ไทยแชมป์โลก'ตายบนถนน' ปีใหม่นี้เตรียมรับมือซ้ำซาก

ท่านนพ.แท้จริง ศิริพานิช ไม่พิจารณาตัวเองหน่อยหรือครับ
คือจากข่าวหนังสือพิมพ์
https://www.dailynews.co.th/regional/615787 บางส่วนคือ
...วันที่ 14 ธ.ค. นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ กล่าวผ่าน "เดลินิวส์ออนไลน์" ระบุว่า เมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา เว็บไซต์เวิลด์แอตลาส www.worldatlas.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์จัดอันดับของโลก เปิดเผยว่า รายชื่อประเทศ 20 อันดับ ที่มีอัตราการตายบนท้องถนนมากที่สุด ซึ่งน่าแปลกไม่ปรากฏชื่อประเทศลิเบีย แต่รายชื่อประเทศไทย กลับมาเป็นอันดับ 1 ของโลกแทนที่ประเทศลิเบีย จากเดิมที่ไทยอยู่อันดับ 2 โดยไทยมีอัตราการตาย 36.2 ต่อประชากรแสนคน
.....
อย่างไรก็ตามเมื่อปี 59 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 22,356 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 58 จำนวน 2,877 ราย (ปี 2558 มีผู้เสียชีวิตจำนวน 19,479 ราย ) และ 3 ใน 4 ของผู้เสียชีวิตเป็นผู้ชาย ซึ่งช่วงวัยที่เสียชีวิตสูงสุด คือวัยรุ่นและวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 15-29 ปี โดยตัวเลขผู้เสียชีวิตน่าตกใจยิ่งเพราะเป็นความสูญเสียที่มากมายมหาศาลเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ ซึ่งยังไม่นับรวมจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บและพิการอีกปีละนับล้านๆ คน เมื่อตีเป็นมูลค่าความสูญเสียรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี
....
ในข่าวเขาบอกเขาเป็นคนผลักดันเรื่องการติดกล้องหน้ารถ
ที่ผมสะดุดใจมากคือเขาว่า "ตนต่อสู้กับอุบัติเหตุมาแล้วกว่า 20 ปี"
ในใจผมก็ เฮ้ย...ไม่เปลี่ยนคนบ้างหรือครับ ทำมานานมากขนาดนี้แก้ปัญหาไม่ได้แล้วทำไมไม่พิจารณาตัวเอง  หรือผู้บังคับบัญชาเขาหรือหัวหน้าเขา ทำไมไม่เปลี่ยนคนดูแลเรื่องนี้ ยังปล่อยให้เขาทำอยู่ได้ไงนี่???
ระบบราชการมันเป็นแบบนี้ใช่ไหม? ปัญหาหลายปัญหาถึงหมักหมม ปัญหาใหม่ๆก็เกิดขึ้น เพราะคนผู้ดูแล แก้ปัญหาไม่ได้แต่ก็รับเงินเดือนพร้อมค่าต่างๆเดือนหล่ะเป็นแสน (ใช่ไหมระดับนี้???)
และเรื่องจะบังคับติดกล้อง มันจะแก้ถูกจุดไหมนี่ ทำมา20ปีแล้วแก้ปัญหาไม่ได้แล้วยังจะมาให้ประชาชนต้องเสียเงินอีก ท่านวิเคราะห์ถูกจุดไหมนี่??? ใช้หลักวิเคราะห์อะไรอย่างไร??? มีตัวเลขมาสนับสนุนแนวทางนี้ว่าจะได้ผลหรือไม่ มีไหม???
แล้วตัวเลขของคนตายหรือได้รับบาดเจ็บ มันเกิดจาก รถ หรือ มอเตอร์ไซค์ ถ้าส่วนใหญ่เป็นมอเตอร์ไซซึ่งส่วนใหญ่ก็คงเป็นผู้มีรายได้น้อย จะไปบังคับให้มอเตอร์ไซค์ติดกล้องนะเหรอ???
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่