สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ที่พบหลักฐานชัดเจนจะเป็นขันทีต่างประเทศครับ
ขันทีมีปรากฏอยู่ในกฎมณเฑียรบาลที่ตราในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ จึงอนุมานได้ว่าน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว โดยมีการแยกเป็นสองประเภทคือ นักเทศและขันที ซึ่งความแตกต่างไม่ชัดเจน แต่สันนิษฐานว่านักเทศคือขันทีจากต่างประเทศนำเข้ามาจากต่างประเทศซึ่งน่าจะเป็นชาวจีนหรือมุสลิม และอาจเป็นไปได้ว่าขันทีในสมัยโบราณจะเป็นคนไทยที่ถูกตอนแต่ไม่พบหลักฐานชัดเจน
ส่วนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์พบหลักฐานว่ามีการนำเข้าขันทีมาจากแถบอินโด-อิหร่านเป็นหลักเพราะมีความสัมพันธ์อยู่มากในช่วงนั้น (ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยฝรั่งเศส) และสมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงโปรดวัฒนธรรมอินโด-อิหร่านมากทั้งเรื่องอาหาร สถาปัตยกรรมหรือการแต่งกาย แต่ขันทีไม่น่าจะมีในทุกรัชกาล น่าจะขึ้นอยู่กับพระราชนิยมของพระมหากษัตริย์เป็นองค์ๆไปมากกว่า ซึ่งลา ลูแบร์ได้บันทึกไว้ว่า
"ในส่วนห้องที่ประทับ ตัวเจ้าพนักงานล้วนเป็นผู้หญิงทั้งสิ้น เป็นผู้แต่งที่พระบรรทมและแต่งเครื่องพระกระยาหาร ผู้ส่งอาหารจะจัดส่งเครื่องโภชนาหารให้แก่ขันที นำไปให้แก่ผู้หญิง ห้องเครื่องต้น นางพนักงานหน้าเตาที่ปรุงพระเครื่องต้นนั้น จะใช้เกลือหรือเครื่องเทศ ก็ต้องชั่งน้ำหนัก"
"บรรดาผู้หญิงในวังหลวง จะออกไปไหนไม่ได้ นอกจากตามเสด็จ ฯ พวกขันทีก็เหมือนกันไม่ออกไปภายนอก ว่ากันว่ามีขันทีอยู่เพียง ๘ - ๑๐ คน เท่านั้น มีทั้งคนผิวขาวและคนผิวดำ"
นักเทษขันทีของไทยจึงรับราชการอยู่ในฝ่ายในเท่านั้นและมีจำนวนน้อย จึงไม่ได้มีอิทธิพลเหมือนขันทีในราชสำนักจีน
กฎมณเฑียรบาลระบุหน้าที่ของนักเทษและขันทีว่าเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จราชานุกิจถานาเทวี หรือเสด็จพระที่นั่งจะมีนักเทษขันทีเฝ้าอยู่ที่เฉนียง (เฉลียง?) นอกร่วมกับพวกมหาดเล็ก ยังมีพระไอยการอีกว่านักเทษขันทีห้ามออกไปนอกด่านขนอน (ด่านเก็บภาษี)
ในพระอัยการนาพลเรือนมีระบุเกี่ยวกับหน่วยงานของขันทีไว้เป็นกรม โดยมีตำแหน่งดังนี้
-ออกพระศรีมะโนราชภักดีศรีปรัยวัล นา ๑๐๐๐
-หลวงราชาชานภักดี นา ๕๐๐
-ปลัดจ่านุชิด ปลัดพิพิท ปลัดมระกฏ
-หลวงศรีมโนราชภักดีศรีองคเทพ รักษาองค ขันที นา ๑๐๐๐
-หลวงเทพชำนาญภักดีศรีเทพรักษา องครักษ ขันที นา ๑๐๐๐
ขันทีไม่น่าจะมีในทุกรัชกาล น่าจะขึ้นอยู่กับพระราชนิยมของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์มากกว่า แต่เป็นไปได้ที่จะยังมีในสมัยอยุทธยาตอนปลายอยู่ เพราะพบภาพจิตรกรรมของขันทีมุสลิมจำนวนมากอยู่ในฝ่ายในแต่งกายโพกผ้าเหมือนมุสลิมเปอร์เซียหรือโมกุล ในจิตรกรรมสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ก็ยังมีอยู่แต่ไม่น่าจะมีการใช้งานขันทีจริงแล้ว น่าจะเป็นการวาดโดยอิงตามขนบโบราณมากกว่าครับ
จิตรกรรมสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในสมุดภาพไตรภูมิสมัยธนบุรี ฉบับกรุงเบอร์ลิน มีนักเทศอยู่บริเวณมุมซ้ายล่าง

ภาพลายรดน้ำในหอเขียนวังสวนผักกาด สมัยสมเด็จพระนารายณ์แต่น่าจะทำซ่อมในสมัยหลังด้วย มีรูปฉากกั้นพระทวารเขียนเป็นรูปนักเทศหรือขันทีมุสลิม ข้างล่างเป็นมหาดเล็กกำลังเตรียมของถวายพระ

อีกรูปต่อเนื่องจากภาพบนเป็นนักเทศหรือขันทีมุสลิมถือหวายจะหวดมหาดเล็กที่มาแอบดูพวกนางในที่อยู่หลังม่านที่กั้นอยู่

ส่วนในเรื่องศรีอโยธยา จากข้อมูลที่ให้ไว้ไม่ใช่ขันทีแต่เป็น "กำนัลนารี" ซึ่งมีเอกสารบางชิ้นมีการวงเล็บระบุว่าเป็นขันที ทำให้หม่อมน้อยทรงสร้างตัวละครนี้ขึ้นมาเป็นคนผิดเพศ แต่ผมกลับเห็นว่า "กำนัลนารี" ในเอกสารโบราณน่าจะหมายถึงนางกำนัลผู้หญิงธรรมดามากกว่า เพราะโดยรูปศัพท์ก็แปลตรงตัวได้ตามนั้น และในเอกสารที่มีการวงเล็บก็น่าจะเป็นการตีความของบุคคลที่นำมาตีพิมพ์มากกว่าครับ
พิจารณาจากวรรณกรรมอย่างอิเหนา ก็มีความตอนหนึ่งกล่าวถึงนางบุษบาอาบน้ำว่า "นางจึงสรงสนานในสระศรี กับกำนัลนารีเกษมศานต์" ซึ่งก็น่าจะหมายถึงอาบน้ำกับนางกำนัล และก็มีการใช้สรรพนามเรียกว่า "นาง" อีกตอนหนึ่งก็ว่า "สาวสรรค์กำนัล" หรือ "หมู่นางกำนัลสาวศรี" ก็น่าจะบอกว่าเป็นหญิงอย่างชัดเจน
แต่ว่าในราชสำนักอยุทธยาก็มีตำแหน่งสำหรับกะเทยอยู่จริง ปรากฏในพระไอยการนาพลเรือนกล่าวถึงตำแหน่งของข้าราชการฝ่ายในพวกหนึ่งว่า “เตี้ย ค่อม เทย เผือก” มีศักดินาคนละ ๕๐ ไร่ ทำหน้าที่เป็นคนรับใช้อยู่ในพระราชวัง ซึ่งเมื่อพิจารณาจากตำแหน่งอื่นแล้ว เทย ในที่นี้ไม่ใช้ผู้มีความเบี่ยงเบนทางจิตใจ แต่เป็นกะเทยผู้ที่มีความผิดปกติทางร่างกาย คือ มีอวัยวะสองเพศในตัวเองหรือ hemaphrodite

สรุปแล้ว ขันทีจะใกล้เคียงกับในเรื่องหนึ่งด้าวฟ้าเดียวที่เป็นมุสลิมมากกว่า แต่ที่เห็นบนผ้าโพกหัวมีหมวกโลหะยอดแหลมด้วยน่าจะเวอร์เกินไป ของจริงน่าจะใกล้เคียงกับการแต่งกายของชาวโมกุลตามภาพซึ่งใกล้เคียงกับในจิตรกรรมไทยครับ
ขันทีมีปรากฏอยู่ในกฎมณเฑียรบาลที่ตราในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ จึงอนุมานได้ว่าน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว โดยมีการแยกเป็นสองประเภทคือ นักเทศและขันที ซึ่งความแตกต่างไม่ชัดเจน แต่สันนิษฐานว่านักเทศคือขันทีจากต่างประเทศนำเข้ามาจากต่างประเทศซึ่งน่าจะเป็นชาวจีนหรือมุสลิม และอาจเป็นไปได้ว่าขันทีในสมัยโบราณจะเป็นคนไทยที่ถูกตอนแต่ไม่พบหลักฐานชัดเจน
ส่วนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์พบหลักฐานว่ามีการนำเข้าขันทีมาจากแถบอินโด-อิหร่านเป็นหลักเพราะมีความสัมพันธ์อยู่มากในช่วงนั้น (ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยฝรั่งเศส) และสมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงโปรดวัฒนธรรมอินโด-อิหร่านมากทั้งเรื่องอาหาร สถาปัตยกรรมหรือการแต่งกาย แต่ขันทีไม่น่าจะมีในทุกรัชกาล น่าจะขึ้นอยู่กับพระราชนิยมของพระมหากษัตริย์เป็นองค์ๆไปมากกว่า ซึ่งลา ลูแบร์ได้บันทึกไว้ว่า
"ในส่วนห้องที่ประทับ ตัวเจ้าพนักงานล้วนเป็นผู้หญิงทั้งสิ้น เป็นผู้แต่งที่พระบรรทมและแต่งเครื่องพระกระยาหาร ผู้ส่งอาหารจะจัดส่งเครื่องโภชนาหารให้แก่ขันที นำไปให้แก่ผู้หญิง ห้องเครื่องต้น นางพนักงานหน้าเตาที่ปรุงพระเครื่องต้นนั้น จะใช้เกลือหรือเครื่องเทศ ก็ต้องชั่งน้ำหนัก"
"บรรดาผู้หญิงในวังหลวง จะออกไปไหนไม่ได้ นอกจากตามเสด็จ ฯ พวกขันทีก็เหมือนกันไม่ออกไปภายนอก ว่ากันว่ามีขันทีอยู่เพียง ๘ - ๑๐ คน เท่านั้น มีทั้งคนผิวขาวและคนผิวดำ"
นักเทษขันทีของไทยจึงรับราชการอยู่ในฝ่ายในเท่านั้นและมีจำนวนน้อย จึงไม่ได้มีอิทธิพลเหมือนขันทีในราชสำนักจีน
กฎมณเฑียรบาลระบุหน้าที่ของนักเทษและขันทีว่าเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จราชานุกิจถานาเทวี หรือเสด็จพระที่นั่งจะมีนักเทษขันทีเฝ้าอยู่ที่เฉนียง (เฉลียง?) นอกร่วมกับพวกมหาดเล็ก ยังมีพระไอยการอีกว่านักเทษขันทีห้ามออกไปนอกด่านขนอน (ด่านเก็บภาษี)
ในพระอัยการนาพลเรือนมีระบุเกี่ยวกับหน่วยงานของขันทีไว้เป็นกรม โดยมีตำแหน่งดังนี้
-ออกพระศรีมะโนราชภักดีศรีปรัยวัล นา ๑๐๐๐
-หลวงราชาชานภักดี นา ๕๐๐
-ปลัดจ่านุชิด ปลัดพิพิท ปลัดมระกฏ
-หลวงศรีมโนราชภักดีศรีองคเทพ รักษาองค ขันที นา ๑๐๐๐
-หลวงเทพชำนาญภักดีศรีเทพรักษา องครักษ ขันที นา ๑๐๐๐
ขันทีไม่น่าจะมีในทุกรัชกาล น่าจะขึ้นอยู่กับพระราชนิยมของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์มากกว่า แต่เป็นไปได้ที่จะยังมีในสมัยอยุทธยาตอนปลายอยู่ เพราะพบภาพจิตรกรรมของขันทีมุสลิมจำนวนมากอยู่ในฝ่ายในแต่งกายโพกผ้าเหมือนมุสลิมเปอร์เซียหรือโมกุล ในจิตรกรรมสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ก็ยังมีอยู่แต่ไม่น่าจะมีการใช้งานขันทีจริงแล้ว น่าจะเป็นการวาดโดยอิงตามขนบโบราณมากกว่าครับ
จิตรกรรมสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในสมุดภาพไตรภูมิสมัยธนบุรี ฉบับกรุงเบอร์ลิน มีนักเทศอยู่บริเวณมุมซ้ายล่าง

ภาพลายรดน้ำในหอเขียนวังสวนผักกาด สมัยสมเด็จพระนารายณ์แต่น่าจะทำซ่อมในสมัยหลังด้วย มีรูปฉากกั้นพระทวารเขียนเป็นรูปนักเทศหรือขันทีมุสลิม ข้างล่างเป็นมหาดเล็กกำลังเตรียมของถวายพระ

อีกรูปต่อเนื่องจากภาพบนเป็นนักเทศหรือขันทีมุสลิมถือหวายจะหวดมหาดเล็กที่มาแอบดูพวกนางในที่อยู่หลังม่านที่กั้นอยู่

ส่วนในเรื่องศรีอโยธยา จากข้อมูลที่ให้ไว้ไม่ใช่ขันทีแต่เป็น "กำนัลนารี" ซึ่งมีเอกสารบางชิ้นมีการวงเล็บระบุว่าเป็นขันที ทำให้หม่อมน้อยทรงสร้างตัวละครนี้ขึ้นมาเป็นคนผิดเพศ แต่ผมกลับเห็นว่า "กำนัลนารี" ในเอกสารโบราณน่าจะหมายถึงนางกำนัลผู้หญิงธรรมดามากกว่า เพราะโดยรูปศัพท์ก็แปลตรงตัวได้ตามนั้น และในเอกสารที่มีการวงเล็บก็น่าจะเป็นการตีความของบุคคลที่นำมาตีพิมพ์มากกว่าครับ
พิจารณาจากวรรณกรรมอย่างอิเหนา ก็มีความตอนหนึ่งกล่าวถึงนางบุษบาอาบน้ำว่า "นางจึงสรงสนานในสระศรี กับกำนัลนารีเกษมศานต์" ซึ่งก็น่าจะหมายถึงอาบน้ำกับนางกำนัล และก็มีการใช้สรรพนามเรียกว่า "นาง" อีกตอนหนึ่งก็ว่า "สาวสรรค์กำนัล" หรือ "หมู่นางกำนัลสาวศรี" ก็น่าจะบอกว่าเป็นหญิงอย่างชัดเจน
แต่ว่าในราชสำนักอยุทธยาก็มีตำแหน่งสำหรับกะเทยอยู่จริง ปรากฏในพระไอยการนาพลเรือนกล่าวถึงตำแหน่งของข้าราชการฝ่ายในพวกหนึ่งว่า “เตี้ย ค่อม เทย เผือก” มีศักดินาคนละ ๕๐ ไร่ ทำหน้าที่เป็นคนรับใช้อยู่ในพระราชวัง ซึ่งเมื่อพิจารณาจากตำแหน่งอื่นแล้ว เทย ในที่นี้ไม่ใช้ผู้มีความเบี่ยงเบนทางจิตใจ แต่เป็นกะเทยผู้ที่มีความผิดปกติทางร่างกาย คือ มีอวัยวะสองเพศในตัวเองหรือ hemaphrodite

สรุปแล้ว ขันทีจะใกล้เคียงกับในเรื่องหนึ่งด้าวฟ้าเดียวที่เป็นมุสลิมมากกว่า แต่ที่เห็นบนผ้าโพกหัวมีหมวกโลหะยอดแหลมด้วยน่าจะเวอร์เกินไป ของจริงน่าจะใกล้เคียงกับการแต่งกายของชาวโมกุลตามภาพซึ่งใกล้เคียงกับในจิตรกรรมไทยครับ

แสดงความคิดเห็น
ขันทีในสมัยอยุธยาควรจะเป็นแบบไหนมากกว่า