สารานุกรมปืนตอนที่ 67 Pedersen Rifle คู่แข่งของ M1 Garand

คำเตือนบทความต่อไปนี้ไม่สามรถหาเเหล่งอ้างอิงที่ถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นได้โปรดใช้วิจารณญาณ
(การระบุจำเเนกจะอ้างอิงตามโมเดลหลัก)

ประวัติเต็ม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงปลายทศวรรษที่ 1920 ถึงกลางทศวรรษที่ 1930  กองทัพสหรัฐต้องการปืนไรเฟิลประจำการในกองทหารราบแบบใหม่ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบบ semi Auto เพื่อหนีให้พ้นข้อเสียเปรียบของปืนไรเฟิลระบบ bolt action ที่ถูกมองว่าล้าสมัยไปแล้วในสหรัฐปืนไรเฟิลของ John Pedersen คือหนึ่งในปืนที่เข้าร่วมการทดสอบในโครงการนั้นมันใช้ระบบปฏิบัติการแบบ Toggle-delayed blowback ซึ่งคล้ายปืนพก Luger ของเยอรมันบรรจุกระสุนขนาด .276 Pedersen ด้วยคลิปหนีบกระสุน 10  นัด มันเป็นหนึ่งในตัวเต็งสำคัญที่เกือบจะชนะ M1 Garand อยู่แล้วแต่เนื่องจากมีความไม่พอใจเกิดขึ้นจากพลังหยุดยั้งของกระสุน .276 Pedersen ที่ไม่เป็นที่พอใจเมื่อปืนได้รับการแจกจ่ายไปใช้งานเพื่อทำการทดสอบเเถมข้อพับของปืนยังชอบกระเเทกกับปลายหมวกเหล็กของทหารเวลาทดสอบ





เมื่อกระสุนหมดคลิปหนีบกระสุนจะเด้งออกมาเหมือน M1 Garand

หลังจากปืนของแพ้โครงการปืนเล็กยาว semi Auto ในสหรัฐเค้าก็ยังไม่ยอมแพ้เขาส่งแบบปืนของเขาไปยังอังกฤษและญี่ปุ่นเพื่อให้เข้ารับการพิจารณาในอังกฤษบริษัท Vickers-Armstrong ทำการผลิตปืนตามแบบของเขาแต่ก็ไม่ได้รับการทดสอบหรือแจกจ่ายไปเพื่อประจำการในกองทัพอังกฤษในญี่ปุ่นมีความสนใจในปืนไรเฟิลของ John Pedersen อย่างมากถึงกับสร้างตัวต้นแบบขึ้นมา 2 ตัวเพื่อใช้ทดสอบแต่เนื่องจากสถานการณ์ในประเทศจีนเริ่มก่อแววสงครามระหว่างญี่ปุ่นและจีนมากขึ้นจึงทำให้โครงการนี้ถูกยกเลิกเพราะวัตถุดิบในการผลิตปืนทั้งหมดถูกส่งไปยังโรงงานเพื่อผลิตปืนไรเฟิล Arisaka แบบดั้งเดิม

Vickers-Pedersen rifle ขนาดกระสุน .276 Pedersen  ผลิตในอังกฤษ


prototype Pedersen-type carbine บรรจุกระสุน 5 นัดขนาดกระสุน 6.5x50SR ผลิตในญี่ปุ่น


prototype Pedersen-type rifle บรรจุกระสุน 10 นัดขนาดกระสุน 6.5x50SR ผลิตในญี่ปุ่น


John Pedersen คือใคร?


John Pedersen นักออกแบบอาวุธปืนชาวอเมริกันผู้คิดค้นระบบ pedersen device ที่ทำให้ปืน M1903 กลายเป็นปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติได้โดยไม่จำเป็นต้องผลิตตัวปืนขึ้นมาใหม่เอาไว้รอก่อนผมจะทำข้อมูลของเจ้าระบบ pedersen device แบบเจาะลึก




สวัสดีครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่