เทคนิคการเขียนต้นฉบับยังไงให้ปัง จนสำนักพิมพ์ไม่กล้าปฎิเสธ



-เขียนในพันทิปมาก็เยอะแล้ว
-แบ่งปันไอเดียในเฟสบุ๊คมาก็ไม่น้อย
-Storylog, mediumก็ไม่เคยพลาดที่จะเข้าไปแชร์ประสบการณ์
แล้วเมื่อไหร่ละที่คุณจะได้มีหนังสือเป็นของคุณเอง?


             นานามาลัย ทุกวันนี้คงปฎิเสธไม่ได้ว่าหนังสือนั้นถูกทดแทนด้วยกระดานอิเล็กทรอนิกส์อย่างTabletอย่างเห็นได้ชัด แต่ทราบไหมค่ะ ว่ายังมีผู้อ่านอีกจำนวนมากที่ยังเป็นคงแฟนพันแท้ของร้านหนังสือชั้นนำ แม้ว่าการเชียนหนังสือEbook นั้นจะง่ายแสนง่ายและเป็นการลงทุนแบบZero budget ที่ใครๆก็สามารถทำได้ แต่เชื่อเถอะค่ะว่าคุณค่าทางจิตใจคงมีน้ำหนักเทียบไม่ได้กับการที่เราได้เห็นหนังสือของเราอยู่บนชั้นหนังสือ

              หลายคนในที่นี้คงมีความฝันอยากจะเป็นนักเขียน สักครั้งนึงในชีวิตที่จะได้มีนามปากกาหรือชื่อของตนถูกตีพิมพ์ลงบนปกหนังสือ และแน่นอนค่ะว่ามีอีกกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่อาจจะมองว่าการมีหนังสือเป็นของตัวเองนั้นยากเกินไป ฉันคงทำไม่ได้หรอก หรือไม่แม้แต่จะศรัทธาในความสามารถของตนเอง วันนี้เปิ้ลเลยอยากใช้พื้นที่ตรงนี้ได้แบ่งปันประสบการณ์และเป็นแรงบันดาลใจให้กับทุกคนที่ฝันอยากเป็นนักเชียนค่ะ

สองวิธีในการเป็นเจ้าของผลงาน
1 เขียนต้นฉบับส่งให้สำนักพิมพ์พิจารณา
ข้อดี
 - ไม่ต้องลงทุนในการตีพิมพ์เท่ากับเราไมต้องรับความเสี่ยงในการที่หนังสือตีพิมพ์มาแล้วขายไม่ได้
 - เมื่อตีพิมพ์เสร็จออกมาแล้วก็รอเซ็นสัญญารับเงินได้เลย
- หากหนังสือขายดีมีโอกาสสูงที่จะถูกตีพิมพ์ในครั้งต่อไป
- ไม่ต้องเหนื่อยจัดการด้านอื่นๆ เช่น การนำเสนอเพื่อหาช่องทางการจัดจำหน่าย การออกแบบ
- อีกทั้งอาจมีโอกาสได้ความรู้จากการแนะนำวิธีการเขียนจากบก. และนักเขียนมืออาชีพ

ข้อเสีย
 - ค่อนข้างใช้เวลาในการพิจารณานาน อาจจะใช้เวลาถึง3–6เดือน
- รายได้ไม่ดีเท่ากับการตีพิมพ์เอง
- ผลงานมีทั้งโอกาสผ่านและไม่ผ่าน
- ลิขสิทธ์เป็นของสำนักพิมพ์

2 เขียนต้นฉบับและจัดพิมพ์เอง
ข้อดี
- ลิขสิทธ์เป็นของเราเอง
- ได้หนังสือที่ออกมาตามแบบที่ต้องการ
- การดำเนินการในการตีพิมพ์รวดเร็วกว่า
- สามารกำหนดค่าใช้จ่ายและกำไรได้

ข้อเสีย
- แบกรับความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
- ต้องมีเวลาในการดำเนินการเนื่องจากผู้เขียนต้องทำเองทุกขั้นตอน


ในด้านของรายได้
              คงจะปฎิเสธไม่ได้ว่ารายได้ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการครองชีพ ฉะนั้นหากคุณเป็นคนที่มีผลงานหรือมีชื่อเสียงลองเลือกพิจารณาสำนักพิมพ์ที่ให้ค่าตอบแทนได้เหมาะสมกับผลงานและชื่อเสียงของคุณ

ตัวอย่างรายได้: เงินก้อน+เปอร์เซ็นต์จากยอดขาย หรือ การจ่ายเปอร์เซ็นต์(อย่างเดียว)ล่วงหน้าจากจำนวนหนังสือที่ทางสำนักพิมพ์ทำข้อตกลงไว้ และหลังจากนั้นผู้เขียนก็จะยังได้เปอร์เซ็นต์ในส่วนหนังสือที่ขายได้ โดยตัดยอดทุกๆ60วัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสำนักพิมพ์หากหนังสือขายดี สำนักพิมพ์ก็มีโอกาสตีพิมพ์ในครั้งต่อไปรวมถึงเงื่อนไขด้านลิขสิทธ์ที่อาจจะแตกต่างกันไป


การเลือกสำนักพิมพ์
              ทุกวันนี้เราจะเห็นได้ว่ามีสำนักพิมพ์จำนวนมาก บางที่นั้นเป็นแบร์นลูกที่แตกแนวหนังสือออกมาเป็นหมวดหมู่ย่อย การเลือกสำนักพิมพ์ก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้ผลงานของเรานั้นประสบความสำเร็จได้ เนื่องจากการทำการตลาด, การออกแบบ, รวมไปถึงช่องทางการจัดจำหน่ายนั้น ในแต่ละสำนักพิมพ์ก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันไป การศึกษาผลงาน, การตลาด, รูปแบบ, การออกแบบหนังสือก่อนการตัดสินใจส่งต้นฉบับนั้น ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นไม่น้อย หรือหากได้มีโอกาสพูดคุยกับ บก.ยิ่งถือว่าเป็นโอกาสทองเลยที่จะได้รู้ถึงแนวความคิดและมุมมอง หรือข้อมูลเชิงลึกในการตัดสินใจว่าสำนักพิมพ์ไหนที่เหมาะกับเราที่สุด

              แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เขียนเองก็อย่าลืมไปว่า หากเรานั้นไม่ใช่คนมีชื่อเสียง, ไม่ได้มียศทางการศึกษา, ไม่ได้มีผู้ติดตามในFacebookเทียบเท่ากับNet Idolหรือมีประสบการณ์เขียนที่โฉกโชน เราเองก็อาจจะไม่ได้มีโอกาสมากนักที่สำนักพิมพ์ในดวงใจจะตอบรับกลับมา

มีพี่นักเขียนท่านนึงที่ประสบความสำเร็จทั้งในการเขียนพันทิฟและการเขียนหนังสือขายได้กล่าวไว้ว่า


ติดต่อสำนักพิมพ์
                   จริงๆแล้วมีหลายวิธีค่ะ อาทิเช่น การหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต หรือไปดูหนังสือประเภทที่เราเขียนที่ร้านหนังสือว่ามีสำนักพิมพ์ไหนตีพิมพ์หนังสือประเภทนั้นบ้าง จากนั้นลองโทรเข้าไปคุยกับเค้าดูค่ะว่าตอนนี้รับหนังสือแนวไหน, หัวข้อประมาณไหน, และสามารถส่งต้นฉบับได้ช่องทางใดบ้าง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่