เพราะอะไรวัยรุ่นถึงชอบความเสี่ยง : เพราะสมองของวัยรุ่นยังไม่พัฒนามากพอ



ทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับเกี่ยวกับประสาทวิทยาศาสตร์ชี้ว่า คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าจะมีการพัฒนาอย่างช้าๆและมีการเชื่อมโยงไปยังสมองไม่มากนัก ซึ่งอธิบายได้ว่าวัยรุ่นหลายคนดูเหมือนจะมีความหุนหันผันแล่นและมีพฤติกรรมที่ชอบความเสี่ยง งานเขียนนี้ก็ได้มีการตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Developmental Cognitive Neuroscience

นักวิจัยหลายคนได้ทำการวิเคราะห์หลักฐานที่อยู่เบื้องหลังซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ที่พบได้ว่า พฤติกรรมของวัยรุ่นที่แสดงออกถึงความหุนหันผันแล่นนั้นทำให้พวกเขาหลงผิดและขาดความยับยั้งชั่งใจ ในทางกลับกันก็มีข้ออธิบายที่ออกมาว่า การที่วัยรุ่นมีความหุนหันผันแล่นนั้นก็มาจากกิเลสตัณหาที่เป็นตัวสร้างพฤติกรรมให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับโลก

“ไม่นานมานี้ก็มีการอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมของวัยรุ่นว่า เป็นฮอร์โมนเร่งออกมาอย่างพลุ่งพล่าน” กล่าวโดยหัวหน้าวิจัย Daniel Romer “ตอนนี้จะเห็นได้ว่าคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าของวัยรุ่นยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทางด้านนักประสาทวิทยาศาสตร์ก็ได้เข้าใจเรื่องนี้ดีว่า วัยรุ่นที่ชอบความเสี่ยงแสดงให้เห็นถึงสมองที่กำลังพัฒนาอยู่ แต่พฤติกรรมต่างๆเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่า สมองของพวกเขามีข้อบกพร่อง

ในบทความต่างๆที่มีการโพสต์ลงทางออนไลน์นั้น นักเขียนหลายคนก็ได้อธิบายว่า ทฤษฎีการพัฒนาของสมองล้มเหลวในการประเมินความเสี่ยงที่มนุษย์ได้แสดงออกมาในแต่ละรูปแบบ วัยรุ่นหลายคนเองก็เป็นพวกหลงใหลในความเพ้อฝันและชอบแสวงหาความตื่นเต้น เป็นที่รู้กันดีว่าวัยรุ่นมีความอยากรู้อยากเห็นอะไรใหม่ๆ ซึ่งเป็นจุดพีคมากในช่วงที่ยังเป็นวัยรุ่น แต่วัยรุ่นหลายคนที่มีแนวโน้มชอบอยู่คนเดียวก็จะต้องประสบปัญหาทางด้านสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหมือนกับประสบปัญหาภาวะทางจิตหรือเสพติดการพนัน ความจริงแล้วผู้เขียนหลายคนก็ได้อธิบายว่า สารสื่อประสาทโดพามีนของวัยรุ่นจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัยรุ่นมีความอยากรู้อยากเห็นอะไรใหม่ๆ เช่นกันก็เป็นตัวสนับสนุนการทำงานของสมองให้มีการควบคุมและเรียนรู้จากประสบการณ์ในชีวิต

“สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ วัยรุ่นหลายคนยังอ่อนด้อยประสบการณ์อยู่มาก” Romer กล่าว “ดังนั้นพวกเขาจึงพยายามที่จะลองทำอะไรใหม่ๆเป็นครั้งแรก ไม่เหมือนเรียนรู้ว่าจะขับรถอย่างไร เช่นกันพวกเขาก็ชอบลองยาเสพติดชนิดต่างๆ คิดว่าวันนี้จะแต่งกายยังไงและจะควงเพื่อนคนไหนไป ในช่วงที่พวกเขายังเป็นคนหนุ่มสาวนั้น การทำแบบนี้มักจะนำไปสู่ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมากมาย แต่เมื่อคุณพยายามที่จะทำอะไรเป็นครั้งแรก บางครั้งก็จะนำไปสู่ความผิดพลาดครั้งใหญ่เช่นกัน นักวิจัยหลายคนได้ทำการพิสูจน์เรื่องนี้แล้วพบว่า วัยรุ่นส่วนใหญ่ขาดความยับยั้งชั่งใจ เนื่องจากอยากรู้อยากลอง”


การพัฒนาของสมองกับการรับมือความเสี่ยง

บทความของ Romer กับคณะของเขาก็ได้กล่าวว่า ทัศนคติของวัยรุ่นที่มีต่อความเสี่ยงจะเป็นตัวยกระดับพฤติกรรมการแสดงออกของวัยรุ่นมากขึ้น “วัยรุ่นส่วนใหญ่” นักวิจัยเขียน “ในช่วงนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมโดยที่พวกเขาไม่ได้คิดในเรื่องของความไว้วางใจ,โรคติดต่อทางเพศ,การตั้งครรภ์,การฆาตกรรม,แรงกดดัน,การฆ่าตัวตาย,หรือการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

วัยรุ่นส่วนหนึ่งก็มีพฤติกรรมที่หุนหันผันแล่นและมีการยับยั้งชั่งใจในระดับที่ต่ำ ซึ่งส่งผลต่อความเสี่ยงทางด้านสุขภาพตามมาอีก วัยรุ่นหลายคนที่มีปัญหาในการยับยั้งชั่งใจบ่อยครั้งก็แสดงให้เห็นในช่วงอายุ 4 หรือ 5 ขวบ และพวกเขาก็ไม่สนใจถึงความเสี่ยงที่เป็นอันตรายชีวิตตอนที่เป็นวัยรุ่นหรือวัยสูงอายุ จะเห็นได้จากอัตราการได้รับบาดเจ็บกับเจ็บไข้ได้ป่วยไม่ว่าจะเป็นจากอุบัติเหตุทางรถยนต์,การใช้ความรุนแรง,และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผู้เขียนกล่าว

“การวิจัยต่อมาก็เป็นที่ชัดเจนมากขึ้นว่า จะต้องทำความเข้าใจกับการพัฒนาของสมองในช่วงที่เป็นวัยรุ่นที่มีความเสี่ยงที่จะทำอะไรต่างๆ การพัฒนาของสมองที่ผิดปกติไปจากเดิมก็มีส่วนเชื่อมโยงกับเงื่อนไขปัจจัยทางด้านระบบประสาท” กล่าวโดยผู้เขียนรวม Theodore Satterthwaite “งานวิจัยนี้จะช่วยให้พวกเราทำความเข้าใจไม่เพียงแค่ในเรื่องของการเติบโตของวัยรุ่นในแต่ละช่วงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วย”


ทางเลือกอย่างอื่น

ผู้เขียนหลายคนได้ใช้รูปแบบทางเลือกอื่นๆที่มุ่งเน้นไปในเรื่องของการรับมือความเสี่ยงกับประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาในวัยรุ่น รูปแบบนี้ก็ช่วยอธิบายถึงประโยชน์ในการรับมือความเสี่ยงของวัยรุ่น “โดยมีการประยุกต์ใช้กับประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ที่จะช่วยให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้ดี” สุดท้ายประสบการณ์ก็จะเป็นตัวเปลี่ยนความคิดผู้คนให้เข้าใจถึงความเสี่ยง ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญและทำให้รับมือกับความเสี่ยงต่างๆได้มากขึ้น

“การวิเคราะห์อภิมานได้ชี้ว่า การคิดของแต่ละคนเกี่ยวกับความเสี่ยงกับผลตอบแทนที่ได้รับตอนที่เป็นผู้ใหญ่และการประเมินการพัฒนาทางสมองจะต้องมีแนวคิดใหม่ๆเข้ามาช่วยวิเคราะห์เพื่อช่วยให้วัยรุ่นรับมือกับความเสี่ยงมากขึ้น” กล่าวโดยผู้เขียนร่วม Valerie Reyna

Romer ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “เหตุผลที่วัยรุ่นหลายคนชอบแสวงหาอะไรใหม่ๆและคิดเพ้อฝันนั้น ก็เป็นการสร้างประสบการณ์ให้กับพวกเขาเพื่อที่จะทำให้พวกเขาทำหน้าที่ได้ดีขึ้นในช่วงที่เจอกับอุปสรรค์ต่างๆ และต่อมาพวกเขาก็ใช้ความเสี่ยงในการตัดสินใจได้ว่า ‘ฉันควรที่จะรับงานนี้หรือไม่?’ หรือ ‘ฉันควรที่จะแต่งงานกับคนนี้ดีหรือเปล่า?’ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าช่วงที่มีการพัฒนาตัวเองนี้ถือเป็นความท้าทายสำหรับผู้ปกครองเป็นอย่างมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสมองของวัยรุ่นจะมีข้อบกพร่องหรือทำให้เกิดความยับยั้งชั่งใจขึ้นมาแต่อย่างใด”


ผู้แปล : Mr.lawrence10

ที่มา : sciencedaily.com
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่