พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล - ผู้พันปราง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ชุดที่ 21: แคนดิเดตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

กระทู้สนทนา
#ประวัติของปรางเสนอให้เพื่อนสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ประกอบการพิจารณาลงคะแนนหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ค่ะ 
พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนักการเมืองสตรีชาวไทย ได้รับเลือกตั้งเมื่อปี 2544 นักเรียนโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร รวมทั้งเป็นนายทหารหญิงคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร 

#ผลงาน การเสนอแนวทางการยกเลิกการเกณฑ์ทหารแบบเบ็ดเสร็จ เป็น แบบสมัครใจบางส่วนซึ่งใช้ในประเทศไทยในปัจจุบัน ขณะดำรงตำแหน่งงโฆษกกระทรวงกลาโหม คนที่ 1 

พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล เสนอให้  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น ใช้อำนาจตาม วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2539 ทำให้ทหารเกณฑ์ได้รับค่าตอบแทน

โฆษกกระทรวงกลาโหมคนที่ 1ระหว่าง ปี2538 ถึง ปี 2540 ในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา ประสบความสำเร็จในการยกเลิกการเกณฑ์ทหารแบบเบ็ดเสร็จ

นอกจากนี้พันโทหญิงฐิฏา ประสบความสำเร็จในการผลักดันนโยบายดังเพื่อยกระดับกองทัพไทยในศตวรรษที่21 คือ

1) การแต่งตั้ง นายพลหญิงเพื่อความเท่าเทียมกันในสาขาวิชาชีพ เช่นเดียวกับนานาอารยประเทศ ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคนแรก เมื่อ 23 เมษายน 2540 

2)โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดของข้าราชการกระทรวงกลาโหม เพื่อปรับลดขนาดของข้าราชการและเพิ่มประสิทธิภาพ ตามมติคณะรัฐมนตรี 19 สิงหาคม 2540 เป็นระเบียบปฏิบัติในกองทัพ จนถึงปัจจุบัน

ปี 2540  พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุลเสนอการปฏิรูประบบทหารเกณฑ์

ปีพศ. 2544  พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล เป็นนายทหารหญิงคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย

ในปี 2544-2545 พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล เป็นผู้ดูแลการก่อตั้ง โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง ศูนย์วิวัฒน์พลเมือง กระทรวงกลาโหม
(สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรทั้งแบบเขต และบัญชีรายชื่อ ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย มีเพียง ชิงชัย มงคลธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรระบบบัญชีรายชื่อ ขออยู่ฟื้นฟู พรรคความหวังใหม่/ และ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรบัญชีรายชื่อ ขอไปฟื้นฟู พรรคมวลชน/ ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุลสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรบัญชีรายชื่อ ย้ายไปอยู่พรรคประชาธิปัตย์) ตามกรอบของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541

#ประวัติ
พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2509 มีชื่อเล่นว่า ปราง เป็นบุตรีของ คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล นายกสมาคมรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนที่  8 .นายกสมาคมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนที่ 9 ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)คนที่ 5, ประธานองค์การรถไฟฟ้ามหานครคนที่ 3 ,รองนายกรัฐมนตรี 2537,2539-2540,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 2538-2540 เนื่องจากคุณย่าเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ตอนที่คุณย่าเสียเมื่ออายุ 105 ปี คุณพ่อจึงเช้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์หลายปี 

นอกจากนี้ ท่านปู่ ศาสตราจารย์ พันตรี หม่อมเจ้าลักษณเลิศ ชยางกูร(ท่านตาของดร.กอบศักดิ์ ชุติกุล) ผู้มีศักดิ์เป็นพี่เขยของคุณย่า ได้ทำหน้าที่บิดาในงานมงคลสมรส ระหว่างคุณพ่อสุขวิช และ คุณแม่ผิวผ่อง ณรงค์เดช รังสิตพล ซึ่งเป็นชาวอุบลราชธานีโดยกำเนิด เป็นน้องสาวของคุณลุงประสิทธิ์ ณรงค์เดชอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จังหวัดอุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ และ ประธานธนาคารอาคารสงเคราะห์ ตั้งแต่รัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์,คุณลุงเกษม ณรงค์เดช บิดาของ กฤษณ์ ณพ และ กรณ์ เป็นพี่ชายอีกคน 

คุณแม่มีพี่และน้องผู้ชายอีก4 คน คือ บิดาของพลเอกชยุติ สุวรรณมาศ สมาชิกวุฒิสภาบิดาของพันตรี ธิรุตม์ สุวรรณมาศ สามีของ จุฑาวรรณ ไกรฤกษ์ และปู่ของ พระพรพลหรือพระโบ๊ต แห่งวัดพระรามเก้า อีก3 คนเป็นบิดาของชญานันท์ สุวรรณมาศ  ภักดีจิตต์รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ   นีร สุวรรณมาศ  และ มชณต สุวรรณมาศ ตามลำดับ  และ คุณน้าดวงใจ สุวรรณมาศ ภักดีภูมิ ภรรยา พลตำรวจเอกโกวิท ภักดีภูมิประธานสภามวยโลกมวยไทยคนปัจจุบัน อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดอ่างทอง เป็นน้องสาวคนเดียวของคุณแม่ มีบุตรชายคือ รัฐพล ประธานกรรมการ บริษัทไปรษณีย์ไทย พันเอกธนพล กรรมการบริหารสภามวยโลก (WBC) และ เลิศพล นักกอล์ฟอาชีพและศิลปินวาดภาพ 

ข้าพเจ้ามีน้องสาวและน้องชายอย่างละ 1 คนคือ

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง นาวาตรีหญิง ดร. ฐิติพร รังสิตพล สุวัฒนะพงศ์เชฏ มีชื่อเล่นว่า ปุ้ม อาจารย์ประจำภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล รามาธิบดี สมรสกับ นายแพทย์สุบรรณ สุวัฒนะพงศ์เชฎ กุมารแพทย์ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท น้องชายนายหัสดิน สุวัฒนะพงศ์เชฏ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมภาคอิสาน มีบุตรชาย 1 คน วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.ณัฐพล รังสิตพล มีชื่อเล่นว่า ปั้น เป็นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี2565 และ ประธานธนาคาร SME สมรสกับ นางไรรัตน์ สุวรรณรักษ์  ธิดา นางทิพย์สุดา และ รองศาสตราจารย์นายแพทย์ จินดา สุวรรณรักษ์ นางทิพย์สุดา สุวรรณรักษ์ เป็น ธิดาของศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชัชวาล โอสถานนท์ และ นางดุษฎี พี่สาวของ อดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน

ปี 2534 -2543  สมรสกับ พลตำรวจตรี ขจรศักดิ์ เกรียงศักดิ์พิชิต ตำรวจท่องเที่ยว  ผู้บังคับการวิทยาลัยการตำรวจ  กองบัญชาการศึกษา (28 ธ.ค. 2554-30 ก.ย.2556) รองผู้บัญชาการการผศึกษา 2557  หลานชาย พลโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต อดีตแม่ทัพกองทัพภาคอีสานในสงครามไทย-อินโดจีน, อดีตผู้บัญชาการทหารบก, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, อดีตสมาชิกคณะราษฎร และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 (ส.ส.ประเภทที่ 2) ในปี พ.ศ. 2476  นายตำรวจติดตาม พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และ รัฐบุรุษ ในขณะดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี

ปี 2548 สมรส กับ นาย สิทธินันท์ มานิตกุลอดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ บุตรชายคุณพ่อเนตร มานิตอดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี(ฝ่ายบริหาร) ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยกำเนิด

#การศึกษา

โรงเรียนอนุบาลบ้านเด็ก
โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย 
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (สอบเทียบ)
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จาก คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคโลราโด University of Colorado at Boulder (แลกเปลี่ยน)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยดัลลัส University of Dallas 

#การรับราชการทหาร

พุทธศักราช 2531-2532 ร้อยตรี - ร้อยโท แผนกทูตทหาร กองวิเทศสัมพันธ์ กรมข่าวทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด
พุทธศักราช 2532-2538 ร้อยเอก - พันตรี กองการฑูตฝ่ายทหารต่างประเทศ สำนักวิเทศสัมพันธ์ กรมข่าวทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด
พุทธศักราช  2538-2540 โฆษกกระทรวงกลาโหมคนที่ 1 
พุทธศักราช ลาออกจากราชการทหาร 2540

#การทำงานการเมือง

รองโฆษกพรรคความหวังใหม่ พ.ศ.2540
รองเลขาธิการ พรรคความหวังใหม่ พ.ศ.2542
ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคความหวังใหม่
ได้รับตำแหน่งเป็น กรรมาธิการทหาร กรรมาธิการสิทธิเด็ก สตรี และเยาวชน สภาผู้แทนราษฏร
พ.ศ.2545 พรรคความหวังใหม่ ได้ยุบพรรคเข้ารวมกับพรรคไทยรักไทย  ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย จึงย้ายมาเป็นฝ่ายค้านสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 
พ.ศ.2545ได้รับตำแหน่งเป็นรองประธานกรรมาธิการ กิจการสภา และ กรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฏร
พ.ศ.2547ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ 
#ผลงานการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในพรรคประชาธิปัตย์
ผลงานขณะดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ คือเสนอระเบียบปฏิบัติพรรค ในการการหักเงินของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร แบบไม่แบ่งเขต เป็นระเบียบบังคับพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อความเสมอภาค ระหว่าง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร 2 ประเภท

#พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุลมี

ผลงานในฐานะผู้ช่วยคุณพ่อสุขวิช รังสิตพล ด้านการแก้ไขปัญหาระบบคมนาคม  และ การปฏิรูปประเทศไทยด้วย การอภิวัฒน์การศึกษาไทย 2538 ซึ่งหัวใจแห่งความสำเร็จคือ การกระจายอำนาจให้สถานศึกษา มีอำนาจในการบริหาร จัดการงบประมาณ บรรจุครูและบุคลากรการศึกษา จัดซื้อ จัดจ้าง โดยมีผู้ปกครอง และคนในท้องถิ่นเข้าร่วม ในการตัดสินใจกำหนดอนาคตของบุตรหลานตนเอง  ส่งผลให้สามมารถจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8  ด้วยกระบวนทัศน์ใหม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ได้สำเร็จ และเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  2540

การแก้ไขปัญหาจราจร ในกรุงเทพมหานครด้วย ถนนขนรถ และ รถขนคน ในยุคซึ่งกรุงเทพมหานครเป็นเมืองรถติดที่สุดในโลก 
ผู้อาศัยในกรุงเทพมหานครมีชีวิต อย่างไร หนังสือครอบครัวกลางถนนซึ่งได้รับรางวัลซีไรต์บรรยายได้ดี เพราะความจริง คือครอบครัวเขาแทบจะใช้เวลา 24 ชั่วโมงในรถ  ยุคที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ตั้งมา 21ปี มีระยะทาง 27.1 กิโลเมตร

1 ) ใช้กฎหมายและศาลยุติธรรมเป็นที่พึ่งระงับความรุนแรงระหว่างประชาชนผู้เดือดร้อน และ เจ้าหน้าที่บริษัททางด่วนสำเร็จ สามารถเปิดทางด่วนพระราม9 แจ้งวัฒนะได้ใน เวลา 102 วัน

 2) แก้ไขแบบถนนรามอินทรา-อาจณรงค์ ให้มีทางเลียบ ลดราคาค่าก่อสร้างและลดระยะเวลาการก่อสร้างเหลือเพียง 10 เดือน ทางสายมีปัญหาซึ่งบิดาของข้าพเจ้าได้รับเชิญมาแก้ไข พลเอกชาติชายเป็นผู้เซ็นสัญญา ราคา กิโลเมตรละประมาณ ๑๒๐๐ล้านบาท และระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี

3) สะพานยาวที่สุดในโลกระหว่างปี 2000 ถึง 2004 ปัจจุบัน ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางด่วนบางนาสร้างในราคามาตราฐานโลกคือต่ำกว่ากิโลเมตรละ 500 ล้านบาท ด้วยสัญญาเเบบเทอร์นคีย์มาตรฐานโลก

ทางพิเศษบางนาได้รับรางวัลกินเนสบุ๊ค และ สะพานนับเป็นเเลนด์มาร์คด้านสถาปัตยกรรม ส่งเสริมความความเจริญของโลกสมัยใหม่ ด้วยการมอบการเดินทางสะดวกรวดเร็วโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ และจะคงอยู่เป็นตัวเเทนของสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีของยุคโลกาภิวัฒน์ไปอีกนับ 100 ปี

4 ) แผนแม่บทการทางพิเศษแห่งประเทศไทย รายละเอียดในรายงานการประชุม คณะกรรมการจัดการจราจรทางบก ครั้งที่ 15 / 2537 วันที่ 20 ตุลาคม 2537  

5) ปี2536การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้วางโครงการการจัดสร้างระบบ ขนส่งใน 8 หัวเมืองใหญ่ คือ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลา ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา และชลบุรี โดยมีแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่ 2536 เป็นรูปธรรม (ศึกษาความเป็นไปได้ พร้อมทั้งออกแบบเส้นทางเป็นระบบใต้ดิน เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร และส่งเสริม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

6)ขอมติคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ 17 พฤษภาคม 2537 พื้นที่ ❝ต้อง❞ สร้างระบบใต้ดิน และ พื้นที่ ❝ควร❞ สร้างระบบใต้ดิน เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม และ แผนแม่บทระบบ ขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล เมื่อ 27 กันยายน 2537 การจัดทำแผน แม่บทฉบับแรก พ.ศ. 2537 ตามโครงการแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (MTMP) ของ องค์การรถไฟฟ้ามหานครเสนอโครงข่ายระยะทาง 135 กม. และ ระบบ ขนส่งมวลชนขนาดรองเพื่อเสริมการเข้าถึงของระบบหลัก 11โครงการ ระยะทาง 206 กม. รวมเป็น 341 กม.

7)ขอความร่วมมือสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการศึกษาความเป็นไปได้โครงการรถไฟความเร็วสูง 2537  ตามภารกิจการจัดทางพิเศษทางถนน ทางราง และทางน้ำของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

8 ) แผนแม่บททางหลวง 13 สาย 4150 กิโลเมตร คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อ 22 เมษายน 2540
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่