สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
ขันทีมีปรากฏอยู่ในกฎมณเฑียรบาลที่ตราในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ จึงอนุมานได้ว่าน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว โดยน่าจะมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งในสมัยอยุทธยาตอนต้นน่าจะเป็นชาวจีน หรืออาจมีมุสลิมด้วย
ส่วนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์พบหลักฐานว่ามีการนำเข้าขันทีมาจากแถบอินโด-อิหร่านเป็นหลักเพราะมีความสัมพันธ์อยู่มากในช่วงนั้น (ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยฝรั่งเศส) และสมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงโปรดวัฒนธรรมอินโด-อิหร่านมากทั้งเรื่องอาหาร สถาปัตยกรรมหรือการแต่งกาย แต่ขันทีไม่น่าจะมีในทุกรัชกาล น่าจะขึ้นอยู่กับพระราชนิยมของพระมหากษัตริย์เป็นองค์ๆไปมากกว่า ซึ่งลา ลูแบร์ได้บันทึกไว้ว่า
"ในส่วนห้องที่ประทับ ตัวเจ้าพนักงานล้วนเป็นผู้หญิงทั้งสิ้น เป็นผู้แต่งที่พระบรรทมและแต่งเครื่องพระกระยาหาร ผู้ส่งอาหารจะจัดส่งเครื่องโภชนาหารให้แก่ขันที นำไปให้แก่ผู้หญิง ห้องเครื่องต้น นางพนักงานหน้าเตาที่ปรุงพระเครื่องต้นนั้น จะใช้เกลือหรือเครื่องเทศ ก็ต้องชั่งน้ำหนัก"
"บรรดาผู้หญิงในวังหลวง จะออกไปไหนไม่ได้ นอกจากตามเสด็จ ฯ พวกขันทีก็เหมือนกันไม่ออกไปภายนอก ว่ากันว่ามีขันทีอยู่เพียง ๘ - ๑๐ คน เท่านั้น มีทั้งคนผิวขาวและคนผิวดำ"
นักเทษขันทีในไทยจึงรับราชการอยู่ในฝ่ายในเท่านั้นและมีจำนวนน้อยจึงไม่ได้มีอิทธิพลเหมือนขันทีในราชสำนักจีน มีในกฎมณเฑียรบาลว่าเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จราชานุกิจถานาเทวี หรือเสด็จพระที่นั่งจะมีนักเทษขันทีเฝ้าอยู่ที่เฉนียง (เฉลียง?) นอกร่วมกับพวกมหาดเล็ก ยังมีพระไอยการอีกว่านักเทษขันทีห้ามออกไปนอกด่านขนอน (ด่านเก็บภาษี)
ในพระอัยการนาพลเรือนมีระบุเกี่ยวกับหน่วยงานของขันทีไว้เป็นกรม โดยมีตำแหน่งดังนี้
ออกพระศรีมะโนราชภักดีศรีปรัยวัล นา ๑๐๐๐
หลวงราชาชานภักดี นา ๕๐๐
ปลัดจ่านุชิด ปลัดพิพิท ปลัดมระกฏ
หลวงศรีมโนราชภักดีศรีองคเทพ รักษาองค ขันที นา ๑๐๐๐
หลวงเทพชำนาญภักดีศรีเทพรักษา องครักษ ขันที นา ๑๐๐๐
ขันทีไม่น่าจะมีในทุกรัชกาล น่าจะขึ้นอยู่กับพระราชนิยมของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์มากกว่า แต่เป็นไปได้ที่จะยังมีในสมัยอยุทธยาตอนปลายอยู่ เพราะพบภาพจิตรกรรมของขันทีมุสลิมจำนวนมากอยู่ในฝ่ายในแต่งกายโพกผ้าเหมือนมุสลิมเปอร์เซียหรือโมกุล ในจิตรกรรมสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ก็ยังมีอยู่แต่ไม่น่าจะมีการใช้งานจริงแล้ว น่าจะเป็นการวาดโดยอิงตามขนบโบราณมากกว่าครับ
จิตรกรรมสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในสมุดภาพไตรภูมิสมัยธนบุรี ฉบับกรุงเบอร์ลิน มีขันทีมุสลิมอยู่บริเวณมุมซ้ายล่าง
ภาพลายรดน้ำในหอเขียนวังสวนผักกาด สมัยสมเด็จพระนารายณ์แต่น่าจะทำซ่อมในสมัยหลังด้วย มีฉากกั้นรูปขันทีมุสลิมอยู่ ข้างล่างเป็นมหาดเล็กกำลังเตรียมของถวายพระ
อีกรูปต่อเนื่องจากภาพบนเป็นขันทีมุสลิมถือหวายจะหวดมหาดเล็กที่มาแอบดูพวกนางในที่อยู่หลังม่านที่กั้นอยู่
รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้ตามลิ้งค์ด้านล่างครับ
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1579212275475570
ส่วนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์พบหลักฐานว่ามีการนำเข้าขันทีมาจากแถบอินโด-อิหร่านเป็นหลักเพราะมีความสัมพันธ์อยู่มากในช่วงนั้น (ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยฝรั่งเศส) และสมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงโปรดวัฒนธรรมอินโด-อิหร่านมากทั้งเรื่องอาหาร สถาปัตยกรรมหรือการแต่งกาย แต่ขันทีไม่น่าจะมีในทุกรัชกาล น่าจะขึ้นอยู่กับพระราชนิยมของพระมหากษัตริย์เป็นองค์ๆไปมากกว่า ซึ่งลา ลูแบร์ได้บันทึกไว้ว่า
"ในส่วนห้องที่ประทับ ตัวเจ้าพนักงานล้วนเป็นผู้หญิงทั้งสิ้น เป็นผู้แต่งที่พระบรรทมและแต่งเครื่องพระกระยาหาร ผู้ส่งอาหารจะจัดส่งเครื่องโภชนาหารให้แก่ขันที นำไปให้แก่ผู้หญิง ห้องเครื่องต้น นางพนักงานหน้าเตาที่ปรุงพระเครื่องต้นนั้น จะใช้เกลือหรือเครื่องเทศ ก็ต้องชั่งน้ำหนัก"
"บรรดาผู้หญิงในวังหลวง จะออกไปไหนไม่ได้ นอกจากตามเสด็จ ฯ พวกขันทีก็เหมือนกันไม่ออกไปภายนอก ว่ากันว่ามีขันทีอยู่เพียง ๘ - ๑๐ คน เท่านั้น มีทั้งคนผิวขาวและคนผิวดำ"
นักเทษขันทีในไทยจึงรับราชการอยู่ในฝ่ายในเท่านั้นและมีจำนวนน้อยจึงไม่ได้มีอิทธิพลเหมือนขันทีในราชสำนักจีน มีในกฎมณเฑียรบาลว่าเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จราชานุกิจถานาเทวี หรือเสด็จพระที่นั่งจะมีนักเทษขันทีเฝ้าอยู่ที่เฉนียง (เฉลียง?) นอกร่วมกับพวกมหาดเล็ก ยังมีพระไอยการอีกว่านักเทษขันทีห้ามออกไปนอกด่านขนอน (ด่านเก็บภาษี)
ในพระอัยการนาพลเรือนมีระบุเกี่ยวกับหน่วยงานของขันทีไว้เป็นกรม โดยมีตำแหน่งดังนี้
ออกพระศรีมะโนราชภักดีศรีปรัยวัล นา ๑๐๐๐
หลวงราชาชานภักดี นา ๕๐๐
ปลัดจ่านุชิด ปลัดพิพิท ปลัดมระกฏ
หลวงศรีมโนราชภักดีศรีองคเทพ รักษาองค ขันที นา ๑๐๐๐
หลวงเทพชำนาญภักดีศรีเทพรักษา องครักษ ขันที นา ๑๐๐๐
ขันทีไม่น่าจะมีในทุกรัชกาล น่าจะขึ้นอยู่กับพระราชนิยมของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์มากกว่า แต่เป็นไปได้ที่จะยังมีในสมัยอยุทธยาตอนปลายอยู่ เพราะพบภาพจิตรกรรมของขันทีมุสลิมจำนวนมากอยู่ในฝ่ายในแต่งกายโพกผ้าเหมือนมุสลิมเปอร์เซียหรือโมกุล ในจิตรกรรมสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ก็ยังมีอยู่แต่ไม่น่าจะมีการใช้งานจริงแล้ว น่าจะเป็นการวาดโดยอิงตามขนบโบราณมากกว่าครับ
จิตรกรรมสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในสมุดภาพไตรภูมิสมัยธนบุรี ฉบับกรุงเบอร์ลิน มีขันทีมุสลิมอยู่บริเวณมุมซ้ายล่าง
ภาพลายรดน้ำในหอเขียนวังสวนผักกาด สมัยสมเด็จพระนารายณ์แต่น่าจะทำซ่อมในสมัยหลังด้วย มีฉากกั้นรูปขันทีมุสลิมอยู่ ข้างล่างเป็นมหาดเล็กกำลังเตรียมของถวายพระ
อีกรูปต่อเนื่องจากภาพบนเป็นขันทีมุสลิมถือหวายจะหวดมหาดเล็กที่มาแอบดูพวกนางในที่อยู่หลังม่านที่กั้นอยู่
รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้ตามลิ้งค์ด้านล่างครับ
https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1579212275475570
แสดงความคิดเห็น
สมัยอยุธยา มีขันทีด้วยเหรอครับ