๛...ทำไม...? ชนชั้นกลางถึงรู้สึกโอเคกับความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ที่สูงมากในสังคมของเรา ... -'๏'-

กระทู้สนทนา


เคยสงสัยกันไหมครับว่า
ทำไมกลุ่มคนที่มีระดับรายได้ปานกลาง (middle-income)
อย่างเช่นคนในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ จึงมักจะมีความคิดเห็นที่เป็นอนุรักษนิยม
เหมือนๆ กันกับกลุ่มคนที่มีรายได้สูง (top-income) หรือ elitists
มากกว่าความต้องการที่อยากจะให้เกิดการมี redistribution
หรือการกระจายรายได้ของคนที่รวยมากๆ ไปสู่คนที่จนมากๆ
ทั้งๆ ที่ตัวเองก็อาจจะไม่ได้มีส่วนได้หรือส่วนเสียมากมาย
กับนโยบายที่เป็นอนุรักษนิยมจ๋าหรือนโยบายการกระจายรายได้จ๋าก็ตาม

การวิจัยของนักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดพบว่า
สาเหตุที่สำคัญที่สุดที่สามารถยกมาอธิบายอคติในการตัดสินใจของคนในกลุ่มที่มีระดับรายได้ปานกลาง
ก็คือความเกลียดการเป็นคนที่รั้งท้ายสุดของคน หรือ last-place aversion นั่นเอง

เพราะว่าคนเราทุกคนแคร์ในเรื่องของการจัดอันดับหรือ ranking มาก
คนที่อยู่ตรงกลาง โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้จนมากจนขนาดไม่มีอะไรกินไปวันๆ แต่ก็ไม่ได้รวยอะไร
การให้ความสนับสนุนกับนโยบายที่เป็นการกระจายรายได้จากคนที่รวยมากๆ ไปสู่คนที่จนมากๆ
สามารถที่จะทำให้คนที่อยู่ท้ายๆ ของการจัดอันดับรายได้ก้าวขึ้นมาอยู่ที่เดียวกับเขา (หรืออาจจะก้าวนำเขาไปได้)
ซึ่งถึงแม้ว่า...รายได้ของเขาจะไม่ถูกกระทบจากนโยบายที่ดีสำหรับคนที่จนมากๆ เหล่านี้เลย
แต่การเลื่อนลำดับรายได้ลงมา สามารถทำให้เขารู้สึกทุกข์และกระวนกระวายกับสถานะของตัวเองอย่างที่บอกไม่ถูก

ส่วนคนที่รวยมากๆ เพราะความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้เรามีเยอะมาก
คนที่รวยที่สุด 1% ของประเทศ กุมรายได้ของประเทศไว้เกิน 20% ด้วยกัน
ไม่ว่าจะกระจายรายได้ยังไงการจัดลำดับความรวยของเขากับคนอื่นๆในประเทศก็คงจะไม่ตก

โดยทางกลับกัน
การสนับสนุนนโยบายที่เป็นอนุรักษนิยม อย่างเช่นการเก็บภาษีคนรวยน้อยๆและการมีการกระจายรายได้น้อยๆ
หรือนโยบายที่ทำให้คนรวยรวยขึ้นและคนจนจนลง สามารถทำให้เขาสามารถคงตำแหน่งอันดับรายได้ของเขาได้
คล้ายๆ กันกับที่พี่แอ๊ดเคยร้องให้พวกเราฟังกันว่า “ใครจะรวยเท่าไร ก็ปล่อยให้รวยเสียให้เข็ด”

พูดง่ายๆ... ก็คือ
ถึงแม้ว่าคนที่มีระดับรายได้ปานกลางต่างก็มีความอยากที่จะรวยกว่าเดิม
แต่ความอยากรวยนี้ก็ยังแรงไม่เท่ากับความไม่อยากให้คนที่จนกว่าเราขึ้นมารวยเท่าๆ กับเรา
...หรือรวยจนแซงเราไปเลยได้

อ่านเพิ่มเติม
Kuziemko, I., Buell, R.W., Reich, T. and Norton, M.I., 2014. “Last-place aversion”: Evidence and redistributive implications. The Quarterly Journal of Economics, 129(1), pp.105-149.
https://thaipublica.org/2017/12/nattavudh-78/

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่