ไขข้อข้องใจ!! ทำไมคนจึงไม่เข้าเว็บไซต์คุณ


คุณเคยสังเกตุไหมว่าหลายๆ เว็บไซต์เปิดให้บริการอยู่ บางเว็บไซต์อาจมีการออกแบบและจัดทำเว็บไซต์ไว้อย่างเริดหรูอลังการ หรือบางเว็บไซต์ใช้เงินนับแสนเพื่อจัดทำเว็บขึ้นมา แต่เหตุอันใดจึงไม่ค่อยมีคนเข้าเว็บไซต์เท่าไร วันนี้เราลองมาวิเคราะห์สาเหตุส่วนใหญ่ที่ไม่ค่อยมีคนเข้าเว็บไซต์กันเพราะอะไร

1. เว็บไซต์ไม่อัพเดท
บางเว็บไซต์ตั้งแต่เปิดมาไม่เคยเปลี่ยนแปลงหรือมีการเพิ่มเติมข้อมูลลงไปในเว็บไซต์เลย เมื่อมีลูกค้าเข้ามาในเว็บไซต์คุณแล้ว และวันหลังเค้ากลับเข้ามาในเว็บไซต์คุณอีก แล้วพบกว่าข้อมูลเว็บไซต์คุณไม่เปลี่ยนแปลง ก็ทำให้เค้าไม่อยากกลับมาเป็นครั้งที่สอง คุณควรหมั่นพยายามหาข้อมูลใหม่ๆ ใส่ลงไปในเว็บอย่างต่อเนื่อง และสิ่งที่ควรทำก็คือการมีเรื่องราวของสินค้าและบริการที่จะทำให้คนที่เข้ามาในร้านประทับใจ และรู้สึกว่าสินค้าและบริการนั้นจะช่วยผู้เยี่ยมชมได้อย่างไร พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือกับคนที่มาร้านได้ยามที่เค้าต้องการ ซึ่ง Website ก็ควรทำหน้าที่แบบนี้ได้ในการให้ข้อมูลที่ผู้บริโภคต้องการได้ตลอดเวลา และมีอะไรใหม่ๆ ให้เสมอ

2. ไม่มีที่ไป
หากเว็บไซต์ของคุณมีการแทรกลิงก์ต่าง ๆ หรือเอาลิงก์ของ Website ไปฝากไว้ตามที่ต่าง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นคือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่นการอัพเดทระบบ การที่เอาสินต้า ถอดเข้า ถอดออก ทำให้ลิงก์ต่าง ๆ ที่เว็บไซต์เคยทำไว้นั้นอาจจะใช้งานไม่ได้ หรือไม่มีการแสดงผลอีกต่อไป ทำให้คนที่เข้าที่เว็บไซต์นั้นรู้สึกไม่มีอะไร หรือรู้สึกเสียเวลาแล้วจะคิดว่า Website นี้ไม่ได้มีความใส่ใจในการดูแลเนื้อหาอีกด้วย ควรจะตรวจดูว่าลิงก์ต่าง ๆ นั้นเชื่อมโยงไปสู่ที่ไหน ถ้าลิงก์ไหนใช้การไม่ได้ หรือไม่มีสินค้า แล้วทำการแก้ไขลิงก์เหล่านั้นโดยการนำมาสู่หน้าสินค้าใกล้เคียงกันหรือเนื้อหาใกล้เคียงกันที่จะช่วยกลุ่มเป้าหมายได้ขึ้นมา แทนที่จะปล่อยให้เข้าไม่ได้ตามเดิมแล้วเสียลูกค้าไป

3. ไม่รองรับอุปกรณ์พกพา
การออกแบบเว็บไซต์ที่สนับสนุนบนอุปกรณ์พกพาถือเป็นเรื่องสำคัญมาก หากคุณไม่ได้คิดถึงการออกแบบบนอุปกรณ์อื่น ๆ มาเลย ทำให้แสดงผลได้ดีผ่านบนคอมพิวเตอร์เท่านั้น ซึ่งนี้เป็นเหตุผลที่กลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคที่เข้ามาแล้วจะออกไป เพราะการใช้งานผ่านบนอุปกรณ์อื่น ๆ นั้นยากมาก โดยเฉพาะมือถือที่หน้าจอมีจำกัดในการแสดงผล และการเคลื่อนที่ navigation ต่าง ๆ แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ ทำให้เว็บไซต์ที่ไม่ได้คิดถึงเรื่องตรงนี้จะสูญเสียลูกค้าออกไปมาก รวมถึงการโหลดของเว็บไซต์ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วย

4. ใช้ Keyword ไม่ตรงเป้าหมาย
Keyword นั้นเรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เว็บไซต์นั้นเจอหรือไม่เจอบนหน้า Google Search เลย หรือทำให้เกิดความสนใจของกลุ่มเป้าหมายขึ้นมาได้ ถ้า Keyword เหล่านั้นตรงใจกับคนที่กำลังค้นหาหรือกำลังต้องการคำตอบอะไรบางอย่างขึ้นมา นอกจากนี้ยังสามารถช่วยเรื่อง SEO ของเว็บไซต์ด้วยให้เข้าไปติดอันดับบน Google Search ขึ้นมาได้ ควรจะทำการบ้านเรื่อง Keyword ใน Google Adwords ว่าคนกำลังสนใจอะไร และอยากได้อะไรบน Google แล้วเอา Keyword เหล่านั้นมาปั้นบทความหรือเนื้อหาบนเว็บไซต์ต่อมา เพื่อให้ตอบโจทย์ทั้งเรื่อง SEO และเรื่องความต้องการของผู้บริโภคอีกด้วย

5. เว็บไซต์คู่แข่งน่าสนใจกว่า
บางครั้งหลายคนอาจจะรู้จักเว็บไซต์ของคุณ แต่เค้าพบว่าเว็บไซต์ของคุณแข่งคุณ ดูน่าสนใจกว่า และสามารถตอบสนองความต้องการได้มากกว่า เว็บไซต์คุณ เพียงแค่นี้ ลูกค้าก็จะไม่เข้าเว็บไซต์คุณและหันไปเข้าเว็บไซต์ของคู่แข่งคุณแทน ควรศึกษาคู่แข่งของคุณว่าเค้ามีจุดเด่น หรือจุดไหนที่เหนือกว่าและน่าสนใจกว่าเว็บของคุณ และเป็นจุดที่ลูกค้าส่วนใหญ่สนใจ คุณก็ปรับเว็บไซต์ให้มีลักษณะเดียวกัน แต่ต้องพยายามทำอะไรให้มากกว่า เหนือกว่า เจ๋งกว่าที่คู่แข่งคุณมี

6. ละเลยการสื่อสารในช่องทางอื่น
เพราะยุคที่ผู้คนใช้อินเตอร์เน็ตเสพย์คอนเทนต์ผ่านมือถือกันหมดแล้ว ยิ่งเฉพาะคนไทยที่เฉลี่ยแล้วมีสมาร์ทดีไวซ์มากกว่าหนึ่งเครื่อง ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของเราและหาข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ใช่แค่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ฉะนั้นการโต้ตอบกับคนที่เข้ามาในเว็บไซต์ได้ทันเวลา แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วก็จะทำให้ธุรกิจของเราได้เปรียบ

7. ไม่รู้จักสร้างสังคมออนไลน์บนเว็บไซต์
เพราะเว็บไซต์ไม่ใช่แค่เปิดอ่านแล้วเสพคอนเทนต์แล้วจบ แต่ยังเป็นพื้นที่ให้คนได้พูดคุย ไลค์ หรือแชร์ได้อย่างอิสระ ทำกิจกรรมให้เกิดความสัมพันธ์ในชุมชน และตัวธุรกิจของคุณด้วย การมี Social media หรือมีบทความบนเว็บไซต์ (Blog) ก็จะช่วยสร้างคอนเทนต์ให้เรา และยังทำให้เกิดชุมชนในเว็บไซต์ได้อีกด้วย


ที่มา: http://www.atimedesign.com/webdesign/brand-website/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่