หลังจากมีรายงานการพบ “หนอนแบนนิวกินี” ในประเทศไทย
ในบ้านหลังหนึ่งที่ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี โดยมีผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่เก็บตัวอย่าง
มายืนยันแล้วว่าเป็นสัตว์ชนิดนี้จริง วันนี้ทีมข่าวพีพีทีวีลงพื้นที่สำรวจบ้านหลังนี้
ก็พบกับหนอนแบนชนิดนี้กำลังรุมกัดกินหอยทากอยู่
นายมงคลเล่าว่า พบหนอนชนิดนี้เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา ในช่วงหน้าฝน
แต่ระยะหลังพบว่ามีจำนวนมากขึ้นและกำลังรุมกินหอยทาก
จึงถ่ายภาพส่งให้นักวิชาการดู ต่อมานักวิชาการได้ลงพื้นที่มาตรวจสอบ
ในระหว่างเก็บตัวอย่างหนอน ปรากฏว่าคีบจนตัวหนอนขาด แต่ทุกคนกลับแปลกใจ
เพราะหนอนที่ขาดไปสองท่อน สามารถเลื้อยต่อไปได้ คล้ายกับมี 2 ตัว
ฃข้อมูลจาก ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ นักวิชาการอิสระกลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
บอกว่า เป็นหนอนที่มีถิ่นกำเนิดในนิวกินี เมื่อโตเต็มที่แล้วมีลำตัวยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร
ปลายแหลมทั้งสองด้านแต่ด้านที่เป็นหัวจะแหลมเล็กกว่า สีด้านหลังเป็นสีน้ำตาลเข้ม
และมีลายสีน้ำตาลอ่อนพาดกลางลำตัวตามแนวยาว ด้านท้องสีขาวและมีจุดสีขาวเล็กๆ
ค่อนไปทางด้านหางซึ่งเป็นส่วนปาก หนอนชนิดนี้กินหอยทากเป็นอาหารหลัก
ในรายงานของ ดร.นณฑ์ ยังระบุว่าหนอนตัวแบนนิวกินีนี้ ยังเป็นพาหะ
แพร่เชื้อ Angiostrongylus cantonensis หรือพยาธิปอดหนู/พยาธิหอยโข่ง
ซึ่งติดต่อสู่คนได้ โดยพยาธิดังกล่าวนี้มีหนูเป็นพาหะหลักจึงไม่สามารถเจริญเติบโต
จนครบวงจรในร่างกายมนุษย์ได้ แต่ตัวอ่อนจะไปอาศัยอยู่ในระบบประสาทส่วนกลาง
ของผู้ติดเชื้อและตายลง ทำให้เกิดการอักเสบในเยื่อหุ้มสมอง โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อพยาธิ
จะมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง เป็นไข้ อาเจียนพุ่ง คอแข็ง ตาพร่ามัว ท้องเสีย และปวดกล้ามเนื้อ
สำหรับ การกำจัดหนอนตัวแบนนิวกินีทำได้สองวิธีคือใช้น้ำร้อนลวกหรือหยอดด้วยเกลือป่น
ห้ามใช้การสับหรือหั่นเพราะแต่ละชิ้นจะเติบโตเป็นตัวใหม่ได้และจะกลายเป็นยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นไปอีก
ขณะที่หนอนตัวแบนชนิดนี้มีรายงานถูกปล่อยและหลุดออกสู่ธรรมชาตินอกถิ่น
อาศัยตามธรรมชาติหลายแห่งและมีรายงานรุกรานกินหอยทากท้องถิ่นจนสูญพันธุ์
ทำให้สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) จัดให้หนอนตัวแบนนิวกินีเป็น
หนึ่งในร้อยสัตว์รุกรานต่างถิ่นที่น่ากลัวที่สุดของโลก
สำรวจพบ "หนอนแบนนิวกินี" พาหะแพร่เชื้อพยาธิปอดหนู พยาธิหอยโข่ง ซึ่งติดต่อสู่คนได้!!!!
หลังจากมีรายงานการพบ “หนอนแบนนิวกินี” ในประเทศไทย
ในบ้านหลังหนึ่งที่ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี โดยมีผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่เก็บตัวอย่าง
มายืนยันแล้วว่าเป็นสัตว์ชนิดนี้จริง วันนี้ทีมข่าวพีพีทีวีลงพื้นที่สำรวจบ้านหลังนี้
ก็พบกับหนอนแบนชนิดนี้กำลังรุมกัดกินหอยทากอยู่
นายมงคลเล่าว่า พบหนอนชนิดนี้เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา ในช่วงหน้าฝน
แต่ระยะหลังพบว่ามีจำนวนมากขึ้นและกำลังรุมกินหอยทาก
จึงถ่ายภาพส่งให้นักวิชาการดู ต่อมานักวิชาการได้ลงพื้นที่มาตรวจสอบ
ในระหว่างเก็บตัวอย่างหนอน ปรากฏว่าคีบจนตัวหนอนขาด แต่ทุกคนกลับแปลกใจ
เพราะหนอนที่ขาดไปสองท่อน สามารถเลื้อยต่อไปได้ คล้ายกับมี 2 ตัว
ฃข้อมูลจาก ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ นักวิชาการอิสระกลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
บอกว่า เป็นหนอนที่มีถิ่นกำเนิดในนิวกินี เมื่อโตเต็มที่แล้วมีลำตัวยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร
ปลายแหลมทั้งสองด้านแต่ด้านที่เป็นหัวจะแหลมเล็กกว่า สีด้านหลังเป็นสีน้ำตาลเข้ม
และมีลายสีน้ำตาลอ่อนพาดกลางลำตัวตามแนวยาว ด้านท้องสีขาวและมีจุดสีขาวเล็กๆ
ค่อนไปทางด้านหางซึ่งเป็นส่วนปาก หนอนชนิดนี้กินหอยทากเป็นอาหารหลัก
ในรายงานของ ดร.นณฑ์ ยังระบุว่าหนอนตัวแบนนิวกินีนี้ ยังเป็นพาหะ
แพร่เชื้อ Angiostrongylus cantonensis หรือพยาธิปอดหนู/พยาธิหอยโข่ง
ซึ่งติดต่อสู่คนได้ โดยพยาธิดังกล่าวนี้มีหนูเป็นพาหะหลักจึงไม่สามารถเจริญเติบโต
จนครบวงจรในร่างกายมนุษย์ได้ แต่ตัวอ่อนจะไปอาศัยอยู่ในระบบประสาทส่วนกลาง
ของผู้ติดเชื้อและตายลง ทำให้เกิดการอักเสบในเยื่อหุ้มสมอง โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อพยาธิ
จะมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง เป็นไข้ อาเจียนพุ่ง คอแข็ง ตาพร่ามัว ท้องเสีย และปวดกล้ามเนื้อ
สำหรับ การกำจัดหนอนตัวแบนนิวกินีทำได้สองวิธีคือใช้น้ำร้อนลวกหรือหยอดด้วยเกลือป่น
ห้ามใช้การสับหรือหั่นเพราะแต่ละชิ้นจะเติบโตเป็นตัวใหม่ได้และจะกลายเป็นยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นไปอีก
ขณะที่หนอนตัวแบนชนิดนี้มีรายงานถูกปล่อยและหลุดออกสู่ธรรมชาตินอกถิ่น
อาศัยตามธรรมชาติหลายแห่งและมีรายงานรุกรานกินหอยทากท้องถิ่นจนสูญพันธุ์
ทำให้สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) จัดให้หนอนตัวแบนนิวกินีเป็น
หนึ่งในร้อยสัตว์รุกรานต่างถิ่นที่น่ากลัวที่สุดของโลก
Source : [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้