สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
เสเหลียง (西涼) หรือ ซีเหลียง หมายถึงมณฑลเหลียงโจว (涼州) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอาณาจักรฮั่น ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกมี 13 จังหวัดคือ หล่งซี (隴西) ฮั่นหยาง (漢陽) อู่ตู (武都) จินเฉิง (金城) อันติ้ง (安定) เป่ยตี้ (北地) อู่เฉิง (武威) จางเย (張掖) จิ่วเฉวียน (酒泉) ตุนหวง (敦煌) จางเยสู่กั๋ว (張掖屬國) จางเยจวี้เหยียนสู่กั๋ว (張掖居延屬國)
จดหมายเหตุสามก๊กระบุว่า ตั๋งโต๊ะเป็นคนอำเภอหลินเถา (臨洮) ในหล่งซี เมื่อยังหนุ่มเคยเดินทางไปยังดินแดนของชนเผ่าเชียง (เกี๋ยง) ผูกมิตรกับหัวหน้าชนเผ่าในแถบนั้นจำนวนมาก
ในสมัยพระเจ้าฮวนเต้ ตั๋งโต๊ะมีชื่อเสียงในหกจังหวัดของเหลียงโจวจึงได้ลงไปรับราชการเป็นอวี่หลินหลาง (羽林郎) ทหารรักษาพระองค์อวี่หลิน ตั๋งโต๊ะมีความสามารถทางการทหารและมีพละกำลังมากหาผู้เสมอไม่ได้ สามารถสะพายกระบอกธนูสองอันแล้วขี่ม้ายิงธนูได้ทั้งซ้ายขวา ต่อมาได้รับยศเป็นจวินซือหม่า (軍司馬) ผู้บังคับการกองทหาร ติดตามจางหลางเจี้ยงจางห้วน (張奐) ไปปราบกบฏในมณฑลปิ้งโจว (并州) ได้ชัยชนะได้เลื่อนยศเป็นหลางจง (郎中) เลื่อนตำแหน่งตามลำดับคือ นายอำเภอกวางอู่ (廣武令) ในปิ้งโจว ผู้บัญชาการฝ่ายเหนือสู่จวิ้น (蜀郡北部都尉) หรือจังหวัดจ๊ก อู่จี้เสี้ยวเว่ยแห่งซีอวี้ (西域戊己校尉) ดูแลชายแดนตะวันตก ผู้ตรวจการมณฑลปิ้งโจว (并州刺史) และผู้ว่าราชการจังหวัดเหอตง (河東太守)
อิงสฺยงจี้ 《英雄記》 หรือจดหมายเหตุวีรบุรุษระบุว่า ตั๋งโต๊ะป็นแม่ทัพที่มีประสบการณ์ในตะวันตกมาก เคยออกรบกับชาวหูและชาวเชียงรวมมากกว่าร้อยครั้ง
รัชศกจงผิงที่ 1 (ค.ศ. 184) เกิดกบฏโจรโพกผ้าเหลือง ราชสำนักตั้งตั๋งโต๊ะเป็นจงหลางเจี้ยงตะวันออก (東中郎將) ถือคฑาอาญาสิทธิ์ ยกไปปราบเตียวก๊กแทนโลติด แต่รบแพ้จึงถูกปลด
รัชศกจงผิงที่ 2 (ค.ศ. 185) เกิดกบฏในหลียงโจวนำโดนหันซุย ราชสำนักตั้งตั๋งโต๊ะเป็นจงหลางเจี้ยงอีกครั้ง เป็นหนึ่งในนายกองยกไปปราบกบฏ ต่อมาได้เลื่อนเป็นขุนพลปราบคนเถื่อน (破虜將軍) ครั้งหนึ่งรับศึกกับชาวหูและชาวเชียงที่มีกำลังนับหมื่น ขาดเสบียงเหนื่อยล้า ตั๋งโต๊ะใช้อุบายสร้างและทำลายเขื่อนทำให้ศัตรูข้ามน้ำตามมาไม่ได้ ในหกกองทัพที่ถูกส่งไปรบที่หล่งซี ห้าทัพพ่ายแพ้ย่อยยับ มีแต่ตั๋งโต๊ะที่รักษาทัพรอดกลับมาได้ มาประจำการอยู่ที่จังหวัดฝูเฟิง (扶風) ในกวนจง ได้รับบรรดาศักดิ์ไถเซียงโหว (斄鄉侯) มีศักดินาพันครัวเรือน
รัชศกจงผิงที่ 5 (ค.ศ. 188) ราชสำนักเลื่อนตั๋งโต๊ะเป็นขุนพลฝ่ายหน้า (前將軍) ร่วมกับขุนพลซ้ายหวงฝู่ซง (皇甫嵩 ฮองฮูสง) ยกไปปราบกบฏเหลียงโจว หลิงตี้จี้ 《靈帝紀》 หรือจดหมายเหตุพระเจ้าเลนเต้ขยายความว่า ปีนั้น (บางแห่งว่ารัชศกจงผิงที่ 6) ราชสำนักเลื่อนตั๋งโต๊ะเป็นเสาฝู่ (少府) เสนาบดีกรมวัง หนึ่งในตำแหน่งเก้ามนตรีในราชธานี และสั่งให้ยกกองทัพของตนให้หวงฝู่ซงดูแลแทน แต่ตั๋งโต๊ะปฏิเสธอ้างว่าเหลียงโจวยังไม่สงบ
รัชศกจงผิงที่ 6 (ค.ศ. 189) พระเจ้าเลนเต้ประชวร ให้ตั้งตั๋งโต๊ะเป็นผู้ว่าราชการมณฑลปิ้งโจว (并州牧) สั่งให้มอบทหารให้หวงฝู่ซงอีก ตั๋งโต๊ะปฏิเสธอีกกราบทูลว่า "ข้าพระองค์บัญชาการทัพสิบปี ทหารใหญ่น้อยติดตามใกล้ชิดมายาวนาน รักใคร่ในมิตรไมตรีของข้าพระองค์ ยินดีจะทำเพื่อแผ่นดินเมื่อได้รับคำสั่ง ขอนำทหารเหล่านี้ไปยังมณฑล ปกป้องชายแดนอย่างมีประสิทธิภาพ" แล้วยกกองทัพไปประจำการที่เหอตงในมณฑลซือลี่หรือมณฑลราชธานี รอสถานการณ์
เห็นได้ว่าตั๋งโต๊ะไม่ยอมสละกองทัพเหลียงโจวที่เป็นฐานอำนาจของตนเอง ภายหลังจึงถูกโฮจิ๋นเรียกตัวเข้าเมืองหลวง และฉวยโอกาสยึดอำนาจในราชสำนักโดยอาศัยกำลังของตนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเหลียงโจว แม่ทัพคนสนิทของตั๋งโต๊ะเช่น ลิฉุย กุยกี หวนเตียว เตียวเจ โฮจิ้น ก็เป็นชาวเหลียงโจวเช่นเดียวกัน
ม้าเท้ง เป็นคนอำเภอเม่าหลิง (茂陵) จังหวัดฝูเฟิง (扶風) หนึ่งในสามเขต (三輔) ของกวนจง ในมณฑลราชธานี เป็นเชื้อสายของหม่าหยวน (馬援) ขุนพลสมัยฮั่น บิดาคือหม่าผิง (馬平) เป็นนายกองอำเภอหลานก้าน (蘭干) จังหวัดเทียนสุ่ย (天水) ในเหลียงโจว แต่ถูกปลดจากตำแหน่ง จึงไปอาศัยอยู่กับชนเผ่าเชียงในหล่งซี หม่าผิงได้หญิงชาวเชียงเป็นภรรยา ให้กำเนิดบุตรชายคือม้าเท้ง
ในวัยเด็กม้าเท้งยากจน ตัดฟืนบนภูเขามาขายในตลาดเลี้ยงชีพ เมื่อเติบใหญ่มีร่างกายสูงใหญ่มากกว่าแปดฉื่อ (เกิน 180 ซม.) มีใบหน้าและจมูกสง่างามโดดเด่น เป็นคนมีเกียรติและใจกว้าง มีผู้นับถือจำนวนมาก
ปลายรัชกาลพระเจ้าเลนเต้ ชาวเชียงในเหลียงโจวก่อกบฏต่อราชสำนักฮั่น โดยมีข้าราชการในเหลียงโจวคือหันซุยและเปียนจาง (邊章) เข้าร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีหวังกั๋ว (王國) ร่วมกับชาวตีชาวเชียงก่อกบฏ เกิ๋งปี่ (耿鄙) ผู้ตรวจการมณฑลเหลียงโจวในเวลานั้นเกณฑ์ไพร่พลปราบกบฏ ม้าเท้งได้เข้าร่วม เป็นที่ประทับใจของคนในหัวเมืองมากจึงได้รับตำแหน่งเป็นฉงซื่อ (從事) ในกองทัพบัญชาหน่วยรบ สร้างความชอบในการรบหลายครั้งจนได้เลื่อนเป็นจวินซือหม่า (軍司馬) ผู้บังคับการทหารในกองพล แล้วเลื่อนเป็นขุนพลผู้ช่วย (偏將軍)
แต่เมื่อเกิ๋งปี่ถูกกบฏฆ่าตาย ม้าเท้งจึงเปลี่ยนข้างนำกำลังไปเข้ากับหันซุย ทั้งสองตั้งหวังกั๋วเป็นผู้นำ ขยายอำนาจเข้าไปในสามเขตของมณฑลราชธานี ใกล้ถึงเมืองฉางอันราชธานีตะวันตกของราชวงศ์ฮั่น เกิดความปั่นป่วนไปทั่วเหลียงโจว
ราชสำนักต้องตั้งหวงฝู่ซง อดีตแม่ทัพปราบโจรโพกผ้าเหลืองที่ถูกปลดเพราะไม่ยอมให้สินบนขันทีขึ้นใหม่เพื่อไปปราบกบฏ ได้รับชัยชนะอย่างงดงาม ม้าเท้งหันซุยปลดหวังกั๋ว ตั้งเหยียนจง (閻忠) เป็นผู้นำแทน แต่ก็ป่วยตายไปไม่นาน บรรดากบฏที่เหลือจึงรบชิงอำนาจกันเอง ชาวเชียงสูญสิ้นกำลังไป เหลือแต่กลุ่มที่นำโดยชาวฮั่น คือกลุ่มของหันซุยที่จินเฉิง (金城) กลุ่มของม้าเท้งที่เว่ยกู่ (渭谷) กลุ่มของซ่งเจี้ยน (宋建) ที่ฝูฮั่น (枹罕) ซึ่งยังไม่ทันปราบปรามก็เกิดเหตุตั๋งโต๊ะยึดอำนาจในเมืองหลวงเสียก่อน กลุ่มเหล่านี้ยังครองอำนาจในเหลียงโจวโดยเป็นอิสระจากราชสำนัก ซ่งเจี้ยนตั้งตัวเป็นเหอสั่วผิงฮั่นหวัง (河首平漢王) ครองอำนาจในเหลียงโจวมาอีกยาวนาน
เมื่อตั๋งโต๊ะจะย้ายราชธานีไปที่ฉางอันที่มีอาณาเขตติดต่อกับเหลียงโจวทางตะวันตก ตั๋งโต๊ะส่งคนไปติดต่อม้าเท้งกับหันซุยให้ช่วยส่งกำลังมาโจมตีพันธมิตรกวนตง ทั้งสองจึงยกกองทัพมาที่ฉางอัน (ตามประวัติศาสตร์ ม้าเท้งไม่ได้เข้าร่วมกับพันธมิตรกวนตง)
หลังจากตั๋งโต๊ะตาย ลิฉุยกุยกีครองอำนาจในราชสำนัก ม้าเท้งหันซุยยกกำลังมาสวามิภักดิ์ ราชสำนักตั้งหันซุยเป็นขุนพลพิทักษ์ประจิม (鎮西將軍) ให้กลับไปประจำการที่จินเฉิง ตั้งม้าเท้งเป็นขุนพลพิชิตประจิม (征西將軍) ประจำที่อำเภอเหมย (郿) ใกล้ฉางอัน
ม้าเท้งเคยมีเรื่องร้องขอลิฉุยแต่ถูกปฏิเสธ จึงโกรธ ยกกองทัพมาตีฉางอัน มีพระราชโองการไปห้ามทัพแต่ม้าเท้งไม่ฟัง หันซุยตอนแรกจะยกทหารมาห้ามศึกก็หันไปเข้ากับม้าเท้งด้วย ทั้งนี้ม้าเท้งลอบสมคบคิดกับขุนนางบางคนในเมืองหลวงจะยกทัพเข้ามาเพื่อปราบลิฉุย แต่แผนการรั่วไหล สุดท้ายก็พ่ายแพ้ ม้าเท้งหันซุยต้องถอยกลับเหลียงโจว ในช่วงนั้นสามเขตของกวนจงเป็นจลาจลมากเพราะลิฉุยกับพวกให้ทหารไปปล้นสะดมราษฎร เดิมเคยมีราษฎรนับแสนครัวเรือน ภายในสองปีผู้คนอดอยากต้องกินเนื้อกันเองจนไม่มีคนเหลืออยู่เลย
แต่ลิฉุยกุยกีคงเห็นว่าจัดการม้าเท้งยาก จึงมีพระราชโองการให้อภัยโทษ ตั้งม้าเท้งเป็นขุนพลสงบเผ่าตี (安狄將軍) ตั้งหันซุยเป็นขุนพลสงบเผ่าเชียง (安羌將軍) ปล่อยให้ครองเหลียงโจวไป เนื่องจากสามเขตเป็นจลาจลมาก ม้าเท้งจึงไม่ได้กลับมาทางตะวันออกอีก
รัชศกซิงผิงที่ 1 (ค.ศ. 194) แบ่งห้าจังหวัดของเหลียงโจวในภูมิภาคเหอซี (河西) หรือทางตะวันตกของแม่น้ำฮวงโหคือ อู่เวย (武威) จางเย (張掖) จิ่วเฉวียน (酒泉) ตุนหวง (敦煌) ซีไห่ (西海) มาตั้งมณฑลใหม่เรียกว่า ยงโจว (雍州)
ต้นรัชศกเจี้ยนอัน โจโฉครองอำนาจในราชสำนัก ยังเกรงอิทธิพลม้าเท้งและหันซุยในแถบกวนจงที่ติดต่อกับเหลียงโจวอยู่และสู้รบกันเอง โจโฉทำตามคำแนะนำของซุนฮกผูกมิตรกับทั้งสอง ตั้งจงฮิวเป็นซือลี่เสี้ยวเว่ย (司隸校尉) ผู้บังคับการมณฑลราชธานี และผู้บัญชาการกองทัพกวนจง (關中諸軍) ประจำการที่เมืองฉางอัน จงฮิวส่งจดหมายไปเจรจาหว่านล้อมม้าเท้งหันซุยให้ยอมอ่อนน้อมต่อราชสำนัก และส่งบุตรชายมาเป็นตัวประกันที่เมืองฮูโต๋
รัชศกเจี้ยนอันที่ 7 (ค.ศ. 202) เมื่อโจโฉรบชนะอ้วนเสี้ยว อ้วนซงต้องการให้ม้าเท้งกับหันซุยช่วยเหลือ แต่จงฮิวส่งคนไปหว่านล้อมม้าเท้งจนเลือกเข้ากับโจโฉส่งม้าเฉียวคุมทหารนับหมื่นไปช่วยจงฮิว ม้าเฉียวได้รับตำแหน่งฉงซื่อผู้บัญชาการทัพของซือลี่เสี้ยวเว่ย (司隸校尉督軍從事) ปราบกัวหยวน (郭援) และเกาก้าน (高幹) คนของอ้วนซงซึ่งร่วมมือกับกบฏซฺยงหนูได้รับชัยชนะ โจโฉจึงตั้งม้าเท้งเป็นขุนพลพิชิตทักษิณ (征南將軍) ตั้งหันซุยเป็นขุนพลพิชิตประจิม (征西將軍) มีอำนาจเปิดทำเนียบว่าราชการ
ก่อนหน้านั้นม้าเท้งกับหันซุยเป็นพี่น้องร่วมสาบานกันและใกล้ชิดกันมาก แต่ต่อมาขัดแย้งกันจนกลายเป็นศัตรูรบกันเอง ครั้งหนึ่งม้าเท้งโจมตีหันซุย หันซุยหลบหนีไปยกกำลังมาโต้กลับ ฆ่าลูกเมียม้าเท้ง รบกันไม่สิ้นสุด จงฮิวและผู้ตรวจการมณฑลเหลียงโจวเว่ยตวน (韋端) จึงส่งจดหมายไปเกลี้ยกล่อมให้สงบศึกกัน
ต่อมาม้าเท้งถูกเรียกมาประจำการที่อำเภอหฺวายหลี่ (槐里) ในจังหวัดโย่วฝูเฟิง (右扶風) มณฑลซือลี่ เลื่อนเป็นขุนพลฝ่ายหน้า (前將軍) ถือคฑาอาญาสิทธิ์ มีบรรดาศักดิ์หฺวายหลี่โหว (槐里侯) ม้าเท้งเตรียมการป้องกันโจรหูทางเหนือ ป้องกันทหารม้าขาวเซียนเปยทางตะวันออก อุปถัมภ์บัณฑิตและผู้มีความสามารถ เห็นใจช่วยเหลือราษฎร ผู้คนในสามเขตเคารพรักม้าเท้งมาก
รัชศกเจี้ยนอันที่ 13 (ค.ศ. 208) โจโฉจะยกทัพลงใต้แต่ยังเกรงม้าเท้งในกวนจง จึงเชิญม้าเท้งมารับราชการในราชสำนักฮั่น ตัวม้าเท้งยังมีปัญหากับหันซุยและเห็นว่าตัวเองแก่แล้ว จึงยอมมาอยู่ที่เมืองหลวงได้รับตำแหน่งเว่ยเว่ย (衛尉) ผู้บัญชาการทหารรักษาพระราชวัง ม้าเฉียวได้เป็นขุนพลผู้ช่วย (偏將軍) มีบรรดาศักดิ์ตูถิงโหว (都亭侯) ควบคุมกองทัพในเหลียงโจวแทนบิดา ม้าฮิวได้เป็นเฟิงจวีตูเว่ย (奉車都尉) ผู้บัญชาการราชรถ ม้าเทียดได้เป็นนายกองทหารม้าเหล็ก (鐵騎都尉) ครอบครัวทั้งหมดย้ายไปอยู่ที่เย่เฉิง (鄴城 เงียบกุ๋น) ศูนย์กลางอำนาจของโจโฉ มีแต่ม้าเฉียวยังอยู่ที่เหลียงโจวกับหันซุย ทั้งนี้เมื่อโจโฉได้เป็นอัครมหาเสนาบดีเคยเชิญม้าเฉียวมาทำงานด้วย แต่ถูกปฏิเสธ
รัชศกเจี้ยนอันที่ 16 (ค.ศ. 211) โจโฉจะยกทัพไปตีเมืองฮันต๋ง ม้าเฉียวเกิดระแวงขึ้นมาว่าโจโฉจะยกทัพมาตีตน จึงประกาศตัดขาดกับม้าเท้ง ยกหันซุยเป็นบิดา แล้วขอให้หันซุยตัดขาดกับบุตรตนเองแล้วรับตนเป็นบุตรแทน ก่อกบฎในกวนจง แต่รบแพ้ในครั้งแรกเพราะโดนอุบายของกาเซี่ยงให้แตกคอกัน
รัชศกเจี้ยนอันปีที่ 17 (ค.ศ. 212) ราชสำนักออกคำสั่งให้ประหารชีวิตม้าเท้งและครอบครัวในเย่เฉิงทั้งหมดสามชั่วโคตร รวมกว่าสองร้อยชีวิต
ม้าเฉียวกลับไปชักจูงชนเผ่านอกด่านเข้ามายึดครองหัวเมืองในกวนจงจำนวนมาก และพยายามยึดครองมณฑลเหลียงโจวซึ่งเป็นถิ่นเดิมแต่ไม่สำเร็จ ถูกแฮหัวเอี๋ยนที่ประจำการในกวนจงปราบปรามลงได้ ม้าเฉียวต้องหนีไปอาศัยเตียวฬ่อที่ฮั่นจง
รัชศกเจี้ยนอันปีที่ 18 (ค.ศ. 213) ราชสำนักยุบเหลียงโจวรวมกับยงโจว ยุบมณฑลซือลี่ แบ่งเอาสามเขตและจังหวัดหงหนงมารวมกับยงโจวด้วย
รัชศกเจี้ยนอันปีที่ 20 (ค.ศ. 215) แฮหัวเอี๋ยนยกทัพไปปราบปราบหันซุยได้สำเร็จ จากนั้นจึงยกไปปราบซ่งเจี้ยนที่เป็นอิสระมานานที่ฝูฮั่นได้ และส่งเตียวคับไปปราบปรามชนเผ่าเชียงในเหอซี (河西) ทางตะวันตกของยงโจวให้ยอมสวามิภักดิ์ ทำให้ภูมิภาคหล่งโย่ว (隴右) หรือทางตะวันตกของภูเขาหล่งซานสงบ ยงโจวทั้งหมดจึงกลับคืนมาอยู่ใต้การปกครองของราชสำนักอีกครั้ง
รัชศกหวงชูปีที่ 1 (ค.ศ. 220) โจผีขึ้นเป็นฮ่องเต้ ให้แบ่งแปดจังหวัดของยงโจวในภูมิภาคเหอซีคือ จินเฉิง อู่เฉิง จางเย จิ่วเฉวียน ตุนหวง ซีไห่ (西海) ซีจวิ้น (西郡) ซีผิง (西平) มาตั้งเป็นมณฑลเหลียงโจว (ในสมัยฮั่น ซีไห่คือจางเยจวี้เหยียนสู่กั๋ว ซีจวิ้นแยกมาจากจางเย ซีผิงแยกมาจากจินเฉิง) เอาจังหวัดเหอหนาน เหอเน่ย เหอตง หงหนง สี่จังหวัดตั้งเป็นซือลี่
ในรัชศกหวงชูเคยแบ่งสี่จังหวัดในยงโจวคือมาตั้งเป็นมณฑลฉินโจว (秦州) แต่ไม่นานก็ยุบไปรวมกับยงโจวตามเดิม
จดหมายเหตุสามก๊กระบุว่า ตั๋งโต๊ะเป็นคนอำเภอหลินเถา (臨洮) ในหล่งซี เมื่อยังหนุ่มเคยเดินทางไปยังดินแดนของชนเผ่าเชียง (เกี๋ยง) ผูกมิตรกับหัวหน้าชนเผ่าในแถบนั้นจำนวนมาก
ในสมัยพระเจ้าฮวนเต้ ตั๋งโต๊ะมีชื่อเสียงในหกจังหวัดของเหลียงโจวจึงได้ลงไปรับราชการเป็นอวี่หลินหลาง (羽林郎) ทหารรักษาพระองค์อวี่หลิน ตั๋งโต๊ะมีความสามารถทางการทหารและมีพละกำลังมากหาผู้เสมอไม่ได้ สามารถสะพายกระบอกธนูสองอันแล้วขี่ม้ายิงธนูได้ทั้งซ้ายขวา ต่อมาได้รับยศเป็นจวินซือหม่า (軍司馬) ผู้บังคับการกองทหาร ติดตามจางหลางเจี้ยงจางห้วน (張奐) ไปปราบกบฏในมณฑลปิ้งโจว (并州) ได้ชัยชนะได้เลื่อนยศเป็นหลางจง (郎中) เลื่อนตำแหน่งตามลำดับคือ นายอำเภอกวางอู่ (廣武令) ในปิ้งโจว ผู้บัญชาการฝ่ายเหนือสู่จวิ้น (蜀郡北部都尉) หรือจังหวัดจ๊ก อู่จี้เสี้ยวเว่ยแห่งซีอวี้ (西域戊己校尉) ดูแลชายแดนตะวันตก ผู้ตรวจการมณฑลปิ้งโจว (并州刺史) และผู้ว่าราชการจังหวัดเหอตง (河東太守)
อิงสฺยงจี้ 《英雄記》 หรือจดหมายเหตุวีรบุรุษระบุว่า ตั๋งโต๊ะป็นแม่ทัพที่มีประสบการณ์ในตะวันตกมาก เคยออกรบกับชาวหูและชาวเชียงรวมมากกว่าร้อยครั้ง
รัชศกจงผิงที่ 1 (ค.ศ. 184) เกิดกบฏโจรโพกผ้าเหลือง ราชสำนักตั้งตั๋งโต๊ะเป็นจงหลางเจี้ยงตะวันออก (東中郎將) ถือคฑาอาญาสิทธิ์ ยกไปปราบเตียวก๊กแทนโลติด แต่รบแพ้จึงถูกปลด
รัชศกจงผิงที่ 2 (ค.ศ. 185) เกิดกบฏในหลียงโจวนำโดนหันซุย ราชสำนักตั้งตั๋งโต๊ะเป็นจงหลางเจี้ยงอีกครั้ง เป็นหนึ่งในนายกองยกไปปราบกบฏ ต่อมาได้เลื่อนเป็นขุนพลปราบคนเถื่อน (破虜將軍) ครั้งหนึ่งรับศึกกับชาวหูและชาวเชียงที่มีกำลังนับหมื่น ขาดเสบียงเหนื่อยล้า ตั๋งโต๊ะใช้อุบายสร้างและทำลายเขื่อนทำให้ศัตรูข้ามน้ำตามมาไม่ได้ ในหกกองทัพที่ถูกส่งไปรบที่หล่งซี ห้าทัพพ่ายแพ้ย่อยยับ มีแต่ตั๋งโต๊ะที่รักษาทัพรอดกลับมาได้ มาประจำการอยู่ที่จังหวัดฝูเฟิง (扶風) ในกวนจง ได้รับบรรดาศักดิ์ไถเซียงโหว (斄鄉侯) มีศักดินาพันครัวเรือน
รัชศกจงผิงที่ 5 (ค.ศ. 188) ราชสำนักเลื่อนตั๋งโต๊ะเป็นขุนพลฝ่ายหน้า (前將軍) ร่วมกับขุนพลซ้ายหวงฝู่ซง (皇甫嵩 ฮองฮูสง) ยกไปปราบกบฏเหลียงโจว หลิงตี้จี้ 《靈帝紀》 หรือจดหมายเหตุพระเจ้าเลนเต้ขยายความว่า ปีนั้น (บางแห่งว่ารัชศกจงผิงที่ 6) ราชสำนักเลื่อนตั๋งโต๊ะเป็นเสาฝู่ (少府) เสนาบดีกรมวัง หนึ่งในตำแหน่งเก้ามนตรีในราชธานี และสั่งให้ยกกองทัพของตนให้หวงฝู่ซงดูแลแทน แต่ตั๋งโต๊ะปฏิเสธอ้างว่าเหลียงโจวยังไม่สงบ
รัชศกจงผิงที่ 6 (ค.ศ. 189) พระเจ้าเลนเต้ประชวร ให้ตั้งตั๋งโต๊ะเป็นผู้ว่าราชการมณฑลปิ้งโจว (并州牧) สั่งให้มอบทหารให้หวงฝู่ซงอีก ตั๋งโต๊ะปฏิเสธอีกกราบทูลว่า "ข้าพระองค์บัญชาการทัพสิบปี ทหารใหญ่น้อยติดตามใกล้ชิดมายาวนาน รักใคร่ในมิตรไมตรีของข้าพระองค์ ยินดีจะทำเพื่อแผ่นดินเมื่อได้รับคำสั่ง ขอนำทหารเหล่านี้ไปยังมณฑล ปกป้องชายแดนอย่างมีประสิทธิภาพ" แล้วยกกองทัพไปประจำการที่เหอตงในมณฑลซือลี่หรือมณฑลราชธานี รอสถานการณ์
เห็นได้ว่าตั๋งโต๊ะไม่ยอมสละกองทัพเหลียงโจวที่เป็นฐานอำนาจของตนเอง ภายหลังจึงถูกโฮจิ๋นเรียกตัวเข้าเมืองหลวง และฉวยโอกาสยึดอำนาจในราชสำนักโดยอาศัยกำลังของตนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเหลียงโจว แม่ทัพคนสนิทของตั๋งโต๊ะเช่น ลิฉุย กุยกี หวนเตียว เตียวเจ โฮจิ้น ก็เป็นชาวเหลียงโจวเช่นเดียวกัน
ม้าเท้ง เป็นคนอำเภอเม่าหลิง (茂陵) จังหวัดฝูเฟิง (扶風) หนึ่งในสามเขต (三輔) ของกวนจง ในมณฑลราชธานี เป็นเชื้อสายของหม่าหยวน (馬援) ขุนพลสมัยฮั่น บิดาคือหม่าผิง (馬平) เป็นนายกองอำเภอหลานก้าน (蘭干) จังหวัดเทียนสุ่ย (天水) ในเหลียงโจว แต่ถูกปลดจากตำแหน่ง จึงไปอาศัยอยู่กับชนเผ่าเชียงในหล่งซี หม่าผิงได้หญิงชาวเชียงเป็นภรรยา ให้กำเนิดบุตรชายคือม้าเท้ง
ในวัยเด็กม้าเท้งยากจน ตัดฟืนบนภูเขามาขายในตลาดเลี้ยงชีพ เมื่อเติบใหญ่มีร่างกายสูงใหญ่มากกว่าแปดฉื่อ (เกิน 180 ซม.) มีใบหน้าและจมูกสง่างามโดดเด่น เป็นคนมีเกียรติและใจกว้าง มีผู้นับถือจำนวนมาก
ปลายรัชกาลพระเจ้าเลนเต้ ชาวเชียงในเหลียงโจวก่อกบฏต่อราชสำนักฮั่น โดยมีข้าราชการในเหลียงโจวคือหันซุยและเปียนจาง (邊章) เข้าร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีหวังกั๋ว (王國) ร่วมกับชาวตีชาวเชียงก่อกบฏ เกิ๋งปี่ (耿鄙) ผู้ตรวจการมณฑลเหลียงโจวในเวลานั้นเกณฑ์ไพร่พลปราบกบฏ ม้าเท้งได้เข้าร่วม เป็นที่ประทับใจของคนในหัวเมืองมากจึงได้รับตำแหน่งเป็นฉงซื่อ (從事) ในกองทัพบัญชาหน่วยรบ สร้างความชอบในการรบหลายครั้งจนได้เลื่อนเป็นจวินซือหม่า (軍司馬) ผู้บังคับการทหารในกองพล แล้วเลื่อนเป็นขุนพลผู้ช่วย (偏將軍)
แต่เมื่อเกิ๋งปี่ถูกกบฏฆ่าตาย ม้าเท้งจึงเปลี่ยนข้างนำกำลังไปเข้ากับหันซุย ทั้งสองตั้งหวังกั๋วเป็นผู้นำ ขยายอำนาจเข้าไปในสามเขตของมณฑลราชธานี ใกล้ถึงเมืองฉางอันราชธานีตะวันตกของราชวงศ์ฮั่น เกิดความปั่นป่วนไปทั่วเหลียงโจว
ราชสำนักต้องตั้งหวงฝู่ซง อดีตแม่ทัพปราบโจรโพกผ้าเหลืองที่ถูกปลดเพราะไม่ยอมให้สินบนขันทีขึ้นใหม่เพื่อไปปราบกบฏ ได้รับชัยชนะอย่างงดงาม ม้าเท้งหันซุยปลดหวังกั๋ว ตั้งเหยียนจง (閻忠) เป็นผู้นำแทน แต่ก็ป่วยตายไปไม่นาน บรรดากบฏที่เหลือจึงรบชิงอำนาจกันเอง ชาวเชียงสูญสิ้นกำลังไป เหลือแต่กลุ่มที่นำโดยชาวฮั่น คือกลุ่มของหันซุยที่จินเฉิง (金城) กลุ่มของม้าเท้งที่เว่ยกู่ (渭谷) กลุ่มของซ่งเจี้ยน (宋建) ที่ฝูฮั่น (枹罕) ซึ่งยังไม่ทันปราบปรามก็เกิดเหตุตั๋งโต๊ะยึดอำนาจในเมืองหลวงเสียก่อน กลุ่มเหล่านี้ยังครองอำนาจในเหลียงโจวโดยเป็นอิสระจากราชสำนัก ซ่งเจี้ยนตั้งตัวเป็นเหอสั่วผิงฮั่นหวัง (河首平漢王) ครองอำนาจในเหลียงโจวมาอีกยาวนาน
เมื่อตั๋งโต๊ะจะย้ายราชธานีไปที่ฉางอันที่มีอาณาเขตติดต่อกับเหลียงโจวทางตะวันตก ตั๋งโต๊ะส่งคนไปติดต่อม้าเท้งกับหันซุยให้ช่วยส่งกำลังมาโจมตีพันธมิตรกวนตง ทั้งสองจึงยกกองทัพมาที่ฉางอัน (ตามประวัติศาสตร์ ม้าเท้งไม่ได้เข้าร่วมกับพันธมิตรกวนตง)
หลังจากตั๋งโต๊ะตาย ลิฉุยกุยกีครองอำนาจในราชสำนัก ม้าเท้งหันซุยยกกำลังมาสวามิภักดิ์ ราชสำนักตั้งหันซุยเป็นขุนพลพิทักษ์ประจิม (鎮西將軍) ให้กลับไปประจำการที่จินเฉิง ตั้งม้าเท้งเป็นขุนพลพิชิตประจิม (征西將軍) ประจำที่อำเภอเหมย (郿) ใกล้ฉางอัน
ม้าเท้งเคยมีเรื่องร้องขอลิฉุยแต่ถูกปฏิเสธ จึงโกรธ ยกกองทัพมาตีฉางอัน มีพระราชโองการไปห้ามทัพแต่ม้าเท้งไม่ฟัง หันซุยตอนแรกจะยกทหารมาห้ามศึกก็หันไปเข้ากับม้าเท้งด้วย ทั้งนี้ม้าเท้งลอบสมคบคิดกับขุนนางบางคนในเมืองหลวงจะยกทัพเข้ามาเพื่อปราบลิฉุย แต่แผนการรั่วไหล สุดท้ายก็พ่ายแพ้ ม้าเท้งหันซุยต้องถอยกลับเหลียงโจว ในช่วงนั้นสามเขตของกวนจงเป็นจลาจลมากเพราะลิฉุยกับพวกให้ทหารไปปล้นสะดมราษฎร เดิมเคยมีราษฎรนับแสนครัวเรือน ภายในสองปีผู้คนอดอยากต้องกินเนื้อกันเองจนไม่มีคนเหลืออยู่เลย
แต่ลิฉุยกุยกีคงเห็นว่าจัดการม้าเท้งยาก จึงมีพระราชโองการให้อภัยโทษ ตั้งม้าเท้งเป็นขุนพลสงบเผ่าตี (安狄將軍) ตั้งหันซุยเป็นขุนพลสงบเผ่าเชียง (安羌將軍) ปล่อยให้ครองเหลียงโจวไป เนื่องจากสามเขตเป็นจลาจลมาก ม้าเท้งจึงไม่ได้กลับมาทางตะวันออกอีก
รัชศกซิงผิงที่ 1 (ค.ศ. 194) แบ่งห้าจังหวัดของเหลียงโจวในภูมิภาคเหอซี (河西) หรือทางตะวันตกของแม่น้ำฮวงโหคือ อู่เวย (武威) จางเย (張掖) จิ่วเฉวียน (酒泉) ตุนหวง (敦煌) ซีไห่ (西海) มาตั้งมณฑลใหม่เรียกว่า ยงโจว (雍州)
ต้นรัชศกเจี้ยนอัน โจโฉครองอำนาจในราชสำนัก ยังเกรงอิทธิพลม้าเท้งและหันซุยในแถบกวนจงที่ติดต่อกับเหลียงโจวอยู่และสู้รบกันเอง โจโฉทำตามคำแนะนำของซุนฮกผูกมิตรกับทั้งสอง ตั้งจงฮิวเป็นซือลี่เสี้ยวเว่ย (司隸校尉) ผู้บังคับการมณฑลราชธานี และผู้บัญชาการกองทัพกวนจง (關中諸軍) ประจำการที่เมืองฉางอัน จงฮิวส่งจดหมายไปเจรจาหว่านล้อมม้าเท้งหันซุยให้ยอมอ่อนน้อมต่อราชสำนัก และส่งบุตรชายมาเป็นตัวประกันที่เมืองฮูโต๋
รัชศกเจี้ยนอันที่ 7 (ค.ศ. 202) เมื่อโจโฉรบชนะอ้วนเสี้ยว อ้วนซงต้องการให้ม้าเท้งกับหันซุยช่วยเหลือ แต่จงฮิวส่งคนไปหว่านล้อมม้าเท้งจนเลือกเข้ากับโจโฉส่งม้าเฉียวคุมทหารนับหมื่นไปช่วยจงฮิว ม้าเฉียวได้รับตำแหน่งฉงซื่อผู้บัญชาการทัพของซือลี่เสี้ยวเว่ย (司隸校尉督軍從事) ปราบกัวหยวน (郭援) และเกาก้าน (高幹) คนของอ้วนซงซึ่งร่วมมือกับกบฏซฺยงหนูได้รับชัยชนะ โจโฉจึงตั้งม้าเท้งเป็นขุนพลพิชิตทักษิณ (征南將軍) ตั้งหันซุยเป็นขุนพลพิชิตประจิม (征西將軍) มีอำนาจเปิดทำเนียบว่าราชการ
ก่อนหน้านั้นม้าเท้งกับหันซุยเป็นพี่น้องร่วมสาบานกันและใกล้ชิดกันมาก แต่ต่อมาขัดแย้งกันจนกลายเป็นศัตรูรบกันเอง ครั้งหนึ่งม้าเท้งโจมตีหันซุย หันซุยหลบหนีไปยกกำลังมาโต้กลับ ฆ่าลูกเมียม้าเท้ง รบกันไม่สิ้นสุด จงฮิวและผู้ตรวจการมณฑลเหลียงโจวเว่ยตวน (韋端) จึงส่งจดหมายไปเกลี้ยกล่อมให้สงบศึกกัน
ต่อมาม้าเท้งถูกเรียกมาประจำการที่อำเภอหฺวายหลี่ (槐里) ในจังหวัดโย่วฝูเฟิง (右扶風) มณฑลซือลี่ เลื่อนเป็นขุนพลฝ่ายหน้า (前將軍) ถือคฑาอาญาสิทธิ์ มีบรรดาศักดิ์หฺวายหลี่โหว (槐里侯) ม้าเท้งเตรียมการป้องกันโจรหูทางเหนือ ป้องกันทหารม้าขาวเซียนเปยทางตะวันออก อุปถัมภ์บัณฑิตและผู้มีความสามารถ เห็นใจช่วยเหลือราษฎร ผู้คนในสามเขตเคารพรักม้าเท้งมาก
รัชศกเจี้ยนอันที่ 13 (ค.ศ. 208) โจโฉจะยกทัพลงใต้แต่ยังเกรงม้าเท้งในกวนจง จึงเชิญม้าเท้งมารับราชการในราชสำนักฮั่น ตัวม้าเท้งยังมีปัญหากับหันซุยและเห็นว่าตัวเองแก่แล้ว จึงยอมมาอยู่ที่เมืองหลวงได้รับตำแหน่งเว่ยเว่ย (衛尉) ผู้บัญชาการทหารรักษาพระราชวัง ม้าเฉียวได้เป็นขุนพลผู้ช่วย (偏將軍) มีบรรดาศักดิ์ตูถิงโหว (都亭侯) ควบคุมกองทัพในเหลียงโจวแทนบิดา ม้าฮิวได้เป็นเฟิงจวีตูเว่ย (奉車都尉) ผู้บัญชาการราชรถ ม้าเทียดได้เป็นนายกองทหารม้าเหล็ก (鐵騎都尉) ครอบครัวทั้งหมดย้ายไปอยู่ที่เย่เฉิง (鄴城 เงียบกุ๋น) ศูนย์กลางอำนาจของโจโฉ มีแต่ม้าเฉียวยังอยู่ที่เหลียงโจวกับหันซุย ทั้งนี้เมื่อโจโฉได้เป็นอัครมหาเสนาบดีเคยเชิญม้าเฉียวมาทำงานด้วย แต่ถูกปฏิเสธ
รัชศกเจี้ยนอันที่ 16 (ค.ศ. 211) โจโฉจะยกทัพไปตีเมืองฮันต๋ง ม้าเฉียวเกิดระแวงขึ้นมาว่าโจโฉจะยกทัพมาตีตน จึงประกาศตัดขาดกับม้าเท้ง ยกหันซุยเป็นบิดา แล้วขอให้หันซุยตัดขาดกับบุตรตนเองแล้วรับตนเป็นบุตรแทน ก่อกบฎในกวนจง แต่รบแพ้ในครั้งแรกเพราะโดนอุบายของกาเซี่ยงให้แตกคอกัน
รัชศกเจี้ยนอันปีที่ 17 (ค.ศ. 212) ราชสำนักออกคำสั่งให้ประหารชีวิตม้าเท้งและครอบครัวในเย่เฉิงทั้งหมดสามชั่วโคตร รวมกว่าสองร้อยชีวิต
ม้าเฉียวกลับไปชักจูงชนเผ่านอกด่านเข้ามายึดครองหัวเมืองในกวนจงจำนวนมาก และพยายามยึดครองมณฑลเหลียงโจวซึ่งเป็นถิ่นเดิมแต่ไม่สำเร็จ ถูกแฮหัวเอี๋ยนที่ประจำการในกวนจงปราบปรามลงได้ ม้าเฉียวต้องหนีไปอาศัยเตียวฬ่อที่ฮั่นจง
รัชศกเจี้ยนอันปีที่ 18 (ค.ศ. 213) ราชสำนักยุบเหลียงโจวรวมกับยงโจว ยุบมณฑลซือลี่ แบ่งเอาสามเขตและจังหวัดหงหนงมารวมกับยงโจวด้วย
รัชศกเจี้ยนอันปีที่ 20 (ค.ศ. 215) แฮหัวเอี๋ยนยกทัพไปปราบปราบหันซุยได้สำเร็จ จากนั้นจึงยกไปปราบซ่งเจี้ยนที่เป็นอิสระมานานที่ฝูฮั่นได้ และส่งเตียวคับไปปราบปรามชนเผ่าเชียงในเหอซี (河西) ทางตะวันตกของยงโจวให้ยอมสวามิภักดิ์ ทำให้ภูมิภาคหล่งโย่ว (隴右) หรือทางตะวันตกของภูเขาหล่งซานสงบ ยงโจวทั้งหมดจึงกลับคืนมาอยู่ใต้การปกครองของราชสำนักอีกครั้ง
รัชศกหวงชูปีที่ 1 (ค.ศ. 220) โจผีขึ้นเป็นฮ่องเต้ ให้แบ่งแปดจังหวัดของยงโจวในภูมิภาคเหอซีคือ จินเฉิง อู่เฉิง จางเย จิ่วเฉวียน ตุนหวง ซีไห่ (西海) ซีจวิ้น (西郡) ซีผิง (西平) มาตั้งเป็นมณฑลเหลียงโจว (ในสมัยฮั่น ซีไห่คือจางเยจวี้เหยียนสู่กั๋ว ซีจวิ้นแยกมาจากจางเย ซีผิงแยกมาจากจินเฉิง) เอาจังหวัดเหอหนาน เหอเน่ย เหอตง หงหนง สี่จังหวัดตั้งเป็นซือลี่
ในรัชศกหวงชูเคยแบ่งสี่จังหวัดในยงโจวคือมาตั้งเป็นมณฑลฉินโจว (秦州) แต่ไม่นานก็ยุบไปรวมกับยงโจวตามเดิม
แสดงความคิดเห็น
ตั๋งโต๊ะและม้าเท้ง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
เป็น้จ้านาย ลูกน้องเก่ากันป่าวครับ