ความเป็นผู้แทน "REPRESENTATION"

ความเป็นผู้แทน "REPRESENTATION"

ปัญหาการเมืองที่สำคัญปัญหาหนึ่งก็คือ คนไทยเรามักจะเข้าใจกันว่า ถ้ามีการเลือกตั้ง "ผู้แทนราษฎร" ก็คือ "ระบอบประชาธิปไตย"
เช่นคำโฆษณาให้ชวนเชื่อที่ว่า "อยากได้ประชาธิปไตยต้องไปเลือกตั้ง"
ถ้าเป็นผู้แทนที่มาโดยการแต่งตั้ง หรือวิธีการอย่างอื่นถือว่าเป็น "ระบอบเผด็จการ"

โดยสรุปก็คือเข้าใจว่า การปกครองแบบประชาธิปไตย (DEMOCRATIC GOVERNMENT) คือ "การปกครองทางผู้แทน" (REPRESENTATIVE GOVERNMENT)  หรือ  "รัฐบาลทางผู้แทน" และมีบางคนไปไกลถึงประชาธิปไตยทางผู้แทน และประชาธิปไตยทางตรงกันเลยก็มี
ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างมาก โดยไม่เข้าใจหลักวิชา "รัฐบาลจากการเลือกตั้ง" (ELECTED GOVERNMENT)  
                      
การปกครองทางผู้แทน หรือ รัฐบาลทางผู้แทนนั้น ไม่ได้หมายความว่า เลือกตั้งหรือไม่เลือกตั้ง
แต่หมายความว่า ใช้อำนาจอธิปไตยรักษาผลประโยชน์ของใคร ถึงจะเลือกตั้ง
แต่ถ้ารักษาผลประโยชน์ของกลุ่มผูกขาด ก็เป็น "ผู้แทนของกลุ่มผูกขาด" ไม่ได้เป็นผู้แทนของปวงชน
จึงเป็นการปกครองในระบอบเผด็จการ แต่ถึงจะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่รักษาผลประโยชน์ของปวงชน ก็เป็น "ผู้แทนของปวงชน"
                        
ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องมีความเข้าใจว่า "ผู้แทน" กับ "ความเป็นผู้แทน" นั้น มีจินตภาพ (CONCEPT) ไม่เหมือนกัน
เพราะคำว่า "ผู้แทน" นั้น มีทั้งผู้แทนตามกฎหมาย และผู้แทนตามความเป็นจริง
                          
ผู้แทนโดยนิตินัย เรียกว่า "ผู้แทนราษฎร" ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "REPRESENTATIVE" ผู้แทนโดยพฤตินัย เรียกว่า "ความเป็นผู้แทน"
ตรงกับ คำภาษาอังกฤษว่า "REPRESENTATION" ซึ่งเป็นคุณสมบัติของผู้แทนของประชาชนที่แท้จริง
                              
สาเหตุสำคัญที่บ้านเมืองของเรา เป็นประชาธิปไตยไม่ได้สักที ก็เพราะเรามีแต่ผู้แทนตามกฎหมาย ซึ่งเป็น "ผู้แทนกำมะลอ"
ไม่ใช่ผู้แทนโดยพฤตินัย คือ ไม่มีความเป็นผู้แทนของประชาชนเลย นั่นเอง
เราคนไทยถูกชนชั้นผู้ปกครองหลอกให้ไปเอา "ผู้แทนกำมะลอ" มาปกครองบ้านเมืองมานานถึง 80 กว่า ปีแล้ว ก็ยังไม่รู้ตัวกันอีก
ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้แทนของพรรคไหนก็ตาม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่