รุ่นพ่อเจ้าของที่แบ่งที่ดินเป็นถนนสาธารณะ พอมารุ่นลูกจะเอาที่คืนได้ไหม?

15ปีก่อนเจ้าของที่3ราย ได้ตกลงแบ่งที่ของตัวเองเพื่อทำเป็นถนนสาธารณะ กว้างประมาณ8-10เมตร เดิมก่อนหน้าชาวบ้านใช้สัญจรแค่เดินหรือมอเตอร์ไซด์จะเป็นทางเล็กๆ พ่อเจ้าของที่ได้แบ่งที่ดินโดยไม่ได้ทำเอกสารว่ายกเป็นของสาธาระณะหรือตัดโฉนดแต่อย่างได ถนนนั้นได้สร้างเป็นถนนลูกรังรถ10ล้อวิ่งสดวก ชาวบ้านสัญจรได้สดวกสบายเป็นเช่นนั้นอยู่ประมาณ15ปี

เมื่อถึงรุ่นลูกเจ้าของที่รายหนึ่งคิดจะเอาที่ผืนนี้คืน ได้เอาท่อปูนขนาดใหญ่และดินมาถมทางจองที่ไว้ครึ่งถนน ถ้าเขาเอาคืนอาจเหลือช่องให้แค่มอเตอร์ไซด์วิ่งหรือคนเดินเท่านั้น

อยากถามว่าชาวบ้านต้องแก้ไขอย่างไรครับ?
รุ่นลูกที่ขึ้นมานี้เอาที่คืนได้ไหม?
ถึงชั้นศาลแล้วเจ้าของที่จะชนะหรือแพ้ครับ?เพราะถนนนี้ชาวบ้านใช้มา15ปีแล้ว

ขอบคุณครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
การอุทิศที่ดินยกเป็นทางสาธารณะ สามารถกระทำได้ทั้งโดยการแสดงเจตนาชัดแจ้ง (คือทำหนังสืออุทิศให้) หรือ แสดงเจตนาโดยปริยาย ก็ได้  และเมื่ออุทิศที่ดินให้เป็นทางสาธารณะแล้ว  ย่อมมีผลบังคับทันทีโดยไม่ต้องไปจดทะเบียนโอนหรือแบ่งโฉนดอะไรอีก

การแสดงเจตนาโดยปริยาย  หมายถึง เจ้าของที่ดินไม่ได้มีหนังสืออุทิศหรือยกให้สาธารณะโดยตรง  แต่มีพฤติการณ์ที่ถือได้ว่า เป็นการอุทิศให้เป็นทางสาธารณะประโยชน์เพื่อให้พลเมืองใช้ร่วมกันแล้ว

กรณีของเจ้าของกระทู้  การที่เจ้าของที่ดินเดิม ยอมให้ทางราชการ หรือ อบต. หรือเทศบาล เข้ามาสร้างถนนลูกรังในที่ดินของตน
และยอมให้ชาวบ้านสัญจรไปมาโดยสะดวกเปิดเผยเป็นเวลา 15 ปี โดยไม่ได้ปิดป้ายสงวนสิทธิ์ว่าเป็นทางส่วนบุคคล   ก็ย่อมถือได้ว่า เจ้าของกระทู้ได้มีพฤติการณ์อุทิศที่ดินแปลงนี้ให้เป็นทางสาธารณะประโยชน์แล้ว

เมื่อตกเป็นทางสาธารณะแล้ว  ย่อมตกเป็นทรัพย์สินที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่พลเมืองทุกคนมีสิทธิใช้ร่วมกัน โดยเจ้าของที่ดินหรือทายาทไม่มีสิทธิหวงกันได้อีกต่อไป  

ถ้าขืนกระทำ  ก็ถือว่าละเมิด  คนที่เสียหายย่อมมีสิทธิฟ้องศาลเพื่อให้หยุดการกระทำหรือเพื่อให้เปิดทางได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่