สวัสดีนะครับ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ คุณพ่อ คุณแม่นะครับ ช่วงนี้ตัวผมเองงานก็เยอะ ยังไม่มีโอกาสเล่าเรื่องของตัวเองเลย นั่งก้มหน้าก้มตาทำงานเป็นครูสอนหนังสือต่อไป ไม่ได้เขียนกระทู้มานานแล้วละครับ วันนี้นึกประสบการณ์ดีๆ ซึ่งตั้งใจที่อยากจะเขียนมานานแล้ว แต่ด้วยภาระงานที่จัดการไม่หมดเสียที บวกกับเวลาอันน้อยนิด วันนี้ก็เลยตั้งใจจะเขียนเกี่ยวกับชีวิตประจำวันที่เด็กออทิสติกวัย ประถม มัธยมที่เจอกันทุกวันในโรงเรียน พวกเขารู้สึกอย่างกับเหตุการณ์ในโรงเรียนในแต่ละวันนะครับ
*เรื่องราวต่อไปนี้มีการเขียนไม่ให้กระทบต่อผู้ถูกพาดพิงต่างๆ ซึ่งอาจจะทำให้เค้าโครงเรื่องราวเปลี่ยนไปจากเดิน
Story 1 ความจริงที่ซ่อนอยู่ในชั่วโมงเรียน
เด็กออทิสติกส่วนใหญ่จะมีปัญหาการสื่อสารค่อนข้างมาก แต่หลายคนสงสัยว่า ทำไมที่โรงเรียนเด็กออทิสติกกลับพูดน้อย แต่อยู่ที่บ้านกลับพูดเยอะจนน่ารำคาญ ความจริงที่ซ่อนอยู่ในชั่วโมงเรียน กับชีวิตของเด็ก ผมเองก็เข้าใจความรู้สึกนะ จริงๆแล้วเด็กออทิสติกอยากสื่อสาร อยากพูด อยากคุย แต่ด้วยรูปแบบการสื่อสารที่จำกัด ทำให้พวกเค้า ไม่สามารถสื่อสารในสถานที่ที่มีผู้คน ที่รู้จักเค้าเยอะและต่อบทสนทนาได้ ในชั่วโมงเรียน ผมลองเข้าไปคุยกับเด็กออทิสติกคนหนึ่ง เค้าไม่พูด ถึงพูดก็น้อย ในใจเค้ารู้สึกนะ เวลาที่จะต้องสื่อสาร ใช้คำพูดยังไงให้คนอื่นเข้าใจ พูดอะไรไปคนอื่นก็ไม่เข้าใจในสิ่งที่ตัวเองพูด พอนานๆเข้า มันเป็นความรู้สึกที่แย่ สื่อสารไม่ได้ ในเวลาที่ครูสอนอยู่ หากเด็กออทิสติกเกิดปวดท้อง อยากเข้าห้องน้ำ เด็กเหล่านี้ที่พูดน้อย จะไม่บอกเราเลยว่าปวดท้องอยากเข้าห้องน้ำ จะรอจนกว่าครูจะออกหรือจนกว่าจะพักกลางวัน เหตุผลคือ ไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้ว่าครูจะตอบกลับอย่างไร กลัวการตอบกลับแบบแย่ๆที่ทำกลับเด็กในห้องเรียน จนในที่สุดหลายคนก็มีปัญหาการขับถ่ายเรี่ยราดในห้องเรียน
เพื่อนๆ ก็มองเด็กออทิสติกเป็นตัวประหลาด ทำไมไม่พูด เค้าเป็นอะไร เวลาตอบก็ตอบแบบตลกๆ ซ้ำร้ายครูประจำชั้นก็แซวเพิ่ม ล้อเล่น แต่ทำลายความรู้สึกเด็กออทิสติกไปเสียหมด เค้ารู้สึกรำคาญทุกคน อยากอยู่คนเดียว เพราะการอยู่คนเดียวไม่มีใครทำร้ายและทำลายความรู้สึกของเค้าได้ สถานที่ๆเด็กออทิสติกอยากอยู่ในโรงเรียน ต้องเป็นสถานที่เงียบๆ เช่นมุมใด ที่ไม่มีผู้คน สมองเค้าจะดูโล่งและเอาความคิดตนเองเป็นเพื่อนแก้เหงา คุยกับความคิดตนเอง คุยไปเรื่อยๆ หัวเราะบ้างให้เวลาผ่านไป จนถึงเวลาเรียน มันอาจจะดูแย่นะ แต่อาจจะดีที่สุดของเค้าก็ได้
แนวทางการเข้าใจ ลองมีเพื่อนสนิทที่รับฟังเด็กออทิสติกได้ทุกเรื่อง ไม่ใช่การโยนภาระให้ใครรับผิดชอบ แต่ต้องเกิดจากการที่สนิทกันจริงๆ สิ่งที่เด็กออทิสติกวัยประถม พยายามสื่อสารออกมา ทุกอย่าง ความรู้สึกเป็นของจริงทั้งหมด เพียงแต่เราไม่เข้าใจกลไกความรู้สึกของพวกเค้า ฉะนั้น สิ่งคำคัญที่จะช่วยเหลือเด็กออทิสติก ต้องเข้าใจกลไลความรู้สึก ความคิดของเด็ก และสามารถตอบสนองตามกลไกของเค้า ฟังดูเหมือนเด็กออทิสติกจะต้องช่วยเค้าโดยการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง แต่ไม่ใช่ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การแลกเปลี่ยนกลไกความรู้สึกซึ่งกันและกัน และเด็กออทิสติกเค้าจะสามารถอยู่ในชั่วโมงเรียนได้อย่างมีความสุขนะครับ
เดี๋ยวมีเวลาว่างเขียนต่อ story 2 นะครับ
เรื่องราวในชีวิตประจำวันของเด็กออทิสติกกับความในใจที่หลายคนยังไม่เคยรู้
*เรื่องราวต่อไปนี้มีการเขียนไม่ให้กระทบต่อผู้ถูกพาดพิงต่างๆ ซึ่งอาจจะทำให้เค้าโครงเรื่องราวเปลี่ยนไปจากเดิน
Story 1 ความจริงที่ซ่อนอยู่ในชั่วโมงเรียน
เด็กออทิสติกส่วนใหญ่จะมีปัญหาการสื่อสารค่อนข้างมาก แต่หลายคนสงสัยว่า ทำไมที่โรงเรียนเด็กออทิสติกกลับพูดน้อย แต่อยู่ที่บ้านกลับพูดเยอะจนน่ารำคาญ ความจริงที่ซ่อนอยู่ในชั่วโมงเรียน กับชีวิตของเด็ก ผมเองก็เข้าใจความรู้สึกนะ จริงๆแล้วเด็กออทิสติกอยากสื่อสาร อยากพูด อยากคุย แต่ด้วยรูปแบบการสื่อสารที่จำกัด ทำให้พวกเค้า ไม่สามารถสื่อสารในสถานที่ที่มีผู้คน ที่รู้จักเค้าเยอะและต่อบทสนทนาได้ ในชั่วโมงเรียน ผมลองเข้าไปคุยกับเด็กออทิสติกคนหนึ่ง เค้าไม่พูด ถึงพูดก็น้อย ในใจเค้ารู้สึกนะ เวลาที่จะต้องสื่อสาร ใช้คำพูดยังไงให้คนอื่นเข้าใจ พูดอะไรไปคนอื่นก็ไม่เข้าใจในสิ่งที่ตัวเองพูด พอนานๆเข้า มันเป็นความรู้สึกที่แย่ สื่อสารไม่ได้ ในเวลาที่ครูสอนอยู่ หากเด็กออทิสติกเกิดปวดท้อง อยากเข้าห้องน้ำ เด็กเหล่านี้ที่พูดน้อย จะไม่บอกเราเลยว่าปวดท้องอยากเข้าห้องน้ำ จะรอจนกว่าครูจะออกหรือจนกว่าจะพักกลางวัน เหตุผลคือ ไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้ว่าครูจะตอบกลับอย่างไร กลัวการตอบกลับแบบแย่ๆที่ทำกลับเด็กในห้องเรียน จนในที่สุดหลายคนก็มีปัญหาการขับถ่ายเรี่ยราดในห้องเรียน
เพื่อนๆ ก็มองเด็กออทิสติกเป็นตัวประหลาด ทำไมไม่พูด เค้าเป็นอะไร เวลาตอบก็ตอบแบบตลกๆ ซ้ำร้ายครูประจำชั้นก็แซวเพิ่ม ล้อเล่น แต่ทำลายความรู้สึกเด็กออทิสติกไปเสียหมด เค้ารู้สึกรำคาญทุกคน อยากอยู่คนเดียว เพราะการอยู่คนเดียวไม่มีใครทำร้ายและทำลายความรู้สึกของเค้าได้ สถานที่ๆเด็กออทิสติกอยากอยู่ในโรงเรียน ต้องเป็นสถานที่เงียบๆ เช่นมุมใด ที่ไม่มีผู้คน สมองเค้าจะดูโล่งและเอาความคิดตนเองเป็นเพื่อนแก้เหงา คุยกับความคิดตนเอง คุยไปเรื่อยๆ หัวเราะบ้างให้เวลาผ่านไป จนถึงเวลาเรียน มันอาจจะดูแย่นะ แต่อาจจะดีที่สุดของเค้าก็ได้
แนวทางการเข้าใจ ลองมีเพื่อนสนิทที่รับฟังเด็กออทิสติกได้ทุกเรื่อง ไม่ใช่การโยนภาระให้ใครรับผิดชอบ แต่ต้องเกิดจากการที่สนิทกันจริงๆ สิ่งที่เด็กออทิสติกวัยประถม พยายามสื่อสารออกมา ทุกอย่าง ความรู้สึกเป็นของจริงทั้งหมด เพียงแต่เราไม่เข้าใจกลไกความรู้สึกของพวกเค้า ฉะนั้น สิ่งคำคัญที่จะช่วยเหลือเด็กออทิสติก ต้องเข้าใจกลไลความรู้สึก ความคิดของเด็ก และสามารถตอบสนองตามกลไกของเค้า ฟังดูเหมือนเด็กออทิสติกจะต้องช่วยเค้าโดยการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง แต่ไม่ใช่ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การแลกเปลี่ยนกลไกความรู้สึกซึ่งกันและกัน และเด็กออทิสติกเค้าจะสามารถอยู่ในชั่วโมงเรียนได้อย่างมีความสุขนะครับ
เดี๋ยวมีเวลาว่างเขียนต่อ story 2 นะครับ