วงเงินในบัตรสวัสดิการเท่ากัน แต่สิทธิ์การใช้งานต่างกัน

จากที่เราทราบกันดีว่ารัฐบาลได้เยียวยาผู้มีรายได้น้อยโดยการแจกบัตรสวัสดิการของรัฐโดยให้วงเงินสนับสนุนในด้านต่างๆดังนี้
1. วงเงินสำหรับซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 300 บาทต่อเดือน สำหรับผู้มีรายได้น้อยกว่า 3 หมื่นบาทต่อปี และ 200 บาทสำหรับผู้มีรายได้มากกว่า 3 หมื่นบาทต่อปี
2. วงเงินค่าโดยสารรถไฟฟ้า รถเมล์  500 บาทต่อเดือน
3. วงเงินค่าโดยสารรถ บขส.  500 บาทต่อเดือน
4. วงเงินค่าโดยสารรถไฟ  500 บาทต่อเดือน
5. ส่วนลดซื้อแก๊สหุงต้ม 45 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน
.
จากที่รัฐบาลให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐและเพิ่มวงเงินตามที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้นจะเห็นได้ว่าทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในเรื่องค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ สิทธิ์ในการใช้บัตร ทำไมผมถึงพูดแบบนี้ เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่คำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันของคนไทยในประเทศไงครับ ผมจะยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนนะครับ เรื่องของค่าใช้จ่ายค่าโดยสารรถเมล์ รถไฟฟ้า คนในกรุงเทพและปริมณฑลมีส่วนได้ใช้งานร้อยละ 99 ของผู้ใช้งานทั้งหมดซึ่งมันต่างกับคนที่อยู่ต่างจังหวัดที่ไม่มีให้ใช้ในส่วนนี้ซึ่งจะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน ของการใช้วงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ถ้าจะให้คนที่อยู่ต่างจังหวัดอย่างนราธิวาส  สงขลา  ตรัง  ภูเก็ตเดินทางไปกรุงเทพเพื่อไปขึ้นรถไฟฟ้า ผมเชื่อว่ายากและคงไม่มีใครเดินทางไปพาขึ้นรถไฟฟ้า รถเมล์ เพื่อให้เงินในบัตรหมดหรอกครับ ณแปลว่าคนที่อยู่ต่างจังหวัดจะเสีย โอนเงินในส่วนของค่าโดยสารรถไฟฟ้ารถเมล์อย่างเปล่าประโยชน์โดยไม่ได้ใช้งาน ถ้าคิดเป็นวงเงินก็จะเสียไปปีละ  6000 บาทโดยที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อะไรเลย ผมเคยได้ยินมาแต่จำไม่ได้ว่ามาจากไหนมีคนคนนึงพูดว่า " คนไทยที่มีบัตรทุกคนมีสิทธิ์ที่จะขึ้นรถไฟฟ้า รถเมล์โดยใช้บัตรสวัสดิการได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนในกรุงเทพฯและปริมณฑลหรือคนต่างจังหวัด แต่ถ้าคนต่างจังหวัดจะขึ้นต้องเปลี่ยนบัตรจากบัตรปกติธรรมดา ให้เป็นบัตรใยแมงมุมก่อนแค่นั้นเอง " จากคำพูดดังกล่าว "ใช่ถูก" แต่คนที่อยู่ต่างจังหวัดจะยอมเอาเวลานั้นเดินทางไปเพื่อสิ่งนั้นอย่างเดียวหรอ ? ขอตอบว่าไม่จำเป็น เอาเวลาไปทำไร่ทำสวนจะดีกว่า และอีกอย่างในส่วนค่าโดยสาร บขส. ก็เหมือนกันร้อยละ 10 สำหรับคนในต่างจังหวัดที่จะได้เดินทาง ถ้าเดินทางก็นานๆครั่ง 3-4 เดือนครั้ง ผมว่าการจัดสรรงบประมานในแต่ละด้านยังไม่โอเค ผมอยากให้รัฐโยกเงินในส่วนของค่าโดยสารรถไฟฟ้า/รถเมล์ และรถ บขส. สำหรับคนต่างจังหวัด ไปเป็นค่าสินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือนจะดีกว่าให้เงินในส่วนนั้นเสียเปล่าโดยที่ประชาชนไม่ได้อะไร และสำหรับการโยกเงินในส่วนนั้นมันก็ยังใช้งบประมาณเท่าเดิม แค่โยกจากส่วนหนึ่งไปอีกส่วนหนึ่งมันก็จะเกิดประโยชน์สำหรับเขามากกว่าที่จะต้องมาเสียไปอย่างเปล่าๆโดยไม่ได้ใช้งานทุกๆเดือน และมันก้อไม่ทำให้เกินงบที่วางไว้หรอกครับ เพราะเราแค่โยกไม่ได้เพิ่มวงเงินจากข้างนอกมาสมทบ ต่างคนต่างพูดได้ว่าทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน แต่จะสิ่งทั่ทำไม่เคยเท่าเทียมกันเลย ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวของน่ะครับ
*** ปิดโหวต วันที่ 08 ธันวาคม พ.ศ.2560 เวลา 16:40:34 น.
1. ให้รัฐโยกเงินในส่วนของค่าโดยสารรถไฟฟ้า/รถเมล์ และรถ บขส. สำหรับคนต่างจังหวัด ไปเป็นค่าสินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือนจะดีกว่าให้เงินในส่วนนั้นเสียเปล่าโดยที่ประชาชนไม่ได้อะไรเลย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่