ได้ดูประกาศจากกรมอุตุ ฯ เรื่องพายุดีเปรสชั่นจะเข้าชุมพร ก็น่าเห็นใจพี่น้องชาวภาคใต้
ประกาศ กรมอุตุ ฯ ฉ.3
(ที่มา เว็บกรมอุตุ ฯ )
จำได้ว่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ได้ตอบคุณจก ฯ ในกระทู้นี้ไป
https://ppantip.com/topic/37012998 ว่า
ในกระทู้นั้น เป็นการตั้งกระทู้เพื่อรายงานสภาพน้ำหลากจากการระบายน้ำของกรมชล ฯ ก็มีสมาชิกบางท่าน ได้ท้วงติงว่า เจ้าของกระทู้มี background อะไร และไม่สมควรที่จะพูดอะไรที่ตนเองรู้ไม่จริง และทางภาครัฐ ก็ออกมาบอกว่า ให้ฟังรัฐบาลคนเดียว
ก็เห็นด้วยว่า เราไม่ได้มีหน้าที่อะไรที่จะต้องไปเตือนชาวบ้าน ก็เลยไม่ได้ตั้งกระทู้หรือตอบกระทู้หลังจากวันงานพระราชพิธี ฯ เพราะคิดว่าภาครัฐท่านก็ทำหน้าที่ของท่านอยู่
แต่คิดว่า จะดีกว่ามั้ย ถ้าช่วยกันเตือน เพราะช่องทางการสื่อสารบางที บางคน เขาก็ไม่ได้ฟังข่าวจากกรมอุตุ ฯ บางคนอาจจะเล่นแต่เน็ต หรืออะไร ๆ หรือไม่รู้เรื่องเลยจริง ๆ อย่างวันสองวันที่ผ่านมา ก็มีข่าวเรือจมทะเล เพราะคลื่นพัด นี่ก็เป็นตัวอย่างของคนที่เขาไม่ได้ตามข่าว เพราะถ้าน้ำท่วมหรือฝนตก คนที่เดือดร้อน ก็คือคนไทยเหมือนกัน ท่วมที่ไหนก็ลำบากเหมือนกัน ไม่ได้เกี่ยวว่าเป็นเสื้อเหลืองเสื้อแดงอะไรเลย น้ำท่วมที ทหารก็ลำบากเหมือนกัน คนทำงานทุกคนก็ลำบาก
อย่างกรณีน้ำเหนือ ซึ่งมันลดจริง ๆ แต่ก็ต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่จะระบายน้ำออกจากทุ่งหมด ซึ่งภาครัฐควรจะ active มากกว่านี้ เพราะมันมีตัวอย่างกรณีน้ำที่ปล่อยมาจากเขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งถ้าคนมี common sense หน่อยก็จะรู้ว่า น้ำมันจะไหลไปทางไหนบ้าง ตรงไหนคือจุดเสี่ยง ท่านได้เตือนหรือได้ตรวจสอบพนังกั้นดีหรือเปล่า ซึ่งผลก็คือ พัง...ทั้งที่ขอนแก่น และล่าสุดที่อำเภอเมืองมหาสารคาม น้ำชุดนี้ก็ยังจะไหลลงไปทางร้อยเอ็ด ยโสธรและอุบล ฯ อีก ท่านได้เตรียมการแค่ไหน
นี่ไม่รวมถึงการบรรเทาทุกข์เพราะน้ำเน่าเสีย สุขภาพจิตของชาวบ้านเป็นอย่างไรได้เข้าไปดูแลเพียงใด
และในกระทู้ก่อน ๆ ได้เตือนเรื่องเขื่อนป่าสักกับเขื่อนขุนด่าน ฯ ว่าให้ระวังหน่อย กลายเป็นว่าหลังวันที่ 26 ระดับน้ำได้เพิ่มเป็น 100% ดังที่คาดไว้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องระบายออกมา หากดูตัวเลขของระดับน้ำในเขื่อนต่าง ๆ จะเห็นว่ามีเพิ่มขึ้นในบางเขื่อน บางเขื่อนก็ทรงตัว และลดลงบ้าง ก็ยังประหลาดใจว่า ทางผู้ดูแลเขื่อน อย่าง การไฟฟ้า ฯ หรือกรมชล ฯ ท่านได้ประเมินความเสี่ยงของการปล่อยหรือไม่ปล่อยน้ำมากน้อยแค่ไหน
ย้อนกลับมาที่ภาคใต้เสียหน่อย เพราะภาคใต้ปีนี้ท่วมบ่อย กรมอุตุ ฯ เองก็พยายามทำหน้าที่เต็มที่ แต่การประสานงานระหว่างหน่วยงาน คือ ปภ. และส่วนราชการระดับจังหวัด มีแค่ไหน
ได้ดู simulation จากเว็บ windy.com ก็จะเห็นว่ามีความแม่นยำค่อนข้างสูง ซึ่งถ้าหากเป็นจริง นอกจากดีเปรสชั่นลูกนี้แล้ว ยังภาคใต้อาจจะมีความเสี่ยงในช่วงกลางเดือน พ.ย. อีก ส่วนจะที่ไหนอย่างไร ก็คงไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะไปนั่งอธิบาย เพราะคนฝีมือ มีอยู่มากมาย ท่านคงดูแลประชาชนได้
***น่าเป็นห่วงภาคใต้..เจอพายุแบบนี้***
ประกาศ กรมอุตุ ฯ ฉ.3
(ที่มา เว็บกรมอุตุ ฯ )
จำได้ว่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ได้ตอบคุณจก ฯ ในกระทู้นี้ไป https://ppantip.com/topic/37012998 ว่า
ในกระทู้นั้น เป็นการตั้งกระทู้เพื่อรายงานสภาพน้ำหลากจากการระบายน้ำของกรมชล ฯ ก็มีสมาชิกบางท่าน ได้ท้วงติงว่า เจ้าของกระทู้มี background อะไร และไม่สมควรที่จะพูดอะไรที่ตนเองรู้ไม่จริง และทางภาครัฐ ก็ออกมาบอกว่า ให้ฟังรัฐบาลคนเดียว
ก็เห็นด้วยว่า เราไม่ได้มีหน้าที่อะไรที่จะต้องไปเตือนชาวบ้าน ก็เลยไม่ได้ตั้งกระทู้หรือตอบกระทู้หลังจากวันงานพระราชพิธี ฯ เพราะคิดว่าภาครัฐท่านก็ทำหน้าที่ของท่านอยู่
แต่คิดว่า จะดีกว่ามั้ย ถ้าช่วยกันเตือน เพราะช่องทางการสื่อสารบางที บางคน เขาก็ไม่ได้ฟังข่าวจากกรมอุตุ ฯ บางคนอาจจะเล่นแต่เน็ต หรืออะไร ๆ หรือไม่รู้เรื่องเลยจริง ๆ อย่างวันสองวันที่ผ่านมา ก็มีข่าวเรือจมทะเล เพราะคลื่นพัด นี่ก็เป็นตัวอย่างของคนที่เขาไม่ได้ตามข่าว เพราะถ้าน้ำท่วมหรือฝนตก คนที่เดือดร้อน ก็คือคนไทยเหมือนกัน ท่วมที่ไหนก็ลำบากเหมือนกัน ไม่ได้เกี่ยวว่าเป็นเสื้อเหลืองเสื้อแดงอะไรเลย น้ำท่วมที ทหารก็ลำบากเหมือนกัน คนทำงานทุกคนก็ลำบาก
อย่างกรณีน้ำเหนือ ซึ่งมันลดจริง ๆ แต่ก็ต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่จะระบายน้ำออกจากทุ่งหมด ซึ่งภาครัฐควรจะ active มากกว่านี้ เพราะมันมีตัวอย่างกรณีน้ำที่ปล่อยมาจากเขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งถ้าคนมี common sense หน่อยก็จะรู้ว่า น้ำมันจะไหลไปทางไหนบ้าง ตรงไหนคือจุดเสี่ยง ท่านได้เตือนหรือได้ตรวจสอบพนังกั้นดีหรือเปล่า ซึ่งผลก็คือ พัง...ทั้งที่ขอนแก่น และล่าสุดที่อำเภอเมืองมหาสารคาม น้ำชุดนี้ก็ยังจะไหลลงไปทางร้อยเอ็ด ยโสธรและอุบล ฯ อีก ท่านได้เตรียมการแค่ไหน
นี่ไม่รวมถึงการบรรเทาทุกข์เพราะน้ำเน่าเสีย สุขภาพจิตของชาวบ้านเป็นอย่างไรได้เข้าไปดูแลเพียงใด
และในกระทู้ก่อน ๆ ได้เตือนเรื่องเขื่อนป่าสักกับเขื่อนขุนด่าน ฯ ว่าให้ระวังหน่อย กลายเป็นว่าหลังวันที่ 26 ระดับน้ำได้เพิ่มเป็น 100% ดังที่คาดไว้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องระบายออกมา หากดูตัวเลขของระดับน้ำในเขื่อนต่าง ๆ จะเห็นว่ามีเพิ่มขึ้นในบางเขื่อน บางเขื่อนก็ทรงตัว และลดลงบ้าง ก็ยังประหลาดใจว่า ทางผู้ดูแลเขื่อน อย่าง การไฟฟ้า ฯ หรือกรมชล ฯ ท่านได้ประเมินความเสี่ยงของการปล่อยหรือไม่ปล่อยน้ำมากน้อยแค่ไหน
ย้อนกลับมาที่ภาคใต้เสียหน่อย เพราะภาคใต้ปีนี้ท่วมบ่อย กรมอุตุ ฯ เองก็พยายามทำหน้าที่เต็มที่ แต่การประสานงานระหว่างหน่วยงาน คือ ปภ. และส่วนราชการระดับจังหวัด มีแค่ไหน
ได้ดู simulation จากเว็บ windy.com ก็จะเห็นว่ามีความแม่นยำค่อนข้างสูง ซึ่งถ้าหากเป็นจริง นอกจากดีเปรสชั่นลูกนี้แล้ว ยังภาคใต้อาจจะมีความเสี่ยงในช่วงกลางเดือน พ.ย. อีก ส่วนจะที่ไหนอย่างไร ก็คงไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะไปนั่งอธิบาย เพราะคนฝีมือ มีอยู่มากมาย ท่านคงดูแลประชาชนได้