คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
กรณีลูกจ้างชั่วคราว แต่หากลักษณะงานไม่เข้ามาตรา 118 วรรค 3 นั่นคือ มิใช่งานโครงการ งานที่ไม่ใช่ธุรกิจของนายจ้างหรืองานตามฤดูกาล มีอายุสัญญาจ้างไม่เกิน 2 ปีนั้น กล่าวง่ายๆคือ หากลักษณะงานของคุณคืองานในธุรกิจของนายจ้าง ถึงแม้นายจ้างทำสัญญาจ้างชั่วคราวเปนระยะเวลาแน่นอน ก็ต้องจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้างตามมาตรา 118 แต่ไม่ต้องจ่ายเงินแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (เพราะสัญญาจ้างได้ระบุกำหนดเวลาเลิกจ้างไว้ล่วงหน้าแล้ว) และไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเพราะเป็นการเลิกจ้างเนื่องจากสิ้นสุดสัญญา
สำหรับกรณีของท่านนั้น การนับอายุงานเพื่อรับเงืนชดเชย จะต้องรับรวมอายุงานทุกฉบับเข้าด้วยกันตามมาตรา 20 พรบ.คุ้มครองแรงงาน ความว่า
"มาตรา ๒๐ การที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานติดต่อกันโดยนายจ้างมีเจตนาที่จะไม่ให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิใดตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่านายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานในหน้าที่ใด และการจ้างแต่ละช่วงมีระยะเวลาห่างกันเท่าใดก็ตาม ให้นับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้น"
ดังนั้น ไม่ว่านายจ้างจะซอยสัญญาออกเป็นช่วงๆ กี่ฉบับด้วยกันก็ตาม แต่หากจะนับอายุงานเพื่อคำนวณเงินชดเชย ต้องนำอายุงานทุกฉบับมารวมกันทั้งหมดครับ
ส่วนเงินบอกกล่าวล่วงหน้า เนื่องจากกรณีนี้ ผมมองว่า นายจ้างทำสัญญาจ้างชั่วคราวไม่เป็น แต่หากจะเลิกจ้างก่อนหมดระยะเวลา ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างไปเสมือนทำงานถึงวันที่สิ้นสุดสัญญาครับ (กรณีนี้ใช้ค่าบอกกล่ามตามมาตรา 17 ไม่ได้ เพราะเป็นการทำสัญญาจ้างชั่วคราวซึ่งเขียนไว้แล้วในวรรค 1)
สำหรับกรณีของท่านนั้น การนับอายุงานเพื่อรับเงืนชดเชย จะต้องรับรวมอายุงานทุกฉบับเข้าด้วยกันตามมาตรา 20 พรบ.คุ้มครองแรงงาน ความว่า
"มาตรา ๒๐ การที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานติดต่อกันโดยนายจ้างมีเจตนาที่จะไม่ให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิใดตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่านายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานในหน้าที่ใด และการจ้างแต่ละช่วงมีระยะเวลาห่างกันเท่าใดก็ตาม ให้นับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้น"
ดังนั้น ไม่ว่านายจ้างจะซอยสัญญาออกเป็นช่วงๆ กี่ฉบับด้วยกันก็ตาม แต่หากจะนับอายุงานเพื่อคำนวณเงินชดเชย ต้องนำอายุงานทุกฉบับมารวมกันทั้งหมดครับ
ส่วนเงินบอกกล่าวล่วงหน้า เนื่องจากกรณีนี้ ผมมองว่า นายจ้างทำสัญญาจ้างชั่วคราวไม่เป็น แต่หากจะเลิกจ้างก่อนหมดระยะเวลา ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างไปเสมือนทำงานถึงวันที่สิ้นสุดสัญญาครับ (กรณีนี้ใช้ค่าบอกกล่ามตามมาตรา 17 ไม่ได้ เพราะเป็นการทำสัญญาจ้างชั่วคราวซึ่งเขียนไว้แล้วในวรรค 1)
แสดงความคิดเห็น
สอบถามเรื่องสิทธิลูกจ้างและค่าชดเชยในกรณีถูกเลิกจ้างหน่อยครับ
เนื่องจากผมกำลังจะตกงานเร็วๆนี้แบบไม่ทันตั้งตัว 555555 และบวกกับไม่ค่อยมีความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานเท่าไหร่ครับ รบกวนทีนะครับ
เริ่มเลยนะครับ
ผมเป็นลูกจ้างชั่วคราวที่บริษัทชื่อดังแห่งหนึ่งตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 - 15 กุมภาพันธ์ 2560 สัญญาจ้างงานมีระยะเวลา 1 ปี (ได้รับสิทธิประกันสังคม) จากนั้นมีการต่อสัญญาจ้างงานอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 - 15 กุมภาพันธ์ 2561 แต่ระหว่างนั้นมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาจ้างเนื่องจากอัพฐานเงินเดือนให้ผมใหม่ บริษัทจึงทำสัญญาจ้างงานขึ้นมาใหม่ พร้อมฐานเงินเดือนใหม่ โดยกำหนดระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2560 - 15 กุมภาพันธ์ 2561 แต่ว่าบริษัทมีการเลิกจ้างก่อนกำหนดโดยกล่าวล่วงหน้าในระยะเวลาไม่ถึง 1 เดือน ซึ่งทางบริษัทแจ้งผมว่ามีผลตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2560 ผมไม่ต้องมาทำงานแล้ว ซึ่งเลิกจ้างโดยบริษัทเอง ลูกจ้างชั่วคราวมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยเท่าไหร่ครับ และระยะในเวลาการทำงานทั้งหมดอ้างอิงจากสัญญาตัวสุดท้ายหรือว่ารวมทั้งหมด เพราะเคยอ่านเจอจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 หมวด 11 ค่าชดเชย มาตราที่ 118-122 ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน (ซึ่งระยะเวลาการทำงานทั้งหมดของผมก็ 1 ปี 8 เดือน แต่ถ้านับจากสัญญาจ้างตัวสุดท้ายมีแค่ 6 เดือน) เพราะบริษัทบอกจะให้เงินชดเชยผมแค่เดือนเดียว
ผมสงสัยว่าตกลงเขานับระยะเวลาการทำงานกันยังไง นับจากตัวสัญญาจ้างล่าสุดหรือนับจากระยะเวลาการทำงานทั้งหมดของผม
และผมมีสิทธิได้เงินแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามมาตรา 17 หรือไม่ครับ เพราะผมได้ออกจากงานก่อนระยะเวลาที่สัญญาจ้างกำหนด
ขอบคุณทุกคนที่มาช่วยตอบครับ ช่วยผมทีนะครับ