หลายคนที่เคยยื่นเรื่องเพื่อขอกู้มักจะเคยได้ยินกับคำว่า เครดิตบูโร หรือ ข้อมูลเครดิต เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการใช้ร่วมกับเอกสารแสดงรายได้อื่นๆ เพื่อให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินใช้วิเคราะห์ในการอนุมัติสินเชื่อ แต่คงมีหลายท่านเกิดความสงสัยว่าหน่วยงานใดเป็นคนทำ และเอาข้อมูลมาจากไหน จะขอดูได้อย่างไร?
วันนี้
K-Expert จะมาอธิบายแบบง่ายๆ ให้เพื่อนๆ เข้าใจกัน
ก่อนอื่นเลย ข้อมูลเครดิต ก็คือ ข้อมูลที่จะบันทึกประวัติการชำระหนี้ต่างๆ ของทุกๆ สถาบันการเงินที่เราได้มีการกู้เอาไว้ โดยจะเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต ซึ่งเก็บเฉพาะสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก (ส่วนใหญ่ก็เกือบทั้งหมดในประเทศนั่นแหละ) ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงตัวตนลูกค้า 2. ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติและประวัติการชำระ ที่สำคัญคือ ไม่ว่าเราจะเคยกู้มากี่ที่ มีบัตรเครดิตกี่ใบ บัญชีนั้นยังเปิดใช้ หรือไม่ได้ใช้แล้วก็ตาม วินัยในการผ่อนชำระเป็นอย่างไร ก็จะแสดงในรายงานข้อมูลเครดิตทั้งหมด
แล้วข้อมูลเครดิตดูอย่างไร ในรายงานข้อมูลเครดิตจะแสดงประวัติการชำระหนี้ย้อนหลังรวม 36 เดือน โดยข้อมูลล่าสุดจะแสดงอยู่ด้านบน และจะมีตัวเลขที่แสดงสถานะบัญชีในปัจจุบันกำกับอยู่ ความหมายของตัวเลขแต่ละตัวคือ
10 – ปกติ แปลว่า บัญชีนี้มีการชำระสินเชื่อตามปกติ จ่ายครบ จ่ายตรงตามเงื่อนไข ไม่มียอดค้างชำระหรือค้างชำระไม่เกิน 30 วัน
11 – ปิดบัญชี แปลว่า สินเชื่อบัญชีนี้ได้มีการปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ไม่มีหนี้ค้าง
12 – พักชำระหนี้ ตามนโยบายรัฐ แปลว่า ที่ผ่านมาเคยมียอดค้างชำระ แต่ตอนนี้เข้าโครงการพักชำระหนี้ตามนโยบายรัฐ จึงทำให้สถานะไม่เป็นการค้างชำระ
20 – หนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน แปลว่า เคยค้างชำระในอดีต และปัจจุบันก็ยังค้างอยู่ ซึ่งเป็นสถานะที่เป็นผลลบต่อตัวผู้เป็นลูกหนี้เจ้าของบัญชีนี้
ขอเช็กได้ที่ไหนบ้าง ใครที่ต้องการขอสินเชื่อและอยากที่จะเช็กข้อมูลเครดิตของตนเองก่อนยื่นกู้ สามารถขอตรวจสอบได้หลายหลายช่องทางทั้งทางสถาบันการเงินต่างๆ การขอผ่านโทรศัพท์ หรือ ไปรษณีย์ และการขอแบบออนไลน์ โดยหากสนใจสามารถเช็กช่องทางที่สะดวกได้ที่
https://www.ncb.co.th/check-your-credit-bureau/where-to-check-credit-bureau
หากมีประวัติหนี้ค้างชำระต้องทำอย่างไร รายงานข้อมูลเครดิตคล้ายกับบันทึกทางประวัติศาสตร์ของเรา แต่จะแสดงในมุมของการชำระหนี้เท่านั้น (เล่นใหญ่มวาก) เมื่อเราเกิดผิดนัดชำระหนี้ข้อมูลก็จะบันทึก ณ วันที่เราได้ผิดนัดชำระหนี้ และต่อมาเมื่อเราได้ชำระหนี้หมดแล้ว ข้อมูลก็จะแสดงว่าเราได้ชำระหนี้หมดแล้วแต่ก็จะไม่ได้ลบประวัติที่เคยผิดนัดชำระหนี้ออกไป จนกว่าข้อมูลนั้นจะถูกลบออกไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ 3 ปีหรือ 36 เดือนครับ
เพราะฉะนั้น ข้อมูลเครดิตจึงเป็นสิ่งที่เราต้องระวังในการผ่อนชำระหนี้ต่างๆ ไม่ให้เกิดการผิดนัดชำระ เพราะเราไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้และยังส่งผลในการยื่นขอกู้กับสถาบันการเงินต่างๆ อีกด้วย ทั้งนี้การพิจารณาให้สินเชื่อแก้ผู้ขอกู้นั้นจะขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์และผู้อนุมัติของแต่ละธนาคาร
คิดจะกู้ ต้องรู้จักเครดิตบูโร!
หลายคนที่เคยยื่นเรื่องเพื่อขอกู้มักจะเคยได้ยินกับคำว่า เครดิตบูโร หรือ ข้อมูลเครดิต เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการใช้ร่วมกับเอกสารแสดงรายได้อื่นๆ เพื่อให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินใช้วิเคราะห์ในการอนุมัติสินเชื่อ แต่คงมีหลายท่านเกิดความสงสัยว่าหน่วยงานใดเป็นคนทำ และเอาข้อมูลมาจากไหน จะขอดูได้อย่างไร?
วันนี้ K-Expert จะมาอธิบายแบบง่ายๆ ให้เพื่อนๆ เข้าใจกัน
ก่อนอื่นเลย ข้อมูลเครดิต ก็คือ ข้อมูลที่จะบันทึกประวัติการชำระหนี้ต่างๆ ของทุกๆ สถาบันการเงินที่เราได้มีการกู้เอาไว้ โดยจะเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต ซึ่งเก็บเฉพาะสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก (ส่วนใหญ่ก็เกือบทั้งหมดในประเทศนั่นแหละ) ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงตัวตนลูกค้า 2. ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติและประวัติการชำระ ที่สำคัญคือ ไม่ว่าเราจะเคยกู้มากี่ที่ มีบัตรเครดิตกี่ใบ บัญชีนั้นยังเปิดใช้ หรือไม่ได้ใช้แล้วก็ตาม วินัยในการผ่อนชำระเป็นอย่างไร ก็จะแสดงในรายงานข้อมูลเครดิตทั้งหมด
แล้วข้อมูลเครดิตดูอย่างไร ในรายงานข้อมูลเครดิตจะแสดงประวัติการชำระหนี้ย้อนหลังรวม 36 เดือน โดยข้อมูลล่าสุดจะแสดงอยู่ด้านบน และจะมีตัวเลขที่แสดงสถานะบัญชีในปัจจุบันกำกับอยู่ ความหมายของตัวเลขแต่ละตัวคือ
10 – ปกติ แปลว่า บัญชีนี้มีการชำระสินเชื่อตามปกติ จ่ายครบ จ่ายตรงตามเงื่อนไข ไม่มียอดค้างชำระหรือค้างชำระไม่เกิน 30 วัน
11 – ปิดบัญชี แปลว่า สินเชื่อบัญชีนี้ได้มีการปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ไม่มีหนี้ค้าง
12 – พักชำระหนี้ ตามนโยบายรัฐ แปลว่า ที่ผ่านมาเคยมียอดค้างชำระ แต่ตอนนี้เข้าโครงการพักชำระหนี้ตามนโยบายรัฐ จึงทำให้สถานะไม่เป็นการค้างชำระ
20 – หนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน แปลว่า เคยค้างชำระในอดีต และปัจจุบันก็ยังค้างอยู่ ซึ่งเป็นสถานะที่เป็นผลลบต่อตัวผู้เป็นลูกหนี้เจ้าของบัญชีนี้
ขอเช็กได้ที่ไหนบ้าง ใครที่ต้องการขอสินเชื่อและอยากที่จะเช็กข้อมูลเครดิตของตนเองก่อนยื่นกู้ สามารถขอตรวจสอบได้หลายหลายช่องทางทั้งทางสถาบันการเงินต่างๆ การขอผ่านโทรศัพท์ หรือ ไปรษณีย์ และการขอแบบออนไลน์ โดยหากสนใจสามารถเช็กช่องทางที่สะดวกได้ที่ https://www.ncb.co.th/check-your-credit-bureau/where-to-check-credit-bureau
หากมีประวัติหนี้ค้างชำระต้องทำอย่างไร รายงานข้อมูลเครดิตคล้ายกับบันทึกทางประวัติศาสตร์ของเรา แต่จะแสดงในมุมของการชำระหนี้เท่านั้น (เล่นใหญ่มวาก) เมื่อเราเกิดผิดนัดชำระหนี้ข้อมูลก็จะบันทึก ณ วันที่เราได้ผิดนัดชำระหนี้ และต่อมาเมื่อเราได้ชำระหนี้หมดแล้ว ข้อมูลก็จะแสดงว่าเราได้ชำระหนี้หมดแล้วแต่ก็จะไม่ได้ลบประวัติที่เคยผิดนัดชำระหนี้ออกไป จนกว่าข้อมูลนั้นจะถูกลบออกไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ 3 ปีหรือ 36 เดือนครับ
เพราะฉะนั้น ข้อมูลเครดิตจึงเป็นสิ่งที่เราต้องระวังในการผ่อนชำระหนี้ต่างๆ ไม่ให้เกิดการผิดนัดชำระ เพราะเราไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้และยังส่งผลในการยื่นขอกู้กับสถาบันการเงินต่างๆ อีกด้วย ทั้งนี้การพิจารณาให้สินเชื่อแก้ผู้ขอกู้นั้นจะขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์และผู้อนุมัติของแต่ละธนาคาร