่ เป็นที่พักผ่อนของนักปั่นจักรยานจะมีร้านค้า ร้านอาหาร ร้านซ่อมจักรยาน และบริการนวดแผนไทย ในระยะทาง 15-20 กม.
"พิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน" อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กรมได้ออกแบบเพิ่ม จากเดิมจะสร้างเฉพาะทางจักรยาน โดยให้ออกแบบสร้างเป็นถนนสำหรับรถยนต์คู่ขนานไปด้วย
เนื่องจากแนวเส้นทางที่พาดผ่านจะมีถนนเลียบคลองชลประทานอยู่ด้วยช่วงจ.สิงห์บุรี-ชัยนาทจะปรับแบบถนนเดิมเป็นทางจักรยานและสร้างถนนใหม่เพิ่ม เพื่อให้ใช้ประโยชน์คุ้มค่า
"ที่สำคัญจะนำยางพาราแอสฟัลต์มาปูผิวถนนและทางจักรยานที่จะสร้างด้วย มีความหนา 5 เซนติเมตร เป็นการช่วยเหลือชาวสวนยางพาราและสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้วย เมื่อออกแบบเสร็จ จะของบปี"60 มาก่อสร้าง จะเริ่มจากเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาทถึงสิงห์บุรี ระยะทาง 46 กม. คาดว่าปี"61จะสร้างส่วนที่เหลือ"
สำหรับระยะทาง 184 กม.นี้ แยกเป็นถนนของกรมทางหลวงชนบท 126.179 กม. กรมทางหลวง 50 กม. และขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 10 กม.
ความคืบหน้าช่วงพื้นที่ จ.ชัยนาท และสิงห์บุรี 72.14 กม. ออกแบบแล้วเสร็จ ส่วน จ.อ่างทอง 18.405 กม. ออกแบบแล้วเสร็จ 90% ขณะที่ จ.อยุธยา 15.809 กม. ออกแบบแล้วเสร็จ 90% จ.ปทุมธานี 8.024 กม. ออกแบบแล้วเสร็จ 70%
ส่วนเส้นทางจักรยาน ได้รับคืนจากกรมทางหลวง และ อปท.จ.ปทุมธานี 11.8 กม. และ จ.ปทุมธานี 6.8 กม. ออกแบบแล้วเสร็จ 40% และ จ.อยุธยา 5 กม. สำรวจแล้วเสร็จ 20% อีกทั้งจะมีการออกแบบสร้างเป็นอุโมงค์ทางลอดใต้ทางรถไฟด้วย
"เมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะเป็นเส้นทางออกกำลังกาย ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้ง 5 จังหวัด ที่มีแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานกระจายตามพื้นที่ต่าง ๆ"
ขณะเดียวกันเพื่อต่อยอดโครงการ ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมร่วมรัฐและเอกชน (กรอ.) จ.นครสวรรค์ วันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา มีข้อเสนอจากเอกชนกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ อุทัยธานี นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร ให้ขยายเส้นทางจักรยานจากชัยนาท-นครสวรรค์ ระยะทาง 170 กม.
"อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา ถึงโครงการทางจักรยานที่กรอ.เสนอรวมถึงโครงการฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดให้สร้างทางจักรยานเพิ่ม เพื่อบรรจุในแผนงาน
และให้ประชาชนในพื้นที่ได้ออกกำลังกาย และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศด้วย
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1454486478
เร่งผุด "ถนน-ไบก์เลนยางพารา" ยาวที่สุดในเอเชีย เชื่อม "ปทุมธานี-อยุธยา-อ่างทอง-สิงห์บุรี-ชัยนาท"
โดยแนวเส้นทางจะพาดผ่าน 5 จังหวัด มี "ปทุมธานี-อยุธยา-อ่างทอง-สิงห์บุรี-ชัยนาท" ระยะทางรวม 184 กม. ว่ากันว่าหากสร้างเสร็จจะเป็นเส้นทางจักรยานยางพาราที่ยาวที่สุดในเอเชีย
โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการตั้งแต่ศูนย์บริการการกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หรือสนามกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ไล่ไปจนถึงเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
ผ่านสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญต่าง ๆ เช่น พระราชวังบางปะอิน วัดพนัญเชิง เมืองเก่า วัดพระศรีสรรเพชร หรือเมืองแห่งมรดกโลก จ.พระนครศรีอยุธยา วัดไชโยวรวิหาร วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง วัดอัมพวัน (หลวงพ่อจรัญ) และวัดพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี เป็นต้น
พร้อมมีจุดพักรถขนาดเล็ก และจะก่อสร้างที่พัก (Rest Area) ทุก ๆ 5-10 กม. และจุดพักรถขนาดใหญ่ เป็นที่พักผ่อนของนักปั่นจักรยานจะมีร้านค้า ร้านอาหาร ร้านซ่อมจักรยาน และบริการนวดแผนไทย ในระยะทาง 15-20 กม.
"พิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน" อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กรมได้ออกแบบเพิ่ม จากเดิมจะสร้างเฉพาะทางจักรยาน โดยให้ออกแบบสร้างเป็นถนนสำหรับรถยนต์คู่ขนานไปด้วย
เนื่องจากแนวเส้นทางที่พาดผ่านจะมีถนนเลียบคลองชลประทานอยู่ด้วยช่วงจ.สิงห์บุรี-ชัยนาทจะปรับแบบถนนเดิมเป็นทางจักรยานและสร้างถนนใหม่เพิ่ม เพื่อให้ใช้ประโยชน์คุ้มค่า
"ที่สำคัญจะนำยางพาราแอสฟัลต์มาปูผิวถนนและทางจักรยานที่จะสร้างด้วย มีความหนา 5 เซนติเมตร เป็นการช่วยเหลือชาวสวนยางพาราและสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้วย เมื่อออกแบบเสร็จ จะของบปี"60 มาก่อสร้าง จะเริ่มจากเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาทถึงสิงห์บุรี ระยะทาง 46 กม. คาดว่าปี"61จะสร้างส่วนที่เหลือ"
สำหรับระยะทาง 184 กม.นี้ แยกเป็นถนนของกรมทางหลวงชนบท 126.179 กม. กรมทางหลวง 50 กม. และขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 10 กม.
ความคืบหน้าช่วงพื้นที่ จ.ชัยนาท และสิงห์บุรี 72.14 กม. ออกแบบแล้วเสร็จ ส่วน จ.อ่างทอง 18.405 กม. ออกแบบแล้วเสร็จ 90% ขณะที่ จ.อยุธยา 15.809 กม. ออกแบบแล้วเสร็จ 90% จ.ปทุมธานี 8.024 กม. ออกแบบแล้วเสร็จ 70%
ส่วนเส้นทางจักรยาน ได้รับคืนจากกรมทางหลวง และ อปท.จ.ปทุมธานี 11.8 กม. และ จ.ปทุมธานี 6.8 กม. ออกแบบแล้วเสร็จ 40% และ จ.อยุธยา 5 กม. สำรวจแล้วเสร็จ 20% อีกทั้งจะมีการออกแบบสร้างเป็นอุโมงค์ทางลอดใต้ทางรถไฟด้วย
"เมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะเป็นเส้นทางออกกำลังกาย ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้ง 5 จังหวัด ที่มีแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานกระจายตามพื้นที่ต่าง ๆ"
ขณะเดียวกันเพื่อต่อยอดโครงการ ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมร่วมรัฐและเอกชน (กรอ.) จ.นครสวรรค์ วันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา มีข้อเสนอจากเอกชนกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ อุทัยธานี นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร ให้ขยายเส้นทางจักรยานจากชัยนาท-นครสวรรค์ ระยะทาง 170 กม.
"อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา ถึงโครงการทางจักรยานที่กรอ.เสนอรวมถึงโครงการฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดให้สร้างทางจักรยานเพิ่ม เพื่อบรรจุในแผนงาน
และให้ประชาชนในพื้นที่ได้ออกกำลังกาย และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศด้วย
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1454486478