"ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา
ด้วยใจ"
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=%B9%D4%BE%E0%BE%B8%D4%A1%CA%D9%B5%C3&book=9&bookZ=33
เจตนา หรือเจตจำนง เป็นธรรม เป็นเครื่องปรุงแต่งจิตเหมือนๆ ธรรมอื่นๆ
ภาษาพระอภิธรรมมัตถฯ ท่านเรียกว่า "เจตนาเจตสิก" เป็นธรรมชาติที่ตั้งใจ หรือความมุ่งหวัง
ที่เกิดขึ้นในจิตใจของคนเรา แล้วกระทำออกมาทางกาย วาจา ใจ สำเร็จเป็นบุญหรือบาปที่เรียกว่า
กุศลกรรม อกุศลกรรม
พุทธศาสนา ไม่ได้ปฏิเสธทั้งเรื่องกรรมเก่า และ กรรมใหม่หรือเจตจำนงเสรี(Free Will)
กลับให้ความสำคัญต่อเจตจำนงเสรีของมนุษย์ มีทางเลือกที่จะดำเนินชีวิต มีสำนวนจีน
กล่าวไว้ว่า 30ลิขิตฟ้า 70ต้องฝ่าฟัน 30 และ 70 ก็คือเปอร์เซ็นต์สัดส่วนของชีวิตคนเรานี่เอง
30 เปอร์เซ็นต์นั่นกรรมเก่า ส่วนไอ้ 70 เปอร์เซ็นต์นี่กรรมใหม่ที่สร้างขึ้นมาเองสดๆ ในชาตินี้แหละครับ
“เรื่องจิตกับเจตจำนงของมนุษย์เป็นกฎธรรมชาติคนละด้าน แม้ว่ากฎทั้งสองจะทำงานสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด อุปมาเหมือนกัปตันที่ขับเรือยนต์ จิตเป็นเหมือนเรือพร้อมทั้งเครื่องจักรเครื่องยนต์ทั้งหมด เจตจำนงหรือกรรมเป็นเหมือนกัปตันที่จะชักนำเรือไปทำอะไร ๆ ที่ไหน ๆ และอย่างไร”
ท่านประยุทธ์ ปยุตฺโต, พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์,
(กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖), หน้า ๑๐๖
จากกฏธรรมชาติในพุทธศาสนาสองกฏ คือ กรรมนิยาม และ จิตนิยาม ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก
ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า จิตเป็นธาตุรู้ มันไม่รู้เรื่องอะไร ส่วนที่จิตเป็นนั่น เป็นนี่ ก็เพราะ
องค์ธรรมที่เข้าปรุงแต่งจิตทั้งสิ้น ท่านก็เลยเปรียบจิตเป็นเรือ แล้วให้เจตจำนงหรือกรรมเป็นเหมือนกัปตัน
คอยบังคับทิศทางของจิต ให้ไปตามทิศทางที่เจตจำนงตั้งจุดหมายปลายทางเอาไว้ คราวนี้เวลาจิตมันแล่นไปเนี่ย
มันจะมีกลุ่มองค์ธรรมประเภทเดียวกันเกิดตามไปด้วยเสมอ เช่นคนคิดไปทางกุศล เจตนาเป็นกุศลกรรม
องค์ธรรมที่เกิดร่วมกันเข้าปรุงแต่งจิต จึงเป็นกุศลธรรมมากมายไปหมด ชีวิตก็ดีขึ้น เจริญขึ้น มีความสุขยิ่งขึ้น
ในขณะเดียวกัน ถ้าเจตนาเป็นร้าย เจตจำนงเป็นร้าย มุ่งหมายไปในทางร้าย อกุศลธรรมก็เกิดร่วมด้วยเช่นกัน
ชีวิตก็จะประสบแต่ความขัดข้อง ขัดเคือง ขาดความสบายใจ ทำแต่เรื่องร้ายๆ ออกไป ชีวิตจึงมีแต่เรื่องให้ต้องทุกข์
ดังนั้น เจตนา หรือกรรม หรือ เจตจำนงนี่เอง ทำให้คนๆ หนึ่ง มีความเป็นไปตลอดช่วงชีวิตของเขา
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้ แล้วจะทำอะไรกับชีวิตเราได้บ้าง
เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา
ด้วยใจ"
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=%B9%D4%BE%E0%BE%B8%D4%A1%CA%D9%B5%C3&book=9&bookZ=33
เจตนา หรือเจตจำนง เป็นธรรม เป็นเครื่องปรุงแต่งจิตเหมือนๆ ธรรมอื่นๆ
ภาษาพระอภิธรรมมัตถฯ ท่านเรียกว่า "เจตนาเจตสิก" เป็นธรรมชาติที่ตั้งใจ หรือความมุ่งหวัง
ที่เกิดขึ้นในจิตใจของคนเรา แล้วกระทำออกมาทางกาย วาจา ใจ สำเร็จเป็นบุญหรือบาปที่เรียกว่า
กุศลกรรม อกุศลกรรม
พุทธศาสนา ไม่ได้ปฏิเสธทั้งเรื่องกรรมเก่า และ กรรมใหม่หรือเจตจำนงเสรี(Free Will)
กลับให้ความสำคัญต่อเจตจำนงเสรีของมนุษย์ มีทางเลือกที่จะดำเนินชีวิต มีสำนวนจีน
กล่าวไว้ว่า 30ลิขิตฟ้า 70ต้องฝ่าฟัน 30 และ 70 ก็คือเปอร์เซ็นต์สัดส่วนของชีวิตคนเรานี่เอง
30 เปอร์เซ็นต์นั่นกรรมเก่า ส่วนไอ้ 70 เปอร์เซ็นต์นี่กรรมใหม่ที่สร้างขึ้นมาเองสดๆ ในชาตินี้แหละครับ
“เรื่องจิตกับเจตจำนงของมนุษย์เป็นกฎธรรมชาติคนละด้าน แม้ว่ากฎทั้งสองจะทำงานสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด อุปมาเหมือนกัปตันที่ขับเรือยนต์ จิตเป็นเหมือนเรือพร้อมทั้งเครื่องจักรเครื่องยนต์ทั้งหมด เจตจำนงหรือกรรมเป็นเหมือนกัปตันที่จะชักนำเรือไปทำอะไร ๆ ที่ไหน ๆ และอย่างไร”
ท่านประยุทธ์ ปยุตฺโต, พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์,
(กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖), หน้า ๑๐๖
จากกฏธรรมชาติในพุทธศาสนาสองกฏ คือ กรรมนิยาม และ จิตนิยาม ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก
ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า จิตเป็นธาตุรู้ มันไม่รู้เรื่องอะไร ส่วนที่จิตเป็นนั่น เป็นนี่ ก็เพราะ
องค์ธรรมที่เข้าปรุงแต่งจิตทั้งสิ้น ท่านก็เลยเปรียบจิตเป็นเรือ แล้วให้เจตจำนงหรือกรรมเป็นเหมือนกัปตัน
คอยบังคับทิศทางของจิต ให้ไปตามทิศทางที่เจตจำนงตั้งจุดหมายปลายทางเอาไว้ คราวนี้เวลาจิตมันแล่นไปเนี่ย
มันจะมีกลุ่มองค์ธรรมประเภทเดียวกันเกิดตามไปด้วยเสมอ เช่นคนคิดไปทางกุศล เจตนาเป็นกุศลกรรม
องค์ธรรมที่เกิดร่วมกันเข้าปรุงแต่งจิต จึงเป็นกุศลธรรมมากมายไปหมด ชีวิตก็ดีขึ้น เจริญขึ้น มีความสุขยิ่งขึ้น
ในขณะเดียวกัน ถ้าเจตนาเป็นร้าย เจตจำนงเป็นร้าย มุ่งหมายไปในทางร้าย อกุศลธรรมก็เกิดร่วมด้วยเช่นกัน
ชีวิตก็จะประสบแต่ความขัดข้อง ขัดเคือง ขาดความสบายใจ ทำแต่เรื่องร้ายๆ ออกไป ชีวิตจึงมีแต่เรื่องให้ต้องทุกข์
ดังนั้น เจตนา หรือกรรม หรือ เจตจำนงนี่เอง ทำให้คนๆ หนึ่ง มีความเป็นไปตลอดช่วงชีวิตของเขา