การรบทางเรือที่เกาะช้างในครั้งนี้ แม้จะไม่จัดว่าเป็นการยุทธ์ใหญ่ก็ตาม แต่ก็นับว่าเป็นการรบทางเรือตามแบบอย่างยุทธวิธีสมัยใหม่ กำลังทางเรือของไทยเข้าทำการสู้รบกับกำลัง
ทางเรือของข้าศึก ซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจทางเรือ และมีจำนวนเรือที่มากกว่า จนข้าศึกต้องล่าถอยไม่สามารถทำการระดมยิงหัวเมืองชายทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย
ได้สำเร็จ จึงนับเป็นเกียรติประวัติอันน่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ซึ่งจะบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ของชาติไทย และทหารเรือสืบไป
ยุทธนาวีที่เกาะช้างเป็นเหตุการณ์รบทางเรือ ซึ่งเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจาก กรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีน ฝรั่งเศส กล่าวคือ ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๘๒
ขณะที่ฝรั่งเศสจะประกาศสงครามกับเยอรมัน ฝรั่งเศสขอให้รัฐบาลไทยทำสัญญาไม่รุกรานกันทางแหลมอินโดจีน รัฐบาลไทย ได้ตอบฝรั่งเศสไปว่าไทยยินดี
จะรับตกลงตามคำของฝรั่งเศส แต่ขอให้ฝรั่งเศสตกลงบางประการ กล่าวคือ ให้ฝรั่งเศส ปรับปรุงเส้นแบ่งเขตแดน ให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
และหลักความยุติธรรม กล่าวคือ ฝ่ายไทยได้เสนอให้ถือแนวร่องน้ำลึกเป็นเกณฑ์ และให้ ฝรั่งเศสคืนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่ฝรั่งเศสยึดไปคืนให้ไทย เป็นต้น
จึงปรากฏว่าไม่เป็นที่ตกลงกัน ต่อมาราษฎรได้เดินขบวนแสดงประชามติ เรียกร้องดินแดนที่เสียไปหนักขึ้น กรณีพิพาทจึงได้เริ่มลุกขึ้นตามชายแดนเป็นแห่ง ๆ
และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนถึงขั้นใช้กำลังทหารเข้าทำการสู้รบกัน ทั้งกำลังทางบก เรือ และอากาศ สำหรับทางเรือได้มีการรบกันบริเวณด้านใต้ของเกาะช้าง
ระหว่างกำลังทางเรือของไทย และของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๔๙๔ โดยมีรายละเอียดโดยย่อดังนี้
วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๘๔ ฝรั่งเศสได้ส่งกำลังทางเรือส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในอินโดจีน ในบังคับบัญชาของ นาวาเอก เบรังเยร์ อันมีเรือลาดตระเวน ลามอตต์ปิเกต์ เป็นเรือธง
พร้อมด้วยเรือสลุป ๒ ลำ เรือปืน ๔ ลำ เรือสินค้าขนาดใหญ่ติดอาวุธ ๑ ลำ และเรือดำน้ำอีก ๑ ลำ รวมทั้งสิ้น ๙ ลำ เข้ามาในน่านน้ำไทยทางด้านเกาะช้าง ด้วยความ
มุ่งหมายที่จะระดมยิงหัวเมืองชายทะเล ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นประการสำคัญ เช้าวันที่ ๑๗ มกราคม กำลังทางเรือของข้าศึกได้อาศัยความมืด และความ
เร็วรุกล้ำเข้ามาทางด้านใต้เกาะช้าง มีจำนวนด้วยกันทั้งหมด ๗ ลำ คือ เรือลาดตระเวนลามอตต์ปิเกต์ เรือสลุป ๒ ลำ เรือปืน ๔ ลำ เรือเหล่านี้ได้แยกออกเป็น ๓ หมู่
หมู่ที่ ๑ มี เรือลามอตต์ปิเกต์ลำเดียวเข้ามา ทางช่องด้านใต้ระหว่างเกาะคลุ้มกับเกาะหวาย หมู่ที่ ๓ มีเรือสลุป ๑ ลำ กับเรือปืนอีก ๓ ลำ เข้ามาทางช่องด้านตะวันตก
ระหว่างเกาะคลุ้มกับแหลมบางเบ้า เกาะช้าง ส่วนเรือดำน้ำ และเรือสินค้าติดอาวุธ คงรออยู่ด้านนอกในทะเล และไม่ได้เข้าทำการรบ
กำลังเรือฝ่ายไทยที่เข้าทำการรบมี ๓ ลำ คือ เรือหลวงธนบุรี ระวางขับน้ำ ๒,๒๐๐ ตัน จอดอยู่ที่บริเวณเกาะลิ่ม ส่วนเรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรี ซึ่งมีระวางขับน้ำ
ลำละ ๔๗๐ ตัน จอดอยู่ที่อ่าวสลักเพ็ชร กำลังทางเรือฝ่ายข้าศึกที่เข้าทำการรบ รวมด้วยกัน ๗ ลำ เฉพาะเรือลามอตต์ปิเกต์ลำเดียวมีระวางขับน้ำ ๗,๘๘๐ ตัน ซึ่งมีระวาง
ขับน้ำมากกว่าเรือรบของเราทั้ง ๓ ลำ รวมกัน นอกจากนั้นก็มีเรือสลุปอีก ๒ ลำ ระวางขับน้ำลำละ ๒,๑๕๖ ตัน และเรือปืนอีก ๔ ลำ เมื่อเปรียบเทียบกำลังรบของทั้งสองฝ่าย
จะเห็นได้ว่าเราได้เข้าทำการต่อสู้กับข้าศึก ที่มีทั้งจำนวนเรือมากกว่า ระวางขับน้ำมากกว่า จำนวนปืนหนัก และปืนเบามากกว่า และจำนวนทหารประจำเรือมากกว่า ฝ่ายเรา
คงได้เปรียบเฉพาะที่ว่ามีปืนหนักที่มีขนาดใหญ่กว่าเท่านั้น แต่ก็กลับเสียเปรียบที่ยิงได้ช้ากว่า
การรบระหว่างเรือหลวงธนบุรีกับเรือลามอตต์ปิเกต์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากได้มีการปะทะกันระหว่างเรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรี กับเรือรบฝรั่งเศสแล้ว
ในตอนเช้าตรู่ของวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๔๘๔ ขณะที่ทหารเรือหลวงธนบุรี กำลังฝึกหัดศึกษาตามปกติอยู่นั้น ประมาณ ๐๖๑๒ ยามสะพานเดินเรือ ได้เห็นเครื่องบินข้าศึก ๑ เครื่อง
บินมาทางเกาะกูดผ่านเกาะกระดาษมาตรงหัวเรือ ทางเรือจึงได้ประจำสถานีรบแต่ยังมิได้ทำการยิง เนื่องจากว่าเครื่องบินข้าศึกได้บินเลี้ยวไปทางเกาะง่าม ตรงบริเวณที่เรือตอร์ปิโด
ทั้ง ๒ ลำ จอดเสียก่อน และทันใดนั้นทหารทุกคนก็ได้ยินเสียงปืนจากเรือตอร์ปิโดทั้งสองลำนั้น คือ เรือหลวงสงขลาและเรือหลวงชลบุรี ทำการยิงสกัดกั้นเครื่องบินข้าศึก โดย
ทุกคนได้เห็นกลุ่มกระสุนระเบิดในอากาศใกล้เครื่องบิน และเครื่องบินหายลับตาไป และชั่วในขณะนั้นเอง ทุกคนกลับได้ยินเสียงปืนถี่และหนักขึ้น ทันใดนั้นยามสะพานเดินเรือ
ได้รายงานว่าเห็นเรือข้าศึกทางใต้เกาะช้าง โดยที่ยามมองตรงช่องระหว่างเกาะช้างกับเกาะไม้ซี้ใหญ่ เรือที่ยามเห็นนี้คือเรือลามอตต์ปิเกต์ ซึ่งกำลังระดมยิงเรือหลวงสงขลา
และเรือหลวงชลบุรีของเราอยู่นั่นเอง ลักษณะอุตุในขณะนั้นปรากฏว่ามีเมฆขอบฟ้า พื้นทะเลมีหมอกบาง ๆ ลมเซ้าท์เวสท์ กำลัง ๑ ไม่มีคลื่นทัศนวิสัย ๖ ไมล์อากาศค่อนข้างหนาว
ปรอท ๒๗ ๐ ซ เมื่อปืนป้อมทั้ง ๒ ป้อมพร้อม น.ท.หลวงพร้อม วีรพันธุ์ ผู้บังคับการเรือได้สั่งเดินหน้าเต็มตัว ๒ เครื่อง ความเร็ว ๑๔ นอต ถือเข็มประมาณ เซ้าท์อีสท์ เข้าหาข้าศึก
และได้สั่งเตรียมรบกราบขวาที่หมาย เรือลาดตะเวนข้าศึก
ประมาณ เวลา ๐๖๔๐ ขณะที่เรือหลวงธนบุรี ได้ตั้งลำพร้อม เรือลามอตต์ปิเกต์ก็โผล่จากเกาะไม้ซี้ใหญ่ และเป็นฝ่ายเริ่มยิงเราก่อนทันที
เรือหลวงธนบุรีได้เริ่มยิงตับแรกด้วยป้อมหัว และป้อมท้ายโดย ตั้งระยะ ๑๓,๐๐๐ เมตร ทันใดนั้นเองกระสุนตับที่ ๔ ของเรือลามอตต์ปิเกต์ มีนัดหนึ่งเจาะทะลุผ่าห้องโถงนายพล
และชอนระเบิดทะลุพื้นหอรบขึ้นมาเป็นเหตุให้ น.ท.หลวงพร้อมวีรพันธุ์ และทหารในหอรบอีกหลายนายต้องเสียชีวิตในทันที และมีอีกหลายนายได้รับบาดเจ็บสาหัส เนื่องจากถูก
สะเก็ดระเบิด และถูกไฟลวกตามหน้าและตามตัว กระสุนนัดนี้เองได้ทำลายเครื่องติดต่อสั่งการไปยังปืน และเครื่องถือท้ายเรือ เรือซึ่งกำลังเดินหน้าด้วยความเร็ว ๑๔ นอต ต้อง
หมุนซ้ายเป็นวงกลมอยู่ถึง ๔ รอบ ซึ่งในขณะนี้เอง เรือลามอตต์ปิเกต์ได้ระดมยิงเรือหลวงธนบุรี อย่างหนาแน่น ปืนป้อมทั้งสองของเรือหลวงธนบุรีต้องทำการยิงอิสระ โดยอาศัย
ศูนย์ข้างและศูนย์ระยะที่หอกลาง ปรากฏว่าเรือลามอตต์ปิเกต์ได้ถูกกระสุนปืนจากเรือหลวงธนบุรี เช่นกัน โดยมีแสงไฟจากเปลวระเบิด และควันเพลิงพุ่งขึ้นบริเวณตอนกลางลำ
จำต้องล่าถอยโดยมารวมกำลัง กับหมู่เรือฝรั่งเศสอีก ๔ ลำ ทางตะวันตกของเกาะเหลาใน และแล่นหนีไปในที่สุด เมื่อเรือของฝรั่งเศสได้ไปจากสนามรบหมดแล้ว ก็ปรากฏว่า
ได้มีเครื่องบินลำหนึ่งบินมาทางหัวเรือ และดำทิ้งระเบิดระยะต่ำจำนวน ๒ ลูก ลูกระเบิดตกบนดาดฟ้าเรือโบตหลังห้องครัวทหาร และเจาะทะลุดาดฟ้าเป็นรูโตประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
ลงไประเบิดในครัวทหาร ทำให้ทหารตายอีก ๓ คนทางเรือไม่ได้ยิงต่อสู้ประการใด เพราะเครื่องบินลำนั้นมีเครื่องหมายไทยติดอยู่ เวลา ๐๘๓๐ เรือหลวงธนบุรีแล่นไป ทางแหลมน้ำ
ไฟลุกทั่วไปในช่องทางเดิน ต้นเรือ (นายทหารอาวุโสที่สองรองจากผู้บังคับการเรือ) พาเรือมาทางแหลมงอบ เรือเอียงทางกราบขวา และต่อมาก็หยุดแล่น เรือหลวงช้างได้เข้าช่วย
ดับไฟ และจูงเรือธนบุรีไปจนถึงหน้าแหลมงอบ เพื่อเกยตื้น และต้นเรือได้สั่งสละเรือใหญ่ เมื่อเวลา ๑๑๐๐ ต่อมา ประมาณเวลา ๑๖๔๐ กราบเรือทางขวาก็เริ่มตะแคงเอนลงมากขึ้น
ตามลำดับ เสาทั้งสองเอนลงน้ำ กราบซ้ายและกระดูกงูกันโครงโผล่อยู่พ้นน้ำ
ในการรบครั้งนี้ ทางฝ่ายเราได้เสียชีวิตเป็นชาติพลี รวมทั้งสิ้น ๓๖ นาย เป็นนายทหาร ๒ นาย พันจ่า จ่า พลทหาร และพลเรือ ๓๔ นาย ซึ่งในจำนวนนี้เป็นทหารประจำเรือหลวงธนบุรี
๒๐ นาย เรือหลวงสงขลา ๑๔ นาย และเรือหลวงชลบุรี ๒ นาย ส่วนจำนวนทหารที่เสียชีวิตและบาดเจ็บของฝ่ายข้าศึกนั้นไม่ทราบจำนวนแน่นอน และนับจากได้เกิดการรบที่เกาะช้าง
แล้วจนกระทั่งวันลงนาม ในสัญญาสันติภาพ คือ วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ที่กรุงโตเกียว ก็ไม่ปรากฏว่ามีเรือรบของข้าศึกเข้ามาในอ่าวไทย
ข้อมูลภาพของกำลังทั้งสองฝ่าย
แผนที่การเดินเรือ
ขอบอกว่าใช่เลย งานนี้เรา (ไม้ซีก) ไปอาจหาญปะทะฝรั่งเศส (ไม้ซุง)
แต่
เราชนะหลายต่อนะ
๑ คือ ทหารเรือไทย ชนะใจคนไทยทั้งประเทศ ตลอดมา+ตลอดไป
๒ คือ รู้ว่าเลือดไทยที่เป็นชาตินักสู้+นักรบยังเข้มข้น
๓ คือ ชนะใจคู่ต่อสู้ที่แม้ไม่ยอมรับว่าถอยไปเพราะเจอเราสู้จริงจนตัวตาย เรือเราก็จม
แต่ก็ชมฝ่ายเรา(ผ่านวิทยุของเวียตนามตอนนั้น)ที่สู้แบบถวายหัว ตัวเข้าแลก
ถึงแม้ฝรั่งเศสจะไม่ยอมรับว่าแพ้ ถอยไปเอง แต่ก็ไม่ได้ส่งกำลังรบล้ำแดนไทยเข้ามาอีกหลังจากนั้นจนกระทั่งเจรจาสงบศึกภายหลัง แม้ความเสียหายด้านเราตามที่ปรากฏหลักฐานเท่าที่เห็นจะมากกว่า แต่เราก็ได้สอนบทเรียนแก่ชาติมหาอำนาจอย่างฝรั่งเศสว่า...
"ใครรานใครรุกด้าว แดนไทย
ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น
เสียเลือดเนื้อหลั่งไหล ยอมสละ สิ้นแฮ
เสียชีพไปเสียสิ้น ชื่อก้องเกียรติงาม"
https://talk.mthai.com/inbox/347094.html
นำบทความมาให้อ่านค่ะ....มีคนบางกลุ่มโจมตีกองทัพในการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหาร
น่าจะได้รำลึกถึงวีรกรรมของทหารไทยที่ปกป้องแผ่นดินไทย แม้จะมีศักยภาพทางอาวุธด้อยกว่า
หนึ่งพันห้าร้อยไมล์
ทะเลไทยมีนาวีนี้เฝ้า
ข้าศึกฮึกเข้าระดมโจมตี
นาวีนี้รบรับอยู่
ใหญ่กี่ตันต้องสู้กัน
ฟาดฟันให้รู้
ไม่ปล่อยให้ฝ่ายศัตรู
ล้ำอธิปไตย
🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢
~มาลาริน~** กองทัพเรือไทยเล็กพริกขี้หนู...<<<ยุทธนาวีที่เกาะช้าง>>>...หนึ่งบทเรียนที่ต้องมีเขี้ยวเล็บทางทหารค่ะ 🚀🚁🚢🚓
การรบทางเรือที่เกาะช้างในครั้งนี้ แม้จะไม่จัดว่าเป็นการยุทธ์ใหญ่ก็ตาม แต่ก็นับว่าเป็นการรบทางเรือตามแบบอย่างยุทธวิธีสมัยใหม่ กำลังทางเรือของไทยเข้าทำการสู้รบกับกำลัง
ทางเรือของข้าศึก ซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจทางเรือ และมีจำนวนเรือที่มากกว่า จนข้าศึกต้องล่าถอยไม่สามารถทำการระดมยิงหัวเมืองชายทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย
ได้สำเร็จ จึงนับเป็นเกียรติประวัติอันน่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ซึ่งจะบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ของชาติไทย และทหารเรือสืบไป
ยุทธนาวีที่เกาะช้างเป็นเหตุการณ์รบทางเรือ ซึ่งเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจาก กรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีน ฝรั่งเศส กล่าวคือ ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๘๒
ขณะที่ฝรั่งเศสจะประกาศสงครามกับเยอรมัน ฝรั่งเศสขอให้รัฐบาลไทยทำสัญญาไม่รุกรานกันทางแหลมอินโดจีน รัฐบาลไทย ได้ตอบฝรั่งเศสไปว่าไทยยินดี
จะรับตกลงตามคำของฝรั่งเศส แต่ขอให้ฝรั่งเศสตกลงบางประการ กล่าวคือ ให้ฝรั่งเศส ปรับปรุงเส้นแบ่งเขตแดน ให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
และหลักความยุติธรรม กล่าวคือ ฝ่ายไทยได้เสนอให้ถือแนวร่องน้ำลึกเป็นเกณฑ์ และให้ ฝรั่งเศสคืนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่ฝรั่งเศสยึดไปคืนให้ไทย เป็นต้น
จึงปรากฏว่าไม่เป็นที่ตกลงกัน ต่อมาราษฎรได้เดินขบวนแสดงประชามติ เรียกร้องดินแดนที่เสียไปหนักขึ้น กรณีพิพาทจึงได้เริ่มลุกขึ้นตามชายแดนเป็นแห่ง ๆ
และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนถึงขั้นใช้กำลังทหารเข้าทำการสู้รบกัน ทั้งกำลังทางบก เรือ และอากาศ สำหรับทางเรือได้มีการรบกันบริเวณด้านใต้ของเกาะช้าง
ระหว่างกำลังทางเรือของไทย และของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๔๙๔ โดยมีรายละเอียดโดยย่อดังนี้
วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๘๔ ฝรั่งเศสได้ส่งกำลังทางเรือส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในอินโดจีน ในบังคับบัญชาของ นาวาเอก เบรังเยร์ อันมีเรือลาดตระเวน ลามอตต์ปิเกต์ เป็นเรือธง
พร้อมด้วยเรือสลุป ๒ ลำ เรือปืน ๔ ลำ เรือสินค้าขนาดใหญ่ติดอาวุธ ๑ ลำ และเรือดำน้ำอีก ๑ ลำ รวมทั้งสิ้น ๙ ลำ เข้ามาในน่านน้ำไทยทางด้านเกาะช้าง ด้วยความ
มุ่งหมายที่จะระดมยิงหัวเมืองชายทะเล ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นประการสำคัญ เช้าวันที่ ๑๗ มกราคม กำลังทางเรือของข้าศึกได้อาศัยความมืด และความ
เร็วรุกล้ำเข้ามาทางด้านใต้เกาะช้าง มีจำนวนด้วยกันทั้งหมด ๗ ลำ คือ เรือลาดตระเวนลามอตต์ปิเกต์ เรือสลุป ๒ ลำ เรือปืน ๔ ลำ เรือเหล่านี้ได้แยกออกเป็น ๓ หมู่
หมู่ที่ ๑ มี เรือลามอตต์ปิเกต์ลำเดียวเข้ามา ทางช่องด้านใต้ระหว่างเกาะคลุ้มกับเกาะหวาย หมู่ที่ ๓ มีเรือสลุป ๑ ลำ กับเรือปืนอีก ๓ ลำ เข้ามาทางช่องด้านตะวันตก
ระหว่างเกาะคลุ้มกับแหลมบางเบ้า เกาะช้าง ส่วนเรือดำน้ำ และเรือสินค้าติดอาวุธ คงรออยู่ด้านนอกในทะเล และไม่ได้เข้าทำการรบ
กำลังเรือฝ่ายไทยที่เข้าทำการรบมี ๓ ลำ คือ เรือหลวงธนบุรี ระวางขับน้ำ ๒,๒๐๐ ตัน จอดอยู่ที่บริเวณเกาะลิ่ม ส่วนเรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรี ซึ่งมีระวางขับน้ำ
ลำละ ๔๗๐ ตัน จอดอยู่ที่อ่าวสลักเพ็ชร กำลังทางเรือฝ่ายข้าศึกที่เข้าทำการรบ รวมด้วยกัน ๗ ลำ เฉพาะเรือลามอตต์ปิเกต์ลำเดียวมีระวางขับน้ำ ๗,๘๘๐ ตัน ซึ่งมีระวาง
ขับน้ำมากกว่าเรือรบของเราทั้ง ๓ ลำ รวมกัน นอกจากนั้นก็มีเรือสลุปอีก ๒ ลำ ระวางขับน้ำลำละ ๒,๑๕๖ ตัน และเรือปืนอีก ๔ ลำ เมื่อเปรียบเทียบกำลังรบของทั้งสองฝ่าย
จะเห็นได้ว่าเราได้เข้าทำการต่อสู้กับข้าศึก ที่มีทั้งจำนวนเรือมากกว่า ระวางขับน้ำมากกว่า จำนวนปืนหนัก และปืนเบามากกว่า และจำนวนทหารประจำเรือมากกว่า ฝ่ายเรา
คงได้เปรียบเฉพาะที่ว่ามีปืนหนักที่มีขนาดใหญ่กว่าเท่านั้น แต่ก็กลับเสียเปรียบที่ยิงได้ช้ากว่า
การรบระหว่างเรือหลวงธนบุรีกับเรือลามอตต์ปิเกต์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากได้มีการปะทะกันระหว่างเรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรี กับเรือรบฝรั่งเศสแล้ว
ในตอนเช้าตรู่ของวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๔๘๔ ขณะที่ทหารเรือหลวงธนบุรี กำลังฝึกหัดศึกษาตามปกติอยู่นั้น ประมาณ ๐๖๑๒ ยามสะพานเดินเรือ ได้เห็นเครื่องบินข้าศึก ๑ เครื่อง
บินมาทางเกาะกูดผ่านเกาะกระดาษมาตรงหัวเรือ ทางเรือจึงได้ประจำสถานีรบแต่ยังมิได้ทำการยิง เนื่องจากว่าเครื่องบินข้าศึกได้บินเลี้ยวไปทางเกาะง่าม ตรงบริเวณที่เรือตอร์ปิโด
ทั้ง ๒ ลำ จอดเสียก่อน และทันใดนั้นทหารทุกคนก็ได้ยินเสียงปืนจากเรือตอร์ปิโดทั้งสองลำนั้น คือ เรือหลวงสงขลาและเรือหลวงชลบุรี ทำการยิงสกัดกั้นเครื่องบินข้าศึก โดย
ทุกคนได้เห็นกลุ่มกระสุนระเบิดในอากาศใกล้เครื่องบิน และเครื่องบินหายลับตาไป และชั่วในขณะนั้นเอง ทุกคนกลับได้ยินเสียงปืนถี่และหนักขึ้น ทันใดนั้นยามสะพานเดินเรือ
ได้รายงานว่าเห็นเรือข้าศึกทางใต้เกาะช้าง โดยที่ยามมองตรงช่องระหว่างเกาะช้างกับเกาะไม้ซี้ใหญ่ เรือที่ยามเห็นนี้คือเรือลามอตต์ปิเกต์ ซึ่งกำลังระดมยิงเรือหลวงสงขลา
และเรือหลวงชลบุรีของเราอยู่นั่นเอง ลักษณะอุตุในขณะนั้นปรากฏว่ามีเมฆขอบฟ้า พื้นทะเลมีหมอกบาง ๆ ลมเซ้าท์เวสท์ กำลัง ๑ ไม่มีคลื่นทัศนวิสัย ๖ ไมล์อากาศค่อนข้างหนาว
ปรอท ๒๗ ๐ ซ เมื่อปืนป้อมทั้ง ๒ ป้อมพร้อม น.ท.หลวงพร้อม วีรพันธุ์ ผู้บังคับการเรือได้สั่งเดินหน้าเต็มตัว ๒ เครื่อง ความเร็ว ๑๔ นอต ถือเข็มประมาณ เซ้าท์อีสท์ เข้าหาข้าศึก
และได้สั่งเตรียมรบกราบขวาที่หมาย เรือลาดตะเวนข้าศึก
ประมาณ เวลา ๐๖๔๐ ขณะที่เรือหลวงธนบุรี ได้ตั้งลำพร้อม เรือลามอตต์ปิเกต์ก็โผล่จากเกาะไม้ซี้ใหญ่ และเป็นฝ่ายเริ่มยิงเราก่อนทันที
เรือหลวงธนบุรีได้เริ่มยิงตับแรกด้วยป้อมหัว และป้อมท้ายโดย ตั้งระยะ ๑๓,๐๐๐ เมตร ทันใดนั้นเองกระสุนตับที่ ๔ ของเรือลามอตต์ปิเกต์ มีนัดหนึ่งเจาะทะลุผ่าห้องโถงนายพล
และชอนระเบิดทะลุพื้นหอรบขึ้นมาเป็นเหตุให้ น.ท.หลวงพร้อมวีรพันธุ์ และทหารในหอรบอีกหลายนายต้องเสียชีวิตในทันที และมีอีกหลายนายได้รับบาดเจ็บสาหัส เนื่องจากถูก
สะเก็ดระเบิด และถูกไฟลวกตามหน้าและตามตัว กระสุนนัดนี้เองได้ทำลายเครื่องติดต่อสั่งการไปยังปืน และเครื่องถือท้ายเรือ เรือซึ่งกำลังเดินหน้าด้วยความเร็ว ๑๔ นอต ต้อง
หมุนซ้ายเป็นวงกลมอยู่ถึง ๔ รอบ ซึ่งในขณะนี้เอง เรือลามอตต์ปิเกต์ได้ระดมยิงเรือหลวงธนบุรี อย่างหนาแน่น ปืนป้อมทั้งสองของเรือหลวงธนบุรีต้องทำการยิงอิสระ โดยอาศัย
ศูนย์ข้างและศูนย์ระยะที่หอกลาง ปรากฏว่าเรือลามอตต์ปิเกต์ได้ถูกกระสุนปืนจากเรือหลวงธนบุรี เช่นกัน โดยมีแสงไฟจากเปลวระเบิด และควันเพลิงพุ่งขึ้นบริเวณตอนกลางลำ
จำต้องล่าถอยโดยมารวมกำลัง กับหมู่เรือฝรั่งเศสอีก ๔ ลำ ทางตะวันตกของเกาะเหลาใน และแล่นหนีไปในที่สุด เมื่อเรือของฝรั่งเศสได้ไปจากสนามรบหมดแล้ว ก็ปรากฏว่า
ได้มีเครื่องบินลำหนึ่งบินมาทางหัวเรือ และดำทิ้งระเบิดระยะต่ำจำนวน ๒ ลูก ลูกระเบิดตกบนดาดฟ้าเรือโบตหลังห้องครัวทหาร และเจาะทะลุดาดฟ้าเป็นรูโตประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
ลงไประเบิดในครัวทหาร ทำให้ทหารตายอีก ๓ คนทางเรือไม่ได้ยิงต่อสู้ประการใด เพราะเครื่องบินลำนั้นมีเครื่องหมายไทยติดอยู่ เวลา ๐๘๓๐ เรือหลวงธนบุรีแล่นไป ทางแหลมน้ำ
ไฟลุกทั่วไปในช่องทางเดิน ต้นเรือ (นายทหารอาวุโสที่สองรองจากผู้บังคับการเรือ) พาเรือมาทางแหลมงอบ เรือเอียงทางกราบขวา และต่อมาก็หยุดแล่น เรือหลวงช้างได้เข้าช่วย
ดับไฟ และจูงเรือธนบุรีไปจนถึงหน้าแหลมงอบ เพื่อเกยตื้น และต้นเรือได้สั่งสละเรือใหญ่ เมื่อเวลา ๑๑๐๐ ต่อมา ประมาณเวลา ๑๖๔๐ กราบเรือทางขวาก็เริ่มตะแคงเอนลงมากขึ้น
ตามลำดับ เสาทั้งสองเอนลงน้ำ กราบซ้ายและกระดูกงูกันโครงโผล่อยู่พ้นน้ำ
ในการรบครั้งนี้ ทางฝ่ายเราได้เสียชีวิตเป็นชาติพลี รวมทั้งสิ้น ๓๖ นาย เป็นนายทหาร ๒ นาย พันจ่า จ่า พลทหาร และพลเรือ ๓๔ นาย ซึ่งในจำนวนนี้เป็นทหารประจำเรือหลวงธนบุรี
๒๐ นาย เรือหลวงสงขลา ๑๔ นาย และเรือหลวงชลบุรี ๒ นาย ส่วนจำนวนทหารที่เสียชีวิตและบาดเจ็บของฝ่ายข้าศึกนั้นไม่ทราบจำนวนแน่นอน และนับจากได้เกิดการรบที่เกาะช้าง
แล้วจนกระทั่งวันลงนาม ในสัญญาสันติภาพ คือ วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ที่กรุงโตเกียว ก็ไม่ปรากฏว่ามีเรือรบของข้าศึกเข้ามาในอ่าวไทย
ข้อมูลภาพของกำลังทั้งสองฝ่าย
แผนที่การเดินเรือ
ขอบอกว่าใช่เลย งานนี้เรา (ไม้ซีก) ไปอาจหาญปะทะฝรั่งเศส (ไม้ซุง)
แต่
เราชนะหลายต่อนะ
๑ คือ ทหารเรือไทย ชนะใจคนไทยทั้งประเทศ ตลอดมา+ตลอดไป
๒ คือ รู้ว่าเลือดไทยที่เป็นชาตินักสู้+นักรบยังเข้มข้น
๓ คือ ชนะใจคู่ต่อสู้ที่แม้ไม่ยอมรับว่าถอยไปเพราะเจอเราสู้จริงจนตัวตาย เรือเราก็จม
แต่ก็ชมฝ่ายเรา(ผ่านวิทยุของเวียตนามตอนนั้น)ที่สู้แบบถวายหัว ตัวเข้าแลก
ถึงแม้ฝรั่งเศสจะไม่ยอมรับว่าแพ้ ถอยไปเอง แต่ก็ไม่ได้ส่งกำลังรบล้ำแดนไทยเข้ามาอีกหลังจากนั้นจนกระทั่งเจรจาสงบศึกภายหลัง แม้ความเสียหายด้านเราตามที่ปรากฏหลักฐานเท่าที่เห็นจะมากกว่า แต่เราก็ได้สอนบทเรียนแก่ชาติมหาอำนาจอย่างฝรั่งเศสว่า...
"ใครรานใครรุกด้าว แดนไทย
ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น
เสียเลือดเนื้อหลั่งไหล ยอมสละ สิ้นแฮ
เสียชีพไปเสียสิ้น ชื่อก้องเกียรติงาม"
https://talk.mthai.com/inbox/347094.html
นำบทความมาให้อ่านค่ะ....มีคนบางกลุ่มโจมตีกองทัพในการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหาร
น่าจะได้รำลึกถึงวีรกรรมของทหารไทยที่ปกป้องแผ่นดินไทย แม้จะมีศักยภาพทางอาวุธด้อยกว่า
หนึ่งพันห้าร้อยไมล์
ทะเลไทยมีนาวีนี้เฝ้า
ข้าศึกฮึกเข้าระดมโจมตี
นาวีนี้รบรับอยู่
ใหญ่กี่ตันต้องสู้กัน
ฟาดฟันให้รู้
ไม่ปล่อยให้ฝ่ายศัตรู
ล้ำอธิปไตย
🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢🚢