สมมุติทางเยอรมันช่วง WW2 ต้องการผลิต และแจกจ่าย STG 44 เหมือนกับอเมริกาประจำ M1 Garand ต้องใช้เวลากี่ปีครับ

อย่างของอเมริกาเริ่มประจำการ ปืน M1 Garand เริ่มประจำในปี 1936 ก่อนเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 เพียง 3 ปี อ้างอิงจาก 
https://en.wikipedia.org/wiki/World_War_II
https://en.wikipedia.org/wiki/M1_Garand

หากเยอรมันหากต้องการประจำการ STG 44-ตัวย่อมาจาก Sturmgewehr 44  เหมือนกับที่ทางอเมริกาประจำ M1 Garand ต้องใช้เวลากี่ปีทั้งในการผลิต และการแจกจ่าย รวมถึงทรัพยากรด้วยครับ 

ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นครับ
ข้อมูลอีกหนึ่งจาก : https://ppantip.com/topic/41506426

ภาพ : STG 44

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ปืน Stg 44 มันไม่ได้มีความยุ่งยาก ซับซ้อนในการผลิตเลยครับ เพราะข้อกำหนดแรกสุดในการออกแบบ Concept ของปืนกระบอกนี้ คือ จะต้องมีราคาต้นทุนถูก (FG 42 ราคาราว 250 RM, K98 ราคา 55 RM, MP40 ราคา 57 RM, StG 44 ราคา 70 RM) กรรมวิธีการผลิตทำได้ง่าย ดังนั้นกรรมวิธีในการผลิตชิ้นส่วนปืนจะใช้วิธีปั๊มแผ่นเหล็กขึ้นรูป พานท้ายทำด้วยไม้ (คุ้นๆกับที่ ลุง Mikhail Kalashnikov ออกแบบปืน AK 47 มั้ยละครับ) ถ้า ในช่วงเริ่มต้นสงคราม ถ้าแบบการผลิตนิ่งแล้ว น่าจะผลิตขึ้นมาได้เพียงพอต่อการใช้งานทั้งกองทัพไม่เกิน 2-3 ปี

แต่ความยุ่งยากจริงๆของมันคือ
1. การออกแบบและปรับปรุงกลไก การทำงานให้ตรงกับ Concept ความต้องการของกองทัพ   ปืน StG 44 ได้ถือว่าเป็นปืนกระบอกแรกในโลกที่ออกแบบภายใต้ Assualt Rifle Concept ดังนั้นมันถึงมีจุดที่ยังออกแบบไม่ตกผลึกอยู่ในหลายๆเรื่อง เช่น ปืนจะต้องออกแบบในรูปแบบเรียบง่าย, มีค่าความเชื่อมั่นในการใช้งานสูง, มีการป้อนกระสุนที่ไม่ติดขัด, มีช่องคายปลอกอยู่ทางด้านขวา และ มีทิศทางที่ปลอกไม่ไปรบกวนทหารที่อยู่ข้างๆ, มีค่า Ballistic เทียบเท่ากับ FG42 และ K98 ที่ระยะ 300 เมตร, มีแรงสะท้อนที่น้อยกว่า FG42 และสามารถยิงได้อย่างแม่นยำในระยะ 300 เมตร, น้ำหนักเบาเพียงพอให้เคลื่อนไหวได้สะดวก เป็นต้น

ซึ่ง ตัวปืน Stg 44 นี่เองก็พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจากปืนต้นแบบ FG 42, MKb 42, MP 43, MP 44, MP 44/1 จนมาถึง StG 44 จนได้ข้อสรุปเป็นรูปธรรมเบื้องต้นคือ ใช้กระสุน Intermediate Power Cartridge 7.92x33xKurz, มีน้ำหนักพร้อมกระสุนราว 5 กก. นิดๆ ซึ่งยังไม่เป็นที่ถูกใจของกองทัพ, มีน้ำหนักปืนลงที่ส่วนหน้า เพื่อลด Muzzle Flip (การสะบัดขึ้นของลำกล้อง จากการยิงลูกกระสุน), ออกแบบการถอยของแรงสะท้อนเป็นแบบ  straight-in-line design และมีลูกสูบแก๊สอยู่เหนือลำกล้อง, มีด้ามจับตามหลักกายภาพศาสตร์แบบด้ามปืนพก เป็นต้น

ซึ่งการออกแบบก็ยังไม่ตกผลึกถึงที่สุด เนื่องจากสงครามจบลงไปก่อน แต่ทิ้งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อมากับ แนวความคิดการออกแบบอาวุธปืนทางการทหารยุคต่อมา (AK47, M14, M16, M60, FN FAL, HK G3, HK MP45 เป็นต้น) จนอาจกล่าวได้ว่า ถ้าเยอรมัน มีเวลาอีกสัก 2-3 ปีจนสามารถตกผลึกถึงศักยภาพและพัฒนาการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โลกยุคนั้นอาจพบกับ สุดยอดนวัฒกรรมอาวุธปืน Modern Firearms แบบที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ได้ครับ

2. คุณภาพของเหล็กที่ใช้ในการผลิต และ การขาดแคลนวัสดุต่างๆที่จะนำมาเป็นส่วนผลิตและส่วนสนับสนุนการผลิตปืน ด้วยเหตุที่ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ดำเนินนโยบายกลยุทธ์ลดทอนศักยภาพของกองทัพอากาศ Luftwaffe และอำนาจการผลิตของระบบอุตสาหกรรมในประเทศเยอรมัน ผ่าน Operation Pointblank ทำให้การผลิตปืน Stg 44 และ กระสุน 7.92x33 Kurz มีทรัพยากรไม่เพียงพอต่อการผลิตตามความต้องการของกองทัพฯ ทำให้ช่วงท้ายสงคราม ปืนที่ผลิตได้ก็มีข้อด้อยมากมายจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำ จนอาวุธปืนดังกล่าวมีปัญหาในการใช้งานอยู่เป็นประจำ มีค่าความเชื่อมั่นในการใช้งานต่ำ จนทางกองทัพฯได้มีการเตือนให้หลีกเลี่ยงการยิงแบบ Full Auto เพื่อยืดอายุการใช้งาน หรือ ไม่ให้วางปืนพิงผนังเนื่องจากอาจทำให้ลำกล้องคดได้ และปลอกกระสุนในช่วงท้ายสงครามก็ทำจากเหล็กแทนทองเหลือง ทำให้มีเศษเหล็กชิ้นเล็กๆปลิวไปสะสมหรือติดขัดระบบกลไกการทำงานครับ


ภาพ German Panzergrenadiers ใช้ StG 44 ติด Zielgerät 1229 ‘Vampir’ infrared sight
March 1945, in woodland in
eastern Germany


* หนังสือ GERMAN AUTOMATIC
RIFLES 1941–45
Gew 41, Gew 43, FG 42 and StG 44
CHRIS McNAB / Osprey Publishing
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่