ขออนุญาตตั้งกระทู้สอบถามครับ อยากทราบว่าสี่คำนี้ใช้แตกต่างกันอย่างไรครับ ผมเปิดพจนานุกรมแล้วก็ยังรู้สึกว่าไม่กระจ่าง หาข้อมูลจากหลายแหล่งก็คลุมเครืออยู่ ผมจะยกข้อความจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
วรรณกรรม น. งานหนังสือ, งานประพันธ์, บทประพันธ์ทุกชนิดทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง, เช่น วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ วรรณกรรมฝรั่งเศส วรรณกรรมประเภทสื่อสารมวลชน.
วรรณคดี น. วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ถึงขนาด เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มัทนะพาธา สามก๊ก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน.
นิยาย น. เรื่องที่แต่งขึ้น.
นวนิยาย น. บันเทิงคดีร้อยแก้วขนาดยาวรูปแบบหนึ่ง มีตัวละคร โครงเรื่อง เหตุการณ์ในเรื่อง และสถานที่ ที่ทำให้เนื้อเรื่องมีความสมจริง เช่น เรื่องหญิงคนชั่ว ของ ก. สุรางคนางค์ เรื่องเรือมนุษย์ ของ กฤษณา อโศกสิน, ถ้ามีขนาดสั้น เรียกว่า นวนิยายขนาดสั้น เช่น เรื่องดรรชนีนาง ของ อิงอร เรื่องสร้อยทอง ของ นิมิต ภูมิถาวร.
หากพิจารณาตามนี้ ผมเข้าใจว่า
1. วรรณกรรมคืองานเขียนทุกประเภทโดยไม่ได้จำกัดว่าเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นหรือตำราวิชาการ คำถามคือมีใครตัดสินไหมครับว่าเรื่องแต่งใดเป็นวรรณกรรม หรือสามารถเป็นได้เองโดยอัตโนมัติเลย
2. วรรณคดีคือวรรณกรรมที่ดี แต่ในพจนานุกรมระบุว่า "วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี" ผมสงสัยว่าเป็นการยกย่องจากใคร จากสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากรหรือเปล่าครับ และมีคณะกรรมการหรือหลักเกณฑ์อะไรในการตัดสินว่าวรรณกรรมเรื่องใดคือวรรณคดี และมีบัญชีระบุรายชื่อวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องเป็นวรรณคดีหรือไม่ครับ
3. นิยาย คือเรื่องอะไรก็ได้ที่แต่งขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องมีระเบียบแบบแผน สมมติว่าผมไปเที่ยวกับเพื่อน แต่โกหกแฟนว่าไปทำงาน อย่างนี้ถือเป็นนิยายมั้ยครับ
4. นวนิยาย คือเรื่องแต่งที่มีระเบียบกฎเกณฑ์ชัดเจน ผมเข้าใจว่าเป็นนิยายที่อัพเกรดไปอีกขั้น อันนี้เคลียร์ครับ แต่อยากทราบว่าประเทศไทยเริ่มใช้คำนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ เพราะผมอ่านงานเขียนยุคเก่าๆ แล้วพบว่าส่วนใหญ่ใช้คำว่านิยายกันหมด และผมเข้าใจว่าคำว่า "นิยาย" มาจากภาษาเขมรเดิม แต่นวนิยาย เพิ่มคำว่า "นว" หมมายถึงใหม่ จึงน่าจะหมายถึงนิยายที่ถูกแต่งให้ทันสมัยแบบตะวันตก ตรงนี้ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ
และมีคำถามเพิ่มเติมคือ
คำว่า literature หมายรวมถึงวรรณกรรมและวรรณคดี คืองานเขียนทั้งหมด
novel หมายถึงนวนิยาย
fiction หมายถึงนิยาย
อย่างนี้ถูกต้องตามความหมายหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
วรรณกรรม วรรณคดี นิยาย นวนิยาย ต่างกันอย่างไร
วรรณกรรม น. งานหนังสือ, งานประพันธ์, บทประพันธ์ทุกชนิดทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง, เช่น วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ วรรณกรรมฝรั่งเศส วรรณกรรมประเภทสื่อสารมวลชน.
วรรณคดี น. วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ถึงขนาด เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มัทนะพาธา สามก๊ก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน.
นิยาย น. เรื่องที่แต่งขึ้น.
นวนิยาย น. บันเทิงคดีร้อยแก้วขนาดยาวรูปแบบหนึ่ง มีตัวละคร โครงเรื่อง เหตุการณ์ในเรื่อง และสถานที่ ที่ทำให้เนื้อเรื่องมีความสมจริง เช่น เรื่องหญิงคนชั่ว ของ ก. สุรางคนางค์ เรื่องเรือมนุษย์ ของ กฤษณา อโศกสิน, ถ้ามีขนาดสั้น เรียกว่า นวนิยายขนาดสั้น เช่น เรื่องดรรชนีนาง ของ อิงอร เรื่องสร้อยทอง ของ นิมิต ภูมิถาวร.
หากพิจารณาตามนี้ ผมเข้าใจว่า
1. วรรณกรรมคืองานเขียนทุกประเภทโดยไม่ได้จำกัดว่าเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นหรือตำราวิชาการ คำถามคือมีใครตัดสินไหมครับว่าเรื่องแต่งใดเป็นวรรณกรรม หรือสามารถเป็นได้เองโดยอัตโนมัติเลย
2. วรรณคดีคือวรรณกรรมที่ดี แต่ในพจนานุกรมระบุว่า "วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี" ผมสงสัยว่าเป็นการยกย่องจากใคร จากสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากรหรือเปล่าครับ และมีคณะกรรมการหรือหลักเกณฑ์อะไรในการตัดสินว่าวรรณกรรมเรื่องใดคือวรรณคดี และมีบัญชีระบุรายชื่อวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องเป็นวรรณคดีหรือไม่ครับ
3. นิยาย คือเรื่องอะไรก็ได้ที่แต่งขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องมีระเบียบแบบแผน สมมติว่าผมไปเที่ยวกับเพื่อน แต่โกหกแฟนว่าไปทำงาน อย่างนี้ถือเป็นนิยายมั้ยครับ
4. นวนิยาย คือเรื่องแต่งที่มีระเบียบกฎเกณฑ์ชัดเจน ผมเข้าใจว่าเป็นนิยายที่อัพเกรดไปอีกขั้น อันนี้เคลียร์ครับ แต่อยากทราบว่าประเทศไทยเริ่มใช้คำนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ เพราะผมอ่านงานเขียนยุคเก่าๆ แล้วพบว่าส่วนใหญ่ใช้คำว่านิยายกันหมด และผมเข้าใจว่าคำว่า "นิยาย" มาจากภาษาเขมรเดิม แต่นวนิยาย เพิ่มคำว่า "นว" หมมายถึงใหม่ จึงน่าจะหมายถึงนิยายที่ถูกแต่งให้ทันสมัยแบบตะวันตก ตรงนี้ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ
และมีคำถามเพิ่มเติมคือ
คำว่า literature หมายรวมถึงวรรณกรรมและวรรณคดี คืองานเขียนทั้งหมด
novel หมายถึงนวนิยาย
fiction หมายถึงนิยาย
อย่างนี้ถูกต้องตามความหมายหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ