สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
โอ๊ยยย ผมล่ะอยากไปอยู่แบบนั้นจัง ..... ผมเนี่ยได้แต่ฟังกับ youtube พวกรีวิวโทรศัพท์ รีวิว laptop อารมประมาณว่าความสามารถไม่ค่อยมี แต่ทฤษฏีเพียบ ฮ่าๆๆ
.... งั้นต้องเรียนรู้หลักการนิดนึงครับ
วิธีพูดภาษาอังกฤษ ไม่ให้ “ไทยจ๋า” มีดังนี้ครับ
1. ตัดเสียง “ไม้โท” (ตัวดีเลยล่ะเนี่ย) ที่เราคุ้นเคยออกให้หมด ยกเว้นคำนั้น หรือตรงนั้นมันออกเสียงแบบนั้นจริงๆ ในภาษาอังกฤษ คำไหนที่มีตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไป จะมีพยางค์ที่เน้น และไม่เน้น ...พยางที่เน้นให้เน้นจริงๆ แล้วออกเสียงตามสระนั้น ส่วนพยางที่ไม่เน้น ให้ลืมสระในภาษาไทยให้หมด แล้วใส่เสียง |ə| (Schwa) หรือเสียง “เออะ” เข้าไปแทน เช่น American คำนี้เน้นตรงคำว่า me นอกนั้นไม่เน้น (ลองออกเสียงดูครับ เออะเม้เรอะเกิน ^^)
2. ตัว “t” ที่อยู่ระหว่างเสียงสระ จะกลายเป็นเสียง “d” เช่น “wader” ไม่ใช่ “water” แล้วก็ไม่ใช่ "วอเต้อ" แต่เป็น “wader”, “compuder” ไม่ใช่ “computer” แล้วก็ไม่ใช่ "คอมพิวเต้อ" แต่เป็น “compuder” (จำไว้เลย เสียง "ไม้โท" เนี่ยตัวดีเลย ที่ทำให้สำเนียงไทยจ๋า)
3. ตัว “t” ที่อยู่ระหว่าง “n” และสระ ให้ตัด “t” ออก เช่น “inernational” ไม่ใช่ “international”, “tweny” ไม่ใช่ “twenty” แต่เป็น “tweny” ......ให้นึกถึงเพลงนี้เลย One, 21 Guns, Lay down your arms, Give up the fight .. ฮ่าๆ
4. บางทีถ้ามีตัว “n” แล้วมีตัว “t” แล้วก็มีสระ เราจะตัดเสียง “t” ทิ้ง แล้วออกเสียงเหมือนเว้นวรรคนิดนึง เช่น “mountain” หรือบางที มีสระ แล้วมี double “t” แล้วก็มีสระ เราก็จะตัดเสียง “t” ทิ้ง แล้วออกเสียงเหมือนเว้นวรรคนิดนึง เช่น “button” หรือ “cotton”
5. ถ้ามีตัว “t” หรือ “d” อยู่ระหว่างตัวพยัญชนะ ให้ตัดเสียง “t” หรือ “d” ออก เช่น “ol man” ไม่ใช่ “old man”. “mos famous” ไม่ใช่ “most famous”, แต่เป็น “mos famous”.
6. ในภาษาอังกฤษจะมีการเชื่อมเสียงกันระหว่างคำ ถ้าคำไหนลงท้ายด้วยเสียงพยัญชนะ แล้วคำต่อไปเริ่มต้นด้วยเสียงสระ เช่น “this afternoon” หรือ ถ้าคำต่อไปเริ่มต้นด้วยเสียงพยัญชนะเหมือนกับเสียงลงท้ายของคำแรก ก็จะมีการเชื่อมกัน เช่น “social life” ก็จะออกเสียงเป็น “socialife”
7. ในภาษาอังกฤษจะมีการรวมเสียง T+Y = Ch, D+Y = J เช่น Did you put your car away? = Did ju pucher car away?
8. คำที่ลงท้ายด้วยเสียง “e” จะกลายเป็น “Y” เชื่อมกับเสียงสระของคำที่เริ่มต้นด้วยสระ เช่น he asked = he yasked, he opens = he yopens และ คำที่ลงท้ายด้วยเสียง “o” จะกลายเป็น “w” เชื่อมกับเสียงสระของคำที่เริ่มต้นด้วยสระ เช่น going to = gowin nə = gonna
9. เสียงสระตัว “R” (r-colored vowel) เสียงนี้จะออกเสียง “Or err” เช่น Maybelline New York, การออกเสียง ลิ้นไม่ต้องม้วนกลับหลัง หรือม้วนไปแตะเพดาน แต่ให้วางลิ้นไว้ปกติแล้วทำห่อลิ้นเล็กน้อย ....โอวว R นี่ออกเสียงยากจริงเว้ย ฮ่าๆๆ
10. อันนี้สำคัญมาก ต้องออกเสียงคำนั้นให้ถูกต้อง แล้วจะรู้ได้ไงว่าออกเสียงยังไง .....ก็ใช้ google ออกเสียงให้ฟังก็ได้ หรือ เวลาเปิด Dictionary Eng-Eng มันก็จะมี Phonetic ให้อ่าน ...ยิ่งถ้าออกเสียงถูกจริงๆ สำเนียงจะมาเองครับผม ^^
โอเครคราบ หลักๆ และเท่าที่นึกออกก็ประมาณนี้ครับ ลองๆ เอาไปฝึกดู รับรองว่าสำเนียงไทยจ๋าจะลดลงไปเยอะครับ
.... งั้นต้องเรียนรู้หลักการนิดนึงครับ
วิธีพูดภาษาอังกฤษ ไม่ให้ “ไทยจ๋า” มีดังนี้ครับ
1. ตัดเสียง “ไม้โท” (ตัวดีเลยล่ะเนี่ย) ที่เราคุ้นเคยออกให้หมด ยกเว้นคำนั้น หรือตรงนั้นมันออกเสียงแบบนั้นจริงๆ ในภาษาอังกฤษ คำไหนที่มีตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไป จะมีพยางค์ที่เน้น และไม่เน้น ...พยางที่เน้นให้เน้นจริงๆ แล้วออกเสียงตามสระนั้น ส่วนพยางที่ไม่เน้น ให้ลืมสระในภาษาไทยให้หมด แล้วใส่เสียง |ə| (Schwa) หรือเสียง “เออะ” เข้าไปแทน เช่น American คำนี้เน้นตรงคำว่า me นอกนั้นไม่เน้น (ลองออกเสียงดูครับ เออะเม้เรอะเกิน ^^)
2. ตัว “t” ที่อยู่ระหว่างเสียงสระ จะกลายเป็นเสียง “d” เช่น “wader” ไม่ใช่ “water” แล้วก็ไม่ใช่ "วอเต้อ" แต่เป็น “wader”, “compuder” ไม่ใช่ “computer” แล้วก็ไม่ใช่ "คอมพิวเต้อ" แต่เป็น “compuder” (จำไว้เลย เสียง "ไม้โท" เนี่ยตัวดีเลย ที่ทำให้สำเนียงไทยจ๋า)
3. ตัว “t” ที่อยู่ระหว่าง “n” และสระ ให้ตัด “t” ออก เช่น “inernational” ไม่ใช่ “international”, “tweny” ไม่ใช่ “twenty” แต่เป็น “tweny” ......ให้นึกถึงเพลงนี้เลย One, 21 Guns, Lay down your arms, Give up the fight .. ฮ่าๆ
4. บางทีถ้ามีตัว “n” แล้วมีตัว “t” แล้วก็มีสระ เราจะตัดเสียง “t” ทิ้ง แล้วออกเสียงเหมือนเว้นวรรคนิดนึง เช่น “mountain” หรือบางที มีสระ แล้วมี double “t” แล้วก็มีสระ เราก็จะตัดเสียง “t” ทิ้ง แล้วออกเสียงเหมือนเว้นวรรคนิดนึง เช่น “button” หรือ “cotton”
5. ถ้ามีตัว “t” หรือ “d” อยู่ระหว่างตัวพยัญชนะ ให้ตัดเสียง “t” หรือ “d” ออก เช่น “ol man” ไม่ใช่ “old man”. “mos famous” ไม่ใช่ “most famous”, แต่เป็น “mos famous”.
6. ในภาษาอังกฤษจะมีการเชื่อมเสียงกันระหว่างคำ ถ้าคำไหนลงท้ายด้วยเสียงพยัญชนะ แล้วคำต่อไปเริ่มต้นด้วยเสียงสระ เช่น “this afternoon” หรือ ถ้าคำต่อไปเริ่มต้นด้วยเสียงพยัญชนะเหมือนกับเสียงลงท้ายของคำแรก ก็จะมีการเชื่อมกัน เช่น “social life” ก็จะออกเสียงเป็น “socialife”
7. ในภาษาอังกฤษจะมีการรวมเสียง T+Y = Ch, D+Y = J เช่น Did you put your car away? = Did ju pucher car away?
8. คำที่ลงท้ายด้วยเสียง “e” จะกลายเป็น “Y” เชื่อมกับเสียงสระของคำที่เริ่มต้นด้วยสระ เช่น he asked = he yasked, he opens = he yopens และ คำที่ลงท้ายด้วยเสียง “o” จะกลายเป็น “w” เชื่อมกับเสียงสระของคำที่เริ่มต้นด้วยสระ เช่น going to = gowin nə = gonna
9. เสียงสระตัว “R” (r-colored vowel) เสียงนี้จะออกเสียง “Or err” เช่น Maybelline New York, การออกเสียง ลิ้นไม่ต้องม้วนกลับหลัง หรือม้วนไปแตะเพดาน แต่ให้วางลิ้นไว้ปกติแล้วทำห่อลิ้นเล็กน้อย ....โอวว R นี่ออกเสียงยากจริงเว้ย ฮ่าๆๆ
10. อันนี้สำคัญมาก ต้องออกเสียงคำนั้นให้ถูกต้อง แล้วจะรู้ได้ไงว่าออกเสียงยังไง .....ก็ใช้ google ออกเสียงให้ฟังก็ได้ หรือ เวลาเปิด Dictionary Eng-Eng มันก็จะมี Phonetic ให้อ่าน ...ยิ่งถ้าออกเสียงถูกจริงๆ สำเนียงจะมาเองครับผม ^^
โอเครคราบ หลักๆ และเท่าที่นึกออกก็ประมาณนี้ครับ ลองๆ เอาไปฝึกดู รับรองว่าสำเนียงไทยจ๋าจะลดลงไปเยอะครับ
ความคิดเห็นที่ 5
เวลาเราพูดมันจะมีการจัดวางตำแหน่งรูปปาก ลิ้น ฟัน ฯลฯ อยู่แบบนึงที่เราเคยชินครับ
ซึ่งการวางตำแหน่งของสิ่งเหล่านี้มันมีผลต่อสำเนียงการพูดด้วยครับ
เหมือนเคยอ่านเจอว่ามันจะมีช่วงอายุนึงครับที่คนเราจะเริ่มชินกับการวางรูปปากแบบนึงที่เราใช้ แล้วจะติดเป็นนิสัย
คือถ้าช่วงอายุนั้นเคยชินกับการพูดแบบไหน มันก็จะติดไปตลอด แก้ได้ยาก(แก้ได้ แต่ต้องใช้ความพยายามมากหน่อย)
แต่ผมจำไม่ได้แล้วว่าเท่าไร น่าจะราวๆ 15-19 ไรพวกนี้แหละ อันนี้จำไม่ได้จริงๆครับ แต่เป็นช่วงวัยก่อน 20 แน่ๆ
เป็นเหตุผลว่าทำไมคนที่ไปโตเมืองนอกบางคนถึงพูดไทยไม่ชัด ทั้งที่กลับมาอยู่ไทยนานกว่าตอนไปอยู่นอกซะอีก
เพราะการจะเปลี่ยนสำเนียงมันหมายถึงการต้องฝึกวางรูปปาก ฟัน ลิ้นกันใหม่ เพื่อให้มันเอื้อต่อการออกสำเนียงนั้น
แล้วทำมันให้ชิน ทีนี้สำเนียงเรามันจะไปเองแบบไม่ต้องพยายามเลยครับ เพราะปากเรามันจะขยับไปเองโดยอัตโนมัติ
ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเราฝึกแบบนั้นจนกลายเป็นเรื่องปกติ พอเราจะกลับมาพูดไทย มันก็อาจจะกลายเป็นพูดไทยไม่ชัดละ
ซึ่งการวางตำแหน่งของสิ่งเหล่านี้มันมีผลต่อสำเนียงการพูดด้วยครับ
เหมือนเคยอ่านเจอว่ามันจะมีช่วงอายุนึงครับที่คนเราจะเริ่มชินกับการวางรูปปากแบบนึงที่เราใช้ แล้วจะติดเป็นนิสัย
คือถ้าช่วงอายุนั้นเคยชินกับการพูดแบบไหน มันก็จะติดไปตลอด แก้ได้ยาก(แก้ได้ แต่ต้องใช้ความพยายามมากหน่อย)
แต่ผมจำไม่ได้แล้วว่าเท่าไร น่าจะราวๆ 15-19 ไรพวกนี้แหละ อันนี้จำไม่ได้จริงๆครับ แต่เป็นช่วงวัยก่อน 20 แน่ๆ
เป็นเหตุผลว่าทำไมคนที่ไปโตเมืองนอกบางคนถึงพูดไทยไม่ชัด ทั้งที่กลับมาอยู่ไทยนานกว่าตอนไปอยู่นอกซะอีก
เพราะการจะเปลี่ยนสำเนียงมันหมายถึงการต้องฝึกวางรูปปาก ฟัน ลิ้นกันใหม่ เพื่อให้มันเอื้อต่อการออกสำเนียงนั้น
แล้วทำมันให้ชิน ทีนี้สำเนียงเรามันจะไปเองแบบไม่ต้องพยายามเลยครับ เพราะปากเรามันจะขยับไปเองโดยอัตโนมัติ
ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเราฝึกแบบนั้นจนกลายเป็นเรื่องปกติ พอเราจะกลับมาพูดไทย มันก็อาจจะกลายเป็นพูดไทยไม่ชัดละ
แสดงความคิดเห็น
อยู่ต่างประเทศกับเจ้าของภาษาทุกวัน สื่อสารภาษาอังกฤษได้แต่ทำไมสำเนียงยังไทยอยู่
สื่อสารได้คล่องปกติ เพื่อนๆต่างชาติทุกคนเข้าใจ แต่ทำไมสำเนียงยังไทยอยู่ สำเนียงไม่พัฒนาไปทางเจ้าของภาษาบ้างเลยสักนิด
เพื่อนๆต่างชาติทุกคนบอกว่าสำเนียงก็ไทยอยู่แต่ฟังรู้เรื่อง เข้าใจหมด
จริงๆแค่เจ้าของภาษาเข้าใจ สื่อสารกันรู้เรื่องก็พอแล้วนะครับ แต่ก็คิดว่าอยากได้สำเนียงที่ดีขึ้นด้วย สำเรียงแบบอเมริกันอะไรแบบนี้น่ะครับ
ไม่ต้องอเมริกันก็ได้แต่อยากได้สำเนียงที่ฟังแล้วดู professional คล้ายเจ้าของภาษา555555
มีวิธีแนะนำไหมครับ พยายามเลียนเสียงเพื่อนๆอยู่แต่แลดูยากอยู่ครับ
ออกเสียงตัว R ยากสุด เหมือนพูดไทยมาตลอดแล้วพูดอังกฤษสำเนียงไทยมาตลอดแล้วตอนนี้ลิ้นมันแข็งไปแล้ว
ช่วยแนะนำหน่อยครับ