ประเทศไทยมีความพยายามอย่างมากในการนำพาตัวเองออกจากกับดักรายได้ปานกลาง แต่หากปล่อยไปตามธรรมชาติ อีก 20 ปีก็คงไม่สำเร็จ รัฐบาลชุดปัจจุบันจึงใช้เครื่องทุ่นแรง เพื่อเป็นทางลัดในการก้าวข้ามกับดักดังกล่าว ผ่านโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี (Eastern Economic Corridor : EEC)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขยายความคำว่า เครื่องทุ่นแรง เนื่องจากโครงการนี้เป็นการต่อยอดจากโครงการเดิมที่มีอยู่แล้ว คือ โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง แต่ถึงจุดอิ่มตัว รัฐบาลนี้เห็นว่าสามารถต่อยอดใหม่ได้ จึงออกมาตรการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นสนับสนุนอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) รวมถึงพุ่งเป้าดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve)
วันนี้มีข่าวว่า สภาพัฒน์เผยเวิลด์แบงก์จัดไทยอยู่กลุ่มเริ่มหลุดพ้นจากความยากจนและกำลังก้าวสู่ความมั่งคั่ง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.voicetv.co.th/read/B1Gh6xaWz
เนื้อข่าวบอกว่า รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาความยากจนมาตลอดระยะเวลา 20 ปี สามารถลดความยากจนได้ต่อเนื่อง
โดยจำนวนประชากรที่อยู่ใกล้เส้นความยากจน 11 ล้านคน ลดลงมาต่อเนื่องในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เหลือจำนวน 7 ล้านคน
แต่ยังมีประชากรฐานรากร้อยละ 40 หรือประมาณ 29 ล้านคน ต้องได้รับการดูแลด้วยการเพิ่มรายได้ ซึ่งประกอบด้วย
เกษตรกร แรงงาน ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งรัฐบาลจะใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค เพิ่มรายได้และการจ้างงาน ....
รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) รวมถึงสตาร์ทอัพ (Startup) โดยจะเน้นการยกระดับให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภูมิภาคและอุตสาหกรรมเป้าหมาย เนื่องจากกิจการเหล่านี้จะมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งให้ไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางในอนาคต
ปัจจุบัน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโต ด้วยจำนวนกว่า 2.78 ล้านราย หรือคิดเป็น 98% ของผู้ประกอบการทั้งประเทศ ก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 11.7 ล้านคน คิดเป็น 80.4% ของการจ้างงานทั้งหมด สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 4.2 ล้านล้านบาท
เพื่อสนับสนุนการทำงานของ SMEs สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) ยังได้ร่วมกับและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิด
EEC CO-WORKING SPACE (โครงการนำร่องในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี) เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ และเป็นการสร้างคอมมูนิตี้เปิดโอกาสคนกลุ่มนี้ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ระหว่างกัน นอกจากนั้นยังได้พัฒนาโกลบอลดิจิทัลแพลทฟอร์มที่ชื่อว่า “KLONN” (กลอน) ขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมหรือลงทุนกับโครงการ EEC จากทั่วทุกมุมโลกให้สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้จริง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.thansettakij.com/content/240885
นี่คือส่วนหนึ่งที่ทำให้เห็นว่ารัฐบาลเอาจริงเอาจัง ให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งมีบทบาทสำคัญกับระบบเศรษฐกิจฐานราก ที่ผลักดันให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศกระเตื้องขึ้น ดังนั้น ความหวังที่ประเทศไทยจะหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางก็ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันอีกต่อไป
.........
แถมท้ายด้วย tips สำหรับผู้ประกอบการในการเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อธุรกิจเติบโตในปี 2018
เอสเอ็มอี & สตาร์ทอัพ ตัวช่วยพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ดันไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
วันนี้มีข่าวว่า สภาพัฒน์เผยเวิลด์แบงก์จัดไทยอยู่กลุ่มเริ่มหลุดพ้นจากความยากจนและกำลังก้าวสู่ความมั่งคั่ง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เนื้อข่าวบอกว่า รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาความยากจนมาตลอดระยะเวลา 20 ปี สามารถลดความยากจนได้ต่อเนื่อง
โดยจำนวนประชากรที่อยู่ใกล้เส้นความยากจน 11 ล้านคน ลดลงมาต่อเนื่องในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เหลือจำนวน 7 ล้านคน
แต่ยังมีประชากรฐานรากร้อยละ 40 หรือประมาณ 29 ล้านคน ต้องได้รับการดูแลด้วยการเพิ่มรายได้ ซึ่งประกอบด้วยเกษตรกร แรงงาน ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งรัฐบาลจะใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค เพิ่มรายได้และการจ้างงาน ....
รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) รวมถึงสตาร์ทอัพ (Startup) โดยจะเน้นการยกระดับให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภูมิภาคและอุตสาหกรรมเป้าหมาย เนื่องจากกิจการเหล่านี้จะมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งให้ไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางในอนาคต
ปัจจุบัน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโต ด้วยจำนวนกว่า 2.78 ล้านราย หรือคิดเป็น 98% ของผู้ประกอบการทั้งประเทศ ก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 11.7 ล้านคน คิดเป็น 80.4% ของการจ้างงานทั้งหมด สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 4.2 ล้านล้านบาท
เพื่อสนับสนุนการทำงานของ SMEs สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) ยังได้ร่วมกับและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิด EEC CO-WORKING SPACE (โครงการนำร่องในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี) เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ และเป็นการสร้างคอมมูนิตี้เปิดโอกาสคนกลุ่มนี้ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ระหว่างกัน นอกจากนั้นยังได้พัฒนาโกลบอลดิจิทัลแพลทฟอร์มที่ชื่อว่า “KLONN” (กลอน) ขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมหรือลงทุนกับโครงการ EEC จากทั่วทุกมุมโลกให้สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้จริง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
นี่คือส่วนหนึ่งที่ทำให้เห็นว่ารัฐบาลเอาจริงเอาจัง ให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งมีบทบาทสำคัญกับระบบเศรษฐกิจฐานราก ที่ผลักดันให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศกระเตื้องขึ้น ดังนั้น ความหวังที่ประเทศไทยจะหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางก็ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันอีกต่อไป
.........
แถมท้ายด้วย tips สำหรับผู้ประกอบการในการเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อธุรกิจเติบโตในปี 2018