เมื่อผมถูกมูลนิธิหนึ่ง ละเมิดลิขสิทธิ์ภาพ
กลางดึกวันที่14 กันยายน 2560 ผมพบว่ามีมูลนิธิหนึ่ง ขโมยภาพของผมไปใช้ในคอนเทนต์เว็บไซต์ แล้วแชร์ต่อไปยังแฟนเพจของตัวเอง ทั้งนี้การเอาภาพไปใช้ไม่ผ่านการติดต่อมาขออนุญาตหรือใดๆ ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ภาพดังกล่าว เป็นภาพที่ผมส่งให้เว็บไซต์ The Standard ลงประกอบกับบทความขนาดยาว3ตอนเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าซึ่งผมเป็นคนเขียน
เมื่อทราบข่าว ผมจึงส่งข้อความไปยังเพจดังกล่าว สิ่งที่เขาตอบกลับมาในวันที่ 15 กันยายน ผมขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวว่าไม่เป็นมืออาชีพสำหรับองค์กรขนาดใหญ่และมีชื่อเสียง ผมจึงยืนยันให้ผู้บริหารของเขาติดต่อกลับโดยด่วน และให้เบอร์โทรศัพท์ไว้ เพราะในประเด็นนี้เป็นถึงขั้นคดีอาญา
แล้วเวลาก็ล่วงเลยผ่านมาจนสัปดาห์ถัดมา ผมไม่ได้รับการติดต่อกลับจนล่วงเลยมาถึงวันที่ 18กันยายน พ.ศ. 2560 ผมรวบรวมหลักฐานและส่งหลักฐานให้ทางสถานีตำรวจ เพื่อแจ้งความดำเนินความผิดทางอาญา ระหว่างนั้น ผมเปิดเพจของมูลนิธินี้ให้เจ้าหน้าที่ดูเพื่อยืนยันประกอบหลักฐาน พบว่ามีการลบรูปดังกล่าวออกแล้ว (แต่ยังไม่มีการติดต่ออื่นๆ ที่เป็นทางการ) ผมโทรศัพท์หามูลนิธิหนึ่งครั้ง ด้วยเบอร์ตรง
วันถัดมา วันที่19กันยายน ผู้บริหารมูลนิธิ ติดต่อกลับ และอธิบายกับผมโดยมีประเด็นดังนี้
1. เจ้าหน้าที่ขององค์กรผู้กระทำไม่รู้ว่ามีลิขสิทธิ์
2. องค์กรเขาทำงานเพื่อสาธาณประโยชน์มากว่า 30 ปี
3. ขออภัยที่ทำเช่นนี้ เราตอบสนองด้วยการลบออก และขออภัยที่ติดต่อช้า เพราะผู้บริการติดงาน
4. หากไม่พอใจกับการแสดงความรับผิดชอบขององค์กร ก็ให้แจ้งความได้เลย และให้เบอร์ฝ่ายกฎหมายขององค์กรไว้กับผม
เมื่อหมายเรียกของเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงมูลนิธิ ทางฝ่ายกฎหมายขององค์กรได้โทรศัพท์มานัดวันไกล่เกลี่ยที่สถานีตำรวจในวันที่ 16 ตุลาคม 2560 เวลาบ่ายโมง ทางฝ่ายคู่กรณี ประกอบด้วย ที่ปรึกษาทางกฎหมาย พร้อมด้วยผู้บริหาร และตัวผู้นำภาพไปใช้ ได้เจรจากับผมที่สถานีตำรวจ
ทางคู่กรณีอธิบายยืนยันผมดังเดิม ตามประเด็น4ข้อด้านบน และพยายามอธิบายทางเทคนิคว่าเสิร์ชไม่ลายน้ำไม่มีการดัดแปลงมากมาย (ซึ่งผมลองเอาภาพต้นฉบับไปเสิร์ชด้วยรูปภาพในกูเกิ้ลแล้ว อย่างไรก็มีลายน้ำของสำนักข่าวที่ผมอนุญาติให้ลงด้วยแน่นอน)
ผมจะไม่ขอลงรายละเอียดในการเจรจาเชิงคำพูดทั้งหมด แต่การเจรจาจบลงด้วยการที่ผมยื่นข้อเสนอ ค่าเสียหาย 30000 บาท และให้องค์กรออกแถลงการณ์แสดงความรับผิดชอบ ผ่านทางเว็บไซต์ (ในกรณีนี้โดยทั่วไป ค่าเสียหายจะอยู่ที่ประมาณ6หลัก แต่ด้วยความที่ผมเล็งเห็นว่าเป็นมูลนิธิฯ ทำให้เรียกในปริมาณที่น้อย และขอแถลงการณ์แสดงความรับผิดชอบ เพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่าง และเป็นบรรทัดฐานในสังคม)
ทั้งนี้ทางตัวแทนองค์กรที่มาเจรจากล่าวว่าต้องขอไปปรึกษาเลขาธิการมูลนิธิอีกครั้ง แต่ได้กล่าวปิดท้ายว่าเลขาธิการฯ มีแนวทางว่า จะชดใช้ค่าเสียหายไม่เกิน3หมื่นบาท โดยไม่ออกแถลงการณ์ หรือ อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งผมให้ความเห็นว่า ไม่สมควร เนื่องจากประเด็นของผมไม่ต้องการเงินมากมาย แต่ต้องการให้เป็นบรรทัดฐาน (ผมเรียกร้องค่าเสียหายเพื่อไม่ให้คนอื่นที่กระทำในกรณีถัดๆ ไป คิดว่าแค่ขอโทษก็จบ ส่วนแถลงการณ์ผมต้องการให้ออกเพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ในฐานะองค์กรที่ทำงานมาอย่างยาวนาน)
เวลาล่วงเลยผ่านไป ไม่มีการติดต่อกลับจากมูลนิธิว่าเขาคิดเห็นอย่างไรกับข้อเสนอของผม วันที่14 พฤศจิกายน 2560 ผมติดต่อไปยังฝ่ายกฎหมายของมูลนิธิอีกครั้งผ่านโทรศัพท์มือถือ เขาให้คำตอบว่าเลขาธิการฯไม่เห็นด้วย และไม่รับข้อเสนอ ผมติดต่อไปยังมูลนิธิโดยตรงทางโทรศัพท์อีกครั้ง ยืนยันให้ผู้บริหารติดต่อกลับมาเพื่อพูดคุย เพราะแม้แต่การตอบสนองต่อข้อเสนอ ก็เป็นผมเองที่คอยตามเรื่อง
วันที่15 ผมโทรไปย้ำทางมูลนธิอีกครั้ง และติดต่อหาเจ้าหน้าที่เจ้าของคดี ยืนยันดำเนินคดีอาญา
ทั้งหมดที่เล่ามานี้ ผมมีประเด็นหลักดังนี้
1. ผมต้องการการแสดงความรับผิดชอบของมูลนิธิฯ ทั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่าย การไม่ติดต่อกลับใดๆ และการเพิกเฉยต่อกรณีที่เกิดขึ้น
2. ผมต้องการให้เป็นบรรทัดฐานของสังคมในการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่าย
เมื่อผมถูกมูลนิธิหนึ่ง ละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่าย
กลางดึกวันที่14 กันยายน 2560 ผมพบว่ามีมูลนิธิหนึ่ง ขโมยภาพของผมไปใช้ในคอนเทนต์เว็บไซต์ แล้วแชร์ต่อไปยังแฟนเพจของตัวเอง ทั้งนี้การเอาภาพไปใช้ไม่ผ่านการติดต่อมาขออนุญาตหรือใดๆ ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ภาพดังกล่าว เป็นภาพที่ผมส่งให้เว็บไซต์ The Standard ลงประกอบกับบทความขนาดยาว3ตอนเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าซึ่งผมเป็นคนเขียน
เมื่อทราบข่าว ผมจึงส่งข้อความไปยังเพจดังกล่าว สิ่งที่เขาตอบกลับมาในวันที่ 15 กันยายน ผมขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวว่าไม่เป็นมืออาชีพสำหรับองค์กรขนาดใหญ่และมีชื่อเสียง ผมจึงยืนยันให้ผู้บริหารของเขาติดต่อกลับโดยด่วน และให้เบอร์โทรศัพท์ไว้ เพราะในประเด็นนี้เป็นถึงขั้นคดีอาญา
แล้วเวลาก็ล่วงเลยผ่านมาจนสัปดาห์ถัดมา ผมไม่ได้รับการติดต่อกลับจนล่วงเลยมาถึงวันที่ 18กันยายน พ.ศ. 2560 ผมรวบรวมหลักฐานและส่งหลักฐานให้ทางสถานีตำรวจ เพื่อแจ้งความดำเนินความผิดทางอาญา ระหว่างนั้น ผมเปิดเพจของมูลนิธินี้ให้เจ้าหน้าที่ดูเพื่อยืนยันประกอบหลักฐาน พบว่ามีการลบรูปดังกล่าวออกแล้ว (แต่ยังไม่มีการติดต่ออื่นๆ ที่เป็นทางการ) ผมโทรศัพท์หามูลนิธิหนึ่งครั้ง ด้วยเบอร์ตรง
วันถัดมา วันที่19กันยายน ผู้บริหารมูลนิธิ ติดต่อกลับ และอธิบายกับผมโดยมีประเด็นดังนี้
1. เจ้าหน้าที่ขององค์กรผู้กระทำไม่รู้ว่ามีลิขสิทธิ์
2. องค์กรเขาทำงานเพื่อสาธาณประโยชน์มากว่า 30 ปี
3. ขออภัยที่ทำเช่นนี้ เราตอบสนองด้วยการลบออก และขออภัยที่ติดต่อช้า เพราะผู้บริการติดงาน
4. หากไม่พอใจกับการแสดงความรับผิดชอบขององค์กร ก็ให้แจ้งความได้เลย และให้เบอร์ฝ่ายกฎหมายขององค์กรไว้กับผม
เมื่อหมายเรียกของเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงมูลนิธิ ทางฝ่ายกฎหมายขององค์กรได้โทรศัพท์มานัดวันไกล่เกลี่ยที่สถานีตำรวจในวันที่ 16 ตุลาคม 2560 เวลาบ่ายโมง ทางฝ่ายคู่กรณี ประกอบด้วย ที่ปรึกษาทางกฎหมาย พร้อมด้วยผู้บริหาร และตัวผู้นำภาพไปใช้ ได้เจรจากับผมที่สถานีตำรวจ
ทางคู่กรณีอธิบายยืนยันผมดังเดิม ตามประเด็น4ข้อด้านบน และพยายามอธิบายทางเทคนิคว่าเสิร์ชไม่ลายน้ำไม่มีการดัดแปลงมากมาย (ซึ่งผมลองเอาภาพต้นฉบับไปเสิร์ชด้วยรูปภาพในกูเกิ้ลแล้ว อย่างไรก็มีลายน้ำของสำนักข่าวที่ผมอนุญาติให้ลงด้วยแน่นอน)
ผมจะไม่ขอลงรายละเอียดในการเจรจาเชิงคำพูดทั้งหมด แต่การเจรจาจบลงด้วยการที่ผมยื่นข้อเสนอ ค่าเสียหาย 30000 บาท และให้องค์กรออกแถลงการณ์แสดงความรับผิดชอบ ผ่านทางเว็บไซต์ (ในกรณีนี้โดยทั่วไป ค่าเสียหายจะอยู่ที่ประมาณ6หลัก แต่ด้วยความที่ผมเล็งเห็นว่าเป็นมูลนิธิฯ ทำให้เรียกในปริมาณที่น้อย และขอแถลงการณ์แสดงความรับผิดชอบ เพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่าง และเป็นบรรทัดฐานในสังคม)
ทั้งนี้ทางตัวแทนองค์กรที่มาเจรจากล่าวว่าต้องขอไปปรึกษาเลขาธิการมูลนิธิอีกครั้ง แต่ได้กล่าวปิดท้ายว่าเลขาธิการฯ มีแนวทางว่า จะชดใช้ค่าเสียหายไม่เกิน3หมื่นบาท โดยไม่ออกแถลงการณ์ หรือ อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งผมให้ความเห็นว่า ไม่สมควร เนื่องจากประเด็นของผมไม่ต้องการเงินมากมาย แต่ต้องการให้เป็นบรรทัดฐาน (ผมเรียกร้องค่าเสียหายเพื่อไม่ให้คนอื่นที่กระทำในกรณีถัดๆ ไป คิดว่าแค่ขอโทษก็จบ ส่วนแถลงการณ์ผมต้องการให้ออกเพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ในฐานะองค์กรที่ทำงานมาอย่างยาวนาน)
เวลาล่วงเลยผ่านไป ไม่มีการติดต่อกลับจากมูลนิธิว่าเขาคิดเห็นอย่างไรกับข้อเสนอของผม วันที่14 พฤศจิกายน 2560 ผมติดต่อไปยังฝ่ายกฎหมายของมูลนิธิอีกครั้งผ่านโทรศัพท์มือถือ เขาให้คำตอบว่าเลขาธิการฯไม่เห็นด้วย และไม่รับข้อเสนอ ผมติดต่อไปยังมูลนิธิโดยตรงทางโทรศัพท์อีกครั้ง ยืนยันให้ผู้บริหารติดต่อกลับมาเพื่อพูดคุย เพราะแม้แต่การตอบสนองต่อข้อเสนอ ก็เป็นผมเองที่คอยตามเรื่อง
วันที่15 ผมโทรไปย้ำทางมูลนธิอีกครั้ง และติดต่อหาเจ้าหน้าที่เจ้าของคดี ยืนยันดำเนินคดีอาญา
ทั้งหมดที่เล่ามานี้ ผมมีประเด็นหลักดังนี้
1. ผมต้องการการแสดงความรับผิดชอบของมูลนิธิฯ ทั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่าย การไม่ติดต่อกลับใดๆ และการเพิกเฉยต่อกรณีที่เกิดขึ้น
2. ผมต้องการให้เป็นบรรทัดฐานของสังคมในการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่าย