เช้านี้มีโอกาสดู เจ้าชายน้อย การ์ตูนอนิเมชันที่สร้างจาก วรรณกรรมแปล ชื่อเดียวกัน “เจ้าชายน้อย” หนังสือที่ผมได้ยินมาตั้งแต่ตอนทำกิจกรรมสมัยเรียนมหาวิทยาลัย แต่ผมไม่เคยอ่าน ทั้งที่ตอนนี้ก็มีหนังสือเล่มนี้อยู่ที่บ้าน เพราะเป็นหนึ่งในหนังสือที่ภรรยาผมอ่านให้ลูกฟังก่อนนอน
หลังจากดูจบ มีความคิดแวบขึ้นมาหลายอย่างจนต้องเขียนเก็บไว้ หลายสิ่งที่รู้สึกได้ สะท้อนอะไรหลายอย่างในสภาพสังคมปัจจุบัน เกิดคำถามกับตัวเอง ว่าลืมความสุขวัยเด็กไปตั้งแต่เมื่อไร ความสุขที่ไม่ต้องกังวล หรือสามารถทำอะไร อะไร ได้โดยไม่ต้องใส่เหตุผลมากมาย และทำด้วยความรู้สึกสนุก เต็มที่ พร้อมจะลงไปลุย ปลดปล่อยพลังลงไปได้อย่างไม่ต้องยั้ง เกิดความรู้สึกปลดปล่อย ให้อภัยได้ง่าย ง่าย กับความผิดพลาด อภัยให้กับการถูกกระทำได้อย่างแปลกประหลาด เพราะบนความเป็นจริงทุกสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดแล้วมันก็ดับไป ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็น สิ่งมีชีวิต หรือ ความรู้สึก สำหรับเด็กคงเป็นเรื่องง่ายเพราะไม่ได้ยึดติดกับอะไร ไม่ได้ยึดถือตัวตน เมื่อทำก็ทำไปจนเหนื่อยแล้วก็เลิกไป หากโกรธเมื่อสะสางความรู้สึกกันแล้วก็จบไปกลับมาเป็นเพื่อนกันใหม่ได้ แต่เมื่อโตขึ้นความเป็นตัวตนที่มากขึ้นกลับทำให้ปัญหาหลายอย่างยิ่งใหญ่ขึ้นทั้งที่เป็นเรื่องเล็กนิดเดียว เพียงเพราะการยึดถือตัวตน ทำไมต้องเป็นฉัน ทำไมเค้าได้ฉันไม่ได้ ทำไมฉันทำไม่ได้ ทำไมฉันต้องขอโทษก่อน ทำไม ทำไม และทำไม
ปัจจุบันสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม เราเติบโตขึ้นและกระทำสิ่งใดใดลงไปด้วยความรู้สึกเป็นผู้ใหญ่ ดูเหมือนจะเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นเพราะใช้เหตุผล ด้วยคำอ้างจากวัย ทั้งที่จริงแล้วก็เป็นอารมณ์ที่อยากได้อยากเอาชนะ ถาโถมใส่กันเพื่อให้ได้มาเพื่อความพึงพอใจ เพียงแค่อยากจอดรถให้เร็วขึ้นจนต้องให้คนมาจองคิว จอดรถในจุดจอดคนพิการทั้งที่เป็นคนปกติ โต้แย้งเหน็บแหนมคนอื่น เพียงเพราะปัญหาที่กระทบสถาบันทั้งที่เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องบุคคลซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับเรา แต่กลับเอาตัวเราเข้าไปผูกโยง นึกถึงเพียงความรู้สึกของตัวเอง โดยไม่ได้สนใจความรู้สึกของผู้ถูกกระทำที่แท้จริง
สงครามเมื่อรบจบได้มาซึ่งชัยชนะก็จริง แต่เคยมองถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นเพื่อสนองอารมณ์ของคนไม่กี่คนกันหรือไม่
บางครั้งการปล่อยอะไร อะไร ให้ผ่านไปก็เป็นการจัดการปัญหาแบบหนึ่ง การโยนไฟ ใส่กัน ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น ไม่ต่างกับการทำสงคราม มีคนชนะ แต่ไม่เหลืออะไรนอกจากความเจ็บปวด บาดเจ็บ และล้มตาย
บางทีการกลับไปเป็นเด็ก ทำตามความรู้สึกอย่างแท้จริง ตรงไปตรงมา อาจจะทำให้อะไรอะไรดีขึ้นก็ได้
ลองใช้หัวใจมอง แล้วจะเห็นความจริง อย่างที่ควรจะเป็น
มองความจริงด้วยหัวใจ แรงบันดาลใจจาก เจ้าชายน้อย
เช้านี้มีโอกาสดู เจ้าชายน้อย การ์ตูนอนิเมชันที่สร้างจาก วรรณกรรมแปล ชื่อเดียวกัน “เจ้าชายน้อย” หนังสือที่ผมได้ยินมาตั้งแต่ตอนทำกิจกรรมสมัยเรียนมหาวิทยาลัย แต่ผมไม่เคยอ่าน ทั้งที่ตอนนี้ก็มีหนังสือเล่มนี้อยู่ที่บ้าน เพราะเป็นหนึ่งในหนังสือที่ภรรยาผมอ่านให้ลูกฟังก่อนนอน
หลังจากดูจบ มีความคิดแวบขึ้นมาหลายอย่างจนต้องเขียนเก็บไว้ หลายสิ่งที่รู้สึกได้ สะท้อนอะไรหลายอย่างในสภาพสังคมปัจจุบัน เกิดคำถามกับตัวเอง ว่าลืมความสุขวัยเด็กไปตั้งแต่เมื่อไร ความสุขที่ไม่ต้องกังวล หรือสามารถทำอะไร อะไร ได้โดยไม่ต้องใส่เหตุผลมากมาย และทำด้วยความรู้สึกสนุก เต็มที่ พร้อมจะลงไปลุย ปลดปล่อยพลังลงไปได้อย่างไม่ต้องยั้ง เกิดความรู้สึกปลดปล่อย ให้อภัยได้ง่าย ง่าย กับความผิดพลาด อภัยให้กับการถูกกระทำได้อย่างแปลกประหลาด เพราะบนความเป็นจริงทุกสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดแล้วมันก็ดับไป ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็น สิ่งมีชีวิต หรือ ความรู้สึก สำหรับเด็กคงเป็นเรื่องง่ายเพราะไม่ได้ยึดติดกับอะไร ไม่ได้ยึดถือตัวตน เมื่อทำก็ทำไปจนเหนื่อยแล้วก็เลิกไป หากโกรธเมื่อสะสางความรู้สึกกันแล้วก็จบไปกลับมาเป็นเพื่อนกันใหม่ได้ แต่เมื่อโตขึ้นความเป็นตัวตนที่มากขึ้นกลับทำให้ปัญหาหลายอย่างยิ่งใหญ่ขึ้นทั้งที่เป็นเรื่องเล็กนิดเดียว เพียงเพราะการยึดถือตัวตน ทำไมต้องเป็นฉัน ทำไมเค้าได้ฉันไม่ได้ ทำไมฉันทำไม่ได้ ทำไมฉันต้องขอโทษก่อน ทำไม ทำไม และทำไม
ปัจจุบันสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม เราเติบโตขึ้นและกระทำสิ่งใดใดลงไปด้วยความรู้สึกเป็นผู้ใหญ่ ดูเหมือนจะเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นเพราะใช้เหตุผล ด้วยคำอ้างจากวัย ทั้งที่จริงแล้วก็เป็นอารมณ์ที่อยากได้อยากเอาชนะ ถาโถมใส่กันเพื่อให้ได้มาเพื่อความพึงพอใจ เพียงแค่อยากจอดรถให้เร็วขึ้นจนต้องให้คนมาจองคิว จอดรถในจุดจอดคนพิการทั้งที่เป็นคนปกติ โต้แย้งเหน็บแหนมคนอื่น เพียงเพราะปัญหาที่กระทบสถาบันทั้งที่เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องบุคคลซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับเรา แต่กลับเอาตัวเราเข้าไปผูกโยง นึกถึงเพียงความรู้สึกของตัวเอง โดยไม่ได้สนใจความรู้สึกของผู้ถูกกระทำที่แท้จริง
สงครามเมื่อรบจบได้มาซึ่งชัยชนะก็จริง แต่เคยมองถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นเพื่อสนองอารมณ์ของคนไม่กี่คนกันหรือไม่
บางครั้งการปล่อยอะไร อะไร ให้ผ่านไปก็เป็นการจัดการปัญหาแบบหนึ่ง การโยนไฟ ใส่กัน ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น ไม่ต่างกับการทำสงคราม มีคนชนะ แต่ไม่เหลืออะไรนอกจากความเจ็บปวด บาดเจ็บ และล้มตาย
บางทีการกลับไปเป็นเด็ก ทำตามความรู้สึกอย่างแท้จริง ตรงไปตรงมา อาจจะทำให้อะไรอะไรดีขึ้นก็ได้
ลองใช้หัวใจมอง แล้วจะเห็นความจริง อย่างที่ควรจะเป็น