นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ได้ค้นพบว่า การออกกำลังสมองสามารถเพิ่มความจำและพัฒนาทางด้านอารมณ์ได้ในวัยสูงอายุที่มีกระบวนการรับรู้ที่บกพร่อง แต่การออกกำลังก็ไม่เพียงพอที่จะทำการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม
ทางด้านคณะวิจัยทั้งผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองกับภาวะจิตใจก็ได้ทำการวิจัยเรื่องนี้มากกว่า 20 ปีและแสดงให้เห็นว่าการออกกำลังสมองสามารถนำไปสู่การพัฒนาการรับรู้ต่อโลกได้ ทั้งพัฒนาความทรงจำ การเรียนรู้และสมาธิ รวมไปถึงโรคจิตที่คิดว่าตัวเองแปลกแยกทางสังคม (ทั้งเรื่องของอารมณ์กับการเข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ของตัวเอง) ของผู้ที่มีกระบวนการรับรู้ที่บกพร่อง ในทางกลับกันเมื่อข้อมูลจากการศึกษาตัวอย่างคน 12 คนที่มีโรคสมองเสื่อมที่ได้ทำการออกกำลังสมอง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์แล้วก็ไม่ได้ออกมาเป็นบวกมากเท่าไรนัก
ผลลัพธ์ต่างๆที่ออกมาก็ได้มีการตีพิมพ์ใน American Journal of Psychiatry
กระบวนการรับรู้ที่มีความบกพร่องก็มีความเชื่อมโยงกับความจำที่เสื่อมถอยและทักษะการคิดส่วนอื่นๆที่แม้ว่าจะไม่สร้างความเสียหายในทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน และถือเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงมากที่สุดอย่างหนึ่งของโรคสมองเสื่อม คนที่มีกระบวนการรับรู้บกพร่องก็จะมีโอกาส 1 ใน 10 ที่จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมในแต่ละปี และความเสี่ยงก็จะแสดงให้เห็นชัดพร้อมกับความกดดัน
การออกกำลังสมองเป็นการบำบัดเพื่อพัฒนาความจำและทักษะการคิดโดยมีการฝึกฝนโจทย์ท้าทายบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการออกแบบและให้ความรู้สึกเหมือนกับวีดีโอเกม
Dr.Amit Lampit ซึ่งได้เป็นหัวหน้าคณะในการศึกษาเรื่องนี้ก็ได้กล่าวถึงผลลัพธ์ที่ออกมาว่า การออกกำลังสมองสามารถช่วยยับยั้งโรคสมองเสื่อมได้
“งานวิจัยของพวกเราแสดงให้เห็นว่า การออกกำลังสมองสามารถทำนุบำรุงหรือแม้แต่ช่วยพัฒนาทักษะการรับรู้ของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงที่การรับรู้เสื่อมถอยในระดับที่สูงมาก และเป็นการบำบัดที่ไม่สิ้นเปลื้องและมีความปลอดภัย” Dr.Lampit กล่าว
ในการทำข้อสรุปนั้น ทางด้านคณะวิจัยก็ได้ทำการสุ่มตัวอย่าง 17 ตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางการแพทย์ผู้เข้าร่วมเกือบ 700 ราย โดยมีการใช้การวิเคราะห์ที่เรียกว่าเป็นการวิเคราะห์อภิมาน เพื่อที่จะทำการวินิจฉัยทางการแพทย์ให้ถึงขีดสุด
ทางด้านคณะวิจัยก็ได้มีการใช้หลักการวิเคราะห์อภิมานมาก่อน ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาก็เผยให้เห็นว่า การออกกำลังสมองมีประโยชน์ต่อทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเสริมสร้างสุขภาพให้กับผู้สูงอายุกับคนที่เป็นโรคพากินสัน
“ทั้งหมดนี้เมื่อมาทำการวิเคราะห์โดยรวมแล้วก็จะต้องมาดูข้อมูลทางการแพทย์ที่มีความสำคัญต่อการออกกำลังกายสมองในช่วงแต่ละอายุคน ในขณะเดียวกันก็ทำการวิจัยต่อเนื่องในส่วนของการออกกำลังให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น” Dr.Lampit กล่าว
ทางด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ Michael Valenzuela ซึ่งเป็นหัวหน้าในปฎิรูปประสาทวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์วิจัยสมองกับภาวะจิตใจก็เชื่อว่า เทคโนโลยีใหม่ๆถือเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการวิจัย
“ความท้าทายต่างๆในการวิจัยก็คือ การออกกำลังกายให้มีประสิทธิภาพในระยะยาวและทำการบำบัดในเชิงการแพทย์และสามารถเข้าถึงผู้คนได้” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Valenzuela กล่าว
“นี่เป็นสิ่งที่พวกเรากำลังดำเนินทำอยู่ตอนนี้”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Valenzuela ก็เป็นหนึ่งในหัวหน้าชาวออสเตรเลียที่ได้ทำการวิจัยสมองโดยมีการปรับเปลี่ยนแบบทดสอบให้เข้ากับผู้คนแต่ละคน ประกอบไปด้วยการออกกำลังสมองในแต่ละสัปดาห์ภายใน 4 ปีที่สามารถยับยั้งโรคจิตเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุ 18000 คนด้วยกัน
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com
จากการวิเคราะห์อภิมานพบว่า การออกกำลังสมองสามารถช่วยสู้กับโรคสมองเสื่อมได้
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ได้ค้นพบว่า การออกกำลังสมองสามารถเพิ่มความจำและพัฒนาทางด้านอารมณ์ได้ในวัยสูงอายุที่มีกระบวนการรับรู้ที่บกพร่อง แต่การออกกำลังก็ไม่เพียงพอที่จะทำการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม
ทางด้านคณะวิจัยทั้งผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองกับภาวะจิตใจก็ได้ทำการวิจัยเรื่องนี้มากกว่า 20 ปีและแสดงให้เห็นว่าการออกกำลังสมองสามารถนำไปสู่การพัฒนาการรับรู้ต่อโลกได้ ทั้งพัฒนาความทรงจำ การเรียนรู้และสมาธิ รวมไปถึงโรคจิตที่คิดว่าตัวเองแปลกแยกทางสังคม (ทั้งเรื่องของอารมณ์กับการเข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ของตัวเอง) ของผู้ที่มีกระบวนการรับรู้ที่บกพร่อง ในทางกลับกันเมื่อข้อมูลจากการศึกษาตัวอย่างคน 12 คนที่มีโรคสมองเสื่อมที่ได้ทำการออกกำลังสมอง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์แล้วก็ไม่ได้ออกมาเป็นบวกมากเท่าไรนัก
ผลลัพธ์ต่างๆที่ออกมาก็ได้มีการตีพิมพ์ใน American Journal of Psychiatry
กระบวนการรับรู้ที่มีความบกพร่องก็มีความเชื่อมโยงกับความจำที่เสื่อมถอยและทักษะการคิดส่วนอื่นๆที่แม้ว่าจะไม่สร้างความเสียหายในทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน และถือเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงมากที่สุดอย่างหนึ่งของโรคสมองเสื่อม คนที่มีกระบวนการรับรู้บกพร่องก็จะมีโอกาส 1 ใน 10 ที่จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมในแต่ละปี และความเสี่ยงก็จะแสดงให้เห็นชัดพร้อมกับความกดดัน
การออกกำลังสมองเป็นการบำบัดเพื่อพัฒนาความจำและทักษะการคิดโดยมีการฝึกฝนโจทย์ท้าทายบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการออกแบบและให้ความรู้สึกเหมือนกับวีดีโอเกม
Dr.Amit Lampit ซึ่งได้เป็นหัวหน้าคณะในการศึกษาเรื่องนี้ก็ได้กล่าวถึงผลลัพธ์ที่ออกมาว่า การออกกำลังสมองสามารถช่วยยับยั้งโรคสมองเสื่อมได้
“งานวิจัยของพวกเราแสดงให้เห็นว่า การออกกำลังสมองสามารถทำนุบำรุงหรือแม้แต่ช่วยพัฒนาทักษะการรับรู้ของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงที่การรับรู้เสื่อมถอยในระดับที่สูงมาก และเป็นการบำบัดที่ไม่สิ้นเปลื้องและมีความปลอดภัย” Dr.Lampit กล่าว
ในการทำข้อสรุปนั้น ทางด้านคณะวิจัยก็ได้ทำการสุ่มตัวอย่าง 17 ตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางการแพทย์ผู้เข้าร่วมเกือบ 700 ราย โดยมีการใช้การวิเคราะห์ที่เรียกว่าเป็นการวิเคราะห์อภิมาน เพื่อที่จะทำการวินิจฉัยทางการแพทย์ให้ถึงขีดสุด
ทางด้านคณะวิจัยก็ได้มีการใช้หลักการวิเคราะห์อภิมานมาก่อน ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาก็เผยให้เห็นว่า การออกกำลังสมองมีประโยชน์ต่อทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเสริมสร้างสุขภาพให้กับผู้สูงอายุกับคนที่เป็นโรคพากินสัน
“ทั้งหมดนี้เมื่อมาทำการวิเคราะห์โดยรวมแล้วก็จะต้องมาดูข้อมูลทางการแพทย์ที่มีความสำคัญต่อการออกกำลังกายสมองในช่วงแต่ละอายุคน ในขณะเดียวกันก็ทำการวิจัยต่อเนื่องในส่วนของการออกกำลังให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น” Dr.Lampit กล่าว
ทางด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ Michael Valenzuela ซึ่งเป็นหัวหน้าในปฎิรูปประสาทวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์วิจัยสมองกับภาวะจิตใจก็เชื่อว่า เทคโนโลยีใหม่ๆถือเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการวิจัย
“ความท้าทายต่างๆในการวิจัยก็คือ การออกกำลังกายให้มีประสิทธิภาพในระยะยาวและทำการบำบัดในเชิงการแพทย์และสามารถเข้าถึงผู้คนได้” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Valenzuela กล่าว
“นี่เป็นสิ่งที่พวกเรากำลังดำเนินทำอยู่ตอนนี้”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Valenzuela ก็เป็นหนึ่งในหัวหน้าชาวออสเตรเลียที่ได้ทำการวิจัยสมองโดยมีการปรับเปลี่ยนแบบทดสอบให้เข้ากับผู้คนแต่ละคน ประกอบไปด้วยการออกกำลังสมองในแต่ละสัปดาห์ภายใน 4 ปีที่สามารถยับยั้งโรคจิตเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุ 18000 คนด้วยกัน
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com