ผมสังเกตว่าส่วนใหญ่ กุนซือในสามก๊กที่มักจะได้รับการยกย่องและถูกเอามาวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะมีแค่ ขงเบ้ง กุยแก สุมาอี้ ตันก๋ง กาเซี่ยง ลกซุน ซุนฮก วนๆอยู่ประมาณนี้ แต่กับลิยูที่ผลงานจัดว่าโดดเด่นมากๆ กลับไม่ค่อยมีใครพูดถึงมันเป็นเพราะอะไรครับ
ลองมาดูผลงานแต่ละอย่าง
1. อ่านสถานการณ์ออกว่าควรตอบรับคำขอของโฮจิ้นหรือเปล่า เพราะสถานการณ์ในเมืองหลวงตอนนั้นล่อแหลมมาก ถ้าเลือกข้างผิด(โฮจิ้น กับ 10ขันที) ก๊กตั๋งโต๊ะทั้งก๊กอาจถูกหาว่าเป็นกบฎได้ (ถ้ายกมัพไปแล้วสิบขันที่กับพระนางโฮเฮาควบคุมสถานการณ์ในเมืองหลวงได้ตั๋งโต๊ะจะกลายเป็นกบฎทันที แต่ถ้าไม่ยกทัพไปแล้วโฮจิ้นเกิดชนะ การเพ่งเล็งของโฮจิ้นก็ต้องตกมาที่ตัวตั๋งโต๊ะที่ไม่ยกทัพมาตามหนังสือเรียกว่าเหมือนกัน เรียกว่าโดนทั้งขึ้นทั้งลอง) แต่ด้วยความสามารถของลิยูกลับสามารถพลิกสถานการณ์ของตัวเองจากเบี้ยที่ต้องเลือกว่าจะไปทางไหน กลายมาเป็นมหาอำนาจในเมืองหลวงได้ในชั่วข้ามคืน นี่เป็นผลงานชิ้นแรก
2. ฆ่าเต๊งหงวนแบบได้กำไรสองต่อ เพราะถึงจะเข้าเมืองหลวงมาได้ ในเมืองหลวงยังมีคนที่มีกองกำลังพอจะงัดข้อกับตั๋งโต๊ะได้อยู่หลายคน ทั้งอ้วนเสี้ยว เต๊งหงวน โจโฉ โลติด ตันสิน ที่เป็นกลุ่มอำนาจเดิมในเมืองหลวง แต่หวยมาตกที่เต๊งหงวนเพราะเป็นคนที่กล้าเปิดศึกกับตั๋งโต๊ะแบบตรงๆ แล้วก็เป็นลิยูอีกครั้งที่ใช้วิธีชนะแบบไม่ต้องรบ โดยการเอาม้าเซ็กเธาว์ไปล่อลิโป้ ด้วยวิธีนี้ นอกจากจะกำจัดเต๊งหงวนได้โดยไม่ต้องทำศึกยืดเยื้อแล้ว ยังได้ลิโป้มาเป็นของแถม แล้วยังเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดูไม่ให้กองกำลังอื่นๆในเมืองหลวงกล้าลุกขึ้นต่อต้านตั๋งโต๊ะอีก
3. รบศึกหัวเมืองแบบ 18:1 ถ้าดูจากปริมาณแล้วถือว่าเสียเปรียบแบบเห็นๆ แต่ก็เป็นลิยูคนนี้อีกนั่นแหละที่ช่วยคลีคลายสถานการณ์ให้ตั๋งโต๊ะได้ เพราะ ในสามก๊กบอกไว้ว่ามีคนแค่ไม่กี่คนที่มองออกว่าพวกขุนศึกหัวเมืองไม่มีความสามัคคีกันต่างคนต่างก็มาเพื่อผลประโยชน์จของตัวเองทั้งนั้น และหนึ่งในนั้นคือลิยูและเค้าก็ใช้ประโยชน์จากรอยราวตรงนี้ทำให้ตั๋งโต๊ะรอดจากศึกนี้ไปได้ด้วยวิธีโยนชิ้นเนื้อที่เรียกว่าลกเอี้ยงลงไปกลางดงหมาโหยอย่างพวกขุนศึกหัวเมืองให้พวกนั้นไปแย่งกัน ส่วนตัวเองก็หนีไปเตียงอัน ไปสร้างเมืองใหม่อยู่
4. กำราบขุนนาง ถึงตั๋งโต๊ะจะสามารถรวบอำนาจในเมืองหลวงได้อย่างเบ็ดเสร็จแต่นั่นก็ไม่ได้รับรองว่าวันข้างหน้าจะไม่มีใครลุกขึ้นต่อต้าน ซึ่งก็เป็นลิยูอีกครั้งที่มองเห็นถึงจุดนี้ เค้าเลือกแนะนำให้ตั๋งโต๊ะใช้พระเดชในการกำราบคนที่มีความเสี่ยงจะกระด้างกระเดื่องต่อตนเองด้วยวิธีการลงโทษแบบโหดๆต่อหน้าขุนนางคนอื่น หากมองเผินๆอาจเหมือนเป็นการลุแก่อำนาจ แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป นี้เป็นวิธีข่มขุนนางในเมืองหลวงไม่ให้ลุกขึ้นมาต่อต้านแบบซึ่งหน้ากับตัวตั่งโต๊ะ
5. มองเห็นความพินาศของตั๋งโต๊ะ ลิยูเป็นคนที่เป็นตัวกลางระหว่าง ลิโป้กับตั๋งโต๊ะเสมอ ด้วยความที่ทั้งคู่มีนิสัยออกไปทางนักเลงเหมือนๆกัน ลิยูจริงต้องเป็นเหมือนกาวใจไม่ให้ทั้งสองคนหันดาบเข้าหากัน แต่สุดท้ายตั๋งโต๊ะก็ผิดใจกับลิโป้จนนำมาซึ่งจุดจบของตนเอง ในนิยายบอกว่าเป็นเพราะช่วงนั้นลิยูป่วย ระหว่างลิโป้กับตั๋งโต๊ะจึงไม่มีตัวกลางคอยไกล่เกลี่ยอีกต่อไป สุดท้ายตั๋งโต๊ะก็ตายเพราะลิโป้
และอีกอย่างที่เป็นข้อสังเกตคือ จริงๆแล้ว แต่เดิมกาเซี่ยงก็อยู่ในกลุ่มของตั๋งโต๊ะด้วย แต่เป็นเพราะอะไร ตลอดเวลาที่ลิยูมีชีวิต กาเซี่ยงถึงไม่เคยได้แสดงฝีมือเลย ต้องรอให้อองอุ้นปราบตั๋งโต๊ะสำเร็จ ตัวเองถึงจะได้ออกมาแสดงฝีมือ แสดงว่าลิยูคนนี้ต้องมีดีพอตัว ซึ่งสามารถกลบบารมีคนอย่างกาเซี่ยงได้
แล้วคนอ่านสามก๊กคนอื่นหละครับ ลองวิเคราะห์กุนซือคนนี้ดู ผมอยากรู้ว่าแต่ละคนคิดเห็นกับกุนซือคนนี้ยังไง แล้วลิยูมีข้อดีข้อด้อยตรงไหน ลองคุยกันดูครับ ขอบคุรครับ
ลิยูคนนี้ทำไมไม่ค่อยมีใครพูดถึงความสามารถของเค้าเลยหละครับ
ลองมาดูผลงานแต่ละอย่าง
1. อ่านสถานการณ์ออกว่าควรตอบรับคำขอของโฮจิ้นหรือเปล่า เพราะสถานการณ์ในเมืองหลวงตอนนั้นล่อแหลมมาก ถ้าเลือกข้างผิด(โฮจิ้น กับ 10ขันที) ก๊กตั๋งโต๊ะทั้งก๊กอาจถูกหาว่าเป็นกบฎได้ (ถ้ายกมัพไปแล้วสิบขันที่กับพระนางโฮเฮาควบคุมสถานการณ์ในเมืองหลวงได้ตั๋งโต๊ะจะกลายเป็นกบฎทันที แต่ถ้าไม่ยกทัพไปแล้วโฮจิ้นเกิดชนะ การเพ่งเล็งของโฮจิ้นก็ต้องตกมาที่ตัวตั๋งโต๊ะที่ไม่ยกทัพมาตามหนังสือเรียกว่าเหมือนกัน เรียกว่าโดนทั้งขึ้นทั้งลอง) แต่ด้วยความสามารถของลิยูกลับสามารถพลิกสถานการณ์ของตัวเองจากเบี้ยที่ต้องเลือกว่าจะไปทางไหน กลายมาเป็นมหาอำนาจในเมืองหลวงได้ในชั่วข้ามคืน นี่เป็นผลงานชิ้นแรก
2. ฆ่าเต๊งหงวนแบบได้กำไรสองต่อ เพราะถึงจะเข้าเมืองหลวงมาได้ ในเมืองหลวงยังมีคนที่มีกองกำลังพอจะงัดข้อกับตั๋งโต๊ะได้อยู่หลายคน ทั้งอ้วนเสี้ยว เต๊งหงวน โจโฉ โลติด ตันสิน ที่เป็นกลุ่มอำนาจเดิมในเมืองหลวง แต่หวยมาตกที่เต๊งหงวนเพราะเป็นคนที่กล้าเปิดศึกกับตั๋งโต๊ะแบบตรงๆ แล้วก็เป็นลิยูอีกครั้งที่ใช้วิธีชนะแบบไม่ต้องรบ โดยการเอาม้าเซ็กเธาว์ไปล่อลิโป้ ด้วยวิธีนี้ นอกจากจะกำจัดเต๊งหงวนได้โดยไม่ต้องทำศึกยืดเยื้อแล้ว ยังได้ลิโป้มาเป็นของแถม แล้วยังเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดูไม่ให้กองกำลังอื่นๆในเมืองหลวงกล้าลุกขึ้นต่อต้านตั๋งโต๊ะอีก
3. รบศึกหัวเมืองแบบ 18:1 ถ้าดูจากปริมาณแล้วถือว่าเสียเปรียบแบบเห็นๆ แต่ก็เป็นลิยูคนนี้อีกนั่นแหละที่ช่วยคลีคลายสถานการณ์ให้ตั๋งโต๊ะได้ เพราะ ในสามก๊กบอกไว้ว่ามีคนแค่ไม่กี่คนที่มองออกว่าพวกขุนศึกหัวเมืองไม่มีความสามัคคีกันต่างคนต่างก็มาเพื่อผลประโยชน์จของตัวเองทั้งนั้น และหนึ่งในนั้นคือลิยูและเค้าก็ใช้ประโยชน์จากรอยราวตรงนี้ทำให้ตั๋งโต๊ะรอดจากศึกนี้ไปได้ด้วยวิธีโยนชิ้นเนื้อที่เรียกว่าลกเอี้ยงลงไปกลางดงหมาโหยอย่างพวกขุนศึกหัวเมืองให้พวกนั้นไปแย่งกัน ส่วนตัวเองก็หนีไปเตียงอัน ไปสร้างเมืองใหม่อยู่
4. กำราบขุนนาง ถึงตั๋งโต๊ะจะสามารถรวบอำนาจในเมืองหลวงได้อย่างเบ็ดเสร็จแต่นั่นก็ไม่ได้รับรองว่าวันข้างหน้าจะไม่มีใครลุกขึ้นต่อต้าน ซึ่งก็เป็นลิยูอีกครั้งที่มองเห็นถึงจุดนี้ เค้าเลือกแนะนำให้ตั๋งโต๊ะใช้พระเดชในการกำราบคนที่มีความเสี่ยงจะกระด้างกระเดื่องต่อตนเองด้วยวิธีการลงโทษแบบโหดๆต่อหน้าขุนนางคนอื่น หากมองเผินๆอาจเหมือนเป็นการลุแก่อำนาจ แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป นี้เป็นวิธีข่มขุนนางในเมืองหลวงไม่ให้ลุกขึ้นมาต่อต้านแบบซึ่งหน้ากับตัวตั่งโต๊ะ
5. มองเห็นความพินาศของตั๋งโต๊ะ ลิยูเป็นคนที่เป็นตัวกลางระหว่าง ลิโป้กับตั๋งโต๊ะเสมอ ด้วยความที่ทั้งคู่มีนิสัยออกไปทางนักเลงเหมือนๆกัน ลิยูจริงต้องเป็นเหมือนกาวใจไม่ให้ทั้งสองคนหันดาบเข้าหากัน แต่สุดท้ายตั๋งโต๊ะก็ผิดใจกับลิโป้จนนำมาซึ่งจุดจบของตนเอง ในนิยายบอกว่าเป็นเพราะช่วงนั้นลิยูป่วย ระหว่างลิโป้กับตั๋งโต๊ะจึงไม่มีตัวกลางคอยไกล่เกลี่ยอีกต่อไป สุดท้ายตั๋งโต๊ะก็ตายเพราะลิโป้
และอีกอย่างที่เป็นข้อสังเกตคือ จริงๆแล้ว แต่เดิมกาเซี่ยงก็อยู่ในกลุ่มของตั๋งโต๊ะด้วย แต่เป็นเพราะอะไร ตลอดเวลาที่ลิยูมีชีวิต กาเซี่ยงถึงไม่เคยได้แสดงฝีมือเลย ต้องรอให้อองอุ้นปราบตั๋งโต๊ะสำเร็จ ตัวเองถึงจะได้ออกมาแสดงฝีมือ แสดงว่าลิยูคนนี้ต้องมีดีพอตัว ซึ่งสามารถกลบบารมีคนอย่างกาเซี่ยงได้
แล้วคนอ่านสามก๊กคนอื่นหละครับ ลองวิเคราะห์กุนซือคนนี้ดู ผมอยากรู้ว่าแต่ละคนคิดเห็นกับกุนซือคนนี้ยังไง แล้วลิยูมีข้อดีข้อด้อยตรงไหน ลองคุยกันดูครับ ขอบคุรครับ